มูลค่าผู้บริหารชั้นยอด/วีระพงษ์ ธัม

บทความต่างๆที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม
ตอบกลับโพส
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
กระทู้: 1243
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ ก.ค. 11, 2012 10:42 pm

มูลค่าผู้บริหารชั้นยอด/วีระพงษ์ ธัม

โพสต์ โดย Thai VI Article » ศุกร์ มี.ค. 24, 2017 9:43 pm

โค้ด: เลือกทั้งหมด

    หากเปรียบบริษัทคือร่างกาย ผู้บริหารก็คือมันสมองซึ่งเป็นกลไกหลักของการ “ตัดสินใจ” ทางธุรกิจ ผู้บริหารมีมูลค่า “สูงมาก” เพราะสามารถกำหนดชะตาชีวิตของบริษัทได้ด้วยการตัดสินใจเพียงไม่กี่ครั้ง การวิเคราะห์ผู้บริหารจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ขาดไม่ได้ และถ้ายิ่งศึกษา เราจะพบว่าสองปัจจัยที่สร้าง “มูลค่า” ให้ผู้บริหาร คือ Vision หรือ “วิสัยทัศน์” ซึ่งมากถึงการ “มองอนาคต” ไกลกว่าคนอื่น และ “Execution” หรือการดำเนินการตามแผนที่วางไว้ สิ่งนี้ไม่มีบันทึกอยู่ในงบการเงิน แต่เราสามารถลองศึกษาจากประวัติศาสตร์ดูว่าทั้งสองสิ่งนี้มีมูลค่ามากแค่ไหน

    บริษัทแรกคือ Microsoft (MSFT) ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารอย่างบิล เกตต์ สร้างธุรกิจในปี 1975 เขามองเห็นอนาคตว่า PC หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลจะมีใช้อยู่ในทุกบ้าน จากต้นกำเนิดระบบปฏิบัติการ DOS มาสู่ Windows 3.1, 95 และสร้างโปรแกรมที่ขายดีตลอดกาลอย่าง Office วิสัยทัศน์ในวันนั้นของบิล เกตต์ได้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ถือหุ้นได้มหาศาล ราคาหุ้นขึ้นจาก IPO ปี 1986 ที่ 21 เหรียญ และถูกแตกพาร์ 8 ครั้งราคาในวันที่บิล เกตต์เกษียณเทียบเท่าประมาณเกือบ 8,000 เหรียญ นี่คือหุ้นระดับ 400 เด้ง ยังไม่รวมปันผล ในระยะเวลาเพียง 14 ปี

    ในปี 2000 บิล เกตต์ได้ส่งตำแหน่ง CEO ให้กับ สตีฟ บัลเมอร์ ผู้ซึ่งรู้จักกับบิล เกตต์ตอนที่เรียนฮาร์วาร์ด บัลเมอร์ฉายแววด้วยผลการเรียนที่ยอดเยี่ยม และเป็นพนักงานยุคก่อตั้ง 30 คนแรกของบริษัท ช่วงเวลา 14 ปี ภายใต้การกุมบังเหียนของบัลเมอร์ เขาทำให้รายได้ของบริษัทเติบโตขึ้นมากกว่าสามเท่า กำไรเพิ่มขึ้นสองเท่า การเติบโตของรายได้ Microsoft เป็นไปได้อย่างดีทุกไตรมาส ชนะบริษัทยักษ์ใหญ่อื่น ๆ เช่น GE หรือ IBM อย่างไม่ทิ้งฝุ่น และส่วนแบ่งตลาดของ Window หรือ Office นั้น ยังแข็งแกร่งเหมือนยุคที่บิล เกตต์ดูแล

    บัลเมอร์คือตัวอย่างของผู้บริหารที่มี Execution หรือการนำแผนมาปฏิบัติที่ยอดเยี่ยม แต่ในด้านวิสัยทัศน์นั้น บัลเมอร์อาจจะสอบตก เขาพลาด Megatrend ในด้านเทคโนโลยี เช่น Smart Phone และ Search Engine ให้กับ Google ปัจจุบัน PC ซึ่งเป็นพื้นที่ของ Windows และ Office มียอดขายเพียง 260 ล้านเครื่องและหดตัวลงทุกปีตั้งแต่ 2011 ในขณะที่ Smart Phone มียอดขาย 2,000 ล้านเครื่องต่อปี ซึ่งไมโครซอฟท์มีส่วนแบ่งตลาดเพียง 1%

    ในช่วงเวลานั้น ตลาดหุ้นตอบสนองโดยการลดค่า PE ratio จาก 40-50 เท่า เหลือเพียง 10 กว่าเท่า แค่เอา PE ratio มาคิดมูลค่าหุ้นหายไปถึง 3 เท่า ราคาหุ้นตลอด 14 ปีแทบไม่ไปไหน เป็นทศวรรษที่หายไปของบริษัท ยิ่งระยะเวลายาวเท่าไหร่ เราจะยิ่งเห็นว่าการตัดสินใจที่ดีของผู้บริหารที่จะจัดสรรเอาทรัพยากรมาใช้ให้ถูกที่ ถูกเวลาสำคัญมาก เรียกได้ว่าผู้บริหารตามตำราอาจจะชนะศึกแต่อาจแพ้สงครามในภาพใหญ่ แต่ผู้บริหารชั้นยอดอาจจะแพ้ศึกบ้างในครั้งแรก ๆ แต่เขาจะชนะสงคราม

    อีกตัวอย่างหนึ่งคือบริษัท Apple (AAPL) ในยุคของทิม คุกซึ่งรับไม้มาจากสุดยอดผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ในตำนานโลก IT อย่างสตีฟ จ๊อบส์ ในยุคของทิม คุก เขาทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์แบบในฐานะผู้บริหาร สามารถสร้างผลกำไรเติบโตต่อเนื่องแทบทุกไตรมาส กำไรโตสองเท่า รายได้โตสองเท่า แต่ในยุคของเขา ผลิตภัณฑ์ธงของ Apple อย่าง Iphone/Ipad/Ipod/Mac แทบจะไม่มีอะไรใหม่ นอกจากกล้องที่ชัดขึ้น ความเร็วที่สูงขึ้น จอใหญ่ขึ้น และต้นทุนผลิตที่ลดลง

    เรื่องราวจบลงในแบบเดียวกัน PE ของ APPLE ลดลงจาก 50 เท่า เหลือ 10 กว่าเท่า ผมคิดเล่น ๆ ว่าถ้า Apple ยังมีวิสัยทัศน์ที่ยอดเยี่ยมเหมือนในยุคสตีฟ จ็อบส์ ยังเติบโตและเทรดได้ด้วย PE เท่าเดิม แสดงว่ามูลค่าบริษัทที่ปัจจุบันอยู่ที่ 750 Billions จะมากขึ้นไปอีก 1,500 Billion USD ความหมายคือ “มูลค่า Steve Jobs” ในวันนี้หากเขายังอยู่ อาจจะมีค่ามากเท่ากับ GDP ประเทศไทยหลายเท่าตัว

    อย่างไรก็ดี บริษัทบางประเภท ผู้บริหารก็ไม่ได้มีคุณค่ามากนัก เช่นบริษัทที่มี “อำนาจทางการตลาด” สูงอย่างกิจการผูกขาด หรือกึ่งผูกขาด อย่างไรก็ดี ผมเห็นว่าแนวโน้มบริษัทลักษณะนี้มีน้อยลงเรื่อย ๆ เพราะธุรกิจยุคใหม่ แข่งขันแบบไม่มีเส้นแบ่งเหมือนในอดีต ผู้บริหารที่ยอดเยี่ยมจึงมีความจำเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนธุรกิจที่ฝีมือผู้บริหารจำเป็นมาก คือ 1. ธุรกิจเกิดใหม่ 2. ธุรกิจ Turnaround 3. ธุรกิจอิ่มตัวที่ต้องการ S-Curve ใหม่ 4. ธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง

    นอกจากตัวผู้บริหารเอง การวิเคราะห์แรงจูงใจของผู้บริหารก็เป็นสิ่งที่สำคัญ สำหรับผู้บริหารมืออาชีพ แรงจูงใจมักจะเป็นการ “รักษาเก้าอี้” ดังนั้นการตัดสินใจจึงมักจะเป็นการมองภาพสั้นมากกว่าภาพยาว สำหรับผู้บริหารที่

    มีผลตอบแทนไปในทางเดียวกับผู้ถือหุ้น ก็มีแนวโน้มที่จะตัดสินใจที่จะเป็นประโยชน์กับผู้ถือหุ้นมากขึ้น สิ่งที่ดีที่สุดคือ ผู้บริหารที่ทำงานด้วยความลุ่มหลง มีไฟแรง ทำงานหนัก คิดการใหญ่ แต่ใส่ใจทุกรายละเอียด

    การอ่านประวัติผู้บริหารชั้นยอดเป็นอะไรที่น่าศึกษาที่นักลงทุนไม่ควรพลาด เพราะเราจะเป็นนักลงทุนชั้นยอดได้ หากเราสามารถเจอผู้บริหารชั้นยอดก่อนที่ผู้บริหารท่านนั้นจะรู้ตัวเสียอีกว่าเขาคือผู้บริหารชั้นยอด
[/size]



ภาพประจำตัวสมาชิก
Linzhichange
User
กระทู้: 1160
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ก.ค. 10, 2005 9:21 pm

Re: มูลค่าผู้บริหารชั้นยอด/วีระพงษ์ ธัม

โพสต์ โดย Linzhichange » ศุกร์ มี.ค. 31, 2017 12:18 pm

ขอบคุณ comment มากครับ ทำให้บทความมีมุมมองหลากหลายขึ้นครับ

บิลเกตต์ เป็นผบห.ที่น่าจะมีคนชื่นชอบ และไม่ชอบ ที่สุดคนนึงของโลก
ตั้งแต่ที่ผมใช้ windows 3.1 คู่กับ DOS OS อ่านบทสัมภาษณ์ก็ได้เสียงค่อนแคะจากคนอื่น ๆ อย่างว่าอยู่เสมอ ๆ

ยังไงก็ตามผมดูแลละก้าวของแกแล้ว ผมก็ทึ่งตลอดครับ โดยเฉพาะก้าวหลัง ๆ ของชีวิตแก

ลองอ่าน Annual Report ล่าสุดดูครับ
https://www.gatesnotes.com/2017-Annual- ... .tsrc=GFFB

ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.


ตอบกลับโพส