สู่ความสำเร็จทางธุรกิจโดยการวิ่งมาราธอน/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

บทความต่างๆที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม
ตอบกลับโพส
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
กระทู้: 1243
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ ก.ค. 11, 2012 10:42 pm

สู่ความสำเร็จทางธุรกิจโดยการวิ่งมาราธอน/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ โดย Thai VI Article » จันทร์ พ.ค. 15, 2017 8:56 pm

โค้ด: เลือกทั้งหมด

ผมเข้า YouTube ดูวีดิโอของ Ted Talk เรื่อง “What is the Best Business Education? Run a Marathon” โดย Andrew Johnson ผู้ซึ่งเป็นอาจารย์สอนธุรกิจที่มหาวิทยาลัยท้องถิ่นแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา โดยนาย Johnson อธิบายว่าเขาสอนวิชาธุรกิจเบื้องต้นโดยมีสาระสำคัญคือการให้นักเรียนที่เข้าเรียนวิชาทุกคนต้องวิ่งมาราธอน (42 กิโลเมตร) ให้ได้ภายในเวลา 7 ชั่วโมง จึงจะถือว่าสอบผ่าน โดยอธิบายว่าการฝึกฝนจนสามารถวิ่งมาราธอนได้สำเร็จนั้น จะเป็นการสั่งสมความรู้และประสบการณ์ การวางแผน การฝึกฝนตนเอง ให้มีสุขภาพแข็งแรง ความอดทน ความเข้มแข็งและความเพียรพยายามที่จะไปสู่จุดหมายที่ชัดเจน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งในการไปสู่ความสำเร็จทางธุรกิจและการดำเนินชีวิตโดยรวม

นาย Johnson เล่าว่าเมื่อให้นักเรียนไปสัมภาษณ์นักธุรกิจ และนำเอาความรู้และประสบการณ์ของนักธุรกิจในโลกจริงมาเล่าให้นักเรียนด้วยกันฟัง นักธุรกิจจะบอกกับนักเรียนว่า ความสำเร็จในโลกภายนอกนั้น ไม่ได้มาจากความสามารถด้านเทคนิค (technical skills) เช่น คิดเลขเก่งหรือทำ excel คล่องแคล่ว แต่ความสำเร็จเกิดจาก character หรือ life skills เช่น ความมุ่งมั่น ความขยันหมั่นเพียร ความพร้อมที่จะทุ่มเทและผูกพันกับงานหรืออาจสรุปได้ด้วยคำว่า grit (ความหนักแน่น) ที่ฝรั่งแปลว่า “perseverance and passion for long-term goals” ซึ่งนาย Johnson มองว่าการให้นักเรียนทุกคนต้องฝึกฝนตนเองเพื่อให้วิ่งมาราธอนให้ได้ภายใน 7 ชั่วโมง จึงจะสอบผ่านนั้นเป็นการพัฒนานักเรียนให้มี perseverance and passion for long-term goals อย่างแท้จริง ทั้งนี้เขายกตัวอย่างว่าเวลาเราเรียนเกี่ยวกับธุรกิจนั้น เรามักจะอ่านจากตำรา ฟังสัมมนาหรืออ่านจากประสบการณ์ของคนอื่น (case study) แต่ก็จะเหมือนกับการอ่านหรือดูวีดิโอเกี่ยวกับการขี่จักรยาน 2 ล้อ หมายความว่าหากนักเรียนไม่ได้ลองขี่จักรยานด้วยตัวเองก็จะไม่สามารถเรียนรู้และขี่จักรยานได้อย่างแท้จริง

การสอน grit หมายถึงการสอนให้นักเรียนต้องกล้าคิดกล้าทำและต้องแก้ปัญหาร้อยแปดที่จะต้องพบเจอ รวมทั้งเสียงคัดค้านและความเห็นแย้งของคนรอบข้าง ซึ่งการฝึกฝนเพื่อวิ่งมาราธอนนั้นทำให้ต้องเผชิญกับอุปสรรคดังกล่าวทั้งหมดและต้องสามารถฟันฝ่าอุปสรรคดังกล่าวให้ได้ในที่สุด จึงจะประสบความสำเร็จ

วิชาของนาย Johnson นี้เปิดสอนมาตั้งแต่ปี 2013 โดยตั้งชื่อว่า “Change Through Challenge” ซึ่งมีนักเรียนตั้งแต่อายุ 19 ปี จนถึงผู้บริหารอายุ 60 ปีมาเข้าเรียน โดยแบ่งเวลาให้ฝึกซ้อมเอง 3 ครั้งต่อสัปดาห์และมาวิ่งรวมกันทั้งชั้น 1 ครั้งต่อสัปดาห์และมาสัมมนาร่วมกันทุกวันจันทร์ โดยจะเป็นการพูดคุยกันเรื่องการกินอาหาร การฝึกฝนและความสำคัญของการมีวินัย (discipline) และเชื่อมโยงประสบการณ์ดังกล่าวกับการทำธุรกิจและการดำเนินชีวิตโดยรวม โดยประเด็นหลักคือการปรึกษาหารือและแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกันเพื่อให้นำไปสู่วัตถุประสงค์หลักคือ การวิ่งมาราธอนให้สำเร็จให้ได้ ทั้งนี้จะต้องวางแผนและตั้งเป้าที่จะเดินไปสู่จุดหมายดังกล่าวอย่างเป็นขั้นตอนโดยแบ่งออกเป็นเป้าหมายย่อยๆ เป็นรายวัน รายสัปดาห์และรายเดือน นาย Johnson กล่าวถึงคำถามติดตลกว่า How do you eat an elephant? One bite at a time….

เขาบอกว่าบทเรียนที่สำคัญของวิชานี้และเป็นปัจจัยหลักในการนำไปสู่ความสำเร็จในการทำธุรกิจและการดำเนินชีวิตคือ “It’s not about doing the occasional big things, it’s about doing the consistent small things” ซึ่งผมเห็นด้วยอย่างมากจากประสบการณ์ของตัวเอง หลังจากผ่านชีวิตมาแล้ว 60 ปีว่าตอนที่เราเข้าเรียนโรงเรียนอนุบาลและประถมนั้น เรารูปร่างหน้าตาเกือบเหมือนกันหมด ศักยภาพก็ยังใกล้เคียงกันมาก คือทุกคนพูดเป็นแต่ยังอ่านละเขียนไม่เป็น (สมัยที่ผมไปรับลูกสาวที่โรงเรียนประถมต้องยอมรับว่าเมื่อเห็นเด็กนักเรียนวิ่งออกกันมาเป็นร้อยคน ใส่ชุดนักเรียนเหมือนกันนั้น บางที่มองหาลูกสาวตัวเองไม่เห็น เพราะหน้าตาเกือบเหมือนกันหมด) แต่เมื่อเวลาผ่านไป ความแตกต่างจะเริ่มเห็นชัดเจนขึ้นว่าใครเรียนดีสามารถเข้าเรียนมหาวิทยาลัยได้และเข้าเรียนคณะอะไร เรียนต่อปริญญาโท-เอกหรือไม่ ฯลฯ และตอนเริ่มทำงานก็เริ่มต้นคล้ายกันตำแหน่งใกล้เคียงกัน (หลายครั้งเป็นเพื่อนร่วมรุ่นกัน มากกว่าเป็นคู่แข่งกัน) แต่เมื่อเวลาผ่านไปอีก 20-30 ปี จะเห็นได้เลยว่าใครก้าวหน้ามากหรือก้าวหน้าน้อยกว่าเพื่อนๆ กล่าวโดยสรุปคือคนที่ค่อยๆ พัฒนาตัวเองทุกวัน วันและนิดหน่อยอย่างสม่ำเสมอนั้น ในที่สุดผลที่ตามมาหลังเวลาผ่านไป 40-50 ปีนั้น จะแตกต่างกันมาก ชีวิตจริงไม่เหมือนกับภาพยนตร์หรือรายการโทรทัศน์ที่จบลงภายในเวลา 1-2 ชั่วโมง ซึ่งอาจทำให้นึกว่าชีวิตจริงเป็นเหมือนการแข่งวิ่งเร็ว (sprint) แต่ในความเป็นจริงนั้นชีวิตเหมือนการวิ่งมาราธอนที่ต้องมีความมุ่งมั่น มั่นคง ขยันหมั่นเพียรในการพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ (consistent) โดยทำทีละน้อย (small steps)

นาย Johnson กล่าวถึงการเตรียมตัวเพื่อวิ่งมาราธอนว่าจะต้องกินให้เหมาะสมทุกมื้อทุกวัน ต้องบังคับตัวเองให้ซ้อมวิ่งอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ (แม้วันนั้นจะหนาวหรือร้อนหรือขี้เกียจ) จะต้องเผชิญและแก้ปัญหา (เช่นหากบาดเจ็บ) วิชาของนาย Johnson นั้นยาวนานทั้งหมด 22 สัปดาห์ แต่นักเรียนเริ่มแข็งแรงและสุขภาพดีขึ้นหลักจากผ่านไปได้ 5 สัปดาห์ แต่ที่สำคัญคือการทำให้นักเรียนต้องตั้งเป้าหมายที่ยากขึ้นให้กับทุกคนทุกสัปดาห์ ทำให้เกิดการสร้างอุปนิสัยที่กล้าทำและทำได้ ซึ่งเป็นอุปนิสัยที่สำคัญในการต่อยอดไปสู่ความสำเร็จในชีวิตในอนาคตต่อไป
[/size]



ตอบกลับโพส