EGCOMP: โครงการขยายโรงไฟฟ้าขนอม 300MW มีแววไม่ได้ครับ
EGCOMP: โครงการขยายโรงไฟฟ้าขนอม 300MW มีแววไม่ได้ครับ
กฟผ.เสนอ"มิ้ง"รื้อแผนพีดีพีใหม่ เร่งสร้าง5โรงไฟฟ้ารับมืออุตฯพุ่ง
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ (กฟผ.) เสนอ กระทรวงพลังงานขอปรับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า "PDP" ปี 2547-2558 ใหม่ หลังคณะอนุกรรมการการพยากรณ์พบว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าในปี 2547 จะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 7.13 รวมถึงความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (peak) จะขึ้นไปถึง 19,600 เมกะวัตต์ เสี่ยงต่อปริมาณสำรองไฟฟ้าไม่เพียงพอ พร้อมทำแผนเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าใหม่ 5 โรง ยกเลิกโครงการพลังความร้อนร่วมขนอมชุด 2 หันทำโครงการพลังน้ำเขื่อนลำตะคอง (สูบกลับ) เครื่องที่ 3 แทน
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เมื่อเร็วๆ นี้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ยื่นแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า หรือ PDP (2547-2558) ฉบับแก้ไขปรับปรุงล่าสุดต่อกระทรวงพลังงาน หลังจากพบว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าภายในประเทศได้เพิ่มขึ้นจากการประมาณการเดิม ทำให้ต้องปรับแผน PDP ใหม่อีกครั้ง ส่งผลให้กำลังการผลิตติดตั้งจนถึงเดือนธันวาคม 2546 อยู่ที่ 25,363.0 เมกะวัตต์ รวมกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น 22,471.6 เมกะวัตต์ จากเดิมที่กำหนดไว้ที่ 21,806.5 เมกะวัตต์ มีโรงไฟฟ้าที่จะต้องปลดออกจากระบบทั้งสิ้น -475 เมกะวัตต์ จากเดิมที่กำหนดไว้จำนวน -350.0 เมกะวัตต์ สรุปภายในปี 2558 จะมีกำลังผลิตทั้งสิ้นอยู่ที่ 47,359.6 เมกะวัตต์ หรือเพิ่มจากแผน PDP เดิมที่กำหนดไว้จำนวน 46,619.6 เมกะวัตต์
กำลังการผลิตไฟฟ้าที่ถูกปรับแผนเพิ่มขึ้นนี้ เป็นผลมาจากการพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าปี 2547 ของคณะอนุกรรมการการพยากรณ์ที่ระบุว่า จะมีการใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 126,800 ล้านหน่วย หรือเพิ่มจากปี 2546 ถึงร้อยละ 7.13 จากการเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมถึงความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (peak) ในเดือนมกราคม-มีนาคม เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 19,325 เมกะวัตต์ และคาดว่า peak สูงสุดจะอยู่ที่ระดับ 19,600 เมกะวัตต์ ในขณะที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าในปี 2548 จะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 9,973 ล้านหน่วย หรือร้อยละ 7.86 และมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 1,543 เมกะวัตต์ หรือร้อยละ 7.87
อย่างไรก็ตาม ในแผน PDP ฉบับใหม่ได้ยกเลิกโครงการพลังงานความร้อนร่วมขนอมชุดที่ 2 ซึ่งใช้ก๊าซในการผลิต กำลังผลิต 385 เมกะวัตต์ ที่มีกำหนดแล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2550 ออก แล้วนำโครงการพลังน้ำเขื่อนลำตะคอง (สูบกลับ) เครื่องที่ 3 จำนวน 250 เมกะวัตต์เข้ามาแทนที่ นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มกำลังผลิตของโรงไฟฟ้าใหม่ 5 โรง ที่จะต้องอยู่ภายใต้โครงสร้างกิจการไฟฟ้าใหม่และเตรียมเข้าระบบในปี 2554 จากเดิมที่กำหนดกำลังการผลิตไว้ที่โรงละ 700 เมกะวัตต์ ถูกเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นเป็นโรงละ 800 เมกะวัตต์
"เป็นที่น่าสังเกตว่า แผน PDP ฉบับแก้ไขปรับปรุงฉบับนี้ถูกเสนอมายังกระทรวงพลังงานในลักษณะชิมลาง เนื่องจากตัวแผนยังไม่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการ กฟผ.ทั้งชุดเดิมและชุดใหม่ที่มีนายชัยอนันต์ สมุทวณิช เป็นประธานบอร์ดด้วย" แหล่งข่าวกล่าว
ทางด้านนายไกรสีห์ กรรณสูต รองผู้ว่าการนโยบายและแผน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวถึงแผน PDP ฉบับแก้ไขปรับปรุงว่า การแก้ไขกำลังการผลิตไฟฟ้าดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนทบทวนร่วมกับกระทรวงพลังงานถึงความเหมาะสม ทั้งนี้เนื่องจากการพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นตามการเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงก่อนปี 2553 นี้ จะมีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 700-800 เมกะวัตต์ และหลังจากช่วงปี 2553 จะมีปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีกอย่างต่อเนื่อง จึงต้องมีการปรับปรุงแผน PDP ให้สอดคล้องกับความต้องการใช้ไฟฟ้าภายในอนาคต
ส่วนสาเหตุสำคัญที่ต้องเพิ่มกำลังผลิตให้กับโรงไฟฟ้าใหม่ 5 โรง จากเดิมที่กำหนดกำลังผลิตไว้ที่โรงละ 700 เมกะวัตต์ เพิ่มเป็น 800 เมกะวัตต์นั้น เนื่องจากโรงไฟฟ้าปัจจุบันควรจะผลิตไฟฟ้าให้อยู่ในระดับ 750-800 เมกะวัตต์เพื่อให้ได้จุดคุ้มทุน ประกอบกับโรงไฟฟ้าของ กฟผ.มีศักยภาพที่จะขยายกำลังการผลิตให้ได้ถึง 1,000 เมกะวัตต์ หากทำได้จะส่งผลให้ราคาต่อหน่วยต่ำลง ทั้งนี้หากปรับแผน PDP ใหม่ การลงทุนจะอยู่ที่ 600,000 ล้านบาท (ครอบคลุมแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 9-10) ในส่วนที่เป็นโรงไฟฟ้า สายส่งและอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ยังต้องมีการปรับแผนเพิ่มเติมอีกครั้งเพื่อความเหมาะสมและเตรียมเสนอคณะกรรมการ กฟผ.เพื่อพิจารณาในเดือนพฤษภาคมนี้
นอกจากนี้ นายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ยังได้กำหนดนโยบายให้ กฟผ.มีการผสมผสานการใช้เชื้อเพลิงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น พลังน้ำ พลังลม รวมถึงการรับซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ เช่น การรับซื้อไฟฟ้าพลังน้ำจากประเทศจีน ที่เดิมมีการบันทึกข้อตกลงร่วม (MOU) ไว้ก่อนหน้านี้ และเน้นย้ำให้บริหารต้นทุนการผลิตไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าประชาชน
นายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงการปรับแผน PDP ว่า ขณะนี้อยู่ใน ขั้นตอนพิจารณาความเหมาะสมอยู่ว่า ควรมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่อย่างไร เช่น โรงไฟฟ้าพลังน้ำที่เขื่อนลำตะคอง (สูบกลับ) เครื่องที่ 3 นั้น จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบด้วยว่าจะกำหนดให้ใครเข้ามาผลิต
สำหรับโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (2547-2558) ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง คือ 1)พลังงานความร้อนกระบี่ เครื่องที่ 1 ใช้น้ำมันและก๊าซเป็นเชื้อเพลิง กำลังผลิต 300 เมกะวัตต์ กำหนดแล้วเสร็จกุมภาพันธ์ 2547 2)กังหันก๊าซลานกระบือ (จากหนองจอก) ใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิงในการผลิต จำนวน 122 เมกะวัตต์ จะแล้วเสร็จเมษายน 2547 3)พลังน้ำเขื่อนลำตะคอง (สูบกลับ) เครื่องที่ 1-2 ใช้พลังน้ำในการผลิต กำลังการผลิต 500 เมกะวัตต์ แล้วเสร็จเดือนมิถุนายน 2547 4)บริษัท BLCP พาวเวอร์ จำกัด เครื่องที่ 1-2 ใช้ถ่านหินในการผลิต กำลังผลิต 1,346.5 เมกะวัตต์ แล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ 2550 5)บริษัท กัลฟ์ พาวเวอร์เจนเนอร์เรชั่น จำกัด ใช้ก๊าซในการผลิต จำนวน 700 เมกะวัตต์ แล้วเสร็จเดือนมีนาคม 2551 และ 6)บริษัทยูเนี่ยนพาวเวอร์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด เครื่องที่ 1-2 ใช้ก๊าซในการผลิต กำลังผลิต 1,400 เมกะวัตต์ แล้วเสร็จเดือนมีนาคม 2552
หวังว่า 1 ในห้า โรงไฟฟ้าใหม่ EGCOMP คงจะได้บ้างนะครับ
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... 2004/05/03
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ (กฟผ.) เสนอ กระทรวงพลังงานขอปรับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า "PDP" ปี 2547-2558 ใหม่ หลังคณะอนุกรรมการการพยากรณ์พบว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าในปี 2547 จะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 7.13 รวมถึงความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (peak) จะขึ้นไปถึง 19,600 เมกะวัตต์ เสี่ยงต่อปริมาณสำรองไฟฟ้าไม่เพียงพอ พร้อมทำแผนเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าใหม่ 5 โรง ยกเลิกโครงการพลังความร้อนร่วมขนอมชุด 2 หันทำโครงการพลังน้ำเขื่อนลำตะคอง (สูบกลับ) เครื่องที่ 3 แทน
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เมื่อเร็วๆ นี้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ยื่นแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า หรือ PDP (2547-2558) ฉบับแก้ไขปรับปรุงล่าสุดต่อกระทรวงพลังงาน หลังจากพบว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าภายในประเทศได้เพิ่มขึ้นจากการประมาณการเดิม ทำให้ต้องปรับแผน PDP ใหม่อีกครั้ง ส่งผลให้กำลังการผลิตติดตั้งจนถึงเดือนธันวาคม 2546 อยู่ที่ 25,363.0 เมกะวัตต์ รวมกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น 22,471.6 เมกะวัตต์ จากเดิมที่กำหนดไว้ที่ 21,806.5 เมกะวัตต์ มีโรงไฟฟ้าที่จะต้องปลดออกจากระบบทั้งสิ้น -475 เมกะวัตต์ จากเดิมที่กำหนดไว้จำนวน -350.0 เมกะวัตต์ สรุปภายในปี 2558 จะมีกำลังผลิตทั้งสิ้นอยู่ที่ 47,359.6 เมกะวัตต์ หรือเพิ่มจากแผน PDP เดิมที่กำหนดไว้จำนวน 46,619.6 เมกะวัตต์
กำลังการผลิตไฟฟ้าที่ถูกปรับแผนเพิ่มขึ้นนี้ เป็นผลมาจากการพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าปี 2547 ของคณะอนุกรรมการการพยากรณ์ที่ระบุว่า จะมีการใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 126,800 ล้านหน่วย หรือเพิ่มจากปี 2546 ถึงร้อยละ 7.13 จากการเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมถึงความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (peak) ในเดือนมกราคม-มีนาคม เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 19,325 เมกะวัตต์ และคาดว่า peak สูงสุดจะอยู่ที่ระดับ 19,600 เมกะวัตต์ ในขณะที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าในปี 2548 จะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 9,973 ล้านหน่วย หรือร้อยละ 7.86 และมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 1,543 เมกะวัตต์ หรือร้อยละ 7.87
อย่างไรก็ตาม ในแผน PDP ฉบับใหม่ได้ยกเลิกโครงการพลังงานความร้อนร่วมขนอมชุดที่ 2 ซึ่งใช้ก๊าซในการผลิต กำลังผลิต 385 เมกะวัตต์ ที่มีกำหนดแล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2550 ออก แล้วนำโครงการพลังน้ำเขื่อนลำตะคอง (สูบกลับ) เครื่องที่ 3 จำนวน 250 เมกะวัตต์เข้ามาแทนที่ นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มกำลังผลิตของโรงไฟฟ้าใหม่ 5 โรง ที่จะต้องอยู่ภายใต้โครงสร้างกิจการไฟฟ้าใหม่และเตรียมเข้าระบบในปี 2554 จากเดิมที่กำหนดกำลังการผลิตไว้ที่โรงละ 700 เมกะวัตต์ ถูกเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นเป็นโรงละ 800 เมกะวัตต์
"เป็นที่น่าสังเกตว่า แผน PDP ฉบับแก้ไขปรับปรุงฉบับนี้ถูกเสนอมายังกระทรวงพลังงานในลักษณะชิมลาง เนื่องจากตัวแผนยังไม่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการ กฟผ.ทั้งชุดเดิมและชุดใหม่ที่มีนายชัยอนันต์ สมุทวณิช เป็นประธานบอร์ดด้วย" แหล่งข่าวกล่าว
ทางด้านนายไกรสีห์ กรรณสูต รองผู้ว่าการนโยบายและแผน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวถึงแผน PDP ฉบับแก้ไขปรับปรุงว่า การแก้ไขกำลังการผลิตไฟฟ้าดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนทบทวนร่วมกับกระทรวงพลังงานถึงความเหมาะสม ทั้งนี้เนื่องจากการพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นตามการเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงก่อนปี 2553 นี้ จะมีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 700-800 เมกะวัตต์ และหลังจากช่วงปี 2553 จะมีปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีกอย่างต่อเนื่อง จึงต้องมีการปรับปรุงแผน PDP ให้สอดคล้องกับความต้องการใช้ไฟฟ้าภายในอนาคต
ส่วนสาเหตุสำคัญที่ต้องเพิ่มกำลังผลิตให้กับโรงไฟฟ้าใหม่ 5 โรง จากเดิมที่กำหนดกำลังผลิตไว้ที่โรงละ 700 เมกะวัตต์ เพิ่มเป็น 800 เมกะวัตต์นั้น เนื่องจากโรงไฟฟ้าปัจจุบันควรจะผลิตไฟฟ้าให้อยู่ในระดับ 750-800 เมกะวัตต์เพื่อให้ได้จุดคุ้มทุน ประกอบกับโรงไฟฟ้าของ กฟผ.มีศักยภาพที่จะขยายกำลังการผลิตให้ได้ถึง 1,000 เมกะวัตต์ หากทำได้จะส่งผลให้ราคาต่อหน่วยต่ำลง ทั้งนี้หากปรับแผน PDP ใหม่ การลงทุนจะอยู่ที่ 600,000 ล้านบาท (ครอบคลุมแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 9-10) ในส่วนที่เป็นโรงไฟฟ้า สายส่งและอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ยังต้องมีการปรับแผนเพิ่มเติมอีกครั้งเพื่อความเหมาะสมและเตรียมเสนอคณะกรรมการ กฟผ.เพื่อพิจารณาในเดือนพฤษภาคมนี้
นอกจากนี้ นายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ยังได้กำหนดนโยบายให้ กฟผ.มีการผสมผสานการใช้เชื้อเพลิงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น พลังน้ำ พลังลม รวมถึงการรับซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ เช่น การรับซื้อไฟฟ้าพลังน้ำจากประเทศจีน ที่เดิมมีการบันทึกข้อตกลงร่วม (MOU) ไว้ก่อนหน้านี้ และเน้นย้ำให้บริหารต้นทุนการผลิตไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าประชาชน
นายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงการปรับแผน PDP ว่า ขณะนี้อยู่ใน ขั้นตอนพิจารณาความเหมาะสมอยู่ว่า ควรมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่อย่างไร เช่น โรงไฟฟ้าพลังน้ำที่เขื่อนลำตะคอง (สูบกลับ) เครื่องที่ 3 นั้น จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบด้วยว่าจะกำหนดให้ใครเข้ามาผลิต
สำหรับโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (2547-2558) ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง คือ 1)พลังงานความร้อนกระบี่ เครื่องที่ 1 ใช้น้ำมันและก๊าซเป็นเชื้อเพลิง กำลังผลิต 300 เมกะวัตต์ กำหนดแล้วเสร็จกุมภาพันธ์ 2547 2)กังหันก๊าซลานกระบือ (จากหนองจอก) ใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิงในการผลิต จำนวน 122 เมกะวัตต์ จะแล้วเสร็จเมษายน 2547 3)พลังน้ำเขื่อนลำตะคอง (สูบกลับ) เครื่องที่ 1-2 ใช้พลังน้ำในการผลิต กำลังการผลิต 500 เมกะวัตต์ แล้วเสร็จเดือนมิถุนายน 2547 4)บริษัท BLCP พาวเวอร์ จำกัด เครื่องที่ 1-2 ใช้ถ่านหินในการผลิต กำลังผลิต 1,346.5 เมกะวัตต์ แล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ 2550 5)บริษัท กัลฟ์ พาวเวอร์เจนเนอร์เรชั่น จำกัด ใช้ก๊าซในการผลิต จำนวน 700 เมกะวัตต์ แล้วเสร็จเดือนมีนาคม 2551 และ 6)บริษัทยูเนี่ยนพาวเวอร์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด เครื่องที่ 1-2 ใช้ก๊าซในการผลิต กำลังผลิต 1,400 เมกะวัตต์ แล้วเสร็จเดือนมีนาคม 2552
หวังว่า 1 ในห้า โรงไฟฟ้าใหม่ EGCOMP คงจะได้บ้างนะครับ
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... 2004/05/03
โค้ด: เลือกทั้งหมด
ทั้งนี้หากปรับแผน PDP ใหม่ การลงทุนจะอยู่ที่ 600,000 ล้านบาท (ครอบคลุมแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 9-10)
โค้ด: เลือกทั้งหมด
ในส่วนที่เป็นโรงไฟฟ้า สายส่งและอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ยังต้องมีการปรับแผนเพิ่มเติมอีกครั้งเพื่อความเหมาะสมและเตรียมเสนอคณะกรรมการ กฟผ.เพื่อพิจารณาในเดือนพฤษภาคมนี้