สิ่งที่เราทุกคนต้องการไม่ใช่อายุยืนเพียงอย่างเดียว แต่อยากให้อายุยืนในลักษณะที่สุขภาพดี ร่างกายมีความสมบูรณ์ทุกประการ ทำให้สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติด้วย ดังนั้น เราจะไม่เพียงพูดถึง Life Expectancy (LE) หรืออายุจะยืนยาวมากเพียงใด แต่มีศัพท์ใหม่ที่ใช้กันคือ Health Adjusted Life Expectancy (HALE) หรือ Health Life Expectancy กล่าวคือ อายุที่มีสุขภาพดีนั้นจะยืนยาวได้มากเพียงใด ได้มีการคำนวณ LE เปรียบเทียบกับ HALE ซึ่งผมนำมาสรุปในตาราง 1
ทั้งนี้ หากค้นคว้าเพิ่มเติมในรายละเอียด จะพบว่าในช่วงศตวรรษที่ 20 นั้น มนุษย์อายุยืนมากขึ้นเพราะวิทยาศาสตร์การแพทย์ สามารถรักษาโรคติดต่อร้ายแรงได้ จนเกือบหมด (ซึ่งมักจะทำให้มนุษย์เสียชีวิตตั้งแต่วัยเด็ก และ/หรือ วัยหนุ่มสาว) ดังนั้น มาในศตวรรษนี้จึงเหลือเพียงแต่โรคที่ไม่ติดต่อ (เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ) และการเกิดอุบัติเหตุ (ซึ่งเป็นปัญหามากกว่าในประเทศยากจน) ที่เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิต ไม่ใช่เสียชีวิตเพราะเป็นโรคติดต่อ กล่าวคือในปัจจุบันการเสียชีวิตนั้น 70% มีสาเหตุมาจากการเป็นโรคที่ไม่มีการติดต่อ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ อย่างไรก็ดีในประเทศกำลังพัฒนาที่ยากจนมากๆ นั้น สัดส่วนการเสียชีวิตจากโรคติดต่อยังสูงอยู่ ผลคือสิ่งที่เราค่อนข้างจะเป็นกังวลมากที่สุดคือ การใช้ชีวิตโดยสุขภาพไม่สมบูรณ์นั้นจะยาวนานกว่าในประเทศพัฒนาแล้วหรือในกลุ่มบุคคลที่มีรายได้สูง กล่าวคือในประเทศพัฒนาแล้ว ช่วงที่มีชีวิตอยู่แต่สุขภาพไม่ค่อยดีนั้นยาวนานถึง 10-11 ปี แต่ในประเทศยากจนนั้น ช่วงดังกล่าวจะสั้นกว่าที่ 7-9 ปี
ดังนั้น ผมจึงพยายามไปสืบหาข้อมูล LE และ HALE สำหรับประเทศที่ประชากรมีอายุสุขภาพดีที่ยืนยาวที่สุด ซึ่งผมนำมาสรุปใน ตาราง 2
จะเห็นได้ว่ามีข้อสรุปหลักๆ ประมาณ 3 ข้อ
1.สำหรับภาพรวมของโลกนั้น ในช่วงปลายของชีวิตมนุษย์จะมีสุขภาพไม่สมบูรณ์ ประมาณ 10.3 ปี (เป็นการคำนวณที่แตกต่างจาก ตาราง 1 เล็กน้อย) โดยผู้หญิงจะเผชิญภาวะดังกล่าวนานกว่าผู้ชายคือ 11.1 ปี เทียบกับ 8.8 ปี
2.ชาวสิงคโปร์มีอายุสุขภาพดี ยืนยาวที่สุดคือ 76.2 ปี มากกว่าประเทศที่ประชาชนอายุยืนที่สุดคือญี่ปุ่น (ซึ่ง HALE เท่ากับ 74.8 ปี) และช่วงที่สุขภาพไม่สมบูรณ์ของชาวสิงคโปร์จะต่ำที่สุดคือ 6.9 ปี
3.ผู้ชายชาวสวิตเซอร์แลนด์ อายุยืนที่สุดที่ 81.3 ปี แต่จะมีช่วงที่สุขภาพไม่สมบูรณ์นานกว่าถึง 8.9 ปี
ครั้งหน้าผมจะเขียนถึงเรื่องที่น่าจะเป็นข่าวดีมากกว่าครั้งนี้ โดยจะเน้นว่าเราจะต้องทำตัวอย่างไรจึงจะทำให้อายุยืนแบบมีคุณภาพ โดยครั้งนี้ขอนำเสนอข้อมูลพื้นฐาน เพื่อให้เห็นภาพรวมก่อนครับ
จะเห็นได้จากตาราง 1 ว่ามนุษย์เราอายุยืนมากขึ้นตามลำดับจากอายุยืน 65.1 ปี ในปี 1990 เพิ่มมาเป็น 72.48 ปี ในปี 2016 กล่าวคือในช่วงเวลา 26 ปีที่ผ่านมา มนุษย์อายุยืนเพิ่มขึ้น 7.38 ปี นอกจากนั้นอายุยืนแบบสุขภาพดีก็เพิ่มมากขึ้นจาก 56.88 ปี มาเป็น 63.12 ปี ช่วงเดียวกันหรือเพิ่มขึ้น 6.24 ปี แต่ที่น่าเป็นข้อกังวลคือ ช่วงสุดท้ายของชีวิตที่สุขภาพไม่สมบูรณ์นั้นยาวนานถึง 8.22 ปี ในปี 1990 และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเป็น 9.36 ปี ในปี 2016 แปลว่ามนุษย์เราโดยเฉลี่ยจะมีชีวิตอยู่ในขณะที่สุขภาพไม่สมบูรณ์ยาวนานถึง 13% ของชีวิตอายุสุขภาพดีที่ยืนยาว(1)/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- กระทู้: 1243
- ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ ก.ค. 11, 2012 10:42 pm