คนที่ถึงอิสระภาพทางการเงินแล้ว วันๆกระดิกเท้ารับปันผล ชีวิต

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
ตอบกลับโพส
ภาพประจำตัวสมาชิก
คนขายของ
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
กระทู้: 698
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ม.ค. 15, 2004 9:48 am

Re: คนที่ถึงอิสระภาพทางการเงินแล้ว วันๆกระดิกเท้ารับปันผล ช

โพสต์ โดย คนขายของ » อังคาร มี.ค. 28, 2017 6:12 pm

ผมเคยเขียนบทความนี้ไว้สักพักหนึ่งแล้ว เผื่อเป็นประโยชน์กับเจ้าของกระทู้ครับ

ที่สุดของ VI
กุมภาพันธ์ 19, 2015 Filed under บทความ Posted by คนขายของ
พัฒนาการ ของการเป็นนักลงทุนนั้นผมเชื่อว่าคล้ายกับช่วงชีวิตของคนเราที่มีรายละเอียด แตกต่างกันไปในแต่ละช่วงอายุ เช่นตอนเป็นเด็กก็ชอบของเล่น เป็นวัยรุ่นก็สนใจเรื่องแฟน โตมาหน่อยก็เรื่องหน้าที่การงาน หรือจะว่าอีกอย่าง พัฒนาการของนักลงทุนคงคล้ายกับวงจรผีเสื้อซึ่งตอนแรกเกิดมาเป็นหนอนแล้วกลาย มา เป็นตัวอ่อน มาเป็นดักแด้ แล้วค่อยกลายมาเป็นผีเสื้อที่สวยงาม ในบทความนี้ผมได้ลองแบ่งพัฒนาการ การลงทุนออกเป็นสี่ระยะด้วยกัน เราลองมาดูกันนะครับว่าแต่ละช่วงมีรายละเอียดเป็นอย่างไรกันบ้าง

พัฒนาการ แรกขอเรียกว่าระยะ “ตั้งหลัก” หากคุณเป็นคนที่เรียนจบมาที่บ้านไม่ได้มีเงินทองมากองให้ ไม่มีกิจการร้านรวงอะไร ส่วนใหญ่หลังจากจบมาแล้วได้ใช้เงินไปกับการเที่ยวเตร่ตามประสาคนเริ่มมี เงินเดือนได้สักปีสองปีก็เริ่มรู้สึกตัวได้ว่าต้องเริ่มเก็บออม ในระยะนี้บางคนเริ่มสนใจลงทุนบ้างแล้วแต่ก็ รู้สึกว่าผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนนั้นน้อยกว่ารายได้จากการทำงานมากๆ การประหยัดอดออมจึงเป็น หัวใจหลักสำหรับในช่วงนี้ที่จะทำให้มูลค่าพอร์ตเติบโตไปได้ ความรู้ในการลงทุนก็มีไม่มาก ดังนั้นโอกาส ขาดทุนมีสูงมากและอาจจะเป็นตัวฉุดมากกว่าตัวเสริมความมั่งคั่งด้วยซ้ำ

พัฒนาการ ที่สองขอเรียกว่าระยะ “วัยเรียน” ในช่วงนี้หลังจากที่การออมเริ่มเห็นผล จะเป็นช่วงที่นักลงทุน ขยันเสาะหาความรู้เรื่องการลงทุนมากขึ้นเพราะเงินลงทุนก้อนเริ่มใหญ่ขึ้น แต่เนื่องจากความรู้และ ประสบการณ์ยังไม่มาก ผลก็เลยออกมาแบบแพ้ชนะสลับกันไป ได้มาบ้างเสียไปบ้าง ขายตัวนั้นไปได้กำไรมา ซื้อตัวใหม่มากลับขาดทุน ทั้งนี้เพราะยังเห็น “ภาพใหญ่” ของการลงทุนไม่ชัดเจน ยังเหมือนตาบอดคลำช้าง อยู่ มองการลงทุนออกเป็นส่วนๆ ความรู้ที่สะสมมายังไม่ตกผลึก ทำให้ต้องเร่งขวนขวายมากขึ้น รายได้จาก การทำงานกับรายได้จากการลงทุน เริ่มมีน้ำหนักใกล้เคียงกัน การออมยังคงมีความสำคัญต่อการสร้าง ความมั่งคั่ง

พัฒนาการที่สามขอ เรียกว่าระยะ “เติบโต” หลังจากอดออมมานาน พัฒนาความรู้เรื่องการลงทุนมาพอสมควร เริ่มมีความชำนาญมากขึ้น ไม่ได้ตัดสินใจในการลงทุนด้วยอะไรเพียงอย่างเดียวเช่น ดูเฉพาะค่า PE หรือ ดูเฉพาะเงินปันผลของบริษัท แต่มองภาพรวมของธุรกิจ ทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรม เริ่มศึกษาประวัติผู้บริหาร ทำการวิเคราะห์บริษัททั้งในแง่อัตราส่วนทางการเงิน และ ความสามารถในการ แข่งขัน พอร์ตเริ่มโตต่อเนื่องยาวนานหลายปี เป็นช่วงสร้างความมั่งคั่งให้กับตัวเองและครอบครัว รายได้จาก งานประจำเริ่มมีน้ำหนักน้อยลงมาก บางคนพอร์ตโตมากจนมีอิสระภาพทางการเงินและออกมาเป็นนักลงทุน แบบ “Full Time”

มีหลายๆคนคงคิดว่าที่สุดของชีวิตการเป็นนักลงทุนคงมาหยุดอยู่ ที่ตรงนี้ คือการมีอิสระภาพทางการเงิน และชีวิตก็สร้างความมั่งคั่งให้กับตัวเองไปเรื่อยๆ จากสิบเป็นร้อย จากร้อยมุ่งเป็นพันเป็นหมื่นประมาณนั้น ผมลองศึกษาชีวิตของนักลงทุนชั้นเซียนระดับโลก หลายคนมีชื่อติดหนึ่งในร้อยของอันดับมหาเศรษฐีของโลก เพื่อที่จะดูว่าหลังจากที่เขาสร้างความมั่งคั่งมากมายแล้วเขาทำอะไรกัน?

ผม พบว่าหลายๆท่านยังไม่หยุดอยู่แค่ “การสร้างความมั่งคั่ง” แต่กลับมุ่งสู่พัฒนาการที่ขั้นสี่ ซึ่งผมขอเรียกว่า ระยะ “ทำประโยชน์” อย่างเช่น Warren Buffett ได้เริ่มโครงการ “The Giving Pledge” ในปี 2010 โดยได้ชักชวนมหาเศรษฐีทั้งหลายให้บริจาคเงินอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของความ มั่งคั่งทั้งหมดเพื่อการกุศล ซึ่งอภิมหาเศรษฐีนักลงทุน Ray Dalio ได้ตอบรับการเข้าร่วมโครงการนี้ หรืออย่าง George Soros เขามีมูลนิธิที่เขาก่อตั้งเองให้การสนับสนุนเงินทุนวิจัยและการศึกษา โดยเน้นประเทศแถบยุโรปตะวันออก ผู้จัดการกองทุนชื่อก้องโลก Peter Lynch ที่นักลงทุนไทยหลายคนรู้จักดี ตอนนี้เขาไม่ได้รับบริหาร กองทุนเหมือนแต่ก่อนแล้วแต่ให้เวลาส่วน ใหญ่แก่ “Lynch Foundation” ซึ่งเน้นการบริจาคเงินเพื่อ การกุศล

เราจะเห็นได้ว่า “พัฒนาการที่สี่” ซึ่งว่าด้วยการทำประโยชน์แก่ส่วนรวมนั้น ใช้ทักษะที่แตกต่างจาก พัฒนาการในช่วงที่หนึ่งถึงสามเป็นอย่างมาก เพราะในช่วงที่สี่นี้ นักลงทุนจะต้อง “จ่าย” หรือ “ใช้” ความมั่งคั่งที่อุตส่าห์เก็บออมและลงทุนออกไป ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเรื่องที่ตรงกันข้ามกับที่เคยทำมาตลอด ทำให้อาจจะมีนักลงทุนบางคนไม่สามารถก้าวข้ามไปถึง “ที่สุด” ของการเป็นนักลงทุนได้ แต่หากเขา ลองพิจารณาให้ดีก็อาจจะเห็นว่า เงินที่หามาได้นั้นจะมีประโยชน์อย่างแท้จริงก็ต่อเมื่อได้ใช้มันออกไป ในทางที่ถูกที่ควร ไม่เช่นนั้นก็คงกับเหมือนที่มีผู้กล่าวไว้ว่า “หนังสือที่ซื้อไว้แต่ไม่ได้อ่าน มีดที่แหลมคมแต่เอามาแขวนประดับ เงินทองที่มีแต่ไม่ได้ใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ตัวเองและผู้อื่น สามอย่างนี้มีไว้ก็เหมือนไม่มี ซ้ำยังเป็นภาระต้องคอยดูแลรักษาอีกต่างหาก”

แสดงความเห็น

อดทนไว้ กำไรยั่งยืน


ภาพประจำตัวสมาชิก
Linzhichange
User
กระทู้: 1160
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ก.ค. 10, 2005 9:21 pm

Re: คนที่ถึงอิสระภาพทางการเงินแล้ว วันๆกระดิกเท้ารับปันผล ช

โพสต์ โดย Linzhichange » ศุกร์ มี.ค. 31, 2017 11:03 am

กระทู้ดีจังครับ ผมขอตอบแบบนี้แล้วกันครับ

1. แนะนำให้หาหนังสือเกี่ยวกับเรื่อง Positive Psychology อ่านดูครับ น่าจะได้คำตอบครบถ้วน

2. ถ้าไม่มีเวลา ลองดู Mind map สรุปของ Jonathan Haidt ก็อ่านง่ายหน่อย

3. ถ้าให้ผมสรุป
ส่วนตัวผมคิดว่า ชีวิตคนเราต้องหาอะไรทำครับ งานที่ยิ่งทำแล้วมีความหมายยิ่งดี
ส่วนเรื่องลงทุนหาเงิน อิสระภาพทางการเงินอะไรพวกนี้ มันอาจจะเป็นคนละเรื่องเดียวกันครับ

สองเรื่องนี้ ถึงจะเกื้อหนุนกัน ต้องแยกกันคิดครับ ถ้าเอามารวมกัน เราจะตัดสินใจผิดได้ง่าย ๆ ครับ

ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.


ตอบกลับโพส