ความวัวไม่ทันหายความควายเข้ามาแทรก...ปล่อยกู้อสังหาอีกแล้ว
โพสต์แล้ว: จันทร์ ส.ค. 23, 2004 11:04 am
KK ร่วมชะตากับกรุงไทย ธปท.สั่งสำรองเข้ม NPL พุ่ง 2 พันล้านบาท - สัญญาณลบ
ต่อหุ้นในกลุ่มสถาบันการเงิน
สินเชื่อเพื่อการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทำให้หนี้จัดชั้น (Classified Loan) ของ KK เพิ่มขึ้น
และจะเป็นสัญญาณที่จะส่งผลลบต่อหุ้นในกลุ่มสถาบันการเงินรวมถึงกลุ่ม Consumer
Finance ยกเว้น KTC เพราะ KTC มีความสามารถในการหารายได้เสริมเพื่อลดผลกระทบ
จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ แต่ยังไม่แนะนำให้นักลงทุนระยะยาวซื้อหุ้นในกลุ่มสถาบันการเงิน
เพิ่มยกเว้นแต่ราคาน้ำมันจะมีการปรับตัวลงอย่างรวดเร็วเราคาดว่าการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจ
รอบนี้น่าจะส่งผลต่อการเติบโตของสินเชื่อ เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่อ่อนแอลง
จะทำให้ภาคการผลิตชะลอการขยายกำลังการผลิตจนส่งผลต่อการขอสินเชื่อใหม่ๆ ในอนาคต
แต่เราแนะนำให้นักลงทุนระยะยาวถือหุ้นธนาคารขนาดใหญ่จนข้ามปีเพื่อรับเงินปันผลและ
ไม่ซื้อเพิ่มเนื่องจากผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจยังไม่จบโครงสร้างสินเชื่อของ KK
ณ สิ้น 1H47 ยังคงมีสัดส่วนของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ (Hire Purchase) เป็นหลัก และ
มีการเติบโตสูงขึ้นมากจาก 7.9 พันล้านบาท ในปี 2546 ขึ้นมาเป็น 13.4 พันล้านบาท ณ สิ้น
1H47
โดยยอด NPL ต่อสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ลดลงจาก 3.1% ในปี 2546 เป็น 2.8% ณ
สิ้น 1H47 อย่างไรก็ตาม ยอด NPL ของธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ของ KK มีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 2.4
พันล้านบาท ในปี 2546 เป็น 3.8 พันล้านบาท ณ สิ้น 1H47 ที่มา Kiatnakin Finance Plc.
โดยรถยนต์ที่ KK ปล่อยส่วนใหญ่ยังคงเป็นรถกระบะซึ่งมีสัดส่วนสูงขึ้นจาก 47% (26,235 ราย)
ในปี 2546 เป็น 54% (41,264 ราย) ณ สิ้น 1H47 เนื่องจาก KK มีนโยบายเพิ่มจำนวน
สาขาในต่างจังหวัดมากขึ้น โดยขณะนี้ KK มีจำนวนสาขาทั้งสิ้น 15 สาขา และมีนโยบายเพิ่ม
ปีละ 10 สาขา ทำให้สัดส่วนของสินเชื่อเช่าซื้อในต่างจังหวัดเพิ่มขึ้นจาก 68% ในปี 2546
เป็น 74% ณ สิ้น 1H47
นอกจากนั้นรถที่ปล่อยสินเชื่อจะมีสัดส่วนของรถใหม่มากขึ้นจาก 8% ในปี 2546 เป็น
25% ณ สิ้น 1H47 ซึ่งจะส่งผลให้ KK มีส่วนต่างของดอกเบี้ยจากธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์
แคบลงในอนาคตณ สิ้น 1H47 KK มียอดหนี้จัดชั้น (Classified Loan) ซึ่งรวมทั้ง Perform
และ Non-performing Loan เพิ่มขึ้นเป็น 5.8 พันล้านบาท จาก 3.1 พันล้านบาท ในปี 2546
ในขณะที่ NPL ณ สิ้น 1H47 มีเพียง 3.6 พันล้านบาท
ดังนั้นยอดลูกหนี้ที่ยังสามารถจ่ายคืนหนี้ได้แต่ต้องถูกจัดชั้นตามเกณฑ์ที่มีความเข้มงวด
ขึ้นมีทั้งหมด 2.2 พันล้านบาท โดยยอดลูกหนี้ที่ถูกจัดชั้น (Classified Loan) เพิ่มขึ้นเกิดจาก
สินเชื่อเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัย (Residential Project Loan) ซึ่งมีการเติบโตสูงมากตั้งแต่
ปี 2545 โดยสินเชื่อ Residential Project Loan เพิ่มขึ้นจาก 2.0 พันล้านบาท ในปี 2544
เป็น 6.3, 9.6 และ 11.2 พันล้านบาท ในปี 2545, 2546 และ 1H47 ตามลำดับ
ในขณะที่สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ไม่ได้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ยอดหนี้จัดชั้น (Classified
Loan) สูงขึ้น
ที่มา Kiatnakin Finance Plc.เราคาดว่าสถาบันการเงินที่มีสัดส่วนของสินเชื่อเพื่อ
การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์สูงจะมีความเสี่ยงที่จะมีหนี้จัดชั้นเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะหลัง
จากอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้น และความมั่นใจของผู้บริโภคยังลดลงจาก
การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจที่เกิดจากการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมัน และเงินเฟ้อที่กำลัง
เพิ่มขึ้นซึ่งจะทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงไปจนส่งผลต่อยอดขายของโครงการพัฒนา
อสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ลดลง และความสามารถในการจ่ายคืนหนี้ให้กับสถาบันการเงินลดลง
ตาม
ต่อหุ้นในกลุ่มสถาบันการเงิน
สินเชื่อเพื่อการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทำให้หนี้จัดชั้น (Classified Loan) ของ KK เพิ่มขึ้น
และจะเป็นสัญญาณที่จะส่งผลลบต่อหุ้นในกลุ่มสถาบันการเงินรวมถึงกลุ่ม Consumer
Finance ยกเว้น KTC เพราะ KTC มีความสามารถในการหารายได้เสริมเพื่อลดผลกระทบ
จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ แต่ยังไม่แนะนำให้นักลงทุนระยะยาวซื้อหุ้นในกลุ่มสถาบันการเงิน
เพิ่มยกเว้นแต่ราคาน้ำมันจะมีการปรับตัวลงอย่างรวดเร็วเราคาดว่าการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจ
รอบนี้น่าจะส่งผลต่อการเติบโตของสินเชื่อ เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่อ่อนแอลง
จะทำให้ภาคการผลิตชะลอการขยายกำลังการผลิตจนส่งผลต่อการขอสินเชื่อใหม่ๆ ในอนาคต
แต่เราแนะนำให้นักลงทุนระยะยาวถือหุ้นธนาคารขนาดใหญ่จนข้ามปีเพื่อรับเงินปันผลและ
ไม่ซื้อเพิ่มเนื่องจากผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจยังไม่จบโครงสร้างสินเชื่อของ KK
ณ สิ้น 1H47 ยังคงมีสัดส่วนของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ (Hire Purchase) เป็นหลัก และ
มีการเติบโตสูงขึ้นมากจาก 7.9 พันล้านบาท ในปี 2546 ขึ้นมาเป็น 13.4 พันล้านบาท ณ สิ้น
1H47
โดยยอด NPL ต่อสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ลดลงจาก 3.1% ในปี 2546 เป็น 2.8% ณ
สิ้น 1H47 อย่างไรก็ตาม ยอด NPL ของธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ของ KK มีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 2.4
พันล้านบาท ในปี 2546 เป็น 3.8 พันล้านบาท ณ สิ้น 1H47 ที่มา Kiatnakin Finance Plc.
โดยรถยนต์ที่ KK ปล่อยส่วนใหญ่ยังคงเป็นรถกระบะซึ่งมีสัดส่วนสูงขึ้นจาก 47% (26,235 ราย)
ในปี 2546 เป็น 54% (41,264 ราย) ณ สิ้น 1H47 เนื่องจาก KK มีนโยบายเพิ่มจำนวน
สาขาในต่างจังหวัดมากขึ้น โดยขณะนี้ KK มีจำนวนสาขาทั้งสิ้น 15 สาขา และมีนโยบายเพิ่ม
ปีละ 10 สาขา ทำให้สัดส่วนของสินเชื่อเช่าซื้อในต่างจังหวัดเพิ่มขึ้นจาก 68% ในปี 2546
เป็น 74% ณ สิ้น 1H47
นอกจากนั้นรถที่ปล่อยสินเชื่อจะมีสัดส่วนของรถใหม่มากขึ้นจาก 8% ในปี 2546 เป็น
25% ณ สิ้น 1H47 ซึ่งจะส่งผลให้ KK มีส่วนต่างของดอกเบี้ยจากธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์
แคบลงในอนาคตณ สิ้น 1H47 KK มียอดหนี้จัดชั้น (Classified Loan) ซึ่งรวมทั้ง Perform
และ Non-performing Loan เพิ่มขึ้นเป็น 5.8 พันล้านบาท จาก 3.1 พันล้านบาท ในปี 2546
ในขณะที่ NPL ณ สิ้น 1H47 มีเพียง 3.6 พันล้านบาท
ดังนั้นยอดลูกหนี้ที่ยังสามารถจ่ายคืนหนี้ได้แต่ต้องถูกจัดชั้นตามเกณฑ์ที่มีความเข้มงวด
ขึ้นมีทั้งหมด 2.2 พันล้านบาท โดยยอดลูกหนี้ที่ถูกจัดชั้น (Classified Loan) เพิ่มขึ้นเกิดจาก
สินเชื่อเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัย (Residential Project Loan) ซึ่งมีการเติบโตสูงมากตั้งแต่
ปี 2545 โดยสินเชื่อ Residential Project Loan เพิ่มขึ้นจาก 2.0 พันล้านบาท ในปี 2544
เป็น 6.3, 9.6 และ 11.2 พันล้านบาท ในปี 2545, 2546 และ 1H47 ตามลำดับ
ในขณะที่สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ไม่ได้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ยอดหนี้จัดชั้น (Classified
Loan) สูงขึ้น
ที่มา Kiatnakin Finance Plc.เราคาดว่าสถาบันการเงินที่มีสัดส่วนของสินเชื่อเพื่อ
การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์สูงจะมีความเสี่ยงที่จะมีหนี้จัดชั้นเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะหลัง
จากอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้น และความมั่นใจของผู้บริโภคยังลดลงจาก
การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจที่เกิดจากการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมัน และเงินเฟ้อที่กำลัง
เพิ่มขึ้นซึ่งจะทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงไปจนส่งผลต่อยอดขายของโครงการพัฒนา
อสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ลดลง และความสามารถในการจ่ายคืนหนี้ให้กับสถาบันการเงินลดลง
ตาม