เฉพาะคัดท้าย และผู้ถือหุ้น EGCOMP เท่านั้น
บผฟ.แจงบริษัทย่อยไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีหรือก่อความเสียหายแก่กรมสรรพากร
นายเฉลิมชัย รัตนรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ
บผฟ. หรือ (EGCOMP) เปิดเผยเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่มในค่าเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติในสัญญาซื้อ
ขายไฟฟ้า ระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. กับบริษัท ผลิตไฟฟ้าระยอง
จำกัด และบริษัท ผลิต ไฟฟ้าขนอม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ บผฟ. เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์
2547
ขอชี้แจงเพิ่มเติมเพื่อสร้างความเข้าใจแก่นักลงทุนในเรื่องดังกล่าว กฟผ. และบริษัท
ย่อยของ บผฟ. ได้เข้าลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า เพื่อผลิตและขายไฟฟ้าให้แก่ กฟผ. ตาม
ราคาที่ตกลงกัน โดยสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ระบุให้ กฟผ. มีหน้าที่จัดหาเชื้อเพลิง โดยซื้อจาก การ
ปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย หรือ ปตท. ให้แก่บริษัทย่อยของ บผฟ. โดยบริษัทย่อยของ บผฟ. จะ
เรียกเก็บค่าไฟฟ้าจาก กฟผ. โดยไม่คิดค่าเชื้อเพลิง เนื่องจาก กฟผ. มิได้เรียกเก็บค่าเชื้อเพลิง
ที่ส่งมอบให้แก่บริษัทย่อยของ บผฟ. จึงไม่มีค่าเชื้อเพลิงปรากฏอยู่ในค่าไฟฟ้าแต่อย่างใด
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2547 บผฟ. พบว่าวิธีการคำนวณค่าไฟฟ้าระหว่างกันตามสัญญา
ซื้อขายไฟฟ้า โดยไม่รวมต้นทุนค่าเชื้อเพลิงนั้น ส่งผลให้บริษัทย่อยของ บผฟ. เรียกเก็บภาษี
มูลค่าเพิ่มในค่าไฟฟ้าที่ส่งมอบให้แก่ กฟผ. ต่ำกว่าในกรณีที่มีการคิดค่าเชื้อเพลิง อย่างไรก็ดี
หาก กฟผ. และบริษัทย่อยของ บผฟ. มีการคิดค่าเชื้อเพลิงซึ่งกันและกันแล้ว จำนวนนำส่งสุทธิของ
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่กรมสรรพากรจะได้รับก็ไม่แตกต่างจากกรณีที่ไม่คิดค่าเชื้อเพลิงซึ่งกันและกัน
โดยสรุปการปฏิบัติดังกล่าว บริษัทย่อยของ บผฟ. ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีหรือก่อความเสียหาย
แก่กรมสรรพากรแต่อย่างใด บริษัทย่อยของ บผฟ. ได้เสียภาษีโดยสุจริตอย่างแท้จริง
นายเฉลิมชัย รัตนรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ
บผฟ. หรือ (EGCOMP) เปิดเผยเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่มในค่าเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติในสัญญาซื้อ
ขายไฟฟ้า ระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. กับบริษัท ผลิตไฟฟ้าระยอง
จำกัด และบริษัท ผลิต ไฟฟ้าขนอม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ บผฟ. เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์
2547
ขอชี้แจงเพิ่มเติมเพื่อสร้างความเข้าใจแก่นักลงทุนในเรื่องดังกล่าว กฟผ. และบริษัท
ย่อยของ บผฟ. ได้เข้าลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า เพื่อผลิตและขายไฟฟ้าให้แก่ กฟผ. ตาม
ราคาที่ตกลงกัน โดยสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ระบุให้ กฟผ. มีหน้าที่จัดหาเชื้อเพลิง โดยซื้อจาก การ
ปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย หรือ ปตท. ให้แก่บริษัทย่อยของ บผฟ. โดยบริษัทย่อยของ บผฟ. จะ
เรียกเก็บค่าไฟฟ้าจาก กฟผ. โดยไม่คิดค่าเชื้อเพลิง เนื่องจาก กฟผ. มิได้เรียกเก็บค่าเชื้อเพลิง
ที่ส่งมอบให้แก่บริษัทย่อยของ บผฟ. จึงไม่มีค่าเชื้อเพลิงปรากฏอยู่ในค่าไฟฟ้าแต่อย่างใด
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2547 บผฟ. พบว่าวิธีการคำนวณค่าไฟฟ้าระหว่างกันตามสัญญา
ซื้อขายไฟฟ้า โดยไม่รวมต้นทุนค่าเชื้อเพลิงนั้น ส่งผลให้บริษัทย่อยของ บผฟ. เรียกเก็บภาษี
มูลค่าเพิ่มในค่าไฟฟ้าที่ส่งมอบให้แก่ กฟผ. ต่ำกว่าในกรณีที่มีการคิดค่าเชื้อเพลิง อย่างไรก็ดี
หาก กฟผ. และบริษัทย่อยของ บผฟ. มีการคิดค่าเชื้อเพลิงซึ่งกันและกันแล้ว จำนวนนำส่งสุทธิของ
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่กรมสรรพากรจะได้รับก็ไม่แตกต่างจากกรณีที่ไม่คิดค่าเชื้อเพลิงซึ่งกันและกัน
โดยสรุปการปฏิบัติดังกล่าว บริษัทย่อยของ บผฟ. ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีหรือก่อความเสียหาย
แก่กรมสรรพากรแต่อย่างใด บริษัทย่อยของ บผฟ. ได้เสียภาษีโดยสุจริตอย่างแท้จริง
ซึ่งอธิบายได้ดังนี้
ตัวอย่างรายการซื้อขายไฟฟ้าในแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มของบริษัทย่อยที่
ผ่านมา
สมมติค่าไฟฟ้า 40 (ไม่รวมค่าเชื้อเพลิง)
เดือนภาษี มกราคม 2545 กุมภาพันธ์ 2545 มีนาคม 2545 รวม
ภาษีขายค่าไฟฟ้า 40*7% = 2.8 40*7% = 2.8 40*7% = 2.8
ภาษีซื้อค่าเชื้อเพลิง 0 0 0
ภาษีนำส่ง 2.8 0 = 2.8 2.8 0 = 2.8 2.8 0 = 2.8 8.4
ตัวอย่างรายการซื้อขายไฟฟ้าหากได้รวมค่าเชื้อเพลิงฯ ในแบบแสดงรายการภาษีมูลค่า
เพิ่มตั้งแต่แรก
สมมติค่าไฟฟ้า 100 (รวมค่าเชื้อเพลิง)
เดือนภาษี มกราคม 2545 กุมภาพันธ์ 2545 มีนาคม 2545 รวม
ภาษีขายค่าไฟฟ้า 100*7%=7 100*7%=7 100*7%=7
ภาษีซื้อค่าเชื้อเพลิง 60*7%=4.2 60*7%=4.2 60*7%=4.2
ภาษีนำส่ง 7 4.2 = 2.8 7 4.2 = 2.8 7 4.2 = 2.8 8.4
เมื่อ บผฟ. ได้รับทราบเรื่องดังกล่าว ได้รีบแจ้งต่อกรมสรรพากรด้วยวาจา พร้อมกับหารือใน
ประเด็นการตีความข้อกฎหมายและแนวทางการดำเนินการแก้ไขแบบแสดงรายการภาษีมูลค่า
เพิ่มที่คลาดเคลื่อนให้ถูกต้อง เพื่อยืนยันในหลักการของความเป็นบรรษัทภิบาลที่ดี
ทั้งนี้ บผฟ. จะร่วมกับทุกฝ่ายเพื่อหาข้อยุติในเรื่องดังกล่าวโดยเร็ว และหากมีความคืบหน้า
จะแจ้งให้ทราบต่อไป ก็อ่านดูแล้วก็ยังงง กับ ตัวเลขดังกล่าวอยู่ครับ
ตัวอย่างรายการซื้อขายไฟฟ้าในแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มของบริษัทย่อยที่
ผ่านมา
สมมติค่าไฟฟ้า 40 (ไม่รวมค่าเชื้อเพลิง)
เดือนภาษี มกราคม 2545 กุมภาพันธ์ 2545 มีนาคม 2545 รวม
ภาษีขายค่าไฟฟ้า 40*7% = 2.8 40*7% = 2.8 40*7% = 2.8
ภาษีซื้อค่าเชื้อเพลิง 0 0 0
ภาษีนำส่ง 2.8 0 = 2.8 2.8 0 = 2.8 2.8 0 = 2.8 8.4
ตัวอย่างรายการซื้อขายไฟฟ้าหากได้รวมค่าเชื้อเพลิงฯ ในแบบแสดงรายการภาษีมูลค่า
เพิ่มตั้งแต่แรก
สมมติค่าไฟฟ้า 100 (รวมค่าเชื้อเพลิง)
เดือนภาษี มกราคม 2545 กุมภาพันธ์ 2545 มีนาคม 2545 รวม
ภาษีขายค่าไฟฟ้า 100*7%=7 100*7%=7 100*7%=7
ภาษีซื้อค่าเชื้อเพลิง 60*7%=4.2 60*7%=4.2 60*7%=4.2
ภาษีนำส่ง 7 4.2 = 2.8 7 4.2 = 2.8 7 4.2 = 2.8 8.4
เมื่อ บผฟ. ได้รับทราบเรื่องดังกล่าว ได้รีบแจ้งต่อกรมสรรพากรด้วยวาจา พร้อมกับหารือใน
ประเด็นการตีความข้อกฎหมายและแนวทางการดำเนินการแก้ไขแบบแสดงรายการภาษีมูลค่า
เพิ่มที่คลาดเคลื่อนให้ถูกต้อง เพื่อยืนยันในหลักการของความเป็นบรรษัทภิบาลที่ดี
ทั้งนี้ บผฟ. จะร่วมกับทุกฝ่ายเพื่อหาข้อยุติในเรื่องดังกล่าวโดยเร็ว และหากมีความคืบหน้า
จะแจ้งให้ทราบต่อไป ก็อ่านดูแล้วก็ยังงง กับ ตัวเลขดังกล่าวอยู่ครับ