KYE
ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นปี 47/48 ก็ต้องลงบัญชีในปีนั้น
ค่า Reyalty Fee และค่าพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้องมีสัญญาชัดเจน
หากเป็นเช่นนั้น ผู้ตรวจสอบบัญชี (บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำกัด) ก็น่าจะตั้งค่าใช้จ่ายส่วนนี้ในงบการเงินปี 47/48 ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ผมยังไม่เข้าใจว่าค่าพัฒนาผลิตพัณฑ์มาเป็นปัญหาได้อย่างไรเพราะที่ผ่านมาก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร
จริงๆแล้วงบการเงินของ KYE ดูแล้วก็ไม่ประทับใจอะไรเลย บริษัทมีเงินปันผลรับจากบริษัทลูก 400 ล้านบาท ขณะที่กำไรจากกิจการแค่ 271 ล้านบาท สรุปคือกิจการของ KYE จริงๆคือขาดทุน แถมยังต้องจ่ายค่าพัฒนาผลิตภัณฑ์อีก ดูจะไม่ค่อยสวยเลย
ช่วย Comment มุมมองของผมหน่อย หากท่านอื่นมีมุมมองเป็นอย่างอื่น ช่วยแสดงความคิดเห็นด้วย
ค่า Reyalty Fee และค่าพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้องมีสัญญาชัดเจน
หากเป็นเช่นนั้น ผู้ตรวจสอบบัญชี (บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำกัด) ก็น่าจะตั้งค่าใช้จ่ายส่วนนี้ในงบการเงินปี 47/48 ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ผมยังไม่เข้าใจว่าค่าพัฒนาผลิตพัณฑ์มาเป็นปัญหาได้อย่างไรเพราะที่ผ่านมาก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร
จริงๆแล้วงบการเงินของ KYE ดูแล้วก็ไม่ประทับใจอะไรเลย บริษัทมีเงินปันผลรับจากบริษัทลูก 400 ล้านบาท ขณะที่กำไรจากกิจการแค่ 271 ล้านบาท สรุปคือกิจการของ KYE จริงๆคือขาดทุน แถมยังต้องจ่ายค่าพัฒนาผลิตภัณฑ์อีก ดูจะไม่ค่อยสวยเลย
ช่วย Comment มุมมองของผมหน่อย หากท่านอื่นมีมุมมองเป็นอย่างอื่น ช่วยแสดงความคิดเห็นด้วย
สำหรับผม สรุปจากที่ประชุมฯ ได้ว่า KYE บริหารงานไม่โปร่งใสเท่าที่ควร นักลงทุนรายย่อยควรหลีกเลี่ยง เหตุผลสนับสนุนคือ
1. การขายสินค้าส่งออกเป็นการขายให้บริษัทแม่ที่ญี่ป่น โดยมีกำไรขั้นต้นเพียง 11% ขณะทีค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 15% สรุปคือขาดทุน ตรงนี้ดูน่าสงสัย
2. บริษัทแม่ได้กำไรจากการขายสินค้าที่ผลิตโดย KYE แน่นอน ยังเอาค่ารอยัลตี้อีก 2% บวกค่าพัฒนาสินค้าอีก 3% สูงน่ากลัว
3. การขายในประเทศก็ขายผ่าน บริษัท กันยงวัฒนา (น่าจะเป็นอย่างนั้น) โดยผู้ถือฝ่ายไทยเป็นเจ้าของ ด้านผู้ถึอหุ้นใหญ่ฝ่ายไทยคงไม่ยอมเสียเปรียบฝ่ายญี่ปุ่น การขายจาก KYE ให้กันยงวัฒนาจึงมีกำไรขั้นต้นเพียง11% เท่ากัน ผลคือขาดทุนเหมือนกัน
ผู้ถือหุ้นใหญ่ทั้งสองฝ่ายไม่ค่อยสนใจผลประกอบการของ KYE เสียเท่าไหร่ เพราะขาดทุนจากการดำเนินงานตลอด 3 ปีทื่ผ่านมาก เพราะต่างฝ่ายต่างมีผลประโยชน์ทางอ้อม จึงไม่ได้ใสใจกับผลประกอบการของ KYE เสียเท่าไหร่ อีกทั้งโครงสร้างการทำธุรกิจแบบนี้ (ซื้อขายกันเอง) มี conflict of interest สูง ตรงนี้หากธรรมาธิบาลดีก็ดีไป หากไม่ดีผู้ถือหุ้นแย่แน่
นี้เป็นสิ่งที่ผมวิเคราะห์เอง ขอให้นักลงทุนแต่ละใช้ความคิดส่วนตัวหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อการตัดสินใจ
1. การขายสินค้าส่งออกเป็นการขายให้บริษัทแม่ที่ญี่ป่น โดยมีกำไรขั้นต้นเพียง 11% ขณะทีค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 15% สรุปคือขาดทุน ตรงนี้ดูน่าสงสัย
2. บริษัทแม่ได้กำไรจากการขายสินค้าที่ผลิตโดย KYE แน่นอน ยังเอาค่ารอยัลตี้อีก 2% บวกค่าพัฒนาสินค้าอีก 3% สูงน่ากลัว
3. การขายในประเทศก็ขายผ่าน บริษัท กันยงวัฒนา (น่าจะเป็นอย่างนั้น) โดยผู้ถือฝ่ายไทยเป็นเจ้าของ ด้านผู้ถึอหุ้นใหญ่ฝ่ายไทยคงไม่ยอมเสียเปรียบฝ่ายญี่ปุ่น การขายจาก KYE ให้กันยงวัฒนาจึงมีกำไรขั้นต้นเพียง11% เท่ากัน ผลคือขาดทุนเหมือนกัน
ผู้ถือหุ้นใหญ่ทั้งสองฝ่ายไม่ค่อยสนใจผลประกอบการของ KYE เสียเท่าไหร่ เพราะขาดทุนจากการดำเนินงานตลอด 3 ปีทื่ผ่านมาก เพราะต่างฝ่ายต่างมีผลประโยชน์ทางอ้อม จึงไม่ได้ใสใจกับผลประกอบการของ KYE เสียเท่าไหร่ อีกทั้งโครงสร้างการทำธุรกิจแบบนี้ (ซื้อขายกันเอง) มี conflict of interest สูง ตรงนี้หากธรรมาธิบาลดีก็ดีไป หากไม่ดีผู้ถือหุ้นแย่แน่
นี้เป็นสิ่งที่ผมวิเคราะห์เอง ขอให้นักลงทุนแต่ละใช้ความคิดส่วนตัวหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อการตัดสินใจ