โพสต์แล้ว: ศุกร์ มี.ค. 12, 2004 4:39 am
พื้นฐานความแตกต่างกันของ 2 ระบบไงครับ ทำให้ กำไรแตกต่างกัน
โทรศัพท์พื้นฐาน(โทรศัพท์บ้าน)
โดยเริ่มแรกเป็นบริการพื้นฐานเพื่อประชาชน รัฐฯต้องการให้ทุกครัวเรือนมีใช้แต่ไม่สามารถ ลงทุนทั้งหมดได้ บริษัทเอกชนจึงได้สัมปทานจากรัฐฯ ไปทำแทน โดย TA ได้สัมปทานในกรุงเทพฯ TT&T ได้สัมปทานในส่วนภูมิภาค
จุดด้อยของโทรศัพท์บ้าน
1. ไม่สามารถพกพาไปไหนได้ ทำให้ไม่เหมาะกับชีวิตปัจจุบัน
2. การขยายเครือข่ายทำได้ยากและช้ากว่า เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการติดตั้งแต่ละเบอร์สูง สังเกตได้จากการขยายตัว ถ้าไม่เป็นการตั้งชุมสายเพื่อหมู่บ้านใหม่หรือชุมชนใหม่แล้ว การไปขอโทรศัพท์พื้นฐานแต่ละครั้งยากมากๆที่จะได้ ต้องดูว่ามีคู่สายว่างที่ชุมสายเดิมใกล้บ้านหรือไม่ ถ้าไม่มีเป็นอันจบ
3. ราคาค่าบริการที่เป็นตัวกำหนดรายได้นั้น ถูกควบคุมโดยกลไกจากภาครัฐฯ
4. ลูกเล่นที่เป็นบริการเสริมให้แก่ระบบ มีน้อยไม่สามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายที่ทำรายได้มากๆ เช่น กลุ่มวัยรุ่น, นักธุรกิจ ฯ ได้
โทรศัพท์มือถือ
จากความไม่สมบูรณ์ของระบบโทรศัพท์พื้นฐานในไทย ทำให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคไม่ได้ ระบบโทรศัพท์มือถือในไทยซึ่งวางเครือข่ายได้ง่ายกว่าเพราะเพียงแค่ลำเรียงเสาไปติดตั้งในพื้นที่ที่มีความต้องการสูงและคุ้มต่อการลงทุนก็สามารถให้บริการได้แล้ว จนปัจจุบันสามาถให้บริการได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ (โดยไม่ต้องตั้งเสาลากสายดังโทรศัพท์บ้าน)
จุดเด่นของโทรศัพท์มือถือ
1. ราคาเครื่องถูกลงเรื่อยๆ ตามสภาพการแข่งขัน และขอเบอร์ง่าย เพียงแค่มีเงินบวกกับเอกสารก็เข้าไปซื้อได้ตามร้านขายมือถือทั่วไป จากความง่ายและสะดวกตรงนี้ทำให้ฐานลูกค้าขยายได้อย่างรวดเร็วในระยะเวลาไม่กี่ปี
2. การผูกขาดระบบทำให้มีผู้ให้บริการไม่กี่รายเท่านั้น แม้ปัจจุบันมีผู้ให้บริการ
มากขึ้น ก็ไม่ทำให้รายได้บริษัทที่ดำเนินธุรกิจก่อนลดลงมากมาย เหมือนอย่างโทรศัพท์พื้นฐานถูกโทรศัพท์มือถือ แทรกส่วนแบ่งรายได้ไปมหาศาล
3. ระบบสามารถให้บริการสนับสนุนที่เป็นกำไรมหาศาลได้ เช่น การโหลดภาพ, การร่วมสนุกโดยส่ง SMS ฯ
4. กลับมาพูดถึงเครือข่ายอีกนิดครับ เสาแต่ละต้นที่ตั้งไปนั้น บริการครอบคลุมผู้ใช้ได้มากราย ขณะที่ โทรศัพท์บ้าน 1 คู่สายต่อ 1 เบอร์ ทำให้ต้นทุนถูกกว่า
5. เป็นธุรกิจผูกขาดมานานหลายปี ผู้ที่ทำธุรกิจก่อนจึงได้เปรียบ กล่าวคือเมื่อผู้ใช้ไม่เยอะ ราคาค่าเครื่องแพง บริษัทกำไรจากการขายเครื่องมาก ค่าบริการแพง เงินที่ได้จากการขายเครื่องมากและค่าบริการแพงก็เอามาสร้างระบบรองรับปัจจุบัน
------- โดยคร่าวข้างต้นเป็นเบื้องหลังในอดีต -------
อนาคตธุรกิจสื่อสารในเมืองไทย
1. ถ้าลองเอาจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์บ้านและมือถือมาเขียน โทรศัพท์บ้านการเพิ่มขึ้นค่อนข้างคงที่ไม่หวือหวา ขณะที่โทรศัพท์มืิอถือเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด แสดงถึงจำนวนผู้ต้องการใช้บริการมีมากๆ ซึ่งโทรศัพท์พื้นฐานตอบสนองไม่ได้
2. บริษัทมือถือในเมืองไทย ที่ดำเนินงานมาก่อนได้เปรียบในด้านระบบโครงสร้างเพราะโครงสร้างปัจจุบันค่อนข้างสมบูรณ์ เปรียบเสมือนสร้างถนนเสร็จแล้วตอนนี้รอแต่โปรโมทให้คนรับรู้ เข้ามาใช้บริการมากๆ (ยิ่งมีผู้ใช้บริการมาก รายได้ก็มากขึ้น) ตอนนี้จึงเห็นโปรโมชั่นบริการลูกเล่นต่างๆ กันอย่างเต็มที่
3. บริษัทที่ดำเนินธุรกิจโทรศัพท์พื้นฐาน ต้องหันมาใช้โครงสร้างระบบเท่าที่ตนเองมีอยู่มาให้บริการบ้าง เพื่อชดเชยรายได้ที่ขาดหายไป บริการของโทรศัพท์บ้าน ที่เป็นตัวอย่างที่เห็นชัดเวลานี้คือ ADSL เพื่อเบนกลุ่มลูกค้ามาที่อีกกลุ่มที่ต้องการสื่อสารทางข้อมูลมากๆ และรวดเร็ว ซึ่งโทรศัพท์มือถือทำได้แต่แพงกว่ามากและไม่คงเส้นคงวาในการเชื่อมต่อระบบ
4. เบอร์โทรศัพท์ในอนาคตในไม่นานจะถูกใช้เต็มหมด เห็นได้จากโทรศัพท์บ้านในกรุงเทพฯ ต้องเริ่มใช้ 02 นำหน้าเพื่อแยกแยะเบอร์ โทรศัพท์บ้านในภูมิภาคใช้ 03,04,05 นำหน้า โทรศัพท์มือ มีการใช้เบอร์ 01 อดีต ตามมาด้วย 09 ปัจจุบัน มี 06,07 ปัจจุบันและอนาคตอันใกล้(แต่ละบริษัทฯ)ต้องมีการนำเบอร์เดิมๆ ที่เลิกใช้มาให้บริการใหม่ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ก่อนที่บริษัทฯ ตนเองจะไม่มีเบอร์ให้บริการ (ถ้าจำไม่ผิดแต่ละบริษิทฯ จะมีชุดเบอร์ที่ตนเองได้สัมปทานมาด้วย) แล้วต้องรอการจัดสรรตั้งเบอร์ใหม่ นี้เป็นอีกเหตุผลที่ทำให้เห็น บริการเสริมมาแรงมากๆ ในยุคปัจจุบัน
5. อนาคตหากมีคณะกรรมการ กทช. (คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ) มาจัดสรรดูแล การแข่งขันน่าจะเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันเงื่อนไขในรายละเอียดก็ไม่เอื้อต่อการที่จะมีบริษัทใหม่ๆ เกิดขึ้นมาง่ายๆ บริษัทเดิมๆ จึงทำกำไรได้มากกว่า
----------------------------------------------------------------
แบบคร่าวๆ แค่นี้ไม่ทราบว่าใช้ได้ไหมนะครับ แต่ว่าหากมีอะไร ไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้องติติงได้นะครับ พี่ๆ และทุกๆ ท่าน
พอดีผมเพิ่งโพสท์ที่นี่ครั้งแรก แต่ผมก็อ่านที่นี่บ่อยครับ ความรู้ที่นี่มีให้ดี
สอนให้ไม่โลภ เป็นนักลงทุนที่ดี(แม้ว่าวันนี้จะยังทำได้ไม่เต็มที่ก็ตาม)
1
โทรศัพท์พื้นฐาน(โทรศัพท์บ้าน)
โดยเริ่มแรกเป็นบริการพื้นฐานเพื่อประชาชน รัฐฯต้องการให้ทุกครัวเรือนมีใช้แต่ไม่สามารถ ลงทุนทั้งหมดได้ บริษัทเอกชนจึงได้สัมปทานจากรัฐฯ ไปทำแทน โดย TA ได้สัมปทานในกรุงเทพฯ TT&T ได้สัมปทานในส่วนภูมิภาค
จุดด้อยของโทรศัพท์บ้าน
1. ไม่สามารถพกพาไปไหนได้ ทำให้ไม่เหมาะกับชีวิตปัจจุบัน
2. การขยายเครือข่ายทำได้ยากและช้ากว่า เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการติดตั้งแต่ละเบอร์สูง สังเกตได้จากการขยายตัว ถ้าไม่เป็นการตั้งชุมสายเพื่อหมู่บ้านใหม่หรือชุมชนใหม่แล้ว การไปขอโทรศัพท์พื้นฐานแต่ละครั้งยากมากๆที่จะได้ ต้องดูว่ามีคู่สายว่างที่ชุมสายเดิมใกล้บ้านหรือไม่ ถ้าไม่มีเป็นอันจบ
3. ราคาค่าบริการที่เป็นตัวกำหนดรายได้นั้น ถูกควบคุมโดยกลไกจากภาครัฐฯ
4. ลูกเล่นที่เป็นบริการเสริมให้แก่ระบบ มีน้อยไม่สามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายที่ทำรายได้มากๆ เช่น กลุ่มวัยรุ่น, นักธุรกิจ ฯ ได้
โทรศัพท์มือถือ
จากความไม่สมบูรณ์ของระบบโทรศัพท์พื้นฐานในไทย ทำให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคไม่ได้ ระบบโทรศัพท์มือถือในไทยซึ่งวางเครือข่ายได้ง่ายกว่าเพราะเพียงแค่ลำเรียงเสาไปติดตั้งในพื้นที่ที่มีความต้องการสูงและคุ้มต่อการลงทุนก็สามารถให้บริการได้แล้ว จนปัจจุบันสามาถให้บริการได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ (โดยไม่ต้องตั้งเสาลากสายดังโทรศัพท์บ้าน)
จุดเด่นของโทรศัพท์มือถือ
1. ราคาเครื่องถูกลงเรื่อยๆ ตามสภาพการแข่งขัน และขอเบอร์ง่าย เพียงแค่มีเงินบวกกับเอกสารก็เข้าไปซื้อได้ตามร้านขายมือถือทั่วไป จากความง่ายและสะดวกตรงนี้ทำให้ฐานลูกค้าขยายได้อย่างรวดเร็วในระยะเวลาไม่กี่ปี
2. การผูกขาดระบบทำให้มีผู้ให้บริการไม่กี่รายเท่านั้น แม้ปัจจุบันมีผู้ให้บริการ
มากขึ้น ก็ไม่ทำให้รายได้บริษัทที่ดำเนินธุรกิจก่อนลดลงมากมาย เหมือนอย่างโทรศัพท์พื้นฐานถูกโทรศัพท์มือถือ แทรกส่วนแบ่งรายได้ไปมหาศาล
3. ระบบสามารถให้บริการสนับสนุนที่เป็นกำไรมหาศาลได้ เช่น การโหลดภาพ, การร่วมสนุกโดยส่ง SMS ฯ
4. กลับมาพูดถึงเครือข่ายอีกนิดครับ เสาแต่ละต้นที่ตั้งไปนั้น บริการครอบคลุมผู้ใช้ได้มากราย ขณะที่ โทรศัพท์บ้าน 1 คู่สายต่อ 1 เบอร์ ทำให้ต้นทุนถูกกว่า
5. เป็นธุรกิจผูกขาดมานานหลายปี ผู้ที่ทำธุรกิจก่อนจึงได้เปรียบ กล่าวคือเมื่อผู้ใช้ไม่เยอะ ราคาค่าเครื่องแพง บริษัทกำไรจากการขายเครื่องมาก ค่าบริการแพง เงินที่ได้จากการขายเครื่องมากและค่าบริการแพงก็เอามาสร้างระบบรองรับปัจจุบัน
------- โดยคร่าวข้างต้นเป็นเบื้องหลังในอดีต -------
อนาคตธุรกิจสื่อสารในเมืองไทย
1. ถ้าลองเอาจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์บ้านและมือถือมาเขียน โทรศัพท์บ้านการเพิ่มขึ้นค่อนข้างคงที่ไม่หวือหวา ขณะที่โทรศัพท์มืิอถือเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด แสดงถึงจำนวนผู้ต้องการใช้บริการมีมากๆ ซึ่งโทรศัพท์พื้นฐานตอบสนองไม่ได้
2. บริษัทมือถือในเมืองไทย ที่ดำเนินงานมาก่อนได้เปรียบในด้านระบบโครงสร้างเพราะโครงสร้างปัจจุบันค่อนข้างสมบูรณ์ เปรียบเสมือนสร้างถนนเสร็จแล้วตอนนี้รอแต่โปรโมทให้คนรับรู้ เข้ามาใช้บริการมากๆ (ยิ่งมีผู้ใช้บริการมาก รายได้ก็มากขึ้น) ตอนนี้จึงเห็นโปรโมชั่นบริการลูกเล่นต่างๆ กันอย่างเต็มที่
3. บริษัทที่ดำเนินธุรกิจโทรศัพท์พื้นฐาน ต้องหันมาใช้โครงสร้างระบบเท่าที่ตนเองมีอยู่มาให้บริการบ้าง เพื่อชดเชยรายได้ที่ขาดหายไป บริการของโทรศัพท์บ้าน ที่เป็นตัวอย่างที่เห็นชัดเวลานี้คือ ADSL เพื่อเบนกลุ่มลูกค้ามาที่อีกกลุ่มที่ต้องการสื่อสารทางข้อมูลมากๆ และรวดเร็ว ซึ่งโทรศัพท์มือถือทำได้แต่แพงกว่ามากและไม่คงเส้นคงวาในการเชื่อมต่อระบบ
4. เบอร์โทรศัพท์ในอนาคตในไม่นานจะถูกใช้เต็มหมด เห็นได้จากโทรศัพท์บ้านในกรุงเทพฯ ต้องเริ่มใช้ 02 นำหน้าเพื่อแยกแยะเบอร์ โทรศัพท์บ้านในภูมิภาคใช้ 03,04,05 นำหน้า โทรศัพท์มือ มีการใช้เบอร์ 01 อดีต ตามมาด้วย 09 ปัจจุบัน มี 06,07 ปัจจุบันและอนาคตอันใกล้(แต่ละบริษัทฯ)ต้องมีการนำเบอร์เดิมๆ ที่เลิกใช้มาให้บริการใหม่ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ก่อนที่บริษัทฯ ตนเองจะไม่มีเบอร์ให้บริการ (ถ้าจำไม่ผิดแต่ละบริษิทฯ จะมีชุดเบอร์ที่ตนเองได้สัมปทานมาด้วย) แล้วต้องรอการจัดสรรตั้งเบอร์ใหม่ นี้เป็นอีกเหตุผลที่ทำให้เห็น บริการเสริมมาแรงมากๆ ในยุคปัจจุบัน
5. อนาคตหากมีคณะกรรมการ กทช. (คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ) มาจัดสรรดูแล การแข่งขันน่าจะเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันเงื่อนไขในรายละเอียดก็ไม่เอื้อต่อการที่จะมีบริษัทใหม่ๆ เกิดขึ้นมาง่ายๆ บริษัทเดิมๆ จึงทำกำไรได้มากกว่า
----------------------------------------------------------------
แบบคร่าวๆ แค่นี้ไม่ทราบว่าใช้ได้ไหมนะครับ แต่ว่าหากมีอะไร ไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้องติติงได้นะครับ พี่ๆ และทุกๆ ท่าน
พอดีผมเพิ่งโพสท์ที่นี่ครั้งแรก แต่ผมก็อ่านที่นี่บ่อยครับ ความรู้ที่นี่มีให้ดี
สอนให้ไม่โลภ เป็นนักลงทุนที่ดี(แม้ว่าวันนี้จะยังทำได้ไม่เต็มที่ก็ตาม)
1