เศรษฐกิจจะไปทางไหน...
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มิ.ย. 13, 2004 10:52 pm
คนไทยใช้น้ำมันแพงอีก 3 ปี ผู้บริโภคช็อกลงทุนชะงัก
รัฐหมดแรงอุ้มยอมปล่อยเบนซินปรับราคา แต่ยังกัดฟันตรึงดีเซลต่อ ส่งผลความเชื่อมั่นอุตฯลดวูบ สภาอุตฯคาดภาคการผลิต-ลงทุนชะงัก ขณะที่นักการตลาดผวาผู้บริโภคหมดอารมณ์จับจ่าย ส่วนค่ายรถหรูยังมั่นใจไม่กระทบลูกค้าระดับบน สถาบันปิโตรเลียมฟันธงถึงยุคน้ำมันแพงคาดคนไทยจ่ายแพงยาว ชดใช้เงินคืนกองทุนไม่ต่ำกว่า 3 ปี
แม้ในการพบปะกับตัวแทน 11 สมาคมธุรกิจเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2547 ที่ผ่านมา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะกล่าวกับบรรดานักธุรกิจชั้นนำเพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าปัญหาความไม่แน่ นอนจากอัตราดอกเบี้ย และที่สำคัญที่สุดคือราคาน้ำมัน จะยังไม่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ตลอดจนโอกาสในการขยายธุรกิจการลงทุนในประเทศไทยก็ตาม
แต่ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นหลังจากกระทรวงพลังงานเปิดไฟเขียวให้ปรับราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้น 60 สตางค์/ลิตร ตั้งแต่วันที่ 8 มิ.ย. 2547 ก็คือผู้ใช้น้ำมัน ผู้บริโภคทั่วไปเริ่มหันมากังวลกับภาระค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มขึ้น และแม้รัฐบาลจะยังคงยืนยันที่จะตรึงราคาน้ำมันดีเซลเพื่อไม่ให้กระทบต้นทุนการผลิตโดยรวม แต่ปัจจัยจากราคาน้ำมันก็กำลังกลายเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น ทั้งในภาคผู้ผลิตสินค้าและผู้บริโภคในขณะนี้
- ภาคการผลิต-ลงทุนชะงัก
ความเชื่อมั่นอุตฯลดวูบ
ข้อมูลที่สำคัญซึ่งยืนยันถึงผลกระทบของสถานการณ์ราคาน้ำมันต่อภาคการผลิตอย่าง ชัดเจนก็คือ รายงานสรุปที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) จัดทำดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2547 ผลปรากฏว่าดัชนีอยู่ที่ระดับ 98.2 ซึ่งต่ำกว่า 100 และเป็นค่าต่ำสุดในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และขนาดกลางไม่ดีนัก จากเหตุผลเรื่องของราคาวัตถุดิบและราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นมาโดยตลอด และสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ยิ่งไปกว่านั้น รายงานของ สอท.ยังคาดการณ์ด้วยว่า หากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่องไปอีก 3-5 เดือน ทาง สอท.เชื่อว่าจะกระทบต่อแผนการผลิตและการลงทุนของประเทศ ดังนั้นปัจจัยที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิดก็คือ มาตรการลดผลกระทบจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมันและการคลี่คลายปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะเป็นตัวแปรที่สำคัญต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการมากที่สุด
ขณะที่นายประพัฒน์ โพธิวรคุณ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ก็ให้สัมภาษณ์ยอม รับว่าในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2547 การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมลดลงต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้ แต่ยังไม่ถือเป็นปัญหาที่ร้ายแรง และยังหวังว่านอกจากอุตสาหกรรมอาหารที่มีปัจจัยกระทบหลายๆ เรื่องแล้ว อุตสาหกรรมอื่นๆ ที่แนวโน้มยังคงสดใสอย่างยานยนต์ หรือปิโตรเคมี ก็น่าจะขยายตัวดีขึ้นในไตรมาสต่อไป
พาณิชย์กร้าวห้ามขึ้นราคา
นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลประกาศปรับราคาน้ำมันเบนซินอีก 60 สตางค์ต่อลิตร กรมการค้าภายในยืนยันว่าจะไม่รับพิจารณาข้อเสนอของผู้ประกอบการรายใดที่จะใช้ข้ออ้างดังกล่าวในการปรับราคาสินค้าอุปโภคและบริโภค เพราะการขึ้นราคาน้ำมันเบนซินไม่กระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้า และจะกระทบการขนส่งสินค้าเพียงเล็กน้อย อธิบดีกรมการค้าภายในกล่าวว่า เจ้าหน้าที่กรมการค้าภายในทั้งส่วนกลางและต่างจังหวัดได้ออกตรวจสอบราคาสินค้าทั้งห้างสรรพสินค้าและตามตลาด สดอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งขอความร่วมมือห้างสรรพสินค้าว่าอย่าเพิ่งปรับราคาเพิ่มขึ้นในขณะนี้
สหพัฒน์ชี้คนเริ่มประหยัด
นายบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธาน เครือสหพัฒน์ เปิดเผยว่า ต้นทุนวัตถุดิบและค่าขนส่งมีผลกระทบต่อกำลังการผลิตของบริษัทและราคาสินค้าโดยตรง แต่ทางเครือสหพัฒน์ยืนยันที่จะไม่ขึ้นราคาสินค้า ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการแข่งขันในธุรกิจนี้ทำให้ผู้ผลิตไม่กล้าปรับขึ้นราคาในขณะนี้
อย่างไรก็ตาม เครือสหพัฒน์ประเมินผลจากปัจจัยด้านราคาน้ำมันว่า จะเป็นตัวสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้าขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าสูง อาทิ บ้านพักอาศัย รถยนต์ ซึ่งมียอดขายเติบโตในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาสูง และเชื่อว่าผู้บริโภคจะชะลอการใช้เงิน อนาคตหันมาประหยัด ใช้เงินเพื่อซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้น
หวั่นผู้บริโภคใจฝ่อหยุดช็อป
การปรับราคาน้ำมันเบนซินเป็นครั้งที่สองอีก 60 สตางค์ เป็นประเด็นหนึ่งที่นักการตลาดต่างเฝ้ามองด้วยความสนใจ เพราะเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่ออารมณ์การจับจ่าย เนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับขึ้นจะทำให้คนรู้สึกประหยัดการใช้จ่ายในเรื่องอื่นๆ ตามไปด้วย
สอดคล้องกับที่นางลักขณา ลีละยุทธโยธิน นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย กล่าวเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ผลกระทบที่ชัดเจนที่สุดคงเป็นเรื่องของอารมณ์ในการจับจ่ายใช้สอยที่อาจจะชะงักงันไปบ้าง และทำให้ผู้ประกอบการต้องหากลยุทธ์เด็ดๆ ออกมามัดใจลูกค้ามากขึ้น
รายงานข่าวจากบริษัท จีเอฟเค มาร์เก็ตติ้ง เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทวิจัยตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้า ระบุว่า ราคาน้ำมันคงกระทบกับอารมณ์การจับจ่ายใช้สอยบ้าง แต่เชื่อว่าคงจะไม่กระทบต่อมูลค่าตลาดรวมมากนัก ทั้งนี้ผู้ผลิตคงต้องปรับตัวด้วยการออกแคมเปญการตลาดออกมาแก้เกมอย่างต่อเนื่อง
- ค่ายรถไม่ห่วงกระทบกำลังซื้อ
นายฉัตวิทัย ตันตราภรณ์ ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท เดมเลอร์ไครสเลอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า การขึ้นภาษีรถยนต์เกินกว่า 2500 ซีซี ประเด็นนี้ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อภาวะการขายในตลาดรถยนต์หรูหราแต่อย่างไร เพราะรถยนต์กลุ่มนี้มีจำนวนไม่เยอะ หลักๆ ก็มี อี-คลาสบางรุ่น และเอส-คลาส ซึ่งกลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีกำลังซื้อทั้งสิ้น
นายฉัตวิทัยกล่าวว่า ราคาน้ำมันเบนซินที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องน่าจะมีผลต่อการเลือกซื้อรถยนต์ของลูกค้ามากกว่า โดยระยะหลังสัดส่วนการเลือกซื้อรถจะมุ่งไปที่การเลือกซื้อรถที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลมากขึ้น (อ่านเครื่องดีเซลขายกระฉูด หน้า 45)
เช่นเดียวกับนายอดิศักดิ์ หวังพงษ์สวัสดิ์ รองประธาน บริษัท ฟอร์ด ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า การหามาตรการเพื่อรับมือกับปัญหาน้ำมันราคาสูงขึ้น ค่ายรถยนต์ส่วนใหญ่เตรียมรับมือกันไว้แล้วทั้งสิ้น จะเห็นว่าที่ผ่านมารถเอสเคปของฟอร์ดจะมีเครื่องยนต์ใหญ่ขนาด 3000 ซีซี แต่ตอนนี้ฟอร์ดได้ลอนช์เอสเคปใหม่ เครื่องยนต์ 2.3 ลิตร ซึ่งเหมาะจะเป็นรถเอสยูวีเพื่อใช้ในเมืองหลวง (ซิตี้เอสยูวี) ซึ่งจะช่วยประหยัดพลังงานได้มาก
- ชี้กระทบผู้บริโภคในเมือง
ในรายงานภาวะเศรษฐกิจล่าสุดของ บล.ภัทร เกี่ยวกับผลกระทบที่ไทยได้รับจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ระบุว่า ราคาน้ำมันค้าปลีกในไทยจำเป็นที่จะต้องปรับเพิ่มขึ้นอีก 20% ถึงจะเท่ากับระดับราคาน้ำมันในตลาดโลก โดยปัจจุบันไทยมีการบริโภคน้ำมันอยู่ที่ 20 ล้านลิตรต่อวัน ซึ่งถ้าคิดจากสมมติ ฐานดังกล่าว ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น 3.50 บาท จะทำให้ผู้บริโภคมีต้นทุนคิดเป็น 13 พันล้านบาทในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ ซึ่งจำนวนดังกล่าวคิดเป็นเพียง 0.36% ของจำนวนการใช้น้ำมันโดยรวม ดังนั้น ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจึงคาดว่าจะตกอยู่กับคนในเมืองมากกว่าประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศ
อย่างไรก็ดี ขณะทีมีการปรับราคาน้ำมันเบนซินขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป รัฐบาลไม่ได้ปรับราคาน้ำมันดีเซลที่จะมีผู้ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้างกว่าขึ้นแต่อย่างใด โดยรัฐบาลจะต้องใช้เงินในการชดเชยราคาน้ำมันดีเซลอีกประมาณ 18 พันล้านบาท สำหรับเวลาที่เหลือจนถึงสิ้นปี 2547 นี้ โดยตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่า ราคาน้ำมันโลกไม่มีการเปลี่ยนแปลง
อนึ่ง สัดส่วนการใช้พลังงานทั้งหมดของไทยคิดเป็น 12.5% ของมูลค่าจีดีพี ขณะที่ประเทศไทยนำเข้าน้ำมันดิบคิดเป็นมูลค่าประมาณ 6% ของจีดีพี
- สถาบันปิโตรเลียมเตือน
หมดยุคน้ำมันราคาถูก
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานการสัมมนาเป็นการภายในของสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ในหัวข้อ "สถานการณ์ราคาน้ำมัน" ในสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ จากผลการศึกษาของสถาบันพบว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกได้ปรับฐานเพิ่มขึ้นจากเดิมถึงร้อยละ 39 โดยเมื่อเปรียบเทียบราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกในช่วงที่ผ่านมา ราคาฐานก่อนปี 2000 จะอยู่ที่ 18 เหรียญ/บาร์เรลเท่านั้น ในขณะที่ราคาฐานตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมาราคามาแตะอยู่ที่ 25-30 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งในระยะยาวต่อจากนี้ไปราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะไม่ลงมาแตะที่ระดับที่ต่ำกว่า 25 เหรียญ/บาร์เรลแน่นอน และได้ถือราคานี้เป็นราคา "ปกติ" หรือ "normal price" ไปโดยปริยาย
- คาดคนไทยจ่ายแพงยาว
เงินคืนกองทุนไม่ต่ำกว่า 3 ปี
นายวีระพล จิระประดิษฐกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า การปรับฐานราคาน้ำมัน หรือการประกาศลอยตัว ถือเป็นมาตรการที่ควรนำมาใช้เพื่อให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงว่าราคาน้ำมันควรอยู่ที่ 20 กว่าบาท/ลิตร ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนเกิดการตระหนักว่า ถึงเวลาที่จะต้องประหยัดน้ำมันกันแล้ว แต่จะไม่ส่งผลกระทบในแง่การแข่งขันในเชิงธุรกิจกับต่างประเทศ เพราะทั่วโลกต่างปรับฐานราคาเช่นกัน ทั้งนี้ข้อดีของการขึ้นราคาน้ำมันก็คือ การพัฒนาเทคโนโลยีในการใช้พลังงานทดแทน จะส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตต่ำลงมาในระดับหนึ่งจากเดิมอยู่ที่ 40 เหรียญ
ทั้งนี้หากภาครัฐยังคงใช้มาตรการในการตรึงราคาน้ำมันต่อไปจะยิ่งแบกภาระไว้ที่กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่ ณ ปัจจุบันติดลบอยู่ทั้งสิ้น -8,800 ล้านบาท และยิ่งจะทำให้ประชาชนใช้น้ำมันแพงในราคา 17-18 บาท/ลิตรไปอีก 2-3 ปีหรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่ กับว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกจะเป็นอย่างไร แต่ตามการคาดการณ์จากหลายฝ่ายพบว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกจะยังคงยืนที่ระดับ 35-40 เหรียญ/ บาร์เรลต่อไปอีกนาน
"ขณะที่กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงระบุแนวทางการปฏิบัติการเก็บคืนเงินจากประชาชนในกรณีที่ราคาน้ำมันเบนซินลดลงมากกว่า 37 เหรียญ/บาร์เรล และน้ำมันดีเซลลดลงมากกว่า 34 เหรียญ/บาร์เรล ยิ่งชี้ให้เห็นว่ากองทุนน้ำมันจะไม่ได้เงินคืนภายในเวลา 2-3 ปีข้างหน้านี้ ที่สำคัญจะเกิดการบิดเบือนทางด้านต้นทุนทั้งในภาคอุตสาหกรรมหรือแม้กระทั่งภาคเกษตรกรรมต่อไปอีก" นายวีระพลกล่าว
รัฐหมดแรงอุ้มยอมปล่อยเบนซินปรับราคา แต่ยังกัดฟันตรึงดีเซลต่อ ส่งผลความเชื่อมั่นอุตฯลดวูบ สภาอุตฯคาดภาคการผลิต-ลงทุนชะงัก ขณะที่นักการตลาดผวาผู้บริโภคหมดอารมณ์จับจ่าย ส่วนค่ายรถหรูยังมั่นใจไม่กระทบลูกค้าระดับบน สถาบันปิโตรเลียมฟันธงถึงยุคน้ำมันแพงคาดคนไทยจ่ายแพงยาว ชดใช้เงินคืนกองทุนไม่ต่ำกว่า 3 ปี
แม้ในการพบปะกับตัวแทน 11 สมาคมธุรกิจเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2547 ที่ผ่านมา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะกล่าวกับบรรดานักธุรกิจชั้นนำเพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าปัญหาความไม่แน่ นอนจากอัตราดอกเบี้ย และที่สำคัญที่สุดคือราคาน้ำมัน จะยังไม่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ตลอดจนโอกาสในการขยายธุรกิจการลงทุนในประเทศไทยก็ตาม
แต่ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นหลังจากกระทรวงพลังงานเปิดไฟเขียวให้ปรับราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้น 60 สตางค์/ลิตร ตั้งแต่วันที่ 8 มิ.ย. 2547 ก็คือผู้ใช้น้ำมัน ผู้บริโภคทั่วไปเริ่มหันมากังวลกับภาระค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มขึ้น และแม้รัฐบาลจะยังคงยืนยันที่จะตรึงราคาน้ำมันดีเซลเพื่อไม่ให้กระทบต้นทุนการผลิตโดยรวม แต่ปัจจัยจากราคาน้ำมันก็กำลังกลายเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น ทั้งในภาคผู้ผลิตสินค้าและผู้บริโภคในขณะนี้
- ภาคการผลิต-ลงทุนชะงัก
ความเชื่อมั่นอุตฯลดวูบ
ข้อมูลที่สำคัญซึ่งยืนยันถึงผลกระทบของสถานการณ์ราคาน้ำมันต่อภาคการผลิตอย่าง ชัดเจนก็คือ รายงานสรุปที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) จัดทำดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2547 ผลปรากฏว่าดัชนีอยู่ที่ระดับ 98.2 ซึ่งต่ำกว่า 100 และเป็นค่าต่ำสุดในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และขนาดกลางไม่ดีนัก จากเหตุผลเรื่องของราคาวัตถุดิบและราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นมาโดยตลอด และสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ยิ่งไปกว่านั้น รายงานของ สอท.ยังคาดการณ์ด้วยว่า หากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่องไปอีก 3-5 เดือน ทาง สอท.เชื่อว่าจะกระทบต่อแผนการผลิตและการลงทุนของประเทศ ดังนั้นปัจจัยที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิดก็คือ มาตรการลดผลกระทบจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมันและการคลี่คลายปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะเป็นตัวแปรที่สำคัญต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการมากที่สุด
ขณะที่นายประพัฒน์ โพธิวรคุณ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ก็ให้สัมภาษณ์ยอม รับว่าในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2547 การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมลดลงต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้ แต่ยังไม่ถือเป็นปัญหาที่ร้ายแรง และยังหวังว่านอกจากอุตสาหกรรมอาหารที่มีปัจจัยกระทบหลายๆ เรื่องแล้ว อุตสาหกรรมอื่นๆ ที่แนวโน้มยังคงสดใสอย่างยานยนต์ หรือปิโตรเคมี ก็น่าจะขยายตัวดีขึ้นในไตรมาสต่อไป
พาณิชย์กร้าวห้ามขึ้นราคา
นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลประกาศปรับราคาน้ำมันเบนซินอีก 60 สตางค์ต่อลิตร กรมการค้าภายในยืนยันว่าจะไม่รับพิจารณาข้อเสนอของผู้ประกอบการรายใดที่จะใช้ข้ออ้างดังกล่าวในการปรับราคาสินค้าอุปโภคและบริโภค เพราะการขึ้นราคาน้ำมันเบนซินไม่กระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้า และจะกระทบการขนส่งสินค้าเพียงเล็กน้อย อธิบดีกรมการค้าภายในกล่าวว่า เจ้าหน้าที่กรมการค้าภายในทั้งส่วนกลางและต่างจังหวัดได้ออกตรวจสอบราคาสินค้าทั้งห้างสรรพสินค้าและตามตลาด สดอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งขอความร่วมมือห้างสรรพสินค้าว่าอย่าเพิ่งปรับราคาเพิ่มขึ้นในขณะนี้
สหพัฒน์ชี้คนเริ่มประหยัด
นายบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธาน เครือสหพัฒน์ เปิดเผยว่า ต้นทุนวัตถุดิบและค่าขนส่งมีผลกระทบต่อกำลังการผลิตของบริษัทและราคาสินค้าโดยตรง แต่ทางเครือสหพัฒน์ยืนยันที่จะไม่ขึ้นราคาสินค้า ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการแข่งขันในธุรกิจนี้ทำให้ผู้ผลิตไม่กล้าปรับขึ้นราคาในขณะนี้
อย่างไรก็ตาม เครือสหพัฒน์ประเมินผลจากปัจจัยด้านราคาน้ำมันว่า จะเป็นตัวสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้าขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าสูง อาทิ บ้านพักอาศัย รถยนต์ ซึ่งมียอดขายเติบโตในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาสูง และเชื่อว่าผู้บริโภคจะชะลอการใช้เงิน อนาคตหันมาประหยัด ใช้เงินเพื่อซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้น
หวั่นผู้บริโภคใจฝ่อหยุดช็อป
การปรับราคาน้ำมันเบนซินเป็นครั้งที่สองอีก 60 สตางค์ เป็นประเด็นหนึ่งที่นักการตลาดต่างเฝ้ามองด้วยความสนใจ เพราะเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่ออารมณ์การจับจ่าย เนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับขึ้นจะทำให้คนรู้สึกประหยัดการใช้จ่ายในเรื่องอื่นๆ ตามไปด้วย
สอดคล้องกับที่นางลักขณา ลีละยุทธโยธิน นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย กล่าวเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ผลกระทบที่ชัดเจนที่สุดคงเป็นเรื่องของอารมณ์ในการจับจ่ายใช้สอยที่อาจจะชะงักงันไปบ้าง และทำให้ผู้ประกอบการต้องหากลยุทธ์เด็ดๆ ออกมามัดใจลูกค้ามากขึ้น
รายงานข่าวจากบริษัท จีเอฟเค มาร์เก็ตติ้ง เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทวิจัยตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้า ระบุว่า ราคาน้ำมันคงกระทบกับอารมณ์การจับจ่ายใช้สอยบ้าง แต่เชื่อว่าคงจะไม่กระทบต่อมูลค่าตลาดรวมมากนัก ทั้งนี้ผู้ผลิตคงต้องปรับตัวด้วยการออกแคมเปญการตลาดออกมาแก้เกมอย่างต่อเนื่อง
- ค่ายรถไม่ห่วงกระทบกำลังซื้อ
นายฉัตวิทัย ตันตราภรณ์ ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท เดมเลอร์ไครสเลอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า การขึ้นภาษีรถยนต์เกินกว่า 2500 ซีซี ประเด็นนี้ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อภาวะการขายในตลาดรถยนต์หรูหราแต่อย่างไร เพราะรถยนต์กลุ่มนี้มีจำนวนไม่เยอะ หลักๆ ก็มี อี-คลาสบางรุ่น และเอส-คลาส ซึ่งกลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีกำลังซื้อทั้งสิ้น
นายฉัตวิทัยกล่าวว่า ราคาน้ำมันเบนซินที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องน่าจะมีผลต่อการเลือกซื้อรถยนต์ของลูกค้ามากกว่า โดยระยะหลังสัดส่วนการเลือกซื้อรถจะมุ่งไปที่การเลือกซื้อรถที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลมากขึ้น (อ่านเครื่องดีเซลขายกระฉูด หน้า 45)
เช่นเดียวกับนายอดิศักดิ์ หวังพงษ์สวัสดิ์ รองประธาน บริษัท ฟอร์ด ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า การหามาตรการเพื่อรับมือกับปัญหาน้ำมันราคาสูงขึ้น ค่ายรถยนต์ส่วนใหญ่เตรียมรับมือกันไว้แล้วทั้งสิ้น จะเห็นว่าที่ผ่านมารถเอสเคปของฟอร์ดจะมีเครื่องยนต์ใหญ่ขนาด 3000 ซีซี แต่ตอนนี้ฟอร์ดได้ลอนช์เอสเคปใหม่ เครื่องยนต์ 2.3 ลิตร ซึ่งเหมาะจะเป็นรถเอสยูวีเพื่อใช้ในเมืองหลวง (ซิตี้เอสยูวี) ซึ่งจะช่วยประหยัดพลังงานได้มาก
- ชี้กระทบผู้บริโภคในเมือง
ในรายงานภาวะเศรษฐกิจล่าสุดของ บล.ภัทร เกี่ยวกับผลกระทบที่ไทยได้รับจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ระบุว่า ราคาน้ำมันค้าปลีกในไทยจำเป็นที่จะต้องปรับเพิ่มขึ้นอีก 20% ถึงจะเท่ากับระดับราคาน้ำมันในตลาดโลก โดยปัจจุบันไทยมีการบริโภคน้ำมันอยู่ที่ 20 ล้านลิตรต่อวัน ซึ่งถ้าคิดจากสมมติ ฐานดังกล่าว ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น 3.50 บาท จะทำให้ผู้บริโภคมีต้นทุนคิดเป็น 13 พันล้านบาทในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ ซึ่งจำนวนดังกล่าวคิดเป็นเพียง 0.36% ของจำนวนการใช้น้ำมันโดยรวม ดังนั้น ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจึงคาดว่าจะตกอยู่กับคนในเมืองมากกว่าประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศ
อย่างไรก็ดี ขณะทีมีการปรับราคาน้ำมันเบนซินขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป รัฐบาลไม่ได้ปรับราคาน้ำมันดีเซลที่จะมีผู้ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้างกว่าขึ้นแต่อย่างใด โดยรัฐบาลจะต้องใช้เงินในการชดเชยราคาน้ำมันดีเซลอีกประมาณ 18 พันล้านบาท สำหรับเวลาที่เหลือจนถึงสิ้นปี 2547 นี้ โดยตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่า ราคาน้ำมันโลกไม่มีการเปลี่ยนแปลง
อนึ่ง สัดส่วนการใช้พลังงานทั้งหมดของไทยคิดเป็น 12.5% ของมูลค่าจีดีพี ขณะที่ประเทศไทยนำเข้าน้ำมันดิบคิดเป็นมูลค่าประมาณ 6% ของจีดีพี
- สถาบันปิโตรเลียมเตือน
หมดยุคน้ำมันราคาถูก
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานการสัมมนาเป็นการภายในของสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ในหัวข้อ "สถานการณ์ราคาน้ำมัน" ในสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ จากผลการศึกษาของสถาบันพบว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกได้ปรับฐานเพิ่มขึ้นจากเดิมถึงร้อยละ 39 โดยเมื่อเปรียบเทียบราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกในช่วงที่ผ่านมา ราคาฐานก่อนปี 2000 จะอยู่ที่ 18 เหรียญ/บาร์เรลเท่านั้น ในขณะที่ราคาฐานตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมาราคามาแตะอยู่ที่ 25-30 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งในระยะยาวต่อจากนี้ไปราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะไม่ลงมาแตะที่ระดับที่ต่ำกว่า 25 เหรียญ/บาร์เรลแน่นอน และได้ถือราคานี้เป็นราคา "ปกติ" หรือ "normal price" ไปโดยปริยาย
- คาดคนไทยจ่ายแพงยาว
เงินคืนกองทุนไม่ต่ำกว่า 3 ปี
นายวีระพล จิระประดิษฐกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า การปรับฐานราคาน้ำมัน หรือการประกาศลอยตัว ถือเป็นมาตรการที่ควรนำมาใช้เพื่อให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงว่าราคาน้ำมันควรอยู่ที่ 20 กว่าบาท/ลิตร ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนเกิดการตระหนักว่า ถึงเวลาที่จะต้องประหยัดน้ำมันกันแล้ว แต่จะไม่ส่งผลกระทบในแง่การแข่งขันในเชิงธุรกิจกับต่างประเทศ เพราะทั่วโลกต่างปรับฐานราคาเช่นกัน ทั้งนี้ข้อดีของการขึ้นราคาน้ำมันก็คือ การพัฒนาเทคโนโลยีในการใช้พลังงานทดแทน จะส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตต่ำลงมาในระดับหนึ่งจากเดิมอยู่ที่ 40 เหรียญ
ทั้งนี้หากภาครัฐยังคงใช้มาตรการในการตรึงราคาน้ำมันต่อไปจะยิ่งแบกภาระไว้ที่กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่ ณ ปัจจุบันติดลบอยู่ทั้งสิ้น -8,800 ล้านบาท และยิ่งจะทำให้ประชาชนใช้น้ำมันแพงในราคา 17-18 บาท/ลิตรไปอีก 2-3 ปีหรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่ กับว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกจะเป็นอย่างไร แต่ตามการคาดการณ์จากหลายฝ่ายพบว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกจะยังคงยืนที่ระดับ 35-40 เหรียญ/ บาร์เรลต่อไปอีกนาน
"ขณะที่กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงระบุแนวทางการปฏิบัติการเก็บคืนเงินจากประชาชนในกรณีที่ราคาน้ำมันเบนซินลดลงมากกว่า 37 เหรียญ/บาร์เรล และน้ำมันดีเซลลดลงมากกว่า 34 เหรียญ/บาร์เรล ยิ่งชี้ให้เห็นว่ากองทุนน้ำมันจะไม่ได้เงินคืนภายในเวลา 2-3 ปีข้างหน้านี้ ที่สำคัญจะเกิดการบิดเบือนทางด้านต้นทุนทั้งในภาคอุตสาหกรรมหรือแม้กระทั่งภาคเกษตรกรรมต่อไปอีก" นายวีระพลกล่าว