งงๆ
งงๆ
http://www.bangkokbiznews.com/2004/10/0 ... 55315.html
ระบบคอมพ์ล่ม บทพิสูจน์ความน่าเชื่อถือตลาดหุ้นไทย
แนะศึกษาความพร้อมก่อนปรับระบบใหม่
ระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ที่มีปัญหาไม่สามารถเปิดให้มีการซื้อขายในช่วงครึ่งวันเช้าวานนี้ (5 ต.ค.) ทำให้วงการโบรกเกอร์ และนักลงทุนตื่นตระหนกค่อนข้างมาก เพราะถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่มีการก่อตั้งตลาดหลักทรัพย์ในปี 2518
โดยปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นเป็นปัญหามาจากระบบส่งคำสั่งซื้อขายของสมาชิกโบรกเกอร์จำนวน 18 ราย จากจำนวนโบรกเกอร์ทั้งหมด 34 ราย ที่ไม่สามารถส่งคำสั่งซื้อขายได้ในช่วง pre-open จึงทำให้ตลาดหลักทรัพย์ต้องประกาศให้มีการเลื่อนเวลาเปิดการซื้อขายหลักทรัพย์ออกไปอย่างไม่มีกำหนด จากเดิมในช่วงแรกก็คาดหวังว่าจะเปิดให้มีการซื้อขายได้ภายในเวลา 11.00 น.ของวันเดียวกัน แต่สุดท้ายก็สามารถเปิดทำการซื้อขายในช่วงบ่ายเวลา 14.30 น.
และแม้โบรกเกอร์ทั้ง 18 ราย พยายามที่จะแก้ไขระบบการซื้อขายให้กลับมาเป็นปกติในช่วงบ่ายเวลา 14.30 น. แต่ในแง่มุมของผู้ลงทุนทั้งรายย่อยและนักลงทุนสถาบัน ต่างก็เสียความรู้สึกจากการลงทุนไปแล้ว โดยเฉพาะผลกระทบทางด้านจิตวิทยาการลงทุน ซึ่งก็คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะนักลงทุนประเภทเก็งกำไรระยะสั้น ประเภทเล่นหักกลบลบหนี้ (Netsettlement) ส่วนโบรกเกอร์ที่มีรายได้ค่าธรรมเนียมจากนักเก็งกำไรก็ต้องสูญเสียรายได้ตามไปด้วย ขณะที่นักลงทุนต่างประเทศก็คงตั้งคำถามเกี่ยวกับระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ว่ามีความน่าเชื่อถือมากแค่ไหน
แหล่งข่าวจากโบรกเกอร์ ระบุว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากการที่ตลาดหลักทรัพย์ได้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่ โดยมีการเปลี่ยนแปลงระบบซิเคียวริตี้ โค๊ด ซึ่งเป็นรหัสระบุตัวหลักทรัพย์ที่เพิ่งเริ่มเปลี่ยนระบบในวันที่ 4 ตุลาคม ที่ผ่านมา โดยระบบซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมา มีเป้าหมายเพื่อต้องการลบรายชื่อหุ้นของบริษัทที่ถูกปิดกิจการไปในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งมีจำนวนมากแต่ยังค้างอยู่ในพอร์ตของนักลงทุนทิ้งไป เช่น หุ้นของ บง.เอกธนกิจ เป็นต้น ขณะเดียวกัน ก็ต้องการพัฒนาระบบให้รองรับกับหุ้นที่เตรียมเข้ามาใหม่ที่มีจำนวนมาก
ทั้งนี้ ระบบซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ที่ตลาดหลักทรัพย์นำมาใช้นั้น มีการศึกษามานานแล้ว เพียงแต่มีการทดสอบระบบอย่างจริงจังในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา และล่าสุด เมื่อวันเสาร์ที่ 2 ต.ค.นั้น เป็นวันทดสอบระบบเป็นครั้งสุดท้าย ซึ่งช่วงระหว่างการทดสอบยังเกิดปัญหาติดขัดเป็นระยะๆ คือ ระบบจับคู่ไม่ทำงาน ตัวเลขราคาหุ้นไม่ตรงกับความเป็นจริง เมื่อเกิดปัญหาอย่างนี้ขึ้นมา ผู้เกี่ยวข้องส่วนใหญ่ขอให้ตลาดหลักทรัพย์เลื่อนใช้ระบบซอฟต์แวร์อันใหม่ออกไปก่อน แต่ตลาดหลักทรัพย์ก็ยังยืนยัน ที่จะใช้ตามกำหนดเดิม คือ วันที่ 5 ต.ค.2547
ส่วนมูลค่าความเสียหายหากให้ประเมินคาดว่าคงไม่ต่ำกว่าหมื่นล้านบาท โดยประเมินจากการถอนคำสั่งซื้อขาย และช่วงเวลาการซื้อขายหุ้นที่หายไป ดังนั้น หุ้นที่ได้รับผลกระทบโดยตรง คงหนีไม่พ้นหุ้นกลุ่มหลักทรัพย์ เพราะหากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนแล้วช่วงเวลาการซื้อขายในปีนี้มีน้อยกว่าปีที่แล้วร่วม 2 ชั่วโมง
การที่ตลาดหลักทรัพย์บอกว่าปัญหาเกิดขึ้นจากทาง DST นั้น น่าจะเป็นการหาแพะมากกว่า เพราะต้องบอกว่าเวลาในการทดสอบระบบมีน้อยมาก อย่างโบรกเกอร์ที่ใช้บริการระบบของ FreewilL ตอนแรกก็มีปัญหาเช่นกัน เพียงแต่สามารถแก้ไขระบบได้เร็วกว่า ตรงนี้ปัญหามันเริ่มเห็นตั้งแต่ช่วงเย็นของวันที่ 4 ต.ค.แล้ว ซึ่งถ้าดูราคาหุ้นมันไม่สะท้อนความเป็นจริง แหล่งข่าวกล่าว
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่า การเปลี่ยนแปลงระบบดังกล่าวจะทำให้ระบบการซื้อขายของโบรกเกอร์มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ปัญหาหลักอยู่ที่ความพร้อมของโบรกเกอร์แต่ละแห่งว่า มีมากน้อยแค่ไหน เพราะแม้จะมีการทดสอบระบบดังกล่าวมาก่อนหน้านี้เป็นเวลาร่วมเดือน แต่โบรกเกอร์บางรายก็ยังไม่มีความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงระบบมากนัก ซึ่งก่อนหน้านี้ ก็มีโบรกเกอร์บางแห่งพยายามต่อรองกับตลาดหลักทรัพย์ เพื่อขอให้มีการเลื่อนระยะเวลาการใช้ระบบใหม่ออกไป โดยให้เหตุผลว่าจากการเทสต์ระบบของบริษัทยังไม่มีความพร้อม
นอกจากนี้ จากการเทสต์ระบบในช่วงที่ผ่านมา ยังมีแมสเซทบางอย่างที่ไม่สามารถเทสต์ได้ ก็คือ แมสเซทซิเคียวริตี้อัพเดท ซึ่งเป็นระบบที่ต้องเทสต์จากการซื้อขายจริงเท่านั้น โดยสัญญาณของความผิดปกติได้เกิดขึ้นในช่วงปิดตลาดวันแรกของการเปลี่ยนระบบใหม่ คือ วันที่ 4 ตุลาคม เมื่อถึงเวลาที่โบรกเกอร์จะต้องส่งราคาฟลอร์ และซิลลิ่งของหุ้นตามหมายเลขใหม่ เพื่อเตรียมความพร้อมในการซื้อขายวันรุ่งขึ้น ปรากฏว่า โบรกเกอร์ที่ใช้ระบบของบริษัท ดีเอสที จำนวน 18 ราย แจ้งหมายเลขหุ้นไม่สัมพันธ์กับข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ กล่าวคือ ระบบบฟลอร์และซิลลิ่งไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงเลขไม่ตรงกัน
ขณะโบรกเกอร์ 15 รายที่ใช้ระบบคำสั่งซื้อขาย (ซอฟต์แวร์) ของบริษัท ฟรีวิล โซลูชั่น (freewill solution) ไม่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงระบบใหม่
เจ้าหน้าที่การตลาด กล่าวว่า แม้จะเป็นปัญหาของโบรกเกอร์เพียง 18 ราย แต่เมื่อปัญหาเกิดขึ้น โบรกเกอร์ทั้ง 15 รายก็ต้องได้รับผลกระทบตามไปด้วย เพราะต้องยอมรับในช่วงเวลาการซื้อขายของตลาดหุ้นที่หายไปครึ่งวันนั้น จะทำให้โบรกเกอร์ขาดรายได้เป็นจำนวนมาก
เพราะก่อนหน้าที่จะเกิดปัญหาหนึ่งวันตลาดหุ้นกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น และมีมูลค่าการซื้อขายร่วม 3 หมื่นล้านบาท แต่เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่อจิตวิทยาต่อการลงทุนในช่วงสั้น โดยเฉพาะนักลงทุนประเภทเก็งกำไรที่คิดเป็นสัดส่วน 20% ของตลาดรวม ซึ่งโบรกเกอร์จะต้องสูญเสียค่าคอมมิชชั่น เนื่องจากพฤติกรรมของนักเก็งกำไรก็คือ การลงทุนในลักษณะหักกลบลบหนี้ จะมีการซื้อหุ้นในช่วงเช้าและขายในช่วงบ่าย แต่เมื่อระยะเวลาการซื้อขายเพียงครึ่งสุดท้ายก็ไม่กล้าเสี่ยง เพราะมีเวลาการซื้อขายน้อยกว่าปกติ
ขณะที่ นางสาวศศิธร พงศธร กรรมการผู้อำนวยการ บล.ยูไนเต็ด ในฐานะผู้ใช้บริการที่ระบบขัดข้อง ระบุว่า กรณีที่ระบบการจับคู่ซื้อขายขัดข้องเกิดจากของระบบตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งต้องรอคำตอบว่าจะดำเนินการอย่างไร ปัจจุบันมีผู้ให้บริการระบบที่จะลิงค์ (เวนเดอร์) กับตลาดหลักทรัพย์ 2 ราย ก็คือ บริษัท ดีเอสที อินเตอร์เนชั่นแนล กับบริษัท ฟรีวิลล์ โซลูชั่น ซึ่ง บล.ยูไนเต็ด ใช้บริการของบริษัท ดีเอสที โดยความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่จะเปิดซื้อขาย และบรรยากาศโดยรวม ซึ่งหากใช้เวลานานผลกระทบก็จะมากเพราะบรรยากาศโดยรวมอาจจะเปลี่ยนไป
"กรณีความเสียหายย่อมเกิดขึ้นบ้าง เพราะตลาดไม่สามารถเปิดซื้อขายได้ แต่คงต้องขึ้นอยู่กับระยะเวลา ถ้าเปิดเทรดได้เร็วก็ดี ในส่วนของ บล.ยูไนเต็ด เป็นที่ปรึกษาให้กับ บล.โกลเบล็ก ที่จะเข้าเทรดวันแรก ซึ่งลูกค้าก็คงเสียโอกาสบ้าง แต่ก็คงต้องอธิบายให้ลูกค้าเข้าใจ" นางสาวศศิธร กล่าว
ประเด็นเหล่านี้ตลาดหลักทรัพย์คงจะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ เพราะก่อนที่จะตัดสินใจใช้ระบบเทคโนโลยีใหม่ๆ ในแต่ละครั้งก็ต้องพิจารณาความพร้อมให้รอบด้าน เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะตามมา เนื่องจากตลาดทุนถือว่าเป็นแหล่งลงทุนใหญ่ที่สุดของประเทศ มีมูลค่าตลาดรวมกว่า 4.43 ล้านล้านบาท โดยเฉพาะช่วงเวลาที่จะมีการเทสต์ระบบดังกล่าวควรจะเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยควรเลือกใช้ระบบใหม่ช่วงที่ตลาดหุ้นซบเซามากกว่าที่จะเลือกใช้ระบบใหม่ในช่วงตลาดหุ้นคึกคัก เพราะการเปลี่ยนระบบซิเคียวริตี้ โค๊ด ถือว่าเป็นของใหม่สำหรับโบรกเกอร์
ระบบคอมพ์ล่ม บทพิสูจน์ความน่าเชื่อถือตลาดหุ้นไทย
แนะศึกษาความพร้อมก่อนปรับระบบใหม่
ระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ที่มีปัญหาไม่สามารถเปิดให้มีการซื้อขายในช่วงครึ่งวันเช้าวานนี้ (5 ต.ค.) ทำให้วงการโบรกเกอร์ และนักลงทุนตื่นตระหนกค่อนข้างมาก เพราะถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่มีการก่อตั้งตลาดหลักทรัพย์ในปี 2518
โดยปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นเป็นปัญหามาจากระบบส่งคำสั่งซื้อขายของสมาชิกโบรกเกอร์จำนวน 18 ราย จากจำนวนโบรกเกอร์ทั้งหมด 34 ราย ที่ไม่สามารถส่งคำสั่งซื้อขายได้ในช่วง pre-open จึงทำให้ตลาดหลักทรัพย์ต้องประกาศให้มีการเลื่อนเวลาเปิดการซื้อขายหลักทรัพย์ออกไปอย่างไม่มีกำหนด จากเดิมในช่วงแรกก็คาดหวังว่าจะเปิดให้มีการซื้อขายได้ภายในเวลา 11.00 น.ของวันเดียวกัน แต่สุดท้ายก็สามารถเปิดทำการซื้อขายในช่วงบ่ายเวลา 14.30 น.
และแม้โบรกเกอร์ทั้ง 18 ราย พยายามที่จะแก้ไขระบบการซื้อขายให้กลับมาเป็นปกติในช่วงบ่ายเวลา 14.30 น. แต่ในแง่มุมของผู้ลงทุนทั้งรายย่อยและนักลงทุนสถาบัน ต่างก็เสียความรู้สึกจากการลงทุนไปแล้ว โดยเฉพาะผลกระทบทางด้านจิตวิทยาการลงทุน ซึ่งก็คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะนักลงทุนประเภทเก็งกำไรระยะสั้น ประเภทเล่นหักกลบลบหนี้ (Netsettlement) ส่วนโบรกเกอร์ที่มีรายได้ค่าธรรมเนียมจากนักเก็งกำไรก็ต้องสูญเสียรายได้ตามไปด้วย ขณะที่นักลงทุนต่างประเทศก็คงตั้งคำถามเกี่ยวกับระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ว่ามีความน่าเชื่อถือมากแค่ไหน
แหล่งข่าวจากโบรกเกอร์ ระบุว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากการที่ตลาดหลักทรัพย์ได้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่ โดยมีการเปลี่ยนแปลงระบบซิเคียวริตี้ โค๊ด ซึ่งเป็นรหัสระบุตัวหลักทรัพย์ที่เพิ่งเริ่มเปลี่ยนระบบในวันที่ 4 ตุลาคม ที่ผ่านมา โดยระบบซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมา มีเป้าหมายเพื่อต้องการลบรายชื่อหุ้นของบริษัทที่ถูกปิดกิจการไปในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งมีจำนวนมากแต่ยังค้างอยู่ในพอร์ตของนักลงทุนทิ้งไป เช่น หุ้นของ บง.เอกธนกิจ เป็นต้น ขณะเดียวกัน ก็ต้องการพัฒนาระบบให้รองรับกับหุ้นที่เตรียมเข้ามาใหม่ที่มีจำนวนมาก
ทั้งนี้ ระบบซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ที่ตลาดหลักทรัพย์นำมาใช้นั้น มีการศึกษามานานแล้ว เพียงแต่มีการทดสอบระบบอย่างจริงจังในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา และล่าสุด เมื่อวันเสาร์ที่ 2 ต.ค.นั้น เป็นวันทดสอบระบบเป็นครั้งสุดท้าย ซึ่งช่วงระหว่างการทดสอบยังเกิดปัญหาติดขัดเป็นระยะๆ คือ ระบบจับคู่ไม่ทำงาน ตัวเลขราคาหุ้นไม่ตรงกับความเป็นจริง เมื่อเกิดปัญหาอย่างนี้ขึ้นมา ผู้เกี่ยวข้องส่วนใหญ่ขอให้ตลาดหลักทรัพย์เลื่อนใช้ระบบซอฟต์แวร์อันใหม่ออกไปก่อน แต่ตลาดหลักทรัพย์ก็ยังยืนยัน ที่จะใช้ตามกำหนดเดิม คือ วันที่ 5 ต.ค.2547
ส่วนมูลค่าความเสียหายหากให้ประเมินคาดว่าคงไม่ต่ำกว่าหมื่นล้านบาท โดยประเมินจากการถอนคำสั่งซื้อขาย และช่วงเวลาการซื้อขายหุ้นที่หายไป ดังนั้น หุ้นที่ได้รับผลกระทบโดยตรง คงหนีไม่พ้นหุ้นกลุ่มหลักทรัพย์ เพราะหากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนแล้วช่วงเวลาการซื้อขายในปีนี้มีน้อยกว่าปีที่แล้วร่วม 2 ชั่วโมง
การที่ตลาดหลักทรัพย์บอกว่าปัญหาเกิดขึ้นจากทาง DST นั้น น่าจะเป็นการหาแพะมากกว่า เพราะต้องบอกว่าเวลาในการทดสอบระบบมีน้อยมาก อย่างโบรกเกอร์ที่ใช้บริการระบบของ FreewilL ตอนแรกก็มีปัญหาเช่นกัน เพียงแต่สามารถแก้ไขระบบได้เร็วกว่า ตรงนี้ปัญหามันเริ่มเห็นตั้งแต่ช่วงเย็นของวันที่ 4 ต.ค.แล้ว ซึ่งถ้าดูราคาหุ้นมันไม่สะท้อนความเป็นจริง แหล่งข่าวกล่าว
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่า การเปลี่ยนแปลงระบบดังกล่าวจะทำให้ระบบการซื้อขายของโบรกเกอร์มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ปัญหาหลักอยู่ที่ความพร้อมของโบรกเกอร์แต่ละแห่งว่า มีมากน้อยแค่ไหน เพราะแม้จะมีการทดสอบระบบดังกล่าวมาก่อนหน้านี้เป็นเวลาร่วมเดือน แต่โบรกเกอร์บางรายก็ยังไม่มีความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงระบบมากนัก ซึ่งก่อนหน้านี้ ก็มีโบรกเกอร์บางแห่งพยายามต่อรองกับตลาดหลักทรัพย์ เพื่อขอให้มีการเลื่อนระยะเวลาการใช้ระบบใหม่ออกไป โดยให้เหตุผลว่าจากการเทสต์ระบบของบริษัทยังไม่มีความพร้อม
นอกจากนี้ จากการเทสต์ระบบในช่วงที่ผ่านมา ยังมีแมสเซทบางอย่างที่ไม่สามารถเทสต์ได้ ก็คือ แมสเซทซิเคียวริตี้อัพเดท ซึ่งเป็นระบบที่ต้องเทสต์จากการซื้อขายจริงเท่านั้น โดยสัญญาณของความผิดปกติได้เกิดขึ้นในช่วงปิดตลาดวันแรกของการเปลี่ยนระบบใหม่ คือ วันที่ 4 ตุลาคม เมื่อถึงเวลาที่โบรกเกอร์จะต้องส่งราคาฟลอร์ และซิลลิ่งของหุ้นตามหมายเลขใหม่ เพื่อเตรียมความพร้อมในการซื้อขายวันรุ่งขึ้น ปรากฏว่า โบรกเกอร์ที่ใช้ระบบของบริษัท ดีเอสที จำนวน 18 ราย แจ้งหมายเลขหุ้นไม่สัมพันธ์กับข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ กล่าวคือ ระบบบฟลอร์และซิลลิ่งไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงเลขไม่ตรงกัน
ขณะโบรกเกอร์ 15 รายที่ใช้ระบบคำสั่งซื้อขาย (ซอฟต์แวร์) ของบริษัท ฟรีวิล โซลูชั่น (freewill solution) ไม่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงระบบใหม่
เจ้าหน้าที่การตลาด กล่าวว่า แม้จะเป็นปัญหาของโบรกเกอร์เพียง 18 ราย แต่เมื่อปัญหาเกิดขึ้น โบรกเกอร์ทั้ง 15 รายก็ต้องได้รับผลกระทบตามไปด้วย เพราะต้องยอมรับในช่วงเวลาการซื้อขายของตลาดหุ้นที่หายไปครึ่งวันนั้น จะทำให้โบรกเกอร์ขาดรายได้เป็นจำนวนมาก
เพราะก่อนหน้าที่จะเกิดปัญหาหนึ่งวันตลาดหุ้นกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น และมีมูลค่าการซื้อขายร่วม 3 หมื่นล้านบาท แต่เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่อจิตวิทยาต่อการลงทุนในช่วงสั้น โดยเฉพาะนักลงทุนประเภทเก็งกำไรที่คิดเป็นสัดส่วน 20% ของตลาดรวม ซึ่งโบรกเกอร์จะต้องสูญเสียค่าคอมมิชชั่น เนื่องจากพฤติกรรมของนักเก็งกำไรก็คือ การลงทุนในลักษณะหักกลบลบหนี้ จะมีการซื้อหุ้นในช่วงเช้าและขายในช่วงบ่าย แต่เมื่อระยะเวลาการซื้อขายเพียงครึ่งสุดท้ายก็ไม่กล้าเสี่ยง เพราะมีเวลาการซื้อขายน้อยกว่าปกติ
ขณะที่ นางสาวศศิธร พงศธร กรรมการผู้อำนวยการ บล.ยูไนเต็ด ในฐานะผู้ใช้บริการที่ระบบขัดข้อง ระบุว่า กรณีที่ระบบการจับคู่ซื้อขายขัดข้องเกิดจากของระบบตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งต้องรอคำตอบว่าจะดำเนินการอย่างไร ปัจจุบันมีผู้ให้บริการระบบที่จะลิงค์ (เวนเดอร์) กับตลาดหลักทรัพย์ 2 ราย ก็คือ บริษัท ดีเอสที อินเตอร์เนชั่นแนล กับบริษัท ฟรีวิลล์ โซลูชั่น ซึ่ง บล.ยูไนเต็ด ใช้บริการของบริษัท ดีเอสที โดยความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่จะเปิดซื้อขาย และบรรยากาศโดยรวม ซึ่งหากใช้เวลานานผลกระทบก็จะมากเพราะบรรยากาศโดยรวมอาจจะเปลี่ยนไป
"กรณีความเสียหายย่อมเกิดขึ้นบ้าง เพราะตลาดไม่สามารถเปิดซื้อขายได้ แต่คงต้องขึ้นอยู่กับระยะเวลา ถ้าเปิดเทรดได้เร็วก็ดี ในส่วนของ บล.ยูไนเต็ด เป็นที่ปรึกษาให้กับ บล.โกลเบล็ก ที่จะเข้าเทรดวันแรก ซึ่งลูกค้าก็คงเสียโอกาสบ้าง แต่ก็คงต้องอธิบายให้ลูกค้าเข้าใจ" นางสาวศศิธร กล่าว
ประเด็นเหล่านี้ตลาดหลักทรัพย์คงจะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ เพราะก่อนที่จะตัดสินใจใช้ระบบเทคโนโลยีใหม่ๆ ในแต่ละครั้งก็ต้องพิจารณาความพร้อมให้รอบด้าน เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะตามมา เนื่องจากตลาดทุนถือว่าเป็นแหล่งลงทุนใหญ่ที่สุดของประเทศ มีมูลค่าตลาดรวมกว่า 4.43 ล้านล้านบาท โดยเฉพาะช่วงเวลาที่จะมีการเทสต์ระบบดังกล่าวควรจะเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยควรเลือกใช้ระบบใหม่ช่วงที่ตลาดหุ้นซบเซามากกว่าที่จะเลือกใช้ระบบใหม่ในช่วงตลาดหุ้นคึกคัก เพราะการเปลี่ยนระบบซิเคียวริตี้ โค๊ด ถือว่าเป็นของใหม่สำหรับโบรกเกอร์
http://www.set.or.th/set/newsdetails.do ... 6977780000
Symbol: SET
Headline: News Release :ตลท.ชี้เเจงเรื่องการเลื่อนเวลาเปิดการซื้อขาย..
Time: 05 ต.ค. 2004 19:03:00
ฉบับที่ 117/2547
5 ตุลาคม 2547
ตลาดหลักทรัพย์ชี้แจงเรื่องการเลื่อนเวลาเปิดการซื้อขายหลักทรัพย์
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยเกี่ยวกับกรณีที่ต้องมีการ
เลื่อนเวลาเปิดการซื้อขายหลักทรัพย์ในวันนี้เป็นช่วงบ่ายว่า สาเหตุเกิดจากบริษัทสมาชิกจำนวน 18 รายที่ใช้
โปรแกรมมาตรฐานเดียวกัน มีปัญหาของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ส่วนหน้าไม่สามารถทำงานควบคู่กับระบบการ
จับคู่ซื้อขายซึ่งเป็นโปรแกรมส่วนกลางของตลาดหลักทรัพย์ฯได้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงแจ้งให้บริษัทสมาชิกทั้ง
หมดทราบถึงการเลื่อนเวลาซื้อขายออกไป
ทั้งนี้ บริษัทสมาชิกที่มีปัญหาดังกล่าวได้แก้ไขปัญหาร่วมกับบริษัทที่ดูแลโปรแกรมมาตรฐานและสามารถซื้อขาย
ได้ในช่วงบ่าย โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เปิดให้มีการซื้อขายตามปกติในช่วงบ่ายตั้งแต่เวลา 14.30 น. และปิด
ตลาดเวลา 16.30 น. ซึ่งเมื่อเริ่มเปิดการซื้อขายในช่วงบ่ายวันนี้ บริษัทสมาชิกก็สามารถส่งคำสั่งซื้อขายเข้ามาได้
ตามปกติ
"ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอย้ำว่าการเลื่อนเวลาเปิดการซื้อขายหลักทรัพย์ในวันนี้ ไม่ใช่ปัญหาที่เกิดจากระบบ
คอมพิวเตอร์ส่วนกลางของตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่อย่างใด ระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ ยังคงสามารถทำหน้าที่ซื้อ
ขายได้ตามปกติ แต่การเลื่อนเวลาเปิดการซื้อขายออกไป เนื่องจากมีบริษัทสมาชิกมากกว่าครึ่งหนึ่งไม่สามารถส่ง
คำสั่งซื้อขายของผู้ลงทุนเพื่อจับคู่ซื้อขายได้ ซึ่งหากเปิดให้มีการซื้อขาย ก็จะทำให้การจับคู่ไม่สมบูรณ์ และจะเกิด
ผลเสียกับผู้ลงทุนที่ต้องการจะซื้อและจะขายได้ และขอให้ความมั่นใจว่าระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ของตลาด
หลักทรัพย์ฯ สามารถทำงานได้อย่างเรียบร้อย" นายกิตติรัตน์กล่าว
สำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์ในวันนี้ เมื่อเปิดการซื้อขายในช่วงบ่าย ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดที่ระดับ
679.32 เพิ่มขึ้น 0.19 จุด และปิดตลาดที่ระดับ 673.88 ลดลงจากวันก่อน 5.25 จุด มีมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์
รวม 18,353.62 ล้านบาท
Symbol: SET
Headline: News Release :ตลท.ชี้เเจงเรื่องการเลื่อนเวลาเปิดการซื้อขาย..
Time: 05 ต.ค. 2004 19:03:00
ฉบับที่ 117/2547
5 ตุลาคม 2547
ตลาดหลักทรัพย์ชี้แจงเรื่องการเลื่อนเวลาเปิดการซื้อขายหลักทรัพย์
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยเกี่ยวกับกรณีที่ต้องมีการ
เลื่อนเวลาเปิดการซื้อขายหลักทรัพย์ในวันนี้เป็นช่วงบ่ายว่า สาเหตุเกิดจากบริษัทสมาชิกจำนวน 18 รายที่ใช้
โปรแกรมมาตรฐานเดียวกัน มีปัญหาของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ส่วนหน้าไม่สามารถทำงานควบคู่กับระบบการ
จับคู่ซื้อขายซึ่งเป็นโปรแกรมส่วนกลางของตลาดหลักทรัพย์ฯได้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงแจ้งให้บริษัทสมาชิกทั้ง
หมดทราบถึงการเลื่อนเวลาซื้อขายออกไป
ทั้งนี้ บริษัทสมาชิกที่มีปัญหาดังกล่าวได้แก้ไขปัญหาร่วมกับบริษัทที่ดูแลโปรแกรมมาตรฐานและสามารถซื้อขาย
ได้ในช่วงบ่าย โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เปิดให้มีการซื้อขายตามปกติในช่วงบ่ายตั้งแต่เวลา 14.30 น. และปิด
ตลาดเวลา 16.30 น. ซึ่งเมื่อเริ่มเปิดการซื้อขายในช่วงบ่ายวันนี้ บริษัทสมาชิกก็สามารถส่งคำสั่งซื้อขายเข้ามาได้
ตามปกติ
"ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอย้ำว่าการเลื่อนเวลาเปิดการซื้อขายหลักทรัพย์ในวันนี้ ไม่ใช่ปัญหาที่เกิดจากระบบ
คอมพิวเตอร์ส่วนกลางของตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่อย่างใด ระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ ยังคงสามารถทำหน้าที่ซื้อ
ขายได้ตามปกติ แต่การเลื่อนเวลาเปิดการซื้อขายออกไป เนื่องจากมีบริษัทสมาชิกมากกว่าครึ่งหนึ่งไม่สามารถส่ง
คำสั่งซื้อขายของผู้ลงทุนเพื่อจับคู่ซื้อขายได้ ซึ่งหากเปิดให้มีการซื้อขาย ก็จะทำให้การจับคู่ไม่สมบูรณ์ และจะเกิด
ผลเสียกับผู้ลงทุนที่ต้องการจะซื้อและจะขายได้ และขอให้ความมั่นใจว่าระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ของตลาด
หลักทรัพย์ฯ สามารถทำงานได้อย่างเรียบร้อย" นายกิตติรัตน์กล่าว
สำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์ในวันนี้ เมื่อเปิดการซื้อขายในช่วงบ่าย ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดที่ระดับ
679.32 เพิ่มขึ้น 0.19 จุด และปิดตลาดที่ระดับ 673.88 ลดลงจากวันก่อน 5.25 จุด มีมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์
รวม 18,353.62 ล้านบาท