BECL
ข่าวจาก efinancethai เรื่องการซื้อหุ้นของ CK ครับ
CK ผงาดขึ้นถือหุ้นใหญ่ใน BECL สัดส่วน 22.76% หวังรับปันผลและงานก่อสร้างในส่วนต่อขยายทางด่วน
CK ผงาดขึ้นถือหุ้นใหญ่ BECL สัดส่วนไม่เกิน 24% ระบุเงินที่ใช้ลงทุน
1.75 พันลบ.จะมาจากกระแสเงินสดของบริษัท ส่วนประโยชน์ที่จะได้รับคือเงินปันผล
และงานก่อสร้างในส่วนต่อขยายทางด่วน ส่วนาราคาที่ซื้อคือ 23.34 บาท/หุ้น มาจาก
ราคาตามมูลค่าเฉลี่ยตามราคาตลาดเฉลี่ยย้อนหลัง 30 วันตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน
2547 ถึง 27 ตุลาคม 2547
นายปลิว ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ช.การช่าง(CK) เปิดเผยถึงกร
ณีาที่ประชุมคณะกรรมการ บมจ. ช.การช่าง(CK) ครั้งที่ 3/2547 เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน
2547 เวลา มีมติให้ใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญของ บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BECL)
ว่าหลังจากเข้าซื้อหุ้นจำนวนดังกล่าวแล้ว จะทำให้บริษัทถือหุ้นใน BECL คิดเป็นไม่เกินกว่าร้อย
ละ 24.00 ของทุนจดทะเบียนและชำระแล้ว
ประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับบริษัท คือได้รับผลประโยชน์ในฐานะถือหุ้นของ บริษัท
ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จากผลการดำเนินงานและเงินปันผลและจากงานก่อสร้างใน
ส่วนต่อขยายทางด่วน ส่วนแหล่งเงินทุนที่ใช้ในการซื้อ CK จะใช้แหล่งเงินทุนในการซื้อหุ้นจาก
กระแสเงินสดจากการดำเนินงานของบริษัท
ทั้งนี้ สินทรัพย์ที่บริษัทซื้อมาเป็นหุ้นสามัญของ บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด
(มหาชน) จำนวน 75,075,000 หุ้น ซึ่งมีมูลค่าเฉลี่ยตามราคาตลาดเฉลี่ยย้อนหลัง 30 วันตั้งแต่
วันที่ 28 กันยายน 2547 ถึง 27 ตุลาคม 2547 มีมูลค่าหุ้นเฉลี่ยหุ้นละ 23.34 บาท ดังนั้นรวม
เป็นมูลค่ารายการที่เกี่ยวโยงทั้งสิ้นเป็นจำนวน 1,752,250,500.00 บาท
การกำหนดราคาซื้อขายหุ้นของ บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ใช้ราคาตาม
มูลค่าเฉลี่ยตามราคาตลาดเฉลี่ยย้อนหลัง 30 วันตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2547 ถึง 27 ตุลาคม
2547 มีมูลค่าหุ้นเฉลี่ยหุ้นละ 23.34 บาท ซึ่งราคาดังกล่าวเป็นราคาที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ตกลง
กัน และบริษัทเห็นว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาที่เหมาะสมโดยมีราคาเทียบเคียงราคาตลาด
บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BECL) ประกอบธุรกิจเป็นบริษัทที่ให้
บริการระบบสาธารณูปโภคประเภททางด่วน โดยได้รับสัมปทานจากการทางพิเศษแห่งประเทศ
ไทย เป็นลักษณะ Build Transfer and Operate (BTO) คือ บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ
จำกัด (มหาชน) จะต้องเป็นผู้ลงทุนในการออกแบบ ก่อสร้างและบริหารทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วน
ขั้นที่ 2) โดยกรรมสิทธิ์สิ่งก่อสร้างถาวรต่างๆ จะตกเป็นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย โดย
บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) มีสิทธิในการเข้าบริหาร และได้รับรายได้ค่าผ่านทาง
ตามสัดส่วนที่กำหนดในสัญญา โดยมีอายุสัมปทาน 30 ปี เริ่มต้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2533 และ
สิ้นสุดวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 โดยบริษัทสามารถต่อสัญญาสัมปทานได้อีก 2 ครั้ง ครั้งละ 10
ปี
โครงสร้างการถือหุ้น
ณ วันที่ 14 กันยายน 2547 บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) มีทุนจด
ทะเบียน 8,000 ล้านบาทและชำระแล้ว 7,700 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญ 800 ล้านหุ้น มูลค่าที่
ตราไว้หุ้นละ 10 บาท โดยมีรายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ดังนี้
จำนวนหุ้น %
1. บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) 100,167,750 13.01
2. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 55,295,390 7.18
3. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) 38,890,550 5.05
4. BILFINGER BERGER BOT GMBH 33,837,140 4.39
5. ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) 31,642,463 4.11
6. กองทุนเปิด ไทยพาณิชย์ไทยแลนด์รีคัฟเวอรี่ฟันด์ 20,878,530 2.71
7. ธนาคารเอเชีย จำกัด (มหาชน) 19,614,270 2.55
8. ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) 13,674,500 1.78
9. GOLDMAN SACHS INTERNATIONAL 11,562,000 1.50
10. อื่น 444,437,407 57.72
รวม 770,000,000 100.00
ฐานะทางการเงิน และผลการดำเนินงานของ บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โดย
ย่อที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2544 ? 2546 และงบภายใน ณ
วันที่ 30 มิถุนายน 2547 มีดังนี้
( หน่วย : ล้านบาท )
2544 2545 2546 30 มิ.ย. 2547
สินทรัพย์รวม 52,282.10 51,214.75 49,679.13 49,043.59
หนี้สินรวม 38,455.01 37,086.75 35,070.62 34,647.08
ทุนจดทะเบียนและชำระแล้ว 7,700.00 7,700.00 7,700.00 7,700.00
ส่วนของผู้ถือหุ้น 13,827.08 14,127.63 14,590.77 14,379.24
รายได้รวม 5,960.77 6,368.92 6,218.29 3,233.69
กำไร(ขาดทุน)สุทธิ 874.38 878.04 1,233.14 943.47
กำไรสุทธิต่อหุ้น (บาท) 1.14 1.14 1.60 1.23
อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (%) 6.93 6.98 6.55 3.44
อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (%) 6.49 6.28 8.59 6.71
อัตรากำไรสุทธิ (%) 14.67 13.79 19.83 29.18
มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น (บาท) 17.61 18.02 18.16 18.67
คณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่ารายการเกี่ยวโยง
ดังกล่าวข้างต้นเป็นการเข้าทำรายการที่มีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อบริษัท เนื่อง
จากรายการดังกล่าวจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัท โดยลักษณะของธุรกิจที่มีการเสริมซึ่ง
กันและกัน และมีความเป็นธรรมในเรื่องราคาและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง