ปรับตัวรับเศรษฐกิจยุคใหม่/วีระพงษ์ ธัม

บทความต่างๆที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม
ตอบกลับโพส
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
กระทู้: 1243
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ ก.ค. 11, 2012 10:42 pm

ปรับตัวรับเศรษฐกิจยุคใหม่/วีระพงษ์ ธัม

โพสต์ โดย Thai VI Article » ศุกร์ ก.พ. 05, 2016 4:06 pm

โค้ด: เลือกทั้งหมด

    ในปี 1990 สามบริษัทที่ใหญ่ที่สุดของเมืองดีทรอยต์ เมืองที่เป็นสัญลักษณ์แห่งความมั่งคั่งของยุคอุตสาหกรรมในสหรัฐอเมริกา มีขนาดตลาดหรือ Market Capitalization 36,000 ล้านเหรียญสหรัฐ มีรายได้รวม 250,000 ล้านเหรียญ และมีพนักงาน 1.2 ล้านคน ในขณะที่ปี 2014 สามบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในซิลิคอนวัลเลย์ สัญลักษณ์แห่งความมั่งคั่งของ “เศรษฐกิจยุคใหม่” ยุคดิจิตอลในสหรัฐอเมริกา มี Market Capitalization 1.09 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ มีรายได้เกือบเท่า ๆ กันคือ 247,000 ล้านเหรียญ และที่น่าสนใจคือมีพนักงานเพียงแค่ 137,000 คน หรือน้อยกว่าเศรษฐกิจยุคเดิมเกือบ 10 เท่า

    อีกตัวอย่างหนึ่งคือ Walmart บริษัทที่เคยเป็นอันดับหนึ่งหลายปีใน Fortune 500 มีพนักงาน 2.2 ล้านคน ในขณะเดียวกันธุรกิจในเศรษฐกิจยุคใหม่อย่าง e-commerce อย่างบริษัท Alibaba มีพนักงานแค่ 35,000 คน มีขนาดตลาดใกล้เคียงกับ Walmart และยังมีการเติบโตของรายได้ปีล่าสุดสูงกว่า Walmart เป็นสิบ ๆ เท่า

    ทฤษฏีทางเศรษฐศาสตร์ในการผลิตบอกว่า เราจะมีความถดถอยทางผลตอบแทน (Diminishing return) เมื่อเราเพิ่มกำลังการผลิตถึงจุด ๆ  หนึ่ง เพราะเราอาจจะต้องเพิ่มคนงาน ต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้กับคนงาน เราต้องมีความยุ่งยากในการจัดการเพิ่มขึ้น  แต่ไม่ใช่เงื่อนไขสำหรับธุรกิจ Digital ที่ต้นทุนส่วนเพิ่มที่เพิ่มขึ้นแทบจะเป็นศูนย์

    บทความใน Techcrunch อุปมายุคเศรษฐกิจ Digital ว่า Uber เป็นบริษัท Taxi ที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยไม่มีรถแม้แต่คันเดียว Facebook สื่อกลางที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในโลก ไม่เคยสร้าง Content เองเลย Alibaba บริษัทค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุด ไม่มีสินค้าคงคลังของตัวเอง Airbnb บริษัทที่พักที่ใหญ่ที่สุด ไม่มีห้องของตัวเองเลย นี่คงเป็นเหตุผลที่ถนนทุกสายมุ่งหน้าสู่เศรษฐกิจ Digital คำว่า “Startup” เฟื่องฟู ธุรกิจ Platform เกิดขึ้นเป็นดอกเห็ด และมี Valuation ที่สูงเสียดฟ้า

    เศรษฐกิจยุคใหม่ไม่ได้มีเพียงแค่ Digital แต่เทคโนโลยีที่เป็นสิ่งที่จับต้องได้ก็มีอนาคตที่ “ใหญ่มาก” เช่น พาหนะขับเคลื่อนด้วยตัวเอง ทั้งรถยนต์ โดรน เครื่องบิน เรือ หรือเทคโนโลยี 3D Printing ที่สามารถพิมพ์สิ่งที่มหัศจรรย์ได้มากขึ้นทุกที อนาคตเราอาจจะต้องกินอาหารที่ออกมาจากปริ้นเตอร์ตัวเอง ใส่เสื้อที่พิมพ์ออกมาจากปริ้นเตอร์ รวมไปถึงเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ที่เข้ามาช่วยงานมนุษย์มากขึ้นเรื่อย ๆ จากที่เราเคยเห็นแต่ในโรงงานผลิต อนาคตมนุษย์อาจจะแต่งงานกับหุ่นยนต์ หรือพวกวัสดุศาสตร์ที่เบา แข็งแรง และทำหน้าที่ได้อย่างมหัศจรรย์ นาโนเทคโนโลยี ก็ไปไกลมากเช่นเดียวกัน

    ก่อนที่จะจะมาคุยต่อในเรื่องแนวคิดเหล่านี้ ที่จะส่งผลกับภาพการลงทุนในอนาคต  เราต้องมองเห็นจุดอ่อนเรื่อง “ความเชื่อ” ของมนุษย์ก่อน ตัวอย่างหนึ่งคือข่าวใหญ่ในวงการดาราศาสตร์ในช่วงที่ผ่านมา ที่นักวิทยาศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (Caltech) พบข้อสมมุติฐานว่าอาจจะมีดาวเคราะห์ดวงใหม่ในระบบสุริยะที่ซ่อนอยู่ด้วยวงโคจรที่ไกลมาก

    ดาราศาสตร์เป็นหนึ่งในวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของมนุษย์ที่ใช้เวลานานกว่าจะพิสูจน์อะไรได้อย่างหนึ่ง เช่นมนุษย์ใช้เวลาหลายพันปี กว่าที่โคเปอร์นิคัสจะค้นพบสิ่งที่ขัดแย้งกับความเชื่อหลักในยุคนั้น เขาพบว่า “พระอาทิตย์” ต่างหากคือจุดศูนย์กลางของ “ระบบสุริยะ” และนี่เป็นส่วนสำคัญของการปฏิวัติ “วิทยาศาสตร์” และฟื้นฟูศิลปวิทยาในยุโรป

    เมื่อมีหลักฐานใหม่ ความคิดเชื่อเดิม ๆ ก็จะถูกลบล้างไป สิ่งนี้เกิดขึ้นตลอดประวัติศาสตร์ สิ่งที่เราเคยรู้อาจจะ “ล้าสมัย” ข้อมูลที่เรามีส่วนมากมักไม่ได้เป็น Fact หรือข้อเท็จจริง แต่มันเป็นแค่ Truth หรือสิ่งที่เป็นความจริง ณ ขณะหนึ่ง ๆ เท่านั้น

    ผมพบตัวอย่างที่ใกล้ตัวขึ้นอย่าง “การเลี้ยงลูก” นั้นก็เคยมีความเชื่อแบบที่เราไม่คุ้นเคยเลย เช่น “ความรักต่อลูก” หรือ “การให้เวลาลูก” เป็นสิ่งที่ “ไม่จำเป็น” แค่เราให้อาหารที่เหมาะสม ให้ที่อยู่อาศัย ก็สามารถให้ลูกโตขึ้นมาอย่างดีได้ ไม่น่าเชื่อว่าความเชื่อนี้ถูกเขียนโดยศาสตราจารย์เด็กอันดับหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ในหนังสือเลี้ยงเด็กที่ดีที่สุดเมื่อร้อยปีที่ผ่านมานี่เอง หลังจากนั้นก็มีการทดลองมากมาย จึงพบว่าความเชื่อนั้นผิด และเป็นที่มาของวิธีการเลี้ยงลูกในโลกยุคปัจจุบัน (ซึ่งก็คงต้องใช้เวลาพิสูจน์ต่อว่าถูกต้องหรือไม่)

    โลกในยุคต่อไป จึงเป็นเรื่องของการพิสูจน์ความเชื่อเดิม ๆ ว่าสิ่งไหนถูกผิด อะไรจะเกิดขึ้น ช้าหรือเร็ว เรื่องราวเหล่านี้จะนำไปสู่แนวคิดอะไรใหม่ ๆ และเราต้องปรับตัวอย่างไร วิธีการลงทุนเดิม ๆ จะได้ผลหรือไม่ ธุรกิจไหนเป็นอนาคต วางแผนชีวิตอนาคตอย่างไรดีเพื่อเตรียมตัวสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ติดตามได้ในตอนถัดไปครับ
[/size]



ภาพประจำตัวสมาชิก
Linzhichange
User
กระทู้: 1160
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ก.ค. 10, 2005 9:21 pm

Re: ปรับตัวรับเศรษฐกิจยุคใหม่/วีระพงษ์ ธัม

โพสต์ โดย Linzhichange » เสาร์ ก.พ. 13, 2016 5:54 am

ขอบคุณครับ

ผมเข้าใจว่าแนวทางประเมินมูลค่าที่สุดแล้วยังคงเดิมคือเป็น DCF
หรือเป็นตระกูล relative valuation ที่เกี่ยวข้องกับ earning / cash flow เป็นหลัก

ตระกูลที่มี R&D สูง ๆ ก็อาจจะดูอัตราส่วน R&D ต่อยอดขาย ประสิทธิภาพของ R&D
ซึ่งงบพวกนี้ ก็จะมี defer อะไรเต็มไปหมด ก็ทำให้งบรวมดูยากขึ้น

ลงทุนตระกูลแบบนี้ เลยต้องใช้จินตนาการ สำคัญกว่าความรู้ 555
บัฟเฟตต์เลยไม่ค่อยชอบเพราะ uncertainty สูง

แต่มายุคนี้เราจะบอกไม่ชอบก็ไม่ได้แล้ว เพราะว่ามันกระทบไปหมด สำหรับปู่ก็โดนไปหลายตัว

และในธุรกิจยุคใหม่หลาย ๆ ตัว โดยเฉพาะ tech startup
เนื่องจากทำ DCF ไม่ได้เลย เขาจึงใช้ relative valuation แบบเฉพาะอุตสาหกรรม เข้ามาเกี่ยวข้องเยอะ

เช่น
เริ่มต้นจาก จำนวนสมาชิกปัจจุบัน และจำนวนสมาชิกที่เป็น potential
และก็ไล่ลงมาเป็นสมาชิกที่ active สม่ำเสมอ อัตราการใช้งาน
จนมาถึง conversion ratio มาเป็นสมาชิกที่จ่ายสตางค์ หรืออัตราการ renew

ถ้าเป็นธุรกิจ platform ก็จะดูอัตราส่วนหลายฝั่งเพิ่มขึ้นไปอีก แต่มักจะเป็น relative ทั้งนั้นครับ

จุดตายคือ พวกนี้เป็น relative ดังนั้น เขามักจะไป relate กับตัวอื่น ๆ ที่มีอยู่ในตลาด
ซึ่งตัวเทียบเคียงอาจจะแพงเกินไป คือแพงกันยกแผง
และกว่าจะรู้ ก็สายไปเสียแล้วครับ

ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.


ภาพประจำตัวสมาชิก
Linzhichange
User
กระทู้: 1160
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ก.ค. 10, 2005 9:21 pm

Re: ปรับตัวรับเศรษฐกิจยุคใหม่/วีระพงษ์ ธัม

โพสต์ โดย Linzhichange » อาทิตย์ ก.พ. 14, 2016 10:55 am

เพิ่มอีกนิดนึง ผมคิดว่าความยากไม่ใช่ valuation เลยครับ

ความยากคือ การคาดคะเนธุรกิจมากกว่า เพราะ assumption มันเยอะและไม่แน่นอนเอามาก ๆ

ดังนั้น ความไม่แน่นอนสูง ๆ แบบนี้ valuation ได้ครับ แต่ผิดแน่นอน

ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.


ตอบกลับโพส