หน้า 1 จากทั้งหมด 1
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 21, 2004 7:52 am
โดย ม้าเฉียว
จริงๆแล้ว แบรนด์ที่ดี และมีราคาสูงที่สุดของโลกตอนนี้ คือ แมนดาริน-โอเรียนเต็ล โฟร์ซีซันส์ เพนนินซูล่า และริซคาร์ตัน ส่วนของแมริออทนั้นยังถือว่า กลางๆ
และราคาห้องพักของโรงแรมในไทยแม้จะมีแบรนด์ระดับโลก แต่ก็มีราคาห้องพักถูก อย่าง 3 แบรนด์ข้างต้น ในยุโรปและอเมริกาจะมีราคาห้องพักเฉลี่ยทั้งปี (ราคาที่ขายจริง ไม่ใช่ราคาประกาศ) มากกว่า 500 $US แต่ในไทยเฉลี่ยประมาณ 300 US$ ก็เก่งแล้ว เพราะเมื่อวิเคราะห์โครงสร้างราคาห้องพักของโลก พบว่าโรงแรมในเอเชียจะมีราคาห้องพักต่ำที่สุด
ไว้ว่างๆจะมาวิเคราะห์ให้ฟัง
ตอนนี้มาดูในประเทศก่อนดีกว่า
อุตสาหกรรมโรงแรมในประเทศไทยมียอดขายรวมทั้งปีตอนนี้น่าจะประมาณ170,000-180,000 ล้านบาท (ในปี พ.ศ. 2545 ประมาณ173,176 ล้านบาท) มีโรงแรมทั้งหมดประมาณ3,800 แห่ง (ปี 2545 มี 3,702 แห่ง มีห้องพักรวมกัน 239,214 ห้อง) ถ้าลองเอายอดขายของโรงแรมที่เราสนใจจะลงทุนมาหารด้วยยอดขายของอุตสาหกรรมก็น่าจะเห็นส่วนแบ่งตลาดได้ชัดขึ้น
ประเทศไทยมีเครือข่ายโรงแรมนานาชาติที่สำคัญเกือบทุกเครือข่าย ตัวอย่างเครือข่ายโรงแรมนานาชาติขนาดใหญ่ที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทย เช่น
1) กลุ่ม Accor มีโรงแรมในเครือที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย 15 แห่ง ดังนี้
ใช้ชื่อการค้า Sofitel 4 แห่ง Novotel 8 แห่ง Mercure 3 แห่ง
2)กลุ่ม Starwood มีโรงแรมในเครือ 6 แห่งในประเทศไทย โดยจำแนกตามชื่อการค้าได้ดังนี้ Westin 1แห่ง Sheraton Grande 2 แห่ง Sheraton 3 แห่ง
3)Four Seasons มี 2 แห่ง
4)Mandarin-Oriental 1 แห่ง และจะเปิดที่เชียงใหม่อีก 1แห่ง คือ แมนดารินโอเรียนเต็ลดาราเทวี (ผู้บริหารMandarin-Orientalเค้าบอกว่าจะทำให้โรงแรมนี้เป็นโรงแรมอันดับหนึ่งของโลก)
5) Peninsula 1 แห่ง
6)Banyan Tree1แห่ง
7)Shangri-La 1 แห่ง
สำหรับค่าธรรมเนียมการบริหารจัดการโรงแรมที่บริษัทข้ามชาติเหล่านี้เรียกเก็บ โดยทั่วไปจะอยู่ระหว่างร้อยละ 5 10 ซึ่งจะมีอยู่ 2 ส่วนคือ ส่วนที่คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของรายได้ และส่วนที่เป็นเปอร์เซ็นต์ของกำไรจากการดำเนินงาน (Gross Operating Profit) ค่าธรรมเนียมการบริหารที่คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของรายได้ เป็นการประกันรายได้ให้แก่บริษัทที่รับจ้างบริหาร แต่จะเป็นจำนวนมากน้อยขึ้นอยู่กับผู้บริหารว่าจะขายได้มากหรือน้อย โดยไม่คำนึงว่าโรงแรมที่บริหารจะมีกำไร หรือ ขาดทุน เพราะถ้าคิดค่าธรรมเนียมการบริหารจากกำไรเพียงอย่างเดียว บริษัทที่รับจ้างบริหารอาจไม่มีค่าตอบแทนเลย เนื่องจากโรงแรมที่เปิดใหม่ๆส่วนใหญ่ อาจต้องใช้เวลากว่า 5 ปีจึงจะเริ่มมีกำไร ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่างที่ไม่ใช่ความสามารถในการบริหารเพียงอย่างเดียว ส่วนค่าธรรมเนียมที่เก็บจากกำไรจากการดำเนินงาน (Gross Operating Profit) เป็นการจูงใจให้ผู้บริหารทำให้โรงแรมได้กำไรสูงสุด หรือให้โรงแรมมีรายได้สูงสุด และมีต้นทุนต่ำสุดด้วย เพราะบางครั้งผู้บริหารอาจทุ่มทุนในการโฆษณา หรือ ส่งเสริมการขาย เพื่อสร้างยอดขาย แต่ผลกำไรที่ได้อาจจะน้อย ค่าธรรมเนียมส่วนนี้จึงเป็นการควบคุมการทำงานของผู้บริหารไปในตัว
แต่การคิดค่าธรรมเนียมการบริหารจัดการนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละกลุ่มด้วย ในกรณีของแมนดารินโอเรียนเต็ล ซึ่งส่วนใหญ่จะถือหุ้นในบริษัทที่รับจัดการ มักจะไม่เก็บค่าธรรมเนียมจูงใจ ซึ่งเก็บจากกำไรจากการดำเนินงาน (GOP) แต่จะได้รับกำไรในฐานะผู้ถือหุ้นแทน ซึ่งในปีหนึ่งๆกำไรของกลุ่มจากการถือกรรมสิทธิ์สูงกว่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่รายได้จากการจัดการมีเพียง 23.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เท่านั้น (จากทั่วโลก รวมทั้ง โอเรียนเต็ลกรุงเทพฯ)
นอกจากค่าธรรมเนียมการบริหารแล้ว เจ้าของโรงแรมยังอาจต้องจ่ายเงินเดือน และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ของเครือข่ายที่เข้ามาจัดการอีกด้วย
โรงแรมที่ทำสัญญาการจัดการกับบริษัทการจัดการต้องใช้ระบบบัญชีที่ตกลงร่วมกันโดยส่วนใหญ่จะใช้ระบบของ American Hotel Association (ฉะนั้น โรงแรมที่เป็นเครือของกลุ่มโรงแรมสากล ก็พอจะมั่นใจในระบบบัญชีได้)
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 21, 2004 8:09 am
โดย ม้าเฉียว
เครือข่ายไทยที่สำคัญที่รู้จักกันดี คือ
1) เครือดุสิต (ก็ DTC) เป็นเครือที่ใหญ่ที่สุดเมื่อวัดจากจำนวนโรงแรมและจำนวนห้อง โดยมีโรงแรมในเครือทั้งหมด 21 แห่ง และมีจำนวนห้องพักรวมกัน 5,395 ห้อง โดยเป็นโรงแรมในต่างประเทศ 5 แห่ง คือ ที่ ฟิลิปปินส์ 1 แห่ง ซึ่งดุสิตธานีเป็นเจ้าของ ที่ดูไบ 1 แห่ง และพม่า 1 แห่ง ซึ่งเป็นดุสิตธานีรับบริหารจัดการให้ (Managed Properties) และที่อินโดนีเซีย 2 แห่ง ซึ่งเป็นแฟรนไชส์ (Franchise Properties) สำหรับชื่อการค้าของเครือดุสิตนั้นมี 2 ชื่อ คือ Dusit Hotels & Resorts และ Royal Princess Hotels & Resorts
ซึ่งยังน้อยเมื่อเทียบกับ เครือใหญ่ๆ D2Hotel นี่ก็ยังไม่ทราบว่าวาง Position ยังไง
2) เครืออิมพีเรียล เป็นเครือโรงแรมไทยที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากเครือดุสิต โดยมีโรงแรมในเครือข่าย 16 แห่ง มีจำนวนห้องพัก 3,554 ห้อง มีชื่อการค้า 5 ชื่อ คือ Plaza Athénée Imperial Tara Impala และ Eurasia เครืออิมพีเรียลเป็นเจ้าของโรงแรมที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย คือ โรงแรมอิมพีเรียลควีนส์ปาร์ค กรุงเทพฯ (มีห้องพัก 1,287 ห้อง รองจากแอมบาสเดอร์ซิตี้จอมเทียน ซึ่งมีห้องพัก 4,210 ห้อง) โรงแรมในต่างประเทศของเครืออิมพีเรียลมี 1 แห่ง ที่นิวยอร์ก ประเทศสหรัฐฯ คือ Hôtel Plaza Athénée New York ซึ่งเครืออิมพีเรียลได้ซื้อชื่อการค้า และตัวทรัพย์สินในนิวยอร์กมาจากเจ้าของเดิม พร้อมรับเงื่อนไขที่จะใช้ชื่อนี้ได้ในสหรัฐฯ (ส่วนโรงแรมพลาซ่าแอทธินีอีกแห่งหนึ่งที่ปารีส สุลต่านแห่งบรูไนได้ซื้อไปพร้อมกับเงื่อนไขการใช้ชื่อการค้าในยุโรป) นอกจากโรงแรมในเครือทั้ง 16 แห่งแล้ว ยังมีโรงแรมในกัมพูชา ที่เครืออิมพีเรียลเป็นเจ้าของ (โดยบริษัทนิวอิมพีเรียลโฮเต็ล จำกัด ซึ่งเคยอยู่ในSET แต่ออกไปแล้ว แต่เคยคุยกับผู้บริหาร เค้าบอกว่าออกไปแต่งตัวก่อน แล้วจะกลับเข้ามาใหม่) คือ The Imperial Angkor Palace Hotel ซึ่งยังไม่เปิดดำเนินการ
3) เครืออมารี มีโรงแรมในเครือทั้งสิ้น 14 แห่ง อันนี้ไม่อยู่ในตลาดจะไม่พูดมาก เป็นของกลุ่มกรรณสูตร
4) เครือเซ็นทรัลก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2523 โดยกลุ่มจิราธิวัฒน์ และเปิดดำเนินการโรงแรมแห่งแรกในปี พ.ศ. 2526 โดยอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของกลุ่ม Hyatt International Corporation โดยใช้ชื่อว่า โรงแรมไฮแอทเซ็นทรัลพลาซ่า แต่ได้ขอยกเลิกสัญญาการบริหาร และเปลี่ยนมาใช้การบริหารของบุคลากรคนไทยในปี พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา
ปัจจุบัน เครือเซ็นทรัลมีโรงแรมในเครือทั้งหมด 10 แห่ง มีจำนวนห้องพักรวมกัน 1,787 ห้อง ซึ่งเป็นโรงแรมที่เครือเซ็นทรัลเป็นเจ้าของ 8 แห่ง และเป็นโรงแรมที่เซ็นทรัลไปรับจ้างบริหารจัดการ 2 แห่ง
ชื่อการค้าที่โรงแรมในเครือใช้ คือ Central และชื่อการค้า Sofitel Central และ Novotel Central ซึ่งเป็นการ Co-branding กับชื่อการค้าของ ACCOR ทั้งนี้โรงแรมในเครือที่ใช้ชื่อการค้าร่วมกับ ACCOR มี 3 แห่งแต่ที่บริหารงานโดย ACCOR มีเพียงแห่งเดียว คือ โซฟิเทลเซ็นทรัลหัวหินบีชรีสอร์ต ส่วนอีก 2 แห่งเป็นการซื้อแฟรนไชส์เท่านั้น สำหรับโรงแรมในเครือที่อยู่ในต่างประเทศมีเพียง 1 แห่ง คือ Central Maritime Hotel ซึ่งเป็นโรงแรมในเรือ ที่เมืองดิลี ประเทศติมอร์ตะวันออก
กลุ่มนี้ถือว่า เก่งเรื่องการเรียนรู้จากการจ้างเครือต่างชาติมาบริหาร ตอนแรกจ้าง HYATT เพราะอยากทำโรงแรมในเมืองระดับ 5 ดาว พอเรียนรู้เสร็จก็เลิกจ้าง บริหารเอง แต่ก็ยังไปซื้อแบรนด์ของ Sofitel มาใช้ พอจะเปิดโรงแรมที่เป็นรีสอร์ทแห่งแรก ก็ไปจ้าง Accor มาบริหารให้เห็นเป็นตัวอย่าง ก็คือ โซฟิเทลเซ็นทรัลหัวหินบีชรีสอร์ต แล้วก็เอา Know-How ไปใช้บริหารรีสอร์ทของตนในที่อื่น
5) เครือโรงแรมเอเชียของกลุ่มตระกูลเตชะหรูวิจิตร ปัจจุบันมีโรงแรมในเครือ 3 แห่ง คือ โรงแรมเอเชีย ซึ่งเป็นโรงแรมแห่งแรกของกลุ่ม โรงแรมเอเชียพัทยา และโรงแรมเอเชียแอร์พอร์ท อันนี้ยังอยู่ใน Rehabco ไม่ขอพูดมาก
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 21, 2004 8:14 am
โดย ม้าเฉียว
เครือข่ายโรงแรมที่เป็นของไทยนั้นมีข้อจำกัดหลายประการ ได้แก่
ประการที่ 1เครือข่ายการขายจำกัด เนื่องจากโรงแรมในเครือยังมีจำนวนน้อย เพราะการอยู่ในเครือข่ายที่โรงแรม 100 แห่งหมายถึง การมีสาขาหรือจำนวนตัวแทนถึง 100 แห่ง เช่นเดียวกัน ในขณะที่เครือข่ายต่างชาติขนาดใหญ่มีโรงแรมในเครือเป็นพันแห่ง
ประการที่ 2เครือข่ายไทยขาดคู่มือการปฏิบัติงานและมาตรฐานด้านเวลา แม้ว่าจะมีคู่มือที่ทำเองจากประสบการณ์ แต่ก็ไม่เป็นที่ชัดเจนว่าเทียบเท่ามาตรฐานสากลได้ อีกทั้งยังขาดการทดสอบในเชิงปฏิบัติและขาดการวิจัยพัฒนาอย่างต่อเนื่อง บางโรงแรมจะจ้างบริษัทประกันคุณภาพ เช่น Leading Hotels of the World มาตรวจมาตรฐานทุกปี แต่ผู้ให้ประกันคุณภาพก็ไม่ได้ให้ข้อมูลว่าทำอย่างไรถึงได้มาตรฐาน ต้องขวนขวายทดลองเอาเอง แม้แต่กลุ่มเครือข่ายไทยที่เคยจ้างผู้บริหารต่างประเทศมาก่อนจะมีโอกาสที่เรียนรู้มาตรฐานสากลโดยตรง แต่ก็ไม่มีการพัฒนาต่อยอดในอัตราที่รวดเร็ว เพราะขาดฐานเทคโนโลยีและการวิจัยระบบงาน
ประการที่ 3 ขาดแคลนบุคลากรที่สามารถทำงานในระดับสากล เพราะมีปัญหาด้านภาษา และถึงแม้จะมีความชำนาญด้านการบริการ แต่ขาดความรู้ด้านการเงินและการลงทุน
ประการที่ 4ในการขยายเครือข่ายของโรงแรมไทยซึ่งเป็นเครือข่ายท้องถิ่น (Local chain)เพื่อที่จะเป็น เครือข่ายนานาชาติ (International chain) มีอุปสรรคที่สำคัญ คือเงินทุนที่ต้องใช้ในการลงทุนร่วมในต่างประเทศ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 21, 2004 8:21 am
โดย ม้าเฉียว
ส่วนเรื่องราคานั้น โดยทั่วไปโรงแรมระดับสูงสุดจะมีราคาค่าห้องตั้งแต่ 500 ดอลลาร์สหรัฐฯ ขึ้นไป เช่น Four Seasons และ Ritz Carlton
รองลงมาก็คือกลุ่มที่มีราคาตั้งแต่ 200 ดอลลาร์สหรัฐฯ ขึ้นไป ได้แก่ โรงแรมในเครือไฮแอท (Hyatt) ฮิลตัน (Hilton) อินเตอร์คอนติเนนตัล (Intercontinental) และ เชอราตัน (Sheraton)
ในประเทศกำลังพัฒนาราคาที่ระบุ (Listed price) ไม่ใช่ตัวชี้วัดที่ถูกต้อง เพราะแต่ละโรงแรมต่างก็ขายตัดราคากัน หรือลดราคาจากราคาประกาศ ซึ่งในกรณีของประเทศไทย โรงแรมที่ได้ราคาห้องพักสูงสุดโรงแรม คือ โรงแรมบันยันทรีภูเก็ต (ของ LNH) ซึ่งสามารถขายห้องพักได้ในราคาเฉลี่ยประมาณ 440 ดอลลาร์สหรัฐ รองลงมา คือโฟร์ซีซั่นรีสอร์ทเชียงใหม่ (ของ RGR) สามารถขายห้องพักในราคาเฉลี่ยประมาณ 285 ดอลลาร์สหรัฐฯ โอเรียนเต็ล (ของ OHTL) มีราคาห้องพักเฉลี่ยประมาณ 200 ดอลลาร์สหรัฐฯ และสุโขทัยประมาณ 150 ดอลลาร์สหรัฐฯ และโรงแรมอื่นๆ ประมาณ 60 ดอลลาร์สหรัฐฯ และต่ำกว่า
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 21, 2004 8:53 am
โดย ม้าเฉียว
ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานของโรงแรม 5 ดาวในไทย
2540**2541**2542**2543**2544**2545**2546**growthเฉลี่ย
อัตราการเข้าพัก (Occupancy rate) (ร้อยละ)
71.2**71.8***69.8***71.4**66.9***62.9**62.6***-1.9
อัตราค่าห้องพักเฉลี่ย ( ADR) (บาท/ห้อง/คืน)
3,969*3,910*4,352**5,217*5,880**5,526**5,249***6.8
รายได้ต่อห้องพักพร้อมขาย (RevPAR) (บาท/ห้อง/คืน)
2,856*2,844*3,060**3,727*3,911**3,487**3,228***4.3
ที่มา: รายงานประจำปี บมจ.รอยัลการ์เด้นรีซอร์ท บมจ.โรงแรมโอเรียนเต็ล บมจ.ลากูน่า รีสอร์ท แอนด์ โฮเท็ล บมจ.แชงกรี-ลา โฮเต็ล และ บมจ.แกรนด์ แอสเสท ดีเวลลอปเม้นท์
อยากเอามาโชว์ละเอียดกว่านี้ แต่โพสรูปกับตารางไม่เป็น
เมื่อเปรียบเทียบสมรรถนะของโรงแรมระดับแนวหน้าของโลกในภูมิภาคต่างๆ จะเห็นว่า แม้จะมีอัตราการเข้าพักที่ใกล้เคียงกัน แต่กลับสามารถขายห้องพักได้ในราคาที่ต่ำกว่า และมีรายได้ต่อห้องพักที่ต่ำกว่า เพราะโดยทั่วไปแล้วราคาห้องพักของโรงแรมในเอเชียจะมีราคาต่ำกว่าในภูมิภาคอื่น โดยเฉพาะในยุโรปและอเมริกาเหนือ
**************อัตราการเข้าพัก (%)**ADR(US$)**RevPAR (US$)
ยุโรป**************67************408********271
อเมริกาเหนือ******** 63************343********218
เอเชียและแปซิฟิก*****63************150********94
******และเมื่อผมลองเทียบ อัตราการเข้าพักของโรงแรมในเครือข่ายโรงแรมของไทย (พวกอมารี ดุสิต อิมพีเรียล) กับ เครือข่ายโรงแรมสากลถือว่าใกล้เคียงกัน คือ ที่ประมาณน้อยละ 60 แต่โรงแรมในเครือข่ายโรงแรมไทยจะมีอัตราค่าห้องพักเฉลี่ยและรายได้ต่อห้องพักน้อยกว่าโรงแรมในเครือข่ายโรงแรมสากล โดยเฉพาะโรงแรมในเครือข่ายสากลระดับ 5 ดาวแนวหน้าที่สามารถขายห้องพักในราคาเฉลี่ย และมีรายได้ต่อห้องที่สูงกว่าเครือข่ายโรงแรมไทยระดับ 5 ดาว มากกว่าสองเท่าตัว เพราะโรงแรมชั้นนำเหล่านี้จะใส่ใจกับคุณภาพบริการเป็นพิเศษ เห็นได้จาก จำนวนพนักงานต่อห้องพักที่สูงถึง 2 คนต่อห้อง และพนักงานแต่ละคนสามารถสร้างรายได้เฉลี่ยต่อคนสูงเกือบ 1.7 ล้านบาทต่อคนต่อปี (มีตารางใช้ชมแต่ขี้เกียจพิมพ์) อันนี้สะท้อนว่า โรงแรมที่ใช้แบรนด์ของเครือโรงแรมระดับโลกจะมีความสามารถในการแข่งขันที่เหนือกว่าโรงแรมไทยที่ใช้แบรนด์ของตนเอง พูดง่ายๆคือ คุ้มค่ากับค่าธรรมเนียมที่จ่าย
โรงแรมในเครือ*********************ADR(บาท)*OC(%)*RevPAR (บาท)
สากลระดับแนวหน้าทั่วโลก************9,274****65.22***5,853
สากลระดับแนวหน้าในประเทศไทย*******7,338****65.57***5,084
สากลอื่นๆระดับ 5 ดาวในประเทศไทย*****5,494****62.63***3,691
ไทยระดับ 5 ดาว********************3,850****62.92***2,262
ไทยระดับ 4 ดาว********************1,473****65.58***1,011
ไทยระดับ 3 ดาว********************1,030****57.46****604
[/img]
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 21, 2004 9:07 am
โดย ม้าเฉียว
สำหรับ Amanpuri Resort ที่ภูเก็ต นั้นถือว่าขับเคี่ยวกับ Banyan Tree มาตลอด และจะผลัดกันเป็นที่ 1 ของโลก เหมือน โอเรียนเต็ล กับ เพนนินซูล่าส่วนค่าห้องพักในช่วง November - October ถูกที่สุดก็ $675 ต่อห้องเข้าไปแล้ว เพราะเป็นช่วง High Season ตัว Banyan Tree ก็อาจจะขายได้มากกว่า หรือน้อยกว่าก็แล้วแต่ เวลาเปรียบเทียบ เค้าจึงต้องใช้ราคาห้องพักเฉลี่ยทั้งปี มาเทียบ เพราะนอกจากจะสะท้อนเรื่องราคาแล้ว ยังสะท้อนเรื่องความสามารถในการบริหารจัดการในช่วง Low Season อย่าลือว่าช่วง High Season มีแค่ไม่กี่เดือนเท่านั้น
ส่วนห้อง Villa 6 bedrooms นี่ก็ราคาสูงจริงๆ กลุ่ม Aman นี่เค้าเก่งเรื่อง Villa มาก โดยเฉพาะตลาด Honey moon ที่มาพักยาวๆหลายวัน
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 21, 2004 9:16 am
โดย ม้าเฉียว
สำหรับคุณครรชิต ที่ถือ DTCอยู่ ผมมีเรื่องเล่าเยอะมากเลย วันหลังจะมาเล่าให้ฟัง คุณครรชิตจะได้รู้จัก คุณหญิงชนัตต์ ปิยะอุย ผู้ก่อตั้ง ผู้หญิงที่แข็งแกร่ง และไม่เคยไว้ใจใคร และคุณชนินท์ ทายาทของกิจการที่คิดการใหญ่ เคยเข้าซื้อเครือเคมพินสกี้ซึ่งเป็นเครือใหญ่เครือหนึ่งในยุโรป จนทำให้ DTC ฮือฮาในวงการโรงแรมมากช่วงหนึ่ง แต่ก็พ่ายไม่เป็นท่า แต่การสร้าง D2Hotel อาจเป็นก้าวสำคัญของ DTC หลังจากที่บอบช้ำและพักรักษาตัวอยู่นานปี จนแข็งแรง และก้าวเข้าสู่การแข่งขันในอุตสาหกรรมโรงแรมในเชียงใหม่ ซึ่งเป็นสมรภูมิรบที่หินมากกว่าภูเก็ตเสียอีก
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 21, 2004 10:04 am
โดย -ลูกอีสาน
นับว่าคุณ ม้าเฉียว เป็นผู้รู้ตัวจริงในวงการโรงแรมเลยครับ
และขอบคุณ ที่เผื่อแผ่ข้อมูลความรู้ให้เพื่อนๆ ครับ
ผมก็พยายามติดตามข้อมูลบ้าง แต่ยังไม่ได้ถึง 1 ใน 10
ของคุณม้าเฉียวเลยครับ
ผมเข้าใจว่าเครือโรงแรมของไทย อาจจะมีอีก 2 รายที่น่าสนใจคือ
- แลนด์มาร์ค ซึ่งมีโรงแรมในต่างประเทศด้วย
- แกรนด์ แอสเซท ซึ่งกำลังโหมสร้างโรงแรม ซึ่งกำลังหรือมีแผนจะสร้างประมาณ 5-6 โรงแรมครับ
ไม่ทราบคุณม้าเฉียว มีข้อมูลหรือเปล่าครับ..

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 21, 2004 1:47 pm
โดย ม้าเฉียว
คุณแฮรี่บอกว่า "โรงแรมระดับโลกในไทย ผมเห็นเค้าบริการแบบสากล แต่ของไทยเราเอง เน้นความเป็นไทยแท้ มีรูปแบบวัฒนธรรมไทย คิดว่าแบบไหน จะเรียกลูกค้าได้ดีกว่าครับ"
คือ ในการเรียกลูกค้าของโรงแรม มีองค์ประกอบหลายอย่าง ไม่ใช่แค่บริการ การตลาดเป็นองค์ประกอบสำคัญซึ่งต้องอาศัยการลงทุนมาก พวกเครือใหญ่ๆ เค้าจึงมี Economy of scale ในเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นการทำ Worldwide reservation system หรือ Loyalty Programs ต่างๆ
แต่สำหรับเครือไทยอย่าง DTC เค้าก็แก้ไขโดยการตั้งกลุ่ม Asian Hotel Alliance: AHA) โดยมีสมาชิก ได้แก่ กลุ่มโรงแรมและรีสอร์ตในเครือดุสิตธานี (ไทย) เครือแลนดิส (ไต้หวัน) เครือมาโคโปโล (ฮ่องกง) เครือเมอริตัส (สิงคโปร์) และเครือนิโอตานิ (ญี่ปุ่น) ทำให้โรงแรมในกลุ่มพันธมิตรกว่า 70 แห่งในภูมิภาคเอเชียสามารถบริการจองห้องพักผ่านระบบเครือข่ายAHA และประชาสัมพันธ์ร่วมกัน รวมทั้งดึงเอาสายการบินต่างๆ มาร่วมเป็นพันธมิตร
หรืออย่าง กลุ่ม Legends of Indo China ซึ่งเป็นกลุ่มโรงแรม 5 ดาว และบริษัทนำเที่ยวในลุ่มน้ำโขงที่มาทำประชาสัมพันธ์ร่วมกัน ได้แก่ โรงแรมโอเรียนเต็ล (กรุงเทพฯ) โฟร์ซีซั่นส์ (เชียงใหม่) อามันปุรี (ภูเก็ต) เม็ตโทรโพล (ฮานอย) ชีวาศรม (หัวหิน) เลอ รอยัล (พนมเปญ) เมเจสติก (ไซ่ง่อน) กรองด์โฮเต็ลอังกอร์ (เสียมราบ) เดอะ แสตนด์ (ย่างกุ้ง) โรด์ ทู มันดาเลย์ (พม่า) และ อีสเทิร์น แอนด์ โอเรียนทอล เอ็กซ์เพรส(ไทย-สิงคโปร์)
การรวมกลุ่มแบบนี้ก็เป็นอีกทางที่โรงแรมดีๆที่ไม่ได้เป็นเครือข่ายของกลุ่มโรงแรมระดับโลก ได้เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน
ส่วนบริการนั้น ผมมองว่า บริการมีผลต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำ และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ ซึ่งโรงแรมไทยแท้ๆอาจมีบริการดีเยี่ยมแบบไทยๆ แต่ต้องเป็นลักษณะของ"การมีเอกลักษณ์ไทยในมาตรฐานสากล" จึงจะแข่งได้ เรื่องความอ่อนโยน คงไม่มีใครสู้คนไทยได้ (เคยคุยกับ Consultant ด้านสปา จากสิงค์โปร์ เค้าบอกว่า คนไทยเหมาะที่จะทำสปามาที่สุด เพราะเค้าไม่เคยเห็นคนชาติไหนอ่อนโยนเท่าคนไทย) แต่ส่วนของมาตรฐานการบริการนี่แหละที่โรงแรมไทยๆยังด้อยอยู่ อย่างโรงแรมโอเรียนเต็ลเค้ามีมาตรฐานที่เรียกว่า ตำนานแห่งประสบการณ์ที่มีคุณภาพ (Legendary Quality Experience) หรือทางเครือเชอราตันเค้ามี Code of conduct ที่เรียกว่า สายดำ (Black Belt) ซึ่งเป็นตัวกำหนดแบบแผน วิธีการ มาตรฐาน และความเข้มงวดในเรื่องการบริการไว้ แต่โรงแรมไทยยังไม่แข็งเรื่องนี้นัก เพราะฉะนั้น วัฒนธรรมไทยนะขายได้แน่นอน แต่การพัฒนาและรักษามาตรฐานการบริการนี่ซิยากมาก
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 21, 2004 2:17 pm
โดย ม้าเฉียว
สำหรับ แกรนด์ แอสเซ็ท (GRAND) เค้าทำธุรกิจในลักษณะของสร้างโรงแรม แล้วจ้างให้เครือข่ายต่างชาติมาบริหาร ซึ่งก็คือ กลุ่มสตาร์วูดส์ ซึ่งธุรกิจของ GRAND นี่ผมยังมองเห็นแต่การเพิ่มจำนวนโรงแรม แต่ยังไม่เห็นจุดเปลี่ยนของการเติบโต เมื่อเทียบกับ RGR ที่เติบโตด้วยการเรียนรู้จากเครือข่ายที่จ้างมาบริหาร ไม่ว่าจะเป็น รีเจนท์(อดีต) โฟร์ซีซันส์ และ แมริออท แล้วค่อยๆสร้างแบรนด์และเครือข่ายของตัวเอง คือ อนันตรา ซึ่งเค้าคงจะค่อยๆฟูมฟักขึ้นมาเรื่อยๆ ไม่แน่ว่าอาจจะเป็นแบรนด์สำคัญที่จะสร้างรายได้ในรูปของค่าบริหารจัดการให้ RGR ในอนาคตได้มหาศาล
หรือ DTC ซึ่งเริ่ม แตกแบรนด์ใหม่ คือ D2Hotel (เริ่มที่เชียงใหม่ หากที่นี่สำเร็จ ที่อื่นคงไม่ยาก) (หลังจากที่พลาดท่าในการยืนซองประมูลบริหารโรงแรมสุวรรณภูมิ เพราะเด็กส่งเอกสารยื่นซองให้AOT ช้าไป 10 นาที AOTจึงไม่รับชองของ DTC ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวเต็งที่จะได้บริหารจัดการโรงแรมสุวรรณภูมิ หวังว่าอนาคต DTC จะไม่แพ้ตั้งแต่ในมุ้งแบบนี้อีกนะ)
หรืออย่าง Centel ที่ใช้กลยุทธ์ Co-Branding ให้แบรนด์ Central ของตนปรากฏร่วมกับ Brand ดังๆของโลก ทำให้ลูกค้าคุยเคยมากขึ้น และจะนำไปสู้การรุกเข้าไปบริหารจัดการโรงแรมในต่างประเทศในที่สุด โดยใช้แบรนด์เซ็นทรัลของตนเอง (แต่ตอนนี้คงต้องพยายามเตรียมพร้อมรองรับ ยอดขายของ Sofitel Central Plaza ที่จะลดลงจากการย้ายสนามบินใหม่
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 21, 2004 5:27 pm
โดย -ลูกอีสาน
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับคุณ ม้าเฉียว
ผมอยากจะถามเรื่องอนันตรา ก็เลยไม่ต้องถามเลยครับ
ไม่ทราบว่าผมจะหาความรู้อย่างนี้เรื่องโรงแรมได้ที่ไหนครับ
โดยเฉพาะเรื่องมาตรฐานการจัดดาว อะไรทำนองนี้ครับ
ฟังคุณม้าเฉียวเล่ามา ผมสรุปเอาเอง
ว่าจะเป็นโรงแรมที่ประสบความสำเร็จได้ต้องมี 2 ปัจจัย
1.บริหาร หรือ สินค้า คือโรงแรมต้องสวยงาม มีเอกลักษ์ อยู่ในทำเลที่ดี มีบริหารที่ดี หรือ เด่น อย่างสปา เช่น มันดาราสปา
2.มีเครือข่ายที่ดี จะทำให้มีอัตราการเข้าพักสูง
สรุปอย่างนี้ได้ไหมครับ.. :lol:
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ต.ค. 22, 2004 8:13 am
โดย บุคคลทั่วไป
เรื่องการจัดดาว (Hotel Rating) เมืองไทยเริ่มมีการจัดแบบเป็นทางการเมื่อไม่นานมานี้ โดยโรงแรมไหนสมัครใจอยากจัดดาวก็ไปสมัครได้ที่สมาคมโรงแรมไทย แล้วจะมีคณะกรรมการไปตรวจสอบมาตรฐานของโรงแรมตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ (ซึ่งละเอียดยิบเลย) เช่น
โรงแรมดุ๊กดิ๊กต้องการมาตรฐานระดับ 2 ดาว ก็ไปขอให้สมาคมโรงแรมมาตรวจสอบมาตรฐาน โดยกรรมการก็จะเอาเกณฑ์โรงแรมระดับ 2 ดาวไปตรวจสอบ ถ้าผ่านก็ถือว่าได้ 2 ดาว แล้วทุกๆปีคณะกรรมการก็จะมาตรวจสอบอีกเพื่อดูว่ายังรักษามาตรฐานไว้ได้เหมือนเดิมหรือเปล่า แต่ถ้าหากโรงแรมดุ๊กดิ๊กมีการปรับปรุงโรงแรมของตนให้ดีขึ้นแถมยังเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น โรงแรม De Grand ให้สมกับที่ลงทุนลงแรงไปเยอะ และคิดว่า 2 ดาวนี่ต่ำไป น่าจะถึง 4 ดาวแล้ว ก็อาจจะไปขอให้สมาคมโรงแรมจัดโรงแรมของตนให้เป็น 4 ดาว คณะกรรมการจัดมาตรฐานของสมาคมโรงแรมก็จะมาตรวจสอบมาตรฐานใหม่โดยใช้เกณฑ์มาตรฐาน 4 ดาว ถ้าผ่านก็จะได้ก็จะได้ 4 ดาว
แต่อย่างที่บอก ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของโรงแรมว่าจะจัดดาวกะเค้าหรือเปล่า แต่ก็ดีกว่าเมื่อก่อน ที่แบ่งดาวกันตามที่รู้กันเองในวงการ
รายละเอียดเรื่องนี้ รวมทั้งผลการจัดดาวดูได้ที่
http://www.thaihotels.org/ จะมีsection Hotel Rating
สำหรับข้อสรุปของคุณลูกอีสานว่าจะเป็นโรงแรมที่ประสบความสำเร็จได้ต้องมี 2 ปัจจัย
1.บริหาร หรือ สินค้า คือโรงแรมต้องสวยงาม มีเอกลักษ์ อยู่ในทำเลที่ดี มีบริหารที่ดี หรือ เด่น อย่างสปา เช่น มันดาราสปา
2.มีเครือข่ายที่ดี จะทำให้มีอัตราการเข้าพักสูง
ก็สมเหตุสมผลดี กระชับ

แต่ถ้าจะให้ดี ผมพูดง่ายๆ คือ
1.สินค้าเหมาะ----Positionต้องชัด(Conventional Hotel, Resort Hotel, Hitech Hotel, Hotel as a Destination ฯลฯ) แล้วเสนอสินค้า (ตัวโรงแรม สิ่งอำนวยความสะดวก) เหมาะกับ Position
2.ทำเลดี----สอดคล้อง Position (เช่น Resort Hotel ไม่เหมาะที่จะตั้งในแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นแบบเที่ยวไปชมไป เพราะนักท่องเที่ยวจะมาพักสั้นๆ ควรตั้งในแหล่งท่องเที่ยวแบบ Holiday Destination เช่น ชายทะเล นักท่องเที่ยวจะมาพักนานหลานวัน โรงแรมจึงสามารถขายห้องพักแบบ Allotment หรือขายล่วงหน้าเป็นปีๆ ยกเว้น

โฟร์ซีซันส์เชียงใหม่ ซึ่งแม้นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวเชียงใหม่จะมีเวลาพักเฉลี่ย 2-3 วันเพราะแหล่งท่องเที่ยวในเชียงใหม่เป็นแบบเที่ยวไปชมไป เที่ยวแป๊บเดียวก็ทั่วแล้ว เค้าก็แก้ปัญหาโดยการให้โรงแรมของตนนั่นแหละเป็นแหล่งท่องเที่ยวซะเลย จัดวางผังโรงแรมให้มีจุดชมวิวที่เปิดโล่ง มองไปเห็นทุ่งนากว้างๆ วิถีชีวิตชาวนา มีกิจกรรมเสริมให้แขกได้พักผ่อนนานขึ้น เป็นต้น ถ้าทำอย่างนี้ได้ก็เรียกว่า เจ๋ง)
3.บริการเยี่ยม---High Touch (ตัวตัดสินชี้ขาดความเป็น 4 ดาว หรือ 5 ดาว = ราคาห้องพัก) ต้องลองไปอ่านหนังสือ ชื่อ "เร่ๆเข้ามา จะพาเข้าโรงแรม" (ประมาณนี้มั้ง ไม่แน่ใจ) จะเห็นภาพชัดว่า บริหารเยี่ยมยอดของโอเรียนเต็ลนี่เหนือคำบรรยาย แถมยังอ่านสนุกมากๆ
4 เครือข่ายกว้าง (ถ้าไม่เป็นเครือต่างประเทศ ก็ต้องไปหา หรือสร้างกลุ่มความร่วมมือทางการตลาดขึ้นมา)
5.บริหารเก่ง (โดยเฉพาะ Crisis Management เพราะธุรกิจโรงแรมมีความอ่อนไหวสูงมาก)
ส่วนหุ้นโรงแรมในตลาด
ที่เด่นก็
RGR และ OHTL เจ้าเก่า
กำลังจับตาดูความเคลื่อนไหวของ DTC และ Centel
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ต.ค. 22, 2004 8:19 am
โดย ม้าเฉียว
ข้างบนนี่ผมเองครับ
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ต.ค. 22, 2004 8:28 am
โดย บุคคลทั่วไป
โรงแรมบันยันทรีภูเก็ต (ของ LNH)
ขอแก้ไข LNH ของคุณม้าเฉียวหน่อยนะครับ ความจริงเป็นของลากูน่ารีสอร์ท คือ LRH ครับ LNH เป็น ร.พ.นะครับ CHIANG MAI MEDICAL SERVICES PUBLIC COMPANY LIMITED
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ต.ค. 22, 2004 8:35 am
โดย ม้าเฉียว
เออ ใช่

พลาด ขอบคุณครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ต.ค. 22, 2004 1:29 pm
โดย ม้าเฉียว
คุณไฮเนคคี้ นี่เค้าไม่ธรรมดามาก หลายคนอาจจะได้อ่านหนังสือของเค้าแล้ว (ใครที่ไม่ได้อ่านก็ลองไปหาอ่านดูนะ)
ทุกครั้งทีผมได้อ่านบทสัมภาษณ์ของเค้าในนิตยสารเกี่ยวกับโรงแรม ก็รู้สึกแทบทุกครั้งว่ามีพลัง ไอเดีย และเหลี่ยมทางธุรกิจและการลงทุนเอามาก