MODERN

แหล่งรวบรวมข้อมูลของหุ้นต่างๆ All for one, one for all
(ข้อมูลตั้งแต่ก่อตั้งเว็บ จนถึง 30 กันยายน 2555 ห้องนี้อ่านได้อย่างเดียวไม่สามารถ post ได้)
ตอบกลับโพส
ภาพประจำตัวสมาชิก
Linzhichange
User
กระทู้: 1160
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ก.ค. 10, 2005 9:21 pm

โพสต์ โดย Linzhichange » พฤหัสฯ. ธ.ค. 10, 2009 9:44 pm

อยากให้คลัสเตอร์นี้แข่งขันกับประเทศได้ ไม่งั้นอนาคตอาจจะเหมือนสิ่งทอ

กลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ เผยจีน เวียดนามฯแย่งแชร์ตลาด ฉุดยอดสงออกปี 52 วูบ 20% สภาอุตสาหกรรมจับมือ สศอ. ทุ่ม 4.5 ล้านบาท/ปี หนุนโครงการ “สานคลัสเตอร์..เพิ่มศักยภาพเฟอร์นิเจอร์ไทยให้ยั่งยืน” หวังยกระดับSMEไทยแข่งขันในตลาดโลก
     
      นายวงกต ตั้งสืบกุล ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันตลาดเฟอร์นิเจอร์ส่งออกมีการแข่งขันสูง โดยเฉพาะเฟอร์นิเจอร์ที่เน้นการผลิตตามคำสั่งซื้อ หรือ OEM ซึ่งถือเป็นตลาดเริ่มต้นของผู้ประกอบการเฟอร์นิเจอร์รายใหม่ และผู้ประกอบการระดับ SME ที่สำคัญมีการแข่งขันด้านราคาสูงมาก
     
      สำหรับตลาดรวมเฟอร์นิเจอร์เพื่อการส่งออกของไทยในปี 52 หดตัวลดลงจากปี 51ประมาณ 20% โดยในปีที่ผ่านมาตลาดรวมมีมูลค่า 1,244.3ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเปรียบเทียบตัวเลข ณ เดือน ม.ค.- ต.ค.51มีมูลค่าการขายรวม 1,067ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่ เดือนม.ค.-ต.ค.52 มียอดขายรวม 813.2ล้านเหรียญสหรัฐฯ
     
      ทั้งนี้ แม้ว่าผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ไทยในต่างประเทศจะเป็นสินค้าที่ได้รับการยอมรับ ด้านคุณภาพและมีข้อไดเปรียบด้านวัตถุดิบในประเทศจำนวนมากซึ่งเป็นที่ต้องการ ของตลาด เช่น ไม่ยางพาราที่ยังมีอยู่จำนวนมาก และได้เปรียบด้านช่างฝีมือแรงงานประณีต ช่วยให้สามารถเพิ่มมูลค่าเฟอร์นิเจอร์ได้เป็นอย่างดี แต่เนื่องเฟอร์นิเจอร์ OEM เป็นตลาดที่ต้องแข่งขันด้านจำนวนการผลิตและราคาทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบคู่ แข่งสำคัญ อย่างเช่น จีน เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเชีย ค่าแรงงาน เทคโนโลยีในการผลิต ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำกว่าเฟอร์นิเจอร์ไทย ทำให้ประเทศเหล่านี้แย่งส่วนแบ่งตลาดของไทยไป
     
      “ข้อด้อยของผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ไทย คือ ต้นทุนรวมที่สูงกว่าคู่แข่ง เช่น ค่าวัตถุดิบ ค่าแรง ค่าเสียโอกาศ รวมถึงต้นทุนราคาน้ำมัน และขีดความสามารถการผลิต ยังด้อยกว่าคู่แข่ง นอกจากนี้ ผู้ผลิตไทยยังขาดความสามารถและความชำนาญ ด้านการออกแบบ ส่งผลให้การพัฒนาผู้ประกอบการให้เป็นผู้ผลิตสินค้าที่ขายดีไซน์จนกลายเป็นแบ รนด์ที่ได้รับการยอมรับในอนาคตเป็นไปได้ยาก” นายวงกตกล่าว
     
      ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเฟอร์นิเจอร์ในประเทศ ทั้งผู้ประกอบการรายใหม่และ SME สามารถพัฒนาคุณภาพการผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ให้แข่งขันในตลาดโลกได้ จึงจำเป็นที่ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ต้องศึกษาพัฒนา และร่วมแบ่งปันแนวคิด รวมถึงการถ่ายทอดความรู้ด้านการผลิต และเทคโนโลยีในการผลิตสินค้าการบริหารจัดการและทำการตลาดร่วมกัน
     
      โดยล่าสุด สภาอุตสาหกรรมไทยได้ร่วมกับสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ โดยมีสำนักเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ให้การสนับสนุนจัดตั้งโครงการพัฒนาการรวมกลุ่มเชื่อมโยงเครือข่ายวิสาหกิจ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้และเครื่องเรือนในเขต กทม.และปริมณฑล เพื่อพัฒนาและสร้างเสริมความแข็งแกร่งให้กลุ่มอุตสาหรรมสามารถแข่งขันในตลาด โลกได้ โดยใช้ชื่อโครงการว่า “สานคลัสเตอร์..เพิ่มศักยภาพเฟอร์นิเจอร์ไทยให้ยั่งยืน”
     
      ทั้งนี้ การรวมกลุ่มเชื่อมโยงเครือข่ายวิสาหกิจอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์นั้นจะช่วยให้ เกิดการนำไปสู่การช่วยลดต้นทุนการผลิต การแบ่งออเดอณ์ คำสั่งซื้อตามความต้องความถนัด ชำนาญ และร่วมกับเข้าถึงแหล่งการจัดซื้อ จัดหาวัตถุดิบ ที่มีราคาถูกและได้คุณภาพ นอกจากนี้จะช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ และวิธีการนำไปสู่มาตรฐานการผลิตที่ดีขึ้น และการสร้างนวัตกรรมสินค้าใหม่ๆ ยกระดับผู้ผลิตไทยให้แข่งขันในตลาดโลกได้
     
      นายวงกต กล่าวว่า สำหรับโครงการ “สานคลัสเตอร์..เพิ่มศักยภาพเฟอร์นิเจอร์ไทยให้ยั่งยืน” จะจัดงานเปิดตัวในวันที่ 21 ธ.ค. เวลา18.30-16.30น. ณ ห้องเจ้าพระยาบูอลรูม โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค โดยในวันงานจะมีการจัดสัมมนา และเสวนาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งงานนี้ถือว่าเป็นการประเมินจำนวนผู้ประกอบการที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ ดังกล่าวด้วย โดยในงานนี้กลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ฯตั้งเป้าว่าจะมีผู้ประกอบการ เฟอน์นิเจอร์ทั้งรายเล็ก-ใหญ่ และ SME เข้าร่วมงานไม่ต่ำกว่า 500ราย
     
      “งานนี้เป็นเหมือนจุดเริ่มต้นการรวมตัวของกลุ่มผู้ประกอบการเพื่อนำ ไปสู่การร่วมมือและพัฒนาเครือข่ายของผู้ประกอบการในอนาคต เพื่อจะสามารถดำเนินการได้ตามแผนงานและยุทธศาสตร์และนำไปสู่เป้าหมายที่วาง ไว้ โดยในการพัฒนาด้านต่างๆ นั้น สศอ.ได้ให้งบประมาณการการพัฒนาและดำเนินโครงการปีละ 4.5ล้านบาท เป็นระยะเวลา 3 ปี” นายวงกต กล่าว

ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.


ภาพประจำตัวสมาชิก
คนขายของ
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
กระทู้: 698
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ม.ค. 15, 2004 9:48 am

โพสต์ โดย คนขายของ » เสาร์ ก.ค. 31, 2010 12:00 am

ผมขออนุญาติแชร์ความเห็นหน่อยครับ

เราลองดูกันครับว่าที่ราคาที่ 42 บาทนี่ PE ประมารเท่าไหร่ครับ

PBV ประมาณเท่าไหร่ ถ้าเอาสี่ Quarter นับถอยหลังตั้งแต่ 1Q10

ก็ได้ประมาณ 9.25 (PE) 1.16 (PBV)

ถ้าเอาประมาณการ EPS ของ 2Q10 กับ 3Q10 ใส่แทน 2Q09 กับ 3Q09 ซึ่งเป็นช่วงที่บริษัทกำไรต่ำกว่าปกติ คุณว่า PE และ PBV จะเหลือเท่าไหร่ครับ

ผมว่าด้วย RATIO ขนาดนี้ ผมว่าสมเหตุสมผล บางบริษัทที่เขาทำ M&A เอาเงินบริษัทตัวเอง ไปซื้อบริษัทคนอื่น ผมว่ายากมากที่เจ้าของที่ไหนจะยอมขายที่ PBV ใกล้เคียง 1

การซื้อคืนได้เร็ว ก็ทำให้ตัวหารเงินปันผลน้อยลง และยังหวัง Growth 10% จากผลดำเนินการปกติ หักลบ ผลกำไรพิเศษ เป็นที่ของค่อนข้างแน่นอนในอีก 1 ปีนับจากนี้

อดทนไว้ กำไรยั่งยืน


ตอบกลับโพส