ข่าวหุ้น: หุ้นพลังงาน

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
ล็อคหัวข้อ
โมนิก้า

ข่าวหุ้น: หุ้นพลังงาน

โพสต์ โดย โมนิก้า » พฤหัสฯ. พ.ค. 06, 2004 2:20 pm

ที่แน่ๆ ราคาน้ำมันซึ่งพุ่งแรงยามนี้ ทำให้บรรดาโรงกลั่นอย่างบางจาก ไทยออยล์ และอื่นๆในเครือ ปตท. กำไรจากส่วนต่างการกลั่นที่เพิ่มมากขึ้นไปอีก รวยเละค่ะ...มิน่า ยามนี้ โมนิก้าจึงได้เห็นราคาหุ้นของ PTT, BCP-DR, PTTEP, PICNI ดูดีขึ้นผิดผูผิดตากัน ต้องซื้อค่ะ ไม่ต้องคิดมาก ใครจะว่ายังไงก็ช่าง...
ส่วนหุ้นพลังงานทั้งหลายแหล่นั้น หากงบการเงินดั้งเดิมไม่ขี้ริ้วขี้เหร่มากเกินจำเป็น ก็น่าจะเก็บเอาไว้เล่นรอบกันได้ ยกเว้นหุ้นมีกรรมหนาอย่าง EGCOMP, RATCH, BANPU



บุคคลทั่วไป

โพสต์ โดย บุคคลทั่วไป » พฤหัสฯ. พ.ค. 06, 2004 4:22 pm

EGCOMP เค้า cost plus ครับ เพราะฉะนั้น ค่าพลังงาน จะขึ้นหรือลด เค้าก็ + mark up แล้ว charge กลับไป EGAT ตามสูตรของ PPA ครับ

FYI
บอร์ด กฟผ.เห็นชอบแผนพีดีพี 2004 กฟผ.สร้างโรงไฟฟ้าเอง 4 โรง ใน 5 ปีข้าง ที่มาของเงินมาจาก กฟผ.กู้เอง ชัยอนันต์ย้ำชัดไม่แปรรูป หากกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ก็รอชาติหน้า ย้ำกิจการไฟฟ้า กฟผ.ต้องผลิตเองครึ่งหนึ่งในอนาคต ผูกขาดเพื่อชาติ แต่มีแนวโน้มการชุมนุมยืดเยื้อ เพราะ รมว.พลังงานไม่เห็นด้วยกับข้อตกลงชะลอแปรรูปผ.

นายชัยอนันต์ สมุทวณิช ประธานคณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แถลงว่าที่ประชุมคณะกรรมการ กฟผ.วันนี้ (4 พ.ค.) เห็นชอบแผนพัฒนากำลังไฟฟ้าระยะยาว ช่วงปี 2547-2558 (พีดีพี 2004 ) คาดว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1,900 เมกะวัตต์ต่อปี โดยในช่วงปี 2547-2552 กฟผ.จะมีโรงไฟฟ้าที่ กฟผ.ก่อสร้างเอง 4 โรง คือ โรงไฟฟ้าสงขลา โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ พระนครใต้ และบางปะกง วงเงินลงรวมทุนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าและสายส่ง 242,340 ล้านบาท โดยส่วนนี้ กฟผ.พร้อมกู้เงินเอง หรือหาเงินก่อสร้างรูปแบบอื่นๆ โดยไม่จำเป็นต้องกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่ง กฟผ.จะดูแลสัดส่วนการกู้ไม่ให้เกิดร้อยละ 4 ของจีดีพีของประเทศ

การแปรรูปหมายถึงการปฏิรูปองค์กรให้ดีขึ้น กฟผ.มีเครดิต และเป็นธุรกิจผูกขาด สถาบันการเงินต่างยินดีให้กู้ ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องเข้าตลาดหลักทรัพย์ หากจะเข้าคงจะเป็นชาติหน้า นายชัยอนันต์กล่าว

ส่วนแผนพีดีพี ในปี 2553 2558 ซึ่งต้องมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเกือบ 20 โรงนั้น ที่ประชุม คณะกรรมการ กฟผ.มีมติว่าให้ กฟผ.เป็นผู้ก่อสร้างโรงไฟฟ้าเองร้อยละ 50 ส่วนที่เหลือจะเป็นการแข่งขันกับภาคเอกชน โดยคาดว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าในปี 2558 จะมีประมาณ 40,978 เมกะวัตต์ จากที่ปี 2547 มีความต้องการใช้ประมาณ 19,600 เมกะวัตต์ โดยคาดว่าอัตราการขยายตัวของการใช้ไฟฟ้าจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 7-8

หากใครมองว่า กฟผ.ยังคงผูกขาดการผลิตไฟฟ้า ก็ต้องบอกว่าเป็นการผูกขาดเพื่อชาติ โดยจะมีการปฏิรูปองค์กร อย่างต่อเนื่อง ทำให้ดี โปร่งใส ป้องกันการฮั้ว เป็นการแทรกแซงโดยรับเพื่อสังคม การผูกขาดไม่ใช่สิ่งเลวร้าย เพราะมีการดูแลผู้บริโภคโดยรัฐบาลจะจัดตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการไฟฟ้า จึงไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องความไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค นายชัยอนันต์ กล่าวและว่ากรณี กลุ่มผู้ชุมนุมจะชุมนุมคัดค้าน แปรรูป ต่อไปก็เป็นเรื่องที่ทำได้

นายไกรสีห์ กรรณสูตร รองผู้ว่าการ กฟผ. กล่าวว่า ในแผนการก่อสร้างโรงไฟฟ้า 4 โรงของ กฟผ. นั้น คณะกรรมการ กฟผ. เป็นห่วงกรณีความไม่สงบในภาคใต้อาจทำให้การก่อสร้างโรงไฟฟ้าสงขลาล่าช้า

โค้ด: เลือกทั้งหมด

ที่ประชุมจึงเห็นชอบให้บริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน ) หรือเอ็กโก้ บริษัทในเครือของ กฟผ.สร้างโรงไฟฟ้าขนอมเพิ่มขึ้นอีก 380 
เมกะวัตต์ในปี 2551 เพื่อรองรับความล่าช้าดังกล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าวันนี้ (4 พ.ค.) ในส่วนแกนนำคัดค้านการแปรรูปกิจการไฟฟ้า-ประปา ได้เข้าพบ นายเสนาะ เทียนทอง ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ที่บ้านพักเมืองทองธานี โดยเตรียมร่างข้อตกลงร่วมกัน เพื่อหาแนวทางยุติการแปรรูป้า

นายเพียร ยงหนู ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) กล่าวว่า ยังไม่สามารถหาข้อสรุปและทางออกที่ลงตัวได้ แม้นายเสนาะ เทียนทอง จะเป็นตัวประสานให้ เนื่องจาก นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รมว.พลังงานไม่ยอมลงนามข้อตกลงที่เรียกร้องไปซึ่งให้ยุติแปรรูป ยกเลิก พรบ.ทุน และให้ตัวแทน สร.กฟผ.มีส่วนร่วมในการดำเนินงานทั้ง 2 ข้อ เนื่องจาก รมว.พลังงานต้องการให้นายกฯ รับทราบก่อน ทำให้การเจรจาไม่สามารถหาข้อยุติได้

นายเสนาะได้แสดงความเห็นใจผู้ชุมนุมที่ปักหลักสู้มาเกือบ 2 เดือน จึงลงมาช่วยประสานให้ แต่ในเมื่อไม่สามารถตกลงกันได้ก็ต้องยุติบทบาทไปก่อน โดยระหว่างที่โทรศัพท์คุยกับ รมว.พลังงาน ทุกคนก็ได้ยินหมด ก็เข้าใจท่าน และท่านก็บอกว่าก็เห็นแล้วว่าให้เด็กมาเป็น รมว.ก็เป็นแบบนี้แหละ เดิมวางแผนไว้ว่าหากสามารถเจรจาตกลงกันได้จะเรียกประชุมวิสามัญวันที่ 11 พ.ค.นี้ เพื่อยุติการชุมนุมแต่เมื่อไม่สามารถตกลงกันได้ก็จะใช้มาตรการรุนแรงยิ่งขึ้น

นายสมภพ ฤกษ์รัตน์ ที่ปรึกษาประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ กฟผ. กล่าวว่า เมื่อท่าทีของ นพ.พรหมินทร์ ถือว่าเป็นการล้มโต๊ะเจรจา ดังนั้น การชุมนุมจะมีต่อไปและจะไปชุมนุมกันที่กระทรวงพลังงาน ซึ่งข้อเสนอของนายชัยอนันต์นั้น ทางสหภาพฯ ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก และเคารพในฐานะเป็นสุภาพบุรุษ แต่ท่าทีของรัฐมนตรีพลังงานเมื่อเป็นเช่นนี้ก็ไม่ทราบว่าข้อเสนอของนายชัยอนันต์จะเป็นที่ยอมรับหรือไม่เ

นายเสนาะ ได้หารือกับนายกรัฐมนตรีเรื่องการแปรรูป เมื่อค่ำวานนี้ ( 3 พ.ค.) และนายเสนาะระบุว่า นายกรัฐมนตรีเห็นด้วยกับการชะลอแปรรูปและให้ดำเนินการ แต่ทุกอย่างก็ต้องยกเลิกเมื่อ รมว.พลังงานไม่เห็นด้วย
นายสมภพกล่าว

บอร์ดกฟผ.อนุมัติแผนเพิ่มไฟฟ้า



โดย ผู้จัดการรายวัน

บอร์ดกฟผ.ไม่รอเรื่องแปรรูป อนุมัติแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าเพิ่มอีก 30,000 เมกะวัตต์ ใช้เม็ดเงิน 5.5 แสนล้านบาท "ชัยอนันต์"ย้ำ ผูกขาดเพื่อชาติ ขณะที่แกนนำม็อบรุดพบเสนาะอีกครั้ง แต่ต้องผิดหวังหลังไม่สามารถจับมือหมอมิ้งลงนามหยุดแปรรูปได้ เผยยังมีลุ้นเคลียร์สมคิดให้ลงนามแทน

วานนี้ (4พ.ค.) ได้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(บอร์ดกฟผ.) ที่มีนายชัยอนันต์ สมุทรวณิช เป็นประธานเพื่อพิจารณาวาระพิเศษเกี่ยวกับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า(PDP-2004) โดยมีแกนนำสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจกฟผ.เข้าร่วมรับฟังการหารือด้วย

นายชัยอนันต์กล่าวว่า บอร์ดได้มีมติเห็นชอบแผน PDP -2004 ที่พิจารณาตามตัวเลขความต้องการใช้ไฟฟ้าของคณะอนุกรรมการพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟ กระทรวงพลังงาน ที่ความต้องการใช้ไฟในอนาคตจะเติบโตเฉลี่ยปีละ 1,900 เมกะวัตต์ และอิงอัตราการเติบโตเศรษฐกิจระดับปานกลาง ซึ่งจะทำให้้ต้องลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าทั้งสิ้น 550,000 ล้านบาทตั้งแต่ปี 2545-2554 หรือคิดเป็นกำลังการผลิตประมาณ 3 หมื่นเมกะวัตต์ และยึดกำลังสำรองการผลิตไฟฟ้าที่ระดับ 15% ของกำลังผลิตทั้งหมด

ทั้งนี้ PDP ฉบังดังกล่าวจะมีการนำเสนอน.พ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเพื่อให้เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป ซึ่งตามแผนนี้จะยึดการให้กฟผ.กู้เงินจะไม่เกิน 4% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติหรือ GDP โดยการลงทุนของกฟผ.ที่ผ่านมาก็แสดงให้เห็นว่ากฟผ.อยู่ได้จนมาถึงวันนี้ที่ครบรอบ 35 ปี

"คิดว่าจะไปขอร้องให้รัฐค้ำประกัน แต่ถ้าไม่ค้ำผมก็เชื่อว่ากฟผ.กู้เองได้ ถ้าผมเป็นแบงก์ผมก็ให้กู้ ก็ผูกขาดอยู่รายเดียว แต่เคยได้ยินไหมว่าผูกขาดเพื่อชาติ ทำให้ดีก็มีประสิทธิภาพได้ เพราะจะต้องดูแลทุกข์สุขของประชาชน เวลามองต้องมองสังคม ที่เลวร้ายเพราะไม่มีการควบคุม เอกชนผลิตหมดก็ฮั้วกัน ต้องถ่วงดุล

เวลานี้มีเอกชนผลิตแล้วก็มาถ่วงดุลได้"นายชัยอนันต์กล่าว

นายไกรสีห์ กรรณสูตร รองผู้ว่าการนโยบายและแผน กฟผ. กล่าวว่า PDP -2004 กำหนดโรงไฟฟ้าที่จะเข้าระบบดังนี้ ปี 2550 โรงไฟฟ้า BLCP ขนาด 700 เมกะวัตต์ 2 เครื่อง และพรรณระนครใต้ขนาด 700 เมกะวัตต์ ปี 2551 โรงไฟฟ้าบ.กัลฟ์เพาเวอร์เจเนอเรชั่น 700 เมกะวัตต์ บ.ยูเนี่ยนเพาเวอร์ดีเวลลอปเมนท์ 1,400 เมกวัตต์ โรงไฟฟ้าสงขลา 700เมกะวัตต์์ และโรงไฟฟ้าขนอม 380 เมกะวัตต์ ปี 2552 โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ 700 เมกะวัตต์ บางปะกง 700 เมกะวัตต์

ส่วนในปี 2553 โรงไฟฟ้าน้ำเทิน 2 ,920 เมกวัตต์ และ

โค้ด: เลือกทั้งหมด

นโรงไฟฟ้าใหม่ 800 เมกกะวัตต์ ปี 2554 โรงไฟฟ้าใหม่ 800 เมกะวัตต์ ปี 2555 โรงไฟฟ้าใหม่ 2,400 เมกะวัตต์ ปี 2556 โรงไฟฟ้าใหม่ 2,400 เมกะวัตต์ ปี 2557 โรงไฟฟ้าใหม่ 2,500 เมกะวัตต์ และปี 2558 โรงไฟฟ้าใหม่ 3,000 เมกะวัตต์ 
ซึ่งเท่ากับมีโรงไฟฟ้าใหม่ทั้งสิ้น 21 แห่งนับจากปี 2550

นายณรงค์ศักดิ์ วิเชษฐพันธ์ รักษาการผู้ว่ากฟผ.กล่าวว่า แผนPDP ดังกล่าวเดิมเสนอพระนครเหนือและพระนครใต้แห่งละ 800 เมกะวัตต์แต่บอร์ดเห็นว่าเทคโนโลยีที่ใช้ยังไม่ใหม่นักจึงลดให้เหลือแห่งละ 700

เมกะวัตต์ และนำขนอม 380 เมกะวัตต์มาแทน ส่วนที่โรงไฟฟ้าจะนะยืนยันว่าจะไม่มีปัญหา การก่อสร้างจะเป็นไปตามแผน เร็วๆ นี้จะประกาศซื้อที่สร้างประมาณ 500 ไร่ และแผน PDP ดังกล่าวจะยึดรูปแบบ Enhance Single Buyer ซึ่งจะมีองค์กรกำกับดูแลตามมติครม.ที่เห็นชอบไปก่อนหน้าแล้ว



egcomp

โพสต์ โดย egcomp » พฤหัสฯ. พ.ค. 06, 2004 4:22 pm

EGCOMP เค้า cost plus ครับ เพราะฉะนั้น ค่าพลังงาน จะขึ้นหรือลด เค้าก็ + mark up แล้ว charge กลับไป EGAT ตามสูตรของ PPA ครับ

FYI
บอร์ด กฟผ.เห็นชอบแผนพีดีพี 2004 กฟผ.สร้างโรงไฟฟ้าเอง 4 โรง ใน 5 ปีข้าง ที่มาของเงินมาจาก กฟผ.กู้เอง ชัยอนันต์ย้ำชัดไม่แปรรูป หากกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ก็รอชาติหน้า ย้ำกิจการไฟฟ้า กฟผ.ต้องผลิตเองครึ่งหนึ่งในอนาคต ผูกขาดเพื่อชาติ แต่มีแนวโน้มการชุมนุมยืดเยื้อ เพราะ รมว.พลังงานไม่เห็นด้วยกับข้อตกลงชะลอแปรรูปผ.

นายชัยอนันต์ สมุทวณิช ประธานคณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แถลงว่าที่ประชุมคณะกรรมการ กฟผ.วันนี้ (4 พ.ค.) เห็นชอบแผนพัฒนากำลังไฟฟ้าระยะยาว ช่วงปี 2547-2558 (พีดีพี 2004 ) คาดว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1,900 เมกะวัตต์ต่อปี โดยในช่วงปี 2547-2552 กฟผ.จะมีโรงไฟฟ้าที่ กฟผ.ก่อสร้างเอง 4 โรง คือ โรงไฟฟ้าสงขลา โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ พระนครใต้ และบางปะกง วงเงินลงรวมทุนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าและสายส่ง 242,340 ล้านบาท โดยส่วนนี้ กฟผ.พร้อมกู้เงินเอง หรือหาเงินก่อสร้างรูปแบบอื่นๆ โดยไม่จำเป็นต้องกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่ง กฟผ.จะดูแลสัดส่วนการกู้ไม่ให้เกิดร้อยละ 4 ของจีดีพีของประเทศ

การแปรรูปหมายถึงการปฏิรูปองค์กรให้ดีขึ้น กฟผ.มีเครดิต และเป็นธุรกิจผูกขาด สถาบันการเงินต่างยินดีให้กู้ ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องเข้าตลาดหลักทรัพย์ หากจะเข้าคงจะเป็นชาติหน้า นายชัยอนันต์กล่าว

ส่วนแผนพีดีพี ในปี 2553 2558 ซึ่งต้องมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเกือบ 20 โรงนั้น ที่ประชุม คณะกรรมการ กฟผ.มีมติว่าให้ กฟผ.เป็นผู้ก่อสร้างโรงไฟฟ้าเองร้อยละ 50 ส่วนที่เหลือจะเป็นการแข่งขันกับภาคเอกชน โดยคาดว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าในปี 2558 จะมีประมาณ 40,978 เมกะวัตต์ จากที่ปี 2547 มีความต้องการใช้ประมาณ 19,600 เมกะวัตต์ โดยคาดว่าอัตราการขยายตัวของการใช้ไฟฟ้าจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 7-8

หากใครมองว่า กฟผ.ยังคงผูกขาดการผลิตไฟฟ้า ก็ต้องบอกว่าเป็นการผูกขาดเพื่อชาติ โดยจะมีการปฏิรูปองค์กร อย่างต่อเนื่อง ทำให้ดี โปร่งใส ป้องกันการฮั้ว เป็นการแทรกแซงโดยรับเพื่อสังคม การผูกขาดไม่ใช่สิ่งเลวร้าย เพราะมีการดูแลผู้บริโภคโดยรัฐบาลจะจัดตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการไฟฟ้า จึงไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องความไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค นายชัยอนันต์ กล่าวและว่ากรณี กลุ่มผู้ชุมนุมจะชุมนุมคัดค้าน แปรรูป ต่อไปก็เป็นเรื่องที่ทำได้

นายไกรสีห์ กรรณสูตร รองผู้ว่าการ กฟผ. กล่าวว่า ในแผนการก่อสร้างโรงไฟฟ้า 4 โรงของ กฟผ. นั้น คณะกรรมการ กฟผ. เป็นห่วงกรณีความไม่สงบในภาคใต้อาจทำให้การก่อสร้างโรงไฟฟ้าสงขลาล่าช้า

โค้ด: เลือกทั้งหมด

ที่ประชุมจึงเห็นชอบให้บริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน ) หรือเอ็กโก้ บริษัทในเครือของ กฟผ.สร้างโรงไฟฟ้าขนอมเพิ่มขึ้นอีก 380 
เมกะวัตต์ในปี 2551 เพื่อรองรับความล่าช้าดังกล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าวันนี้ (4 พ.ค.) ในส่วนแกนนำคัดค้านการแปรรูปกิจการไฟฟ้า-ประปา ได้เข้าพบ นายเสนาะ เทียนทอง ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ที่บ้านพักเมืองทองธานี โดยเตรียมร่างข้อตกลงร่วมกัน เพื่อหาแนวทางยุติการแปรรูป้า

นายเพียร ยงหนู ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) กล่าวว่า ยังไม่สามารถหาข้อสรุปและทางออกที่ลงตัวได้ แม้นายเสนาะ เทียนทอง จะเป็นตัวประสานให้ เนื่องจาก นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รมว.พลังงานไม่ยอมลงนามข้อตกลงที่เรียกร้องไปซึ่งให้ยุติแปรรูป ยกเลิก พรบ.ทุน และให้ตัวแทน สร.กฟผ.มีส่วนร่วมในการดำเนินงานทั้ง 2 ข้อ เนื่องจาก รมว.พลังงานต้องการให้นายกฯ รับทราบก่อน ทำให้การเจรจาไม่สามารถหาข้อยุติได้

นายเสนาะได้แสดงความเห็นใจผู้ชุมนุมที่ปักหลักสู้มาเกือบ 2 เดือน จึงลงมาช่วยประสานให้ แต่ในเมื่อไม่สามารถตกลงกันได้ก็ต้องยุติบทบาทไปก่อน โดยระหว่างที่โทรศัพท์คุยกับ รมว.พลังงาน ทุกคนก็ได้ยินหมด ก็เข้าใจท่าน และท่านก็บอกว่าก็เห็นแล้วว่าให้เด็กมาเป็น รมว.ก็เป็นแบบนี้แหละ เดิมวางแผนไว้ว่าหากสามารถเจรจาตกลงกันได้จะเรียกประชุมวิสามัญวันที่ 11 พ.ค.นี้ เพื่อยุติการชุมนุมแต่เมื่อไม่สามารถตกลงกันได้ก็จะใช้มาตรการรุนแรงยิ่งขึ้น

นายสมภพ ฤกษ์รัตน์ ที่ปรึกษาประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ กฟผ. กล่าวว่า เมื่อท่าทีของ นพ.พรหมินทร์ ถือว่าเป็นการล้มโต๊ะเจรจา ดังนั้น การชุมนุมจะมีต่อไปและจะไปชุมนุมกันที่กระทรวงพลังงาน ซึ่งข้อเสนอของนายชัยอนันต์นั้น ทางสหภาพฯ ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก และเคารพในฐานะเป็นสุภาพบุรุษ แต่ท่าทีของรัฐมนตรีพลังงานเมื่อเป็นเช่นนี้ก็ไม่ทราบว่าข้อเสนอของนายชัยอนันต์จะเป็นที่ยอมรับหรือไม่เ

นายเสนาะ ได้หารือกับนายกรัฐมนตรีเรื่องการแปรรูป เมื่อค่ำวานนี้ ( 3 พ.ค.) และนายเสนาะระบุว่า นายกรัฐมนตรีเห็นด้วยกับการชะลอแปรรูปและให้ดำเนินการ แต่ทุกอย่างก็ต้องยกเลิกเมื่อ รมว.พลังงานไม่เห็นด้วย
นายสมภพกล่าว

บอร์ดกฟผ.อนุมัติแผนเพิ่มไฟฟ้า



โดย ผู้จัดการรายวัน

บอร์ดกฟผ.ไม่รอเรื่องแปรรูป อนุมัติแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าเพิ่มอีก 30,000 เมกะวัตต์ ใช้เม็ดเงิน 5.5 แสนล้านบาท "ชัยอนันต์"ย้ำ ผูกขาดเพื่อชาติ ขณะที่แกนนำม็อบรุดพบเสนาะอีกครั้ง แต่ต้องผิดหวังหลังไม่สามารถจับมือหมอมิ้งลงนามหยุดแปรรูปได้ เผยยังมีลุ้นเคลียร์สมคิดให้ลงนามแทน

วานนี้ (4พ.ค.) ได้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(บอร์ดกฟผ.) ที่มีนายชัยอนันต์ สมุทรวณิช เป็นประธานเพื่อพิจารณาวาระพิเศษเกี่ยวกับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า(PDP-2004) โดยมีแกนนำสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจกฟผ.เข้าร่วมรับฟังการหารือด้วย

นายชัยอนันต์กล่าวว่า บอร์ดได้มีมติเห็นชอบแผน PDP -2004 ที่พิจารณาตามตัวเลขความต้องการใช้ไฟฟ้าของคณะอนุกรรมการพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟ กระทรวงพลังงาน ที่ความต้องการใช้ไฟในอนาคตจะเติบโตเฉลี่ยปีละ 1,900 เมกะวัตต์ และอิงอัตราการเติบโตเศรษฐกิจระดับปานกลาง ซึ่งจะทำให้้ต้องลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าทั้งสิ้น 550,000 ล้านบาทตั้งแต่ปี 2545-2554 หรือคิดเป็นกำลังการผลิตประมาณ 3 หมื่นเมกะวัตต์ และยึดกำลังสำรองการผลิตไฟฟ้าที่ระดับ 15% ของกำลังผลิตทั้งหมด

ทั้งนี้ PDP ฉบังดังกล่าวจะมีการนำเสนอน.พ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเพื่อให้เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป ซึ่งตามแผนนี้จะยึดการให้กฟผ.กู้เงินจะไม่เกิน 4% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติหรือ GDP โดยการลงทุนของกฟผ.ที่ผ่านมาก็แสดงให้เห็นว่ากฟผ.อยู่ได้จนมาถึงวันนี้ที่ครบรอบ 35 ปี

"คิดว่าจะไปขอร้องให้รัฐค้ำประกัน แต่ถ้าไม่ค้ำผมก็เชื่อว่ากฟผ.กู้เองได้ ถ้าผมเป็นแบงก์ผมก็ให้กู้ ก็ผูกขาดอยู่รายเดียว แต่เคยได้ยินไหมว่าผูกขาดเพื่อชาติ ทำให้ดีก็มีประสิทธิภาพได้ เพราะจะต้องดูแลทุกข์สุขของประชาชน เวลามองต้องมองสังคม ที่เลวร้ายเพราะไม่มีการควบคุม เอกชนผลิตหมดก็ฮั้วกัน ต้องถ่วงดุล

เวลานี้มีเอกชนผลิตแล้วก็มาถ่วงดุลได้"นายชัยอนันต์กล่าว

นายไกรสีห์ กรรณสูตร รองผู้ว่าการนโยบายและแผน กฟผ. กล่าวว่า PDP -2004 กำหนดโรงไฟฟ้าที่จะเข้าระบบดังนี้ ปี 2550 โรงไฟฟ้า BLCP ขนาด 700 เมกะวัตต์ 2 เครื่อง และพรรณระนครใต้ขนาด 700 เมกะวัตต์ ปี 2551 โรงไฟฟ้าบ.กัลฟ์เพาเวอร์เจเนอเรชั่น 700 เมกะวัตต์ บ.ยูเนี่ยนเพาเวอร์ดีเวลลอปเมนท์ 1,400 เมกวัตต์ โรงไฟฟ้าสงขลา 700เมกะวัตต์์ และโรงไฟฟ้าขนอม 380 เมกะวัตต์ ปี 2552 โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ 700 เมกะวัตต์ บางปะกง 700 เมกะวัตต์

ส่วนในปี 2553 โรงไฟฟ้าน้ำเทิน 2 ,920 เมกวัตต์ และ

โค้ด: เลือกทั้งหมด

นโรงไฟฟ้าใหม่ 800 เมกกะวัตต์ ปี 2554 โรงไฟฟ้าใหม่ 800 เมกะวัตต์ ปี 2555 โรงไฟฟ้าใหม่ 2,400 เมกะวัตต์ ปี 2556 โรงไฟฟ้าใหม่ 2,400 เมกะวัตต์ ปี 2557 โรงไฟฟ้าใหม่ 2,500 เมกะวัตต์ และปี 2558 โรงไฟฟ้าใหม่ 3,000 เมกะวัตต์ 
ซึ่งเท่ากับมีโรงไฟฟ้าใหม่ทั้งสิ้น 21 แห่งนับจากปี 2550

นายณรงค์ศักดิ์ วิเชษฐพันธ์ รักษาการผู้ว่ากฟผ.กล่าวว่า แผนPDP ดังกล่าวเดิมเสนอพระนครเหนือและพระนครใต้แห่งละ 800 เมกะวัตต์แต่บอร์ดเห็นว่าเทคโนโลยีที่ใช้ยังไม่ใหม่นักจึงลดให้เหลือแห่งละ 700

เมกะวัตต์ และนำขนอม 380 เมกะวัตต์มาแทน ส่วนที่โรงไฟฟ้าจะนะยืนยันว่าจะไม่มีปัญหา การก่อสร้างจะเป็นไปตามแผน เร็วๆ นี้จะประกาศซื้อที่สร้างประมาณ 500 ไร่ และแผน PDP ดังกล่าวจะยึดรูปแบบ Enhance Single Buyer ซึ่งจะมีองค์กรกำกับดูแลตามมติครม.ที่เห็นชอบไปก่อนหน้าแล้ว



ล็อคหัวข้อ