การกีดกันทางการค้าที่จะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น (2)/ดร.ศุภวุฒิ

บทความต่างๆที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม
ตอบกลับโพส
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
กระทู้: 1243
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ ก.ค. 11, 2012 10:42 pm

การกีดกันทางการค้าที่จะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น (2)/ดร.ศุภวุฒิ

โพสต์ โดย Thai VI Article » อังคาร ก.ค. 10, 2018 2:22 pm

ครั้งที่แล้วผมเขียนถึงนโยบายการค้าของประธานาธิบดีทรัมป์ ว่าตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง โดยเข้าใจว่าการขาดดุลการค้าของสหรัฐเป็นเพราะสหรัฐถูกเอาเปรียบ แม้ว่าในความเป็นจริงนั้นสหรัฐได้เปรียบในทุกด้าน แต่ที่สำคัญคือ หนึ่ง ทรัมป์ข่มขู่ว่าจะเพิ่มมาตรการกีดกันการค้ากับเกือบทุกประเทศในโลก และประเทศดังกล่าวก็จำต้องตอบโต้ (เพราะไม่มีทางเลือกในเชิงของเศรษฐกิจการเมือง) และ สอง แนวทางของทรัมป์กำลังทำลายโครงสร้างการผลิตของโลก ที่ได้รับอานิสงค์อย่างจากโลกาภิวัติ มายาวนานร่วม 40 ปี ภายใต้การนำของสหรัฐเอง

ผมจะไม่กล่าวถึงรายละเอียดต่าง ๆ ว่าสหรัฐจะตอบโต้จีนเมื่อไหร่ และเท่าไหร่ หรือการข่มขู่ยุโรปเรื่องภาษีรถยนต์ หรือการเจรจาข้อตกลงนาฟต้า ซึ่งกำลังเข้าสู่สภาวะชะงักงัน แต่จะพยายามมองในภาพรวมว่า การตอบโต้กันทางการค้านั้น จะทวีความรุนแรงไปอีกได้นานเพียงใด และน่าจะจบลงอย่างไร ซึ่งเป็นการคาดการณ์ภายใต้ความไม่แน่นอนที่สูงมาก จึงน่าจะมีข้อผิดพลาดได้ แต่ก็จะเป็นแนวทางให้ ท่านผู้อ่านสามารถนำไปคิดวิเคราะห์ให้ลึกซึ้งและครบถ้วนมากขึ้น เมื่อมีข้อมูลเพิ่มขึ้นในอนาคต ครับ

ผมขอเริ่มที่การวิเคราะห์ของ แบงค์ออฟอเมริกา เมอรริลลินช์ พันธมิตรของภัทร ว่า การกีดกันและตอบโต้กันทางการค้านั้น กำลังอยู่ในช่วงของการ “เร่งตัว” (escalation) กล่าวคือ จะมีแต่ความตึงเครียดและเผชิญหน้าที่เพิ่มมากขึ้น ไม่ใช่ลดลง เพราะต่างฝ่ายต่างมีข้อสมมุติฐาน (โดยเฉพาะทรัมพ์) ว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องยอมจำนนในที่สุด เพราะตนเองมีความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ แนวคิดนี้แตกต่างจากเสียงส่วนใหญ่ในตลาดทุน ซึ่งยังพยายามมองโลกในแง่ดีว่า การกีดกันทางการค้านั้น เป็นผลเสียกับทุกฝ่าย ดังนั้น ผู้ที่มีเหตุผล (ซึ่งมองว่าทุกคนที่เกี่ยวข้องมีเหตุผล) จะไม่ทำสงครามทางการค้าที่ทำลายผลประโยชน์ของส่วนรวม แนวคิดของ แบงค์ออฟอเมริกา นั้น มองว่าทุกคนต่างมีเหตุผลเช่นกัน แต่ (โดยเฉพาะกรณีของสหรัฐ) เชื่อว่าอีกฝ่ายจะยอมแพ้ ทำให้ตนเองได้ประโยชน์มากกว่าในที่สุด หากกัดฟันต่อสู้ต่อไป ดังนั้น จึงอาจทำให้มีการ “แลกหมัด” ปรับขึ้นภาษีศุลกากร ระหว่างกันต่อไปอีกหลายรอบ

การตอบโต้กันของผู้ดำเนินนโยบายจะยุติลงในที่สุด เนื่องจาก
  • - ตลาดหุ้นปรับตัวลงอย่างรุนแรง ซึ่งจะทำให้นักการเมืองทุกฝ่ายต้องยอมรับว่าสงครามทางการค้าไม่มีผู้ชนะแต่ปัจจุบัน ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐยังไม่ได้ปรับตัวลงเลย(แม้ว่าตลาดหุ้นจีนลดลงไปแล้ว15%) ดังนั้น ทรัมป์ จึงยังจะเร่งการเพิ่มมาตรการกีดกันการค้าต่อไป เพราะมองว่าสหรัฐเป็นฝ่ายชนะ บางคนอาจมองว่า เมื่อตัวเลขเศรษฐกิจเริ่มถดถอย ก็จะทำให้นักการเมืองเข้าใจถึงความเสียหายที่แท้จริง แต่ปัญหาคือตัวเลขเศรษฐกิจจะใช้เวลาอีกนานหลายเดือนกว่าจะปรากฏให้เห็นว่า การกีดกันการค้ากำลังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น หากรอให้เห็นตัวเลขเศรษฐกิจที่ตกต่ำก็คงต้องรออีกนาน

    - การเลือกตั้งที่สหรัฐในเดือน พ.ย. นี้ ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่ประชาชนที่เดือดร้อนจากนโยบายกีดกันทางการค้าจะแสดงให้นักการเมืองเข้าใจได้ว่าควรยุติการกีดกันการค้า และหันหน้ามาเจรจากัน ซึ่งในกรณีนี้ ประชาชนต้องลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้แทนราษฎรและวุฒิสมาชิก ให้เสียงข้างมากเปลี่ยนจากพรรครีพับริกันไปเป็นพรรคเดโมแครท เพื่อหวังให้พรรคเดโมแครท ทัดทานและคานการใช้อำนาจของประธานาธิบดี แต่ในขณะนี้ปรากฏว่าประชาชนสหรัฐมีความนิยมประธานาธิบดีทรัมป์เพิ่มขึ้น (แม้จะยังต่ำกว่า 50%) นอกจากนั้นก็ยังมีความเสี่ยงว่าหากพรรคเดโมแครท ได้เสียงข้างมากหลังการเลือกตั้งก็จะริเริ่มกระบวนการถอดถอนประธานาธิบดี (impeachment) ไม่ได้ถอดถอนมาตรการกีดกันการค้าเพราะ พรรคเดโมแครทโดยรวมจะมีแนวคิดกีดกันการค้ามากกว่า พรรครีพับริกัน
นิตยสาร The Economist ฉบับวันที่ 21 มิ.ย. วิเคราะห์ว่า “Rising tariffs are the worst of many threats to the global economy” กล่าวคือการขึ้นภาษีศุลกากร (การขึ้นภาษี) เป็นหนึ่งในหลายปัจจัยที่คุกคามเศรษฐกิจโลกอย่างร้ายแรงที่สุด ทั้งนี้ The Economist มองว่าการกีดกันทางการค้าอันจะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐต้องพึ่งพาตนเองเป็นหลักนั้น จะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐเสียหาย แต่จะมิได้ทำให้เกิดวิกฤติ “bad but not fatal” เพราะสหรัฐเป็นเศรษฐกิจใหญ่ที่การส่งออกคิดเป็นสัดส่วนเพียง 12% ของจีดีพี (ของไทยประมาณ 58% ของ จีดีพี) แต่สิ่งที่ทรัมป์กำลังทำ คือกดดันให้โลกปรับเปลี่ยนโครงสร้างและกระบวนการผลิต จาก globalization มาเป็นautarky (พึ่งพาตนเอง)ซึ่งการปรับตัวดังกล่าว น่าจะนำโลกเข้าสู่สภาวะถดถอนอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก “it is difficult to imagine such a realignment without a global recession” ทั้งนี้ เพราะ ธนาคารกลางสหรัฐก็กำลังปรับดอกเบี้ยขึ้น มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐด้วยนโยบายการคลังก็จะหมดแรงลงในปี 2020 ทำให้โลกขาดแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญจากการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ The Economist สรุปในตอนท้ายว่า “US is the engine of global growth. In Trump, a dangerous drives is at the wheel”.



ตอบกลับโพส