PSL
PSL
another side of PSL ...
พิจารณาจากกำไรที่แท้จริง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาทำได้ 11.8 $us
ไตรมาส 3 ล่าสุดทำได้ 5.5 $us
สมมุติว่าไตรมาสสุดท้ายทำได้อีก 8.5 $us
ทั้งปีที่ผ่านมา PSL ทำกำไรได้ 20 $us หรือ 780 ล้านบาท
PSL มี 520 ล้านหุ้น ที่ราคาปัจจุบัน 37 บาท
ได้พีอีเท่ากับ 24.66 เท่า
หากปีนี้ และปีหน้า ทำกำไรได้เพิ่มอีก 100%
พีอี จะลดลงเหลือประมาณ 12 เท่า
กำไรที่แท้จริง พิจารณาจากงบการเงินในสกุล US
เนื่องจากเรือที่ได้ซื้อมาก่อนปี 1997 ได้ book เป็นสินทรัพย์ที่ 25 ฿/US
เมื่อนำมาตัดค่าเสื่อมในปัจจุบัน จึงทำให้กำไรในงบเงินบาท จะสูงเกินจริง
เพื่อตัดปัญหาเรื่องนี้ จึงควรจะใช้งบสกุล Us สำหรับบริษัทเดินเรือ
หรือบริษัทที่ได้บันทึกสินทรัพย์อย่างนี้ เช่น การบินไทย?
เนื่องจาก PSL มีนโยบายในการซื้อเรือมือสอง ทำให้มีอายุใช้งานน้อย
(ปกติเรือสามารถใช้งานได้ 25 ปี เต็มที่ 28 ปี แต่มีกฎที่เพิ่งออกมา จำกัดอายุเรือแค่ 25 ปี)
ดังนั้น เรือที่ได้ซื้อมาก่อนปี 1997 และบันทึกเป็นต้นทุนต่ำ
จะทยอดปลดระวางเป็นเศษเหล็ก
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าค่าเสื่อมราคา (ในงบเงินบาท) ของ PSL
จะมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะเรือเก่าปลดระวาง
และเรือใหม่ที่ซื้อ ได้บันทึกเป็นสินทรัพย์ที่อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน
ทำให้ในอนาคต งบเงินบาท จะใกล้เคียงงบสกุล US$ มากขึ้น
คือกำไรในงบเงินบาทจะลดลงเรื่อยๆ หากปัจจัยอื่น ไม่เปลี่ยนแปลง
ผู้บริหาร (ซึ่งซื้อ และขายหุ้นตัวเอง ค่อนข้างมาก?)
ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ปีที่ผ่านมา
ซื้อเรือได้น้อย
เนื่องจาก ผู้ขายโก่งราคาขาย เนื่องจากทราบว่าสินค้าในตลาดมีน้อย
ซึ่งน่าจะเป็นสัญญานว่า เรือใหม่ที่ซื้อเข้ามาจะมีต้นทุนสูง
ซึ่งจะำทำให้อัตรากำไรของ PSL มีแนวโน้มลดลง
กว่าปัจจุบัน ที่มีเรือเก่า ต้นทุนต่ำ..
พิจารณาจากกำไรที่แท้จริง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาทำได้ 11.8 $us
ไตรมาส 3 ล่าสุดทำได้ 5.5 $us
สมมุติว่าไตรมาสสุดท้ายทำได้อีก 8.5 $us
ทั้งปีที่ผ่านมา PSL ทำกำไรได้ 20 $us หรือ 780 ล้านบาท
PSL มี 520 ล้านหุ้น ที่ราคาปัจจุบัน 37 บาท
ได้พีอีเท่ากับ 24.66 เท่า
หากปีนี้ และปีหน้า ทำกำไรได้เพิ่มอีก 100%
พีอี จะลดลงเหลือประมาณ 12 เท่า
กำไรที่แท้จริง พิจารณาจากงบการเงินในสกุล US
เนื่องจากเรือที่ได้ซื้อมาก่อนปี 1997 ได้ book เป็นสินทรัพย์ที่ 25 ฿/US
เมื่อนำมาตัดค่าเสื่อมในปัจจุบัน จึงทำให้กำไรในงบเงินบาท จะสูงเกินจริง
เพื่อตัดปัญหาเรื่องนี้ จึงควรจะใช้งบสกุล Us สำหรับบริษัทเดินเรือ
หรือบริษัทที่ได้บันทึกสินทรัพย์อย่างนี้ เช่น การบินไทย?
เนื่องจาก PSL มีนโยบายในการซื้อเรือมือสอง ทำให้มีอายุใช้งานน้อย
(ปกติเรือสามารถใช้งานได้ 25 ปี เต็มที่ 28 ปี แต่มีกฎที่เพิ่งออกมา จำกัดอายุเรือแค่ 25 ปี)
ดังนั้น เรือที่ได้ซื้อมาก่อนปี 1997 และบันทึกเป็นต้นทุนต่ำ
จะทยอดปลดระวางเป็นเศษเหล็ก
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าค่าเสื่อมราคา (ในงบเงินบาท) ของ PSL
จะมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะเรือเก่าปลดระวาง
และเรือใหม่ที่ซื้อ ได้บันทึกเป็นสินทรัพย์ที่อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน
ทำให้ในอนาคต งบเงินบาท จะใกล้เคียงงบสกุล US$ มากขึ้น
คือกำไรในงบเงินบาทจะลดลงเรื่อยๆ หากปัจจัยอื่น ไม่เปลี่ยนแปลง
ผู้บริหาร (ซึ่งซื้อ และขายหุ้นตัวเอง ค่อนข้างมาก?)
ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ปีที่ผ่านมา
ซื้อเรือได้น้อย
เนื่องจาก ผู้ขายโก่งราคาขาย เนื่องจากทราบว่าสินค้าในตลาดมีน้อย
ซึ่งน่าจะเป็นสัญญานว่า เรือใหม่ที่ซื้อเข้ามาจะมีต้นทุนสูง
ซึ่งจะำทำให้อัตรากำไรของ PSL มีแนวโน้มลดลง
กว่าปัจจุบัน ที่มีเรือเก่า ต้นทุนต่ำ..
เจตนาของผมที่พูดถึง psl คืออยากให้ข้อสังเกตุกับนักลงทุนในด้าน
การประเมินกำไร ควรใช้งบในสกุลดอลลาร์ เพราะจะตัดปัญหาเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน เพราะบริษัทเดินเรือจะ quote ในสกุลดอลลาร์เท่านั้น (แต่จะเก็บเงินในสกุลท้องถิ่น ) จะเห็นได้ว่ากำไรในสกุลดอลลาร์ 3 ไตรมาสล่าสุดทำได้ 11.8 (หักรายการพิเศษแล้ว) ไตรมาส 3 ทำได้ 5.5 ล้านเหรียญ เนื่องจากไตรมาส 4 ค่าระวางยังมีแนวโน้มสูงขึ้น ดังนั้นประมาณการกำไรไตรมาส 4 ให้ที่ 8.2-8.5 จะำทำให้กำไรทั้งปีที่ 20 ล้านเหรียญ คิดเป็นพีอี 24 เท่า ปีนี้ให้กำไรเพิ่มขึ้นอย่างมากถึง 100 % พีอีปีนี้จะลดลงเหลือ 12 เท่า
กำไรขั้นต้นของ PSL มีแนวโน้มต่ำลง แม้ยอดขายมากขึ้น เพราะเรือใหม่ที่ซื้อจะมีราคาสูงกว่าเรือเก่ามาก
การซื้อหุ้นบริษัทที่ธุรกิจผันผวนเป็น cyclical เพื่อการลงทุนระยะยาว ในช่วงที่ธุรกิจอยู่ในขาขึ้นมาพอสมควรแล้ว อาจจะเป็นความเสี่ยงครับ
ค่าระวางที่ขึ้นมาตลอด ทำ all time hight มาตลอดเป็นระยะเวลานานแล้วครับ ดังนั้นเมื่อถึงจุดหนึ่ง จะจูงใจให้มีการต่อเรือใหม่ หรือผู้ใช้บริการบางประเภทเปลี่ยนไปใช้บริการเรือตู้ ซึ่งสินค้าบางชนิดสามารถบรรจุใส่เรือตู้ได้ครับ
ข้อสังเกตุจากเพื่อนๆก็มีประโยชน์ครับ
แต่ขอเสริมนะครับ
เรือสินค้าเกือบๆ จะเป็นสินค้า commodity นะครับ เพราะมีการซื้อขายเรือเกิดขึ้นทั่วโลกแทบทุกวัน (สภาพคล่องสูง ยิ่งในช่วงนี้) ดังนั้นคงไม่มีผู้ขาย ที่ขายเรือ
ให้ในราคาถูกแน่นอนครับ ค่าระวางที่พูดกัน ผมไม่แน่ใจว่าสามารถคูณด้วยจำนวน 365 วันเลยหรือเปล่า แต่ไม่น่าจะเป็นไปได้
ผมเข้าใจว่าบริษัทเรือมักจะตั้งบริษัทต่อเรือหนึ่งลำ เพื่อประโยชน์ในการขอส่งเสินมการลงทุน (ยกเว้นภาษี 8 ปี ซึ่งจะสอดคล้องกับอายุการใช้งานที่เหลือ) แต่สำหรับเรือใหม่ที่มีอายุการใช้งานมากกว่านั้น มักจะไปจดทะเบียนที่สิงคโปร์ซึ่งเป็นเมืองท่าของโลก และไม่มีการเก็บภาษีบริษัทเดินเรือ ข้อเสียของการที่ไม่จ่ายภาษี คือปันผลไม่สามารถเครดิตภาษีได้ครับ
ส่วนการบันทึกสินทรัพย์ที่ 25 ฿/$ ก็น่าจะมีผลให้บางบริษัทมีกำไรมากกว่าปกติ แต่ก็มีหลายบริษัทที่มีการตีราคาสินทรพัย์เหล่านั้นใหม่แล้วนะครับ ซึ่งการทำเช่นนี้ก็มีผลดีแค่ทำให้สินทรัพย์เพิ่มขึ้น ทุนเพิ่มขึ้น แต่จะทำให้งบกำไรขาดทุนต่ำลงครับ (เลยไม่ค่อยมีบริษัททำเช่นนี้มากนัก)
ข้อย้ำว่าเจตนาของผู้เขียนกระทู้ เืพื่อให้ข้อมูลอีกด้านนึงของ Psl เท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาจะบอกว่า psl ไม่ดีนาครับ เพราะดูเหมือนจะมีแต่การพูดในด้านดีซะเยอะ
อาจจะทำให้นักลงทุนหลายท่าน เข้าใจคลาดเคลื่อน
เนื่องจากมีผู้ถือ psl เยอะครับ ก็เลยไม่สะดวกใจที่จะ log in แต่เพื่อนๆ บางท่านคงจะทราบว่ากระทู้เป็นของเพื่อนสมาชิกคนใด :lol: :lol:
การประเมินกำไร ควรใช้งบในสกุลดอลลาร์ เพราะจะตัดปัญหาเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน เพราะบริษัทเดินเรือจะ quote ในสกุลดอลลาร์เท่านั้น (แต่จะเก็บเงินในสกุลท้องถิ่น ) จะเห็นได้ว่ากำไรในสกุลดอลลาร์ 3 ไตรมาสล่าสุดทำได้ 11.8 (หักรายการพิเศษแล้ว) ไตรมาส 3 ทำได้ 5.5 ล้านเหรียญ เนื่องจากไตรมาส 4 ค่าระวางยังมีแนวโน้มสูงขึ้น ดังนั้นประมาณการกำไรไตรมาส 4 ให้ที่ 8.2-8.5 จะำทำให้กำไรทั้งปีที่ 20 ล้านเหรียญ คิดเป็นพีอี 24 เท่า ปีนี้ให้กำไรเพิ่มขึ้นอย่างมากถึง 100 % พีอีปีนี้จะลดลงเหลือ 12 เท่า
กำไรขั้นต้นของ PSL มีแนวโน้มต่ำลง แม้ยอดขายมากขึ้น เพราะเรือใหม่ที่ซื้อจะมีราคาสูงกว่าเรือเก่ามาก
การซื้อหุ้นบริษัทที่ธุรกิจผันผวนเป็น cyclical เพื่อการลงทุนระยะยาว ในช่วงที่ธุรกิจอยู่ในขาขึ้นมาพอสมควรแล้ว อาจจะเป็นความเสี่ยงครับ
ค่าระวางที่ขึ้นมาตลอด ทำ all time hight มาตลอดเป็นระยะเวลานานแล้วครับ ดังนั้นเมื่อถึงจุดหนึ่ง จะจูงใจให้มีการต่อเรือใหม่ หรือผู้ใช้บริการบางประเภทเปลี่ยนไปใช้บริการเรือตู้ ซึ่งสินค้าบางชนิดสามารถบรรจุใส่เรือตู้ได้ครับ
ข้อสังเกตุจากเพื่อนๆก็มีประโยชน์ครับ
แต่ขอเสริมนะครับ
เรือสินค้าเกือบๆ จะเป็นสินค้า commodity นะครับ เพราะมีการซื้อขายเรือเกิดขึ้นทั่วโลกแทบทุกวัน (สภาพคล่องสูง ยิ่งในช่วงนี้) ดังนั้นคงไม่มีผู้ขาย ที่ขายเรือ
ให้ในราคาถูกแน่นอนครับ ค่าระวางที่พูดกัน ผมไม่แน่ใจว่าสามารถคูณด้วยจำนวน 365 วันเลยหรือเปล่า แต่ไม่น่าจะเป็นไปได้
ผมเข้าใจว่าบริษัทเรือมักจะตั้งบริษัทต่อเรือหนึ่งลำ เพื่อประโยชน์ในการขอส่งเสินมการลงทุน (ยกเว้นภาษี 8 ปี ซึ่งจะสอดคล้องกับอายุการใช้งานที่เหลือ) แต่สำหรับเรือใหม่ที่มีอายุการใช้งานมากกว่านั้น มักจะไปจดทะเบียนที่สิงคโปร์ซึ่งเป็นเมืองท่าของโลก และไม่มีการเก็บภาษีบริษัทเดินเรือ ข้อเสียของการที่ไม่จ่ายภาษี คือปันผลไม่สามารถเครดิตภาษีได้ครับ
ส่วนการบันทึกสินทรัพย์ที่ 25 ฿/$ ก็น่าจะมีผลให้บางบริษัทมีกำไรมากกว่าปกติ แต่ก็มีหลายบริษัทที่มีการตีราคาสินทรพัย์เหล่านั้นใหม่แล้วนะครับ ซึ่งการทำเช่นนี้ก็มีผลดีแค่ทำให้สินทรัพย์เพิ่มขึ้น ทุนเพิ่มขึ้น แต่จะทำให้งบกำไรขาดทุนต่ำลงครับ (เลยไม่ค่อยมีบริษัททำเช่นนี้มากนัก)
ข้อย้ำว่าเจตนาของผู้เขียนกระทู้ เืพื่อให้ข้อมูลอีกด้านนึงของ Psl เท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาจะบอกว่า psl ไม่ดีนาครับ เพราะดูเหมือนจะมีแต่การพูดในด้านดีซะเยอะ
อาจจะทำให้นักลงทุนหลายท่าน เข้าใจคลาดเคลื่อน
เนื่องจากมีผู้ถือ psl เยอะครับ ก็เลยไม่สะดวกใจที่จะ log in แต่เพื่อนๆ บางท่านคงจะทราบว่ากระทู้เป็นของเพื่อนสมาชิกคนใด :lol: :lol:
1.กำไรที่ทำได้ 3 ไตรมาสล่าสุด ไม่รวมขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน(ในงบ ีus$)1. ที่คุณ guest คิด นี่ คือรายได้ที่ไม่ได้รวมรายการพิเศษใช่หรือไม่ครับ
2. อยากทราบว่า การประมาณ รายได้ไตรมาส 4 เท่ากับ 8.5 ล้านเหรียญ ประมาณจากอะไรครับ
3. รายได้ 20 ล้านเหรียญ เวลาคิดเป็นเงินบาท คูณที่อัตราแลกเปลี่ยนเท่าไร
เพราะว่า ถ้าคูณ 40 จะได้รายได้ 800 ล้านบาท เมื่อคุณ guest คิดว่า กำไร เพิ่มขึ้น 100 % เท่ากับ 40 ล้านเหรียญ ก็เท่ากับกำไร 1600 ล้านบาท
และไม่รวมกำไรจากการไถ่ถอนบอนด์
2.กำไรไตรมาสสุดท้าย ประมาณที่ 8.2-8.5 ล้านเหรียญ เิกิดจาการเดาล้วนๆ (นักวิเคราะห์ก็เดานะ :lol: ) โดยคำนึงถึงไตรมาส 3 ที่ทำได้ 5.5 ล้านเหรียญ และค่าระวางยังมีแนวโ้น้มสูงขึ้น
3.ที่อัตราแลกเปลี่่ยนปัจจุบัน 39 ฿/$
ผมเดาเอาว่ากำไรไตรมาส 4 จะสูงกว่าไตรมาส 3 จาก 5.5 >>>8.5 ล้านเหรียญไซรัส คาดกำไร PSL ไตรมาส4 นี้ เพิ่มขึ้นถึง 78.6% ขณะที่ปีนี้
คาดกำไรจะโตก้าวกระโดด จากอัตราค่าระวางที่อยู่ในช่วงขาขึ้น และแผนการ
ซื้อเรือเพิ่ม 4-12 ลำ โดยคาดจะมีกำไร 3.01 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบ 100%
ให้ราคาเป้าหมาย 69 บาท
หรือให้สูงกว่า 54 % ส่วนปีนี้ให้เท่ากับ ไซรัส คือ 100 % แต่ตัวเลขต่างกันมาก คงเป็นเพราะไซรัส พิจารณาจากงบเงินบาท ซึ่งบางท่านอาจจะสงสัยว่าทำไมบริษัทไทยแต่ใช้งบดอลลาร์ ทำไมไม่ใช้งบเงินบาท ก็คงเป็นเหตุผลที่กล่าวมา คือบริษัทที่รายได้-รายจ่ายเป็น US เกือบ 100 % ควรใช้งบดอลลาร์ เพื่อให้เห็นการดำเนินงานที่แท้จริง เวลาที่บริษัทเรือไปขอกู้แบงค์ ก็ใช้งบดอลลาร์ครับ
แล้วทำไมนักวิเคราะห์เหล่านี้ ใช้งบเงินบาท ผมก็เดาเอาว่านักวิเคราะห์ก็เป็นมนุษย์ธรรมดา อาจจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจเสนอมุมมองเพียงด้านเดียว เหมือนเวลาที่วิเคราะห์โดยรวมกำไรจากค่าเงิน หรือไม่ได้บอกว่ามีวอร์แรนต์ที่จะมาเพิ่มพีอี นั่นละครับ
สำหรับ rcl ดูงบดอลลาร์ได้ที่
www.rclgroup.com
ส่วนที่เป็น invester relationship >>งบการเงิน
สำหรับ psl ดูงบดอลลาร์ได้ที่
www.preciousshipping.com
ส่วน financial statement
ในเวปทั้งสองบริษัทจะแนะนำให้พิจารณางบการเงินในสกุล us$
นั่นคงเป็นเหตุผลว่า หากงบสกุลดอลลาร์ไม่มีความสำคัญ
ทั้งสองบริษัทต้องจัดทำงบสกุล us$ ทำไม ทั้งที่ไม่จำเป็นต้องจัดทำก็ได้
แม้ว่า Abn Amro,Tisco,Asset Plus ซึ่งเป็นโบรคเกอร์ชั้นนำ
ก็แนะนำให้พิจารณาที่งบดอลลาร์
เมื่อเราดูที่งบดอลลาร์ เมื่อคูณกำไรที่เป็นเหรียญ กับอัตราแลกเปลี่ยน
จะพบว่ากำไรทั้งสองงบต่างกัน ทั้งที่ รายการต่างๆ ในงบกำไรขาดทุนจะใกล้เคียงกัน คำตอบที่ำทำให้กำไรต่างกันคือ ค่าเสื่อมราคา ซึ่งไม่เท่ากัน ตามเหตุผลที่บอกข้างต้น เป็นทริคที่ต้องอาศัยความเข้าใจ และมีพื้นฐานทางบัญชีพอสมควร
ส่วนตัวผมก็เพิ่งเข้าใจไม่นานมากนัก
แหม....ผมคงไม่มีความจำเป็นต้องมาชี้แจงเรื่องนี้ให้เพื่อนๆ
หรือต้องทำให้กระทู้นี้ดูน่าเชื่อถือ หรอกครับ
เพราะคงไม่ใช่หน้าที่ของผม จุดประสงค์ก็แค่ต้องการเสนออีกด้านหนึ่่งของเหรียญ ข้อมูลที่นำมาเสนอก็เป็น facts ทั้งสิ้น ซึ่งสามารถดูได้ที่เวปไซร์บริษัท
เว้นที่กำไร ที่เกิดจากการประมาณการล้วนๆ ซึ่งไม่รับประกันว่าจะูถูกหรือผิด
ผลประกอบการอาจจะออกมามากกว่าหรือน้อยกว่าที่ประมาณก็ได้
และที่แน่นอนคือผมไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับ หุ้น psl ทั้งทางตรงทางอ้อม ใดๆ ทั้งสิ้น การตัดสินใจไดๆ ก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้อ่านครับ
www.rclgroup.com
ส่วนที่เป็น invester relationship >>งบการเงิน
สำหรับ psl ดูงบดอลลาร์ได้ที่
www.preciousshipping.com
ส่วน financial statement
ในเวปทั้งสองบริษัทจะแนะนำให้พิจารณางบการเงินในสกุล us$
นั่นคงเป็นเหตุผลว่า หากงบสกุลดอลลาร์ไม่มีความสำคัญ
ทั้งสองบริษัทต้องจัดทำงบสกุล us$ ทำไม ทั้งที่ไม่จำเป็นต้องจัดทำก็ได้
แม้ว่า Abn Amro,Tisco,Asset Plus ซึ่งเป็นโบรคเกอร์ชั้นนำ
ก็แนะนำให้พิจารณาที่งบดอลลาร์
เมื่อเราดูที่งบดอลลาร์ เมื่อคูณกำไรที่เป็นเหรียญ กับอัตราแลกเปลี่ยน
จะพบว่ากำไรทั้งสองงบต่างกัน ทั้งที่ รายการต่างๆ ในงบกำไรขาดทุนจะใกล้เคียงกัน คำตอบที่ำทำให้กำไรต่างกันคือ ค่าเสื่อมราคา ซึ่งไม่เท่ากัน ตามเหตุผลที่บอกข้างต้น เป็นทริคที่ต้องอาศัยความเข้าใจ และมีพื้นฐานทางบัญชีพอสมควร
ส่วนตัวผมก็เพิ่งเข้าใจไม่นานมากนัก
แหม....ผมคงไม่มีความจำเป็นต้องมาชี้แจงเรื่องนี้ให้เพื่อนๆ
หรือต้องทำให้กระทู้นี้ดูน่าเชื่อถือ หรอกครับ
เพราะคงไม่ใช่หน้าที่ของผม จุดประสงค์ก็แค่ต้องการเสนออีกด้านหนึ่่งของเหรียญ ข้อมูลที่นำมาเสนอก็เป็น facts ทั้งสิ้น ซึ่งสามารถดูได้ที่เวปไซร์บริษัท
เว้นที่กำไร ที่เกิดจากการประมาณการล้วนๆ ซึ่งไม่รับประกันว่าจะูถูกหรือผิด
ผลประกอบการอาจจะออกมามากกว่าหรือน้อยกว่าที่ประมาณก็ได้
และที่แน่นอนคือผมไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับ หุ้น psl ทั้งทางตรงทางอ้อม ใดๆ ทั้งสิ้น การตัดสินใจไดๆ ก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้อ่านครับ
ผมเคยถามพี่ลิ้นจี่เหมือนกันว่าคนที่ขายเรือคิดยังไงนะทำไมถึงขาย
ได้คำตอบว่าเรือที่ขายมักเป็นเรือของบริษัทเล็กๆแบบครอบครัว ซึ่งอาจไม่คุ้มที่จะดำเนินธุรกิจต่อ แค่ขายเรือก็อาจมีเงินใช้ชั่วชีวิตแล้ว อีกอย่างคือช่วงเศรษฐกิจไม่ดี บริษัทเรือขาดทุนกันมาก อาจมีเรือติดเงินกู้กับแบงค์ พอมีโอกาสก็ขายล้างหนี้
ส่วนค่าระวางเรือทั้งปีก็น่าคิดจากจำนวนวันที่เรือสามารถวิ่งได้ อาจมีช่วงต้องเข้าอู่ซ่อมครับ น่าจะไม่เกิน 15-30 วันต่อช่วง 1-2 ปีนะครับ
ได้คำตอบว่าเรือที่ขายมักเป็นเรือของบริษัทเล็กๆแบบครอบครัว ซึ่งอาจไม่คุ้มที่จะดำเนินธุรกิจต่อ แค่ขายเรือก็อาจมีเงินใช้ชั่วชีวิตแล้ว อีกอย่างคือช่วงเศรษฐกิจไม่ดี บริษัทเรือขาดทุนกันมาก อาจมีเรือติดเงินกู้กับแบงค์ พอมีโอกาสก็ขายล้างหนี้
ส่วนค่าระวางเรือทั้งปีก็น่าคิดจากจำนวนวันที่เรือสามารถวิ่งได้ อาจมีช่วงต้องเข้าอู่ซ่อมครับ น่าจะไม่เกิน 15-30 วันต่อช่วง 1-2 ปีนะครับ
ขอแสดงความอ่อนหัดสักเล็กน้อยครับ
1 ผมคิดว่าการหักค่าเสื่อมเทียบที่40บาท/ดอลในงบดอลอาจจะไม่เหมาะสมเนื่องจากตอนซื้อเรือ ซื้อในช่วง
25/ดอล ถ้าหักที่40/ดอลก็จะมีค่าเสื่อมสูงเกินจริงถึงแม้ว่าจะบันทึกสินทรัพย์คือราคาเรือเปลี่ยนอัตราแลกเปลี่ยนมาที่40/ดอลแล้วก็ตามแต่ไม่มีผลในงบกำไรขาดทุนไม่ใช่หรือครับ(มีผลในงบดุลเท่านั้น) ซึ่งทำให้กำไรในงบดอลต่ำกว่าที่ควร
2 pslว่าจ้างบริษัทบัญชีเพื่อที่จะทำการแปลงงบดอลเป็นบาทโดยเฉพาะ ดังนั้นงบบาทน่าจะพอเชื่อถือได้พอสมควร
เพราะบริษัทบัญชียุคนี้มีเครดิตระดับหนึ่ง
3 ถ้างบสองงบนี้ต่างกันมากส่งผลต่อการตัดสืนใจลงทุนมาก กลต ตลท ไม่น่าปล่อยไว้นานขนาดนี้นะครับ
เป็นความเข้าใจส่วนตัวของผมเองเท่านั้นครับ กรุณาสั่งสอน
โคว่จง
1 ผมคิดว่าการหักค่าเสื่อมเทียบที่40บาท/ดอลในงบดอลอาจจะไม่เหมาะสมเนื่องจากตอนซื้อเรือ ซื้อในช่วง
25/ดอล ถ้าหักที่40/ดอลก็จะมีค่าเสื่อมสูงเกินจริงถึงแม้ว่าจะบันทึกสินทรัพย์คือราคาเรือเปลี่ยนอัตราแลกเปลี่ยนมาที่40/ดอลแล้วก็ตามแต่ไม่มีผลในงบกำไรขาดทุนไม่ใช่หรือครับ(มีผลในงบดุลเท่านั้น) ซึ่งทำให้กำไรในงบดอลต่ำกว่าที่ควร
2 pslว่าจ้างบริษัทบัญชีเพื่อที่จะทำการแปลงงบดอลเป็นบาทโดยเฉพาะ ดังนั้นงบบาทน่าจะพอเชื่อถือได้พอสมควร
เพราะบริษัทบัญชียุคนี้มีเครดิตระดับหนึ่ง
3 ถ้างบสองงบนี้ต่างกันมากส่งผลต่อการตัดสืนใจลงทุนมาก กลต ตลท ไม่น่าปล่อยไว้นานขนาดนี้นะครับ
เป็นความเข้าใจส่วนตัวของผมเองเท่านั้นครับ กรุณาสั่งสอน
โคว่จง
ตอบคุณ ake
เรื่องที่ psl ซื้อเรือลำนึง ก็ตั้งบริษัทใหม่บริษัทนึงเพื่อเป็นเจ้าของเรือลำนึงนั้น อันนี้ถือเป็นเรื่องปกติของบริษัทเรือครับ
จะเห็นได้ว่า psl มีเรือ 30 กว่าลำ ก็มี 30 กว่าบริษัท บริษัทนึงก็เป็นเจ้าของเรือลำนึง แล้ว psl ก็ถือหุ้นในบริษัทที่ถือเรือนั้นๆ
ผมเข้าใจว่าเป็นเหตุผลเพื่อลดความเสี่ยง กรณีเกิดความเสียหายในการขนส่งอย่างร้ายแรง โดนฟ้องร้อง ความเสียหายก็จะจำกัดอยู่เฉพาะบริษัทที่ถือเรือลำนั้น ไม่เสียหายลามไปทั้งบริษัทครับ บริษัทเรือจะเป็นอย่างนี้แทบทั้งหมดครับ
แล้วอีกนัยหนึ่ง ผมไม่แน่ใจในเรื่องภาษีด้วย เพราะอาจจะมีการขายเรือ โดยไม่ได้ขายเรือ แต่ขายหุ้นของบริษัทที่ถือเรือนั้นแทน อาจจะมีส่วนลดทางภาษีด้วย ประการหลังนี้เดาเอา
ส่วนเรื่องค่าเสื่อมราคาเป็น US$ หรือ บาทอะไรนั้น ผมมีความเห็นเหมือนกัน เพราะเคยสงสัยนานมาแล้ว ตั้งแต่เมื่อปลายปี 45 แล้ว ตอนนี้ไม่สงสัยแล้ว เพราะไม่รู้จะสงสัยไปทำไม เพราะคนที่สงสัยก็ตอบไม่ได้ว่าเรื่องดังกล่าว จะมีผลมากน้อยเป็น % ต่อผลกำไรหรือขาดทุนอย่างไร แค่พูดเป็นประเด็นให้คำนึงถึงเท่านั้น
ดังนั้น เพื่อตัดประเด็นดังกล่าว ผมคิดว่า ควรดูที่งบกระแสเงินสด และหักส่วนของค่าเสื่อมออกไป ดูเฉพาะกระแสเงินสดก็พอ แล้วก็จะ wow...
ส่วนเรื่องเรือมือสอง ถ้าธุรกิจดีจะมีคนขายออกมาทำไม อันนี้ก็เป็นเรื่องที่ผมถามพี่ลิ้นจี่ ตั้งเกือบ 6 เดือนมาแล้ว จะมาถามกันอีกทำไม แสดงว่าคนถามไม่ได้ตามหุ้นตัวนี้เลย
ประเด็นที่น่าจะดู ผมเห็นเหมือนคุณ jeng เปี๊ยบ คือเรือราคา 700 ล้าน ปล่อยเช่าได้ 400-500 ล้านต่อปี ธุรกิจนี้ดีหรือไม่
คุณซื้อตึก 700 ล้าน เก็บค่าเช่าปีนึงได้ 500 ล้าน เอาหรือไม่ ?
เอ เขียนเยอะไปแล้ว
ไปดีกว่า
เรื่องที่ psl ซื้อเรือลำนึง ก็ตั้งบริษัทใหม่บริษัทนึงเพื่อเป็นเจ้าของเรือลำนึงนั้น อันนี้ถือเป็นเรื่องปกติของบริษัทเรือครับ
จะเห็นได้ว่า psl มีเรือ 30 กว่าลำ ก็มี 30 กว่าบริษัท บริษัทนึงก็เป็นเจ้าของเรือลำนึง แล้ว psl ก็ถือหุ้นในบริษัทที่ถือเรือนั้นๆ
ผมเข้าใจว่าเป็นเหตุผลเพื่อลดความเสี่ยง กรณีเกิดความเสียหายในการขนส่งอย่างร้ายแรง โดนฟ้องร้อง ความเสียหายก็จะจำกัดอยู่เฉพาะบริษัทที่ถือเรือลำนั้น ไม่เสียหายลามไปทั้งบริษัทครับ บริษัทเรือจะเป็นอย่างนี้แทบทั้งหมดครับ
แล้วอีกนัยหนึ่ง ผมไม่แน่ใจในเรื่องภาษีด้วย เพราะอาจจะมีการขายเรือ โดยไม่ได้ขายเรือ แต่ขายหุ้นของบริษัทที่ถือเรือนั้นแทน อาจจะมีส่วนลดทางภาษีด้วย ประการหลังนี้เดาเอา
ส่วนเรื่องค่าเสื่อมราคาเป็น US$ หรือ บาทอะไรนั้น ผมมีความเห็นเหมือนกัน เพราะเคยสงสัยนานมาแล้ว ตั้งแต่เมื่อปลายปี 45 แล้ว ตอนนี้ไม่สงสัยแล้ว เพราะไม่รู้จะสงสัยไปทำไม เพราะคนที่สงสัยก็ตอบไม่ได้ว่าเรื่องดังกล่าว จะมีผลมากน้อยเป็น % ต่อผลกำไรหรือขาดทุนอย่างไร แค่พูดเป็นประเด็นให้คำนึงถึงเท่านั้น
ดังนั้น เพื่อตัดประเด็นดังกล่าว ผมคิดว่า ควรดูที่งบกระแสเงินสด และหักส่วนของค่าเสื่อมออกไป ดูเฉพาะกระแสเงินสดก็พอ แล้วก็จะ wow...
ส่วนเรื่องเรือมือสอง ถ้าธุรกิจดีจะมีคนขายออกมาทำไม อันนี้ก็เป็นเรื่องที่ผมถามพี่ลิ้นจี่ ตั้งเกือบ 6 เดือนมาแล้ว จะมาถามกันอีกทำไม แสดงว่าคนถามไม่ได้ตามหุ้นตัวนี้เลย
ประเด็นที่น่าจะดู ผมเห็นเหมือนคุณ jeng เปี๊ยบ คือเรือราคา 700 ล้าน ปล่อยเช่าได้ 400-500 ล้านต่อปี ธุรกิจนี้ดีหรือไม่
คุณซื้อตึก 700 ล้าน เก็บค่าเช่าปีนึงได้ 500 ล้าน เอาหรือไม่ ?
เอ เขียนเยอะไปแล้ว
ไปดีกว่า
โค้ด: เลือกทั้งหมด
อย่างนี้ถือว่าไม่โปร่งใสหรือเปล่าครับ เพราะผมจะได้รายชื่อนีทิ้งไปเลย
สิ่งที่เจ้าของกระทู้อธิบายเป็นไปตามหลักทางบัญชีครับ
ผมได้เคยอธิบายในกระทิงเขียวไว้เหมือนกันครับว่า PSL ใช้ P/E หา target price ไม่ได้ เนื่องจากต้นทุนค่าเสื่อมราคาในปัจจุบันใช้ต้นทุนเรือที่ 25 บาทต่อเหรียญ ทำให้ค่าเสื่อมราคาต่ำกว่าความเป็นจริงและส่งผลให้กำไรต่อหุ้นสูงเกินจริง วิธี adjust ตรงนี้ก็คือต้องใช้ ev/ebitda เนื่องจากขจัดความแตกต่างเรื่องค่าเสื่อมราคาออกไหหรือใช้ P/E ratio ที่ใช้งบดอลล่าร์ ซึ่งผลก็คือ ทั้ง P/E ratio และ ev/ebitda ของ PSL และ TTA สูงมากครับ ซึ่ง P/E ของ PSL ที่ต่ำเป็นการ adjust BV ให้กลับมาสู่ระดับปกติเท่านั้น
การหา ev/ebitda ทำได้โดย
EV = Mkt cap + Net debt ( Interest bering debt - cash )
EBITDA = Net profit + Depreciation + Interest + tax
ปกติแล้ว EV/EBITDA ของหุ้นจะไม่ค่อยเกิน 10 ครับ
หากเมื่อไหร่ที่ psl ซื้อเรือใหม่เข้ามามากๆ จะทำให้ต้องบันทึกค่าเสื่อมราคาที่ค่าเงินใหม่ จะส่งผลให้ gross margin จะแย่ลงมาก โดยเฉพาะหากเมื่อค่าระวางเริ่มปรับลดลงจะทำให้เรือใหม่ส่งผลให้บริษัทมีกำไรลดลงหรือขาดทุนได้
ผมเองก็ลังเลกับการให้ข้อมูลตรงนี้เหมือนกันเพราะหลังๆ มีผู้ถือหุ้นเรือกันมาก แต่ก็อยากจะเตือนถึง valuation ของหุ้นกลุ่มเรือที่ค่อนข้างแพงในระยะยาวแล้วครับ ผมไม่ค่อยห่วงสำหรับเพื่อนๆ ที่ต้นทุนต่ำแต่สำหรับนักลงทุนใหม่ที่เข้ามาซื้อตอนนี้คงจะต้องหาจุดที่ exit ได้ทันท่วงทีครับ แต่ไม่ใช่ว่า sector นี้จะไม่มีโอกาสขึ้นในระยะสั้นนะครับ เพราะยังไงเรือที่จะต่อใหม่คงจะไม่ออกมาในเร็ววันและต้นทุนของเรือใหม่ก็แพงมากเพราะราคาเหล็กในตลาดโลกแพง ในขณะที่เรือที่ทยอยปลดระวางก็มีเรื่อยๆ ดังนั้นโอกาสที่ค่าระวางจะปรับขึ้นในระยะสั้นก็มีความเป็นไปได้สูงครับ
ผมได้เคยอธิบายในกระทิงเขียวไว้เหมือนกันครับว่า PSL ใช้ P/E หา target price ไม่ได้ เนื่องจากต้นทุนค่าเสื่อมราคาในปัจจุบันใช้ต้นทุนเรือที่ 25 บาทต่อเหรียญ ทำให้ค่าเสื่อมราคาต่ำกว่าความเป็นจริงและส่งผลให้กำไรต่อหุ้นสูงเกินจริง วิธี adjust ตรงนี้ก็คือต้องใช้ ev/ebitda เนื่องจากขจัดความแตกต่างเรื่องค่าเสื่อมราคาออกไหหรือใช้ P/E ratio ที่ใช้งบดอลล่าร์ ซึ่งผลก็คือ ทั้ง P/E ratio และ ev/ebitda ของ PSL และ TTA สูงมากครับ ซึ่ง P/E ของ PSL ที่ต่ำเป็นการ adjust BV ให้กลับมาสู่ระดับปกติเท่านั้น
การหา ev/ebitda ทำได้โดย
EV = Mkt cap + Net debt ( Interest bering debt - cash )
EBITDA = Net profit + Depreciation + Interest + tax
ปกติแล้ว EV/EBITDA ของหุ้นจะไม่ค่อยเกิน 10 ครับ
หากเมื่อไหร่ที่ psl ซื้อเรือใหม่เข้ามามากๆ จะทำให้ต้องบันทึกค่าเสื่อมราคาที่ค่าเงินใหม่ จะส่งผลให้ gross margin จะแย่ลงมาก โดยเฉพาะหากเมื่อค่าระวางเริ่มปรับลดลงจะทำให้เรือใหม่ส่งผลให้บริษัทมีกำไรลดลงหรือขาดทุนได้
ผมเองก็ลังเลกับการให้ข้อมูลตรงนี้เหมือนกันเพราะหลังๆ มีผู้ถือหุ้นเรือกันมาก แต่ก็อยากจะเตือนถึง valuation ของหุ้นกลุ่มเรือที่ค่อนข้างแพงในระยะยาวแล้วครับ ผมไม่ค่อยห่วงสำหรับเพื่อนๆ ที่ต้นทุนต่ำแต่สำหรับนักลงทุนใหม่ที่เข้ามาซื้อตอนนี้คงจะต้องหาจุดที่ exit ได้ทันท่วงทีครับ แต่ไม่ใช่ว่า sector นี้จะไม่มีโอกาสขึ้นในระยะสั้นนะครับ เพราะยังไงเรือที่จะต่อใหม่คงจะไม่ออกมาในเร็ววันและต้นทุนของเรือใหม่ก็แพงมากเพราะราคาเหล็กในตลาดโลกแพง ในขณะที่เรือที่ทยอยปลดระวางก็มีเรื่อยๆ ดังนั้นโอกาสที่ค่าระวางจะปรับขึ้นในระยะสั้นก็มีความเป็นไปได้สูงครับ
อืม ให้เหตุผลกันดีทุกคน แต่สิ่งที่ผมขอให้ดูก็คือ FCFF ครับ ตัวนี้เท่าที่เช็คในงบไม่ว่าจะเป็น บาทหรือ ดอล์ ใกล้เคียงกันมาก ลองเอาค่าเสื่อมและกำไรมาบวกกัน ทั้งงบบาท และ ดอลล์ จะเห็นได้ชัดเจนเลย
ดังที่คุณ Invisible hand บอก ผมเอาข้อมูลจากโบรคกิมเอ็งที่ นักวิเคราะห์เขาคำนวณไว้ เขาประมาณ FCFF = 100 ล้านดอลล์ ไม่รู้เวอร์ไปป่าว โดยใช้จำนวนเรือที่ 38 ลำ และปรับรายได้เป็นเดือนเรือ โดยคิดค่าระวาง ที่ 11500 ดอลล์ต่อวัน
Mkt cap = 520*37/39 = 493 ล้านดอลล์
Net debt = 82+60-6 = 136 ล้านดอลล์
คังนั้น EV = 647 ล้านดอลล์
EV/EBITA = 647/(100+7) = 6.046 เท่า
แต่ถ้าจำไม่ผิดจริง EV ต้องเท่ากับ Mkt cap - net debt ครับ
ดังนั้น
EV/EBITA = (493-136)/107 = 3.334
ผมไม่แน่ใจนะครับ ลองตัวสอบกันเอง แต่ยังไง มันไม่เกิน 6.5 เท่าแน่สำหรับ สิ้นปี 47
ดังที่คุณ Invisible hand บอก ผมเอาข้อมูลจากโบรคกิมเอ็งที่ นักวิเคราะห์เขาคำนวณไว้ เขาประมาณ FCFF = 100 ล้านดอลล์ ไม่รู้เวอร์ไปป่าว โดยใช้จำนวนเรือที่ 38 ลำ และปรับรายได้เป็นเดือนเรือ โดยคิดค่าระวาง ที่ 11500 ดอลล์ต่อวัน
Mkt cap = 520*37/39 = 493 ล้านดอลล์
Net debt = 82+60-6 = 136 ล้านดอลล์
คังนั้น EV = 647 ล้านดอลล์
EV/EBITA = 647/(100+7) = 6.046 เท่า
แต่ถ้าจำไม่ผิดจริง EV ต้องเท่ากับ Mkt cap - net debt ครับ
ดังนั้น
EV/EBITA = (493-136)/107 = 3.334
ผมไม่แน่ใจนะครับ ลองตัวสอบกันเอง แต่ยังไง มันไม่เกิน 6.5 เท่าแน่สำหรับ สิ้นปี 47
ผมคือลิ้นจี่ หรือ ตอนนี้ใช้ lychee ที่ www.taladhoon.com แต่ลืมล็อคอินแล้วครับ ไม่ได้เข้านาน กระทู้นี้ดีมากครับ และ ข้อมูลมาก ต้องขออ่านสัก 3 รอบ ก่อน แต่ขอเพิ่มเติมข้อมูลเล็กน้อยนะครับ
1 อายุการใช้เรือไม่ไช่ไม่เกิน 25 ปีนะครับ อาจจะใช้ได้ถึง 30 กว่าปีแล้วแต่การดูแลรักษาเรือ และผ่านการตรวจสอบจากสถาบันต่าง ๆ ที่จดทะเบียนไว้หรือไม่ เช่น Lloyd's Register of Shipping หรือ American Bureau of Shipping หรือ NK หรือ ฯลฯ ฯลฯ แต่เมื่อเรืออายุมากขึ้น ผู้เช่าบางรายอาจจะไม่ชอบ เช่นตลาดในยุโรปเหนือ และยุโรปตะวันตก ซึ่งก็จะทำให้ค่าเช่าเรือ ต่ำกว่าเรือที่อายุน้อยกว่า
2 ตลาดปัจจุบัน เจ้าของเรือยังคงพยายามเดินเรือต่อแม้อายุเรือจะเกิน 25 ปี เพราะค่าเช่าดีเหลือหลาย อันนี้เป็นสาเหตุให้ราคารับซื้อเรือเก่าเพื่อตัดทิ้ง (Ship Scrapping Industry or Ship Breaking Industry) เพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ซึ่งสูงกว่า US$200 / Light Weight Ton ผมไม่ทราบราคาปัจจุบัน
ดังนั้น เมื่อเรือปลดระวางแล้ว ก็ไม่ได้เป็นเศษเหล็กนะครับ เขาถอดเหล็กให้เป็นชิ้น ๆ เรียกว่า Ship Plate เพื่อไปผลิตใหม่ (rerolling) โดยได้ผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นเหล็กเส้นใช้ในการก่อสร้าง ประเทศไทยก็เคยมีการนำเข้า ship plate จากเรือเก่ามารีดใหม่
ราคาเรือเก่าวันนี้ ถ้าไปขายให้อู่ตัดเรือที่จีน หรือ อินเดีย ผมมั่นใจว่าจะได้ราคาดีกว่าเรือลำเดียวกันที่ซื้อขายเมื่อ 5 ปีก่อน
อันนี้ หาก PSL หรือ TTA ขายเรือเก่าออกไป ก็จะมีรายได้เข้ามาในราคาปัจจุบัน จะทำให้ผลกำไรในไตรมาสที่มีการขายเรือเก่าออกไปเพิ่มขึ้นมหาศาล เพราะเรือลำดังกล่าว ลงบัญชีที่ อัตราแลกเปลี่ยน 25 บาท และได้ตัดค่าเสื่อมไปตลอด แต่เวลาขาย ก็ได้ราคาเป็น US$ และต้องลงบัญชีที่อัตราแลกเปลี่ยน 39 บาทครับ ที่คุณ Jeng ว่า Hidden Asset นั่นถูกต้องแล้วครับ
แต่เชื่อว่า ทั้ง TTA / PSL ไม่น่าจะมีการขายเรือออกไปในช่วงนี้
3 ที่มีรายงานว่า PSL ปล่อยเช่าเรือลำดังกล่าวไปที่ US$14,000 นั้น เป็นอัตราเช่าต่อวันครับ และ คิดทุกวันครับ ไม่ว่าเรือจะเดินหรือจอด ฝนจะตก แดดจะออก
ผมอ่านรายงานเร็ว ๆ นี้ว่า PSL ได้ปล่อยเช่าประมาณครึ่งหนึ่งของเรือที่มี
ไปในระยะยาว 12 เดือนที่อัตราค่าเช่าเฉลี่ย US$12,000/วัน ต่อลำ ซึ่งถ้าข่าวดังกล่าวไม่ผิด หมายความว่า จำนวรเรือครึ่งของที่มี (total deadweight ton) จะได้รับค่าเช่าทุกวันครับ อันนี้เป็นนโยบายที่ใช้ได้ ถึงแม้ว่าตลาดอาจจะขึ้นต่อ แต่เขาคงคำนึงถึงรายได้ที่แน่นอน
อนึ่งค่าเช่าเรือ กับค่าระวางเรือไม่เหมือนกันนะครับ เคยอธิบายไปหลายรอบแล้ว
4 ภาษีนั้น ส่วนใหญ่ได้รับการยกเว้น เพราะได้ BOI ครับ
5 ถามว่าหากตลาดดี ทำไมมีคนขายเรือมือสองทิ้ง ก็เพราะว่า ความคิดของคนไม่เหมือนกันครับ เมื่อปี 1998/1999 ผมได้ไปเกาะสีชัง เห็นเรืออินโดจอดอยู่ประมาณ 10 ลำ จอดเป็นปีนะครับ เพราะอะไรหรือครับ
Jeng ครับ (อ้อ ขอโทษ เจ๊งครับ) ในช่วงปี 1997-2001 บริษัทเรือเจ๊งมากเลยครับ พวดที่เจ๊ง ก็โดนเจ้าหนี้ยึด เสร็จก็มาขายต่อ พวกที่มีเงินเย็นตอนนั้น ก็มาซื้อไปลำละ 1-2 ล้านเหรียญ พอเดินเรือไป 2/3 ปี เกิดมีคนมาเสนอซื้อที่ 4 ล้านเหรียญ ก็เหมือนหุ้นละครับ ซื้อ 10 ขายได้ 20 ก็ย่อมมีคนขายเป็นธรรมดา กลายเป็นขายหมูสิครับ เพราะขายปุ๊บ ไม่กีเดือน ราคาขึ้นเป็น 6 ล้านเหรียญ
พวกที่ขายอีกพวกก็คือเจ้าของเรือกรีก หรือไซปรัส บางราย ที่มีเรือไม่กี่ลำ พวกนี้เป็นบริษัทครอบครัวครับ เรือส่วนใหญ่ก็ตั้งชื่อตามเมีย หรือลูกสาว พอเจ้าของแก่ตัวลง และเกิดลูกบริหารไม่เป็น หรือไม่อยากทำเรือ
ปรากฏว่า ช่วงเวลานี้เป็น ช่วงที่ราคาเรือ เป็นราคาที่เขาไม่เคยคิดว่าจะได้เห็นในชีวิต ก็ขายครับ 4 ลำ ได้เงินสด 20 ล้านเหรียญ พี่แกก็คงใช้เงินเพลิน
มรว จันทร์แรมฯ ท่านได้กล่าวในที่ประชุมผู้ถือหุ้นเมื่อวันศุกร์ว่า เรือที่ซื้อมาเมื่อ 6/7 เดือนก่อน และได้เดินเรือไปแล้ว 6 เดือน เจ้าของคนก่อนมาเสนอราคาซื้อคืน โดยบวกให้อีก 20 เปอร์เซนต์ครับ
เหตุการณ์ค่าระวางเรือหรือค่าเช่าเรือตอนนี้ เป็นเหตุการณ์ไม่เคยมีใครกล้าคาดคิดมาก่อนครับ
คืนนี้ขอแค่นี้ก่อนนะครับ จะไปนอนแล้ว ไว้จะมาอ่านใหม่ และจดคำถามต่าง ๆ ไว้เพื่อไปหาคำตอบ จะดูงบดุลเป็นดอลลาร์ ก็ต้องดูดอลลาร์ให้หมดนะครับ และก็อย่าลืม hidden asset ด้วยนะครับ
1 อายุการใช้เรือไม่ไช่ไม่เกิน 25 ปีนะครับ อาจจะใช้ได้ถึง 30 กว่าปีแล้วแต่การดูแลรักษาเรือ และผ่านการตรวจสอบจากสถาบันต่าง ๆ ที่จดทะเบียนไว้หรือไม่ เช่น Lloyd's Register of Shipping หรือ American Bureau of Shipping หรือ NK หรือ ฯลฯ ฯลฯ แต่เมื่อเรืออายุมากขึ้น ผู้เช่าบางรายอาจจะไม่ชอบ เช่นตลาดในยุโรปเหนือ และยุโรปตะวันตก ซึ่งก็จะทำให้ค่าเช่าเรือ ต่ำกว่าเรือที่อายุน้อยกว่า
2 ตลาดปัจจุบัน เจ้าของเรือยังคงพยายามเดินเรือต่อแม้อายุเรือจะเกิน 25 ปี เพราะค่าเช่าดีเหลือหลาย อันนี้เป็นสาเหตุให้ราคารับซื้อเรือเก่าเพื่อตัดทิ้ง (Ship Scrapping Industry or Ship Breaking Industry) เพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ซึ่งสูงกว่า US$200 / Light Weight Ton ผมไม่ทราบราคาปัจจุบัน
ดังนั้น เมื่อเรือปลดระวางแล้ว ก็ไม่ได้เป็นเศษเหล็กนะครับ เขาถอดเหล็กให้เป็นชิ้น ๆ เรียกว่า Ship Plate เพื่อไปผลิตใหม่ (rerolling) โดยได้ผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นเหล็กเส้นใช้ในการก่อสร้าง ประเทศไทยก็เคยมีการนำเข้า ship plate จากเรือเก่ามารีดใหม่
ราคาเรือเก่าวันนี้ ถ้าไปขายให้อู่ตัดเรือที่จีน หรือ อินเดีย ผมมั่นใจว่าจะได้ราคาดีกว่าเรือลำเดียวกันที่ซื้อขายเมื่อ 5 ปีก่อน
อันนี้ หาก PSL หรือ TTA ขายเรือเก่าออกไป ก็จะมีรายได้เข้ามาในราคาปัจจุบัน จะทำให้ผลกำไรในไตรมาสที่มีการขายเรือเก่าออกไปเพิ่มขึ้นมหาศาล เพราะเรือลำดังกล่าว ลงบัญชีที่ อัตราแลกเปลี่ยน 25 บาท และได้ตัดค่าเสื่อมไปตลอด แต่เวลาขาย ก็ได้ราคาเป็น US$ และต้องลงบัญชีที่อัตราแลกเปลี่ยน 39 บาทครับ ที่คุณ Jeng ว่า Hidden Asset นั่นถูกต้องแล้วครับ
แต่เชื่อว่า ทั้ง TTA / PSL ไม่น่าจะมีการขายเรือออกไปในช่วงนี้
3 ที่มีรายงานว่า PSL ปล่อยเช่าเรือลำดังกล่าวไปที่ US$14,000 นั้น เป็นอัตราเช่าต่อวันครับ และ คิดทุกวันครับ ไม่ว่าเรือจะเดินหรือจอด ฝนจะตก แดดจะออก
ผมอ่านรายงานเร็ว ๆ นี้ว่า PSL ได้ปล่อยเช่าประมาณครึ่งหนึ่งของเรือที่มี
ไปในระยะยาว 12 เดือนที่อัตราค่าเช่าเฉลี่ย US$12,000/วัน ต่อลำ ซึ่งถ้าข่าวดังกล่าวไม่ผิด หมายความว่า จำนวรเรือครึ่งของที่มี (total deadweight ton) จะได้รับค่าเช่าทุกวันครับ อันนี้เป็นนโยบายที่ใช้ได้ ถึงแม้ว่าตลาดอาจจะขึ้นต่อ แต่เขาคงคำนึงถึงรายได้ที่แน่นอน
อนึ่งค่าเช่าเรือ กับค่าระวางเรือไม่เหมือนกันนะครับ เคยอธิบายไปหลายรอบแล้ว
4 ภาษีนั้น ส่วนใหญ่ได้รับการยกเว้น เพราะได้ BOI ครับ
5 ถามว่าหากตลาดดี ทำไมมีคนขายเรือมือสองทิ้ง ก็เพราะว่า ความคิดของคนไม่เหมือนกันครับ เมื่อปี 1998/1999 ผมได้ไปเกาะสีชัง เห็นเรืออินโดจอดอยู่ประมาณ 10 ลำ จอดเป็นปีนะครับ เพราะอะไรหรือครับ
Jeng ครับ (อ้อ ขอโทษ เจ๊งครับ) ในช่วงปี 1997-2001 บริษัทเรือเจ๊งมากเลยครับ พวดที่เจ๊ง ก็โดนเจ้าหนี้ยึด เสร็จก็มาขายต่อ พวกที่มีเงินเย็นตอนนั้น ก็มาซื้อไปลำละ 1-2 ล้านเหรียญ พอเดินเรือไป 2/3 ปี เกิดมีคนมาเสนอซื้อที่ 4 ล้านเหรียญ ก็เหมือนหุ้นละครับ ซื้อ 10 ขายได้ 20 ก็ย่อมมีคนขายเป็นธรรมดา กลายเป็นขายหมูสิครับ เพราะขายปุ๊บ ไม่กีเดือน ราคาขึ้นเป็น 6 ล้านเหรียญ
พวกที่ขายอีกพวกก็คือเจ้าของเรือกรีก หรือไซปรัส บางราย ที่มีเรือไม่กี่ลำ พวกนี้เป็นบริษัทครอบครัวครับ เรือส่วนใหญ่ก็ตั้งชื่อตามเมีย หรือลูกสาว พอเจ้าของแก่ตัวลง และเกิดลูกบริหารไม่เป็น หรือไม่อยากทำเรือ
ปรากฏว่า ช่วงเวลานี้เป็น ช่วงที่ราคาเรือ เป็นราคาที่เขาไม่เคยคิดว่าจะได้เห็นในชีวิต ก็ขายครับ 4 ลำ ได้เงินสด 20 ล้านเหรียญ พี่แกก็คงใช้เงินเพลิน
มรว จันทร์แรมฯ ท่านได้กล่าวในที่ประชุมผู้ถือหุ้นเมื่อวันศุกร์ว่า เรือที่ซื้อมาเมื่อ 6/7 เดือนก่อน และได้เดินเรือไปแล้ว 6 เดือน เจ้าของคนก่อนมาเสนอราคาซื้อคืน โดยบวกให้อีก 20 เปอร์เซนต์ครับ
เหตุการณ์ค่าระวางเรือหรือค่าเช่าเรือตอนนี้ เป็นเหตุการณ์ไม่เคยมีใครกล้าคาดคิดมาก่อนครับ
คืนนี้ขอแค่นี้ก่อนนะครับ จะไปนอนแล้ว ไว้จะมาอ่านใหม่ และจดคำถามต่าง ๆ ไว้เพื่อไปหาคำตอบ จะดูงบดุลเป็นดอลลาร์ ก็ต้องดูดอลลาร์ให้หมดนะครับ และก็อย่าลืม hidden asset ด้วยนะครับ
ผมเคยมองงบดอลล่าร์ของPSL มากว่า1ปีแล้วนะครับ ถ้าพิจารณาให้ตรงจริงๆงบกระแสเงินสดบอกได้ตรงสุดครับ มันเป็นตัวบอกว่าเงินสดเข้ากระเป๋าออกจากกระเป๋าจริงๆเท่าไรกันแน่
ลองไปดูกันเอาเองครับ
ผมว่าประเด็นนี้มีคนเคยหยิบมาเล่นหลายครั้งแล้วนะครับ
คุณลูกอีสานเคยไปขึ้นกระทู้ที่ตลาดหุ้น.คอม
คุณฉัตรชัยเคยไปขึ้นกระทู้เรื่องtax ที่สินธรและตลาดหุ้น.คอม
และมีคนตอบไว้หมดแล้ว
ลองไปดูกันเอาเองครับ
ผมว่าประเด็นนี้มีคนเคยหยิบมาเล่นหลายครั้งแล้วนะครับ
คุณลูกอีสานเคยไปขึ้นกระทู้ที่ตลาดหุ้น.คอม
คุณฉัตรชัยเคยไปขึ้นกระทู้เรื่องtax ที่สินธรและตลาดหุ้น.คอม
และมีคนตอบไว้หมดแล้ว
เหตุผลที่ผมตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา เนื่องจากคิดว่าไม่น่าจะเป็นสิ่งที่่ถูกต้อง
หากมีการเสนอข้อมูลหุ้นบางตัว เพียงด้านเดียว
และข้อมูลที่นำมาเสนอ ก็ดูจะคลาดเคลื่อน
จะโดยความตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจ ซึ่งอาจทำให้นักลงทุนใหม่ๆ เข้าใจผิด
และอาจนำไปสู่ความเสียหายได้
ดังนั้น ต้องขอขอบคุณทุกท่านที่สละเวลาเข้ามาแสดงความคิดเห็น
เพราะดูเหมือนจะมีคนสนใจกระทู้นี้ ค่อนข้างมาก
ซึ่งก็คงบรรลุวัตถุประสงค์ของผมแล้ว
ที่ได้แสดงอีกด้านหนึง ที่ไม่มีใครพูดถึงกันนัก
ในขณะที่ด้านดี มีคนพูดถึงเยอะแล้ว
ซึ่งประเด็นเหล่านี้ ผมขอสรุปเป็นครั้งสุดท้าย
1.ควรใช้งบดอลลาร์ในการพิจารณาบริษัท ที่มีรายได้-รายจ่ายเป็นสกุลเงินเหรียญ เพื่อลดความคลาดเคลื่อนจากวิธีทางบัญชี ซึ่งบริษัทเหล่านี้ก็มีไม่มากนัก เช่น psl,rcl,tta โดยงบการเงินเหล่านี้ สามารถดูได้ที่ได้ที่เวปไซร์บริษัท ในกรณี psl จะเห็นได้ว่ากำไรของงบเงินบาท - และเงินเหรียญต่างกัน เกือบ 1 เท่าตัว แสดงให้เห็นว่า ค่าต่างๆ ที่คำนวณขึ้นจากงบเงินบาท ให้ค่าที่คลาดเคลื่อนไปมาก
2. หากค่าระวาง เพิ่มขึ้นน้อยกว่าต้นทุน จะทำให้กำไรขั้นต้นของ psl ลดลง
ต้นทุนที่เพิ่มเกิดจาก 2 ปัจจัย คือในงบเงินบาท ค่่าเสื่อมราคาจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้อัตรากำไรขั้นต้นลดลง เพราะเรือเก่าที่บันทึกเป็นสินทรัพย์ที่ 25 ฿/$ จะทยอยปลดระวาง ในขณะที่งบดอลลาร์ ต้นทุนก็จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากเรือเก่าๆ ซึ่งซื้อในราคาถูก เริ่มปลดระวาง ขณะที่เรือใหม่ๆที่ซื้อ มีราคาแพงขึ้นมาก
3.ความผันผวนของค่าระวาง จากจุดที่ค่าระวางต่ำสุด จนขณะนี้ ผมไม่มีตัวเลข แต่เข้าใจว่ามีการเปลี่ยนแปลงนับร้อยเปอร์เซนต์ มองในอีกแง่ หากถึงจุดหนึ่ง ที่ค่าระวางขึ้นไปมาก มากจนจูงใจให้อู่ต่อเรือ หันมาต่อเรือใหม่มากๆ ก็เป็นไปได้ว่าค่าระวาง อาจจะลดลงได้เป็นร้อยเปอร์เซนต์เหมือนกัน ดังนั้นการถือหุ้นที่มีรายได้ผันผวน ในระยะยาว จะความเสี่ยงมาก หลายท่านอาจคิดว่า ก็หากค่าระวางเริ่มอ่ิมตัว หรือลดลง ก็ขายหุ้นออกมาเสีย แต่สุดท้ายใครละครับที่จะไปรับหุ้นเหล่านั้น ก็คงเป็นนักลงทุนหน้าใหม่ หรือนักลงทุนที่ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ นั่นเอง
ผมขอตอบประเด็นต่างๆที่เพื่อนๆ แสดงความคิดเห็นเข้ามานะครับ เท่าที่พอจะตอบได้
1.ช่องโหว่ ที่ทำให้งบทั้งสองงบ เกิดความแตกต่างกันมาก เกิดขึ้นเนื่องจากปัจจัย
เท่าที่คิดออก
- กลต หรือตลาดหลักทรัพย์ บังคับให้บริษัทที่จดทะเบียนในประเทศไทย ต้องสำแดงงบในภาษาไทย อัตราแลกเปลี่ยนเงินไทย ดังนั้นบริษัทที่มีรายได้-รายจ่ายเป็นสกุลเงินต่างประเทศ ต้องแปลงงบตามข้อกำหนดข้างต้น แต่อัตราแลกเปลี่ยนมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงทำให้เกิดรายการ ที่ไม่สอดคล้องกัน
- กฎทางบัญชีข้อนึงคือ จะเน้นหลักอนุรักษ์นิยม เพื่อป้องกันความเสียหายจากการอ่านงบ ดังนั้นในกรณีนี้ซื้อสินทรัพย์เรือ และบันทึกไว้ที่ 25 ฿/$ ต่อมาเมื่ออัตราแลกเปลี่ยน เปลี่ยนเป็น 39 ฿/$
แทนที่จะปรับราคาสินทรัพย์นั้นตามอัตราแลกเปลี่ยนใหม่ แต่ก็ไม่ได้ทำ ก็เนื่องมาจากหลักอนุรักษ์นิยมนั่นเอง แต่ในกรณีที่ราคาสินทรัพย์ลดลงต่ำกว่าราคาต้นทุน จะมีการปรับลดลง ที่เรียกว่า ค่าด้อยค่าสินทรัพย์นั่นเอง
2. ทำไมต้องมาพูดเรื่องนี้ ขณะนี้ (ตอนราคา psl ตก) ที่จริงเรื่องนี้เคยมีการพูดคุยกันบ้างแล้ว โดยกระทู้ถามของคุณ blueblood ในส่วน value account และได้มีการนำไป post ที่บอร์ดอื่นๆ ด้วยความหวังดี โดยคุณ ฺblueblood เช่นกัน แต่ตอนนั้น กองเรือกำลังทะยานไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง เสียงเตือนเล็กๆ ก็คงโดนเสียงคลื่น เสียงลม และเสียงโห่ร้องอย่างฮึกเฮิม ของเหล่ากลาสีเรือ กลบไปหมดสิ้นครับ
3.เรื่องอัตราส่วน EV/EBITDA ต้องขอขอบคุณ Invisible hand ที่ให้ความกระจ่าง อัตราส่วนนี้ แสดงให้เห็นถึง กระแสเงินสดที่กิจการทำได้ เป็นกีี่เท่า ของมูลค่ากิจการที่กำลังซื้อขายกัน แน่นอนว่ายิ่งน้อยยิ่งดี แต่ค่าที่คุณ Another Guest ยกตัวอย่างมา ดูจะคลาดเคลื่อนนะครับ เพราะดูจากงบ 9 เดือน EBITDA แค่ 30 ล้านเหรียญเท่านั้นครับ ถึงรวมไตรมาสสุดท้าย ก็คงห่างจาก 100 ล้านเหรียญเยอะครับ
และ EV ก็ตามสูตรที่คุณ IH ให้มานะครับ market cap ต้องบวกด้วย debt สุทธิ ครับ ไม่ใช่นำไปลบออก
4.ทำไมมีคนขายเรือให้ psl ในราคาถูก ในเมื่อค่าระวางสูงเช่นนี้ ที่เพื่อนๆแสดงความคิดเห็นมาบางส่วน ผมก็คิดว่ามีส่วนถูกครับ แต่ส่วนใหญ่แล้ว ผมก็ยังคิดว่าเรื่องนี้คงไม่เกิดขึ้นบ่อย เพราะคนที่จะซื้อเรือเหล่านี้ คงไม่ได้มี psl เจ้าเดียว ย่อมต้องมีการแข่งขันกัน ซื้อเรือมือสองเหล่านี้ โดยเฉพาะในตอนนี้ ที่ค่าเช่าทำ all time high ทุกวัน ดังนั้นการซื้อเรือ ตอนนี้ แล้วคุ้มทุนภายใน ปี สองปี เป็นสิ่งที่แปลก หากเกิดขึ้น
5.อยากให้ข้อคิดนิดนึงกับการอ่านงานวิจัยของโบรคเกอร์ ก็คงตามที่ท่านศาสดา ได้สอนเรา ให้รับฟัง แต่อย่าเพิ่งปักใจเชื่อครับ ให้วิเคราะห์ ทดสอบด้วยตัวเองก่อนครับถึงจะเชื่อ โดยเฉพาะงานวิจัยของโบรคเกอร์ที่มีความเป็นอาชีพน้อยหน่อย ยกตัวอย่างเช่น วันที่ 27 ที่ผ่านมาโบรคแห่งหนึ่งแนะนำให้ซื้อ AA (Advance Agro)
ซึ่งผมเคยโพสต์ไปว่าไม่เหมาะสมเลยครับ เพราะเล่นรวมกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนไปด้วย นอกจากนั้นบริษัทยังมีหนี้สินระยะสั้น-ยาว เยอะมาก แล้วเพราะเหตุอันใดไม่ทราบ วันนี้วันที่ 30 โบรคแห่งนั้น ออกงานวิจัยบริษัทนี้มาอีก แต่เปลี่ยนให้ถือครับ บอกว่ามีหนี้เยอะ คิดดูเถอะครับ แค่ 3 วันเปลี่ยนจากซื้อ >>>ถือ โบรคแห่งนี้ก็ไม่ใช่โบรคเล็กๆ เลยนะครับ
6. การเชียร์ซื้อหุุ้น ที่ตัวเองมีส่วนได้เสีย หรือการเชียร์ลง เพื่อจะได้ช้อนซื้อ ซึ่งหลังๆ มานี้เกิดขึ้นมากในเวปบอร์ดหุ้นต่างๆ ประเด็นนี้จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า การทับซ้อนของประโยชน์ หรือที่ฝรั่งเรียกว่า conflict of interest นั่นละครับ
แต่เรื่องนี้ก็ยังแบ่งย่อย ได้อีกเป็น..
- การแนะนำให้ซื้อหุ้น โดยที่หุ้นที่แนะนำเป็นหุ้นที่ดีจริง มีตัวเลข ข้อมูลประกอบ ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเป็นสิ่งที่ดี คนที่ซื้อไว้ก็ได้รับประโยชน์ เพราะหุ้นที่สูงขึ้น คนซื้อก็ได้ซื้อหุ้นที่ดี แม้ในราคาที่อาจสูงกว่าคนแนะนำบ้าง
- การแนะนำให้ซื้อหุ้น โดยมีข้อมูลประกอบ แต่ข้อมูลที่นำมากล่าวอ้าง อาจจะผิด คลาดเคลื่อน จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ก็ไม่น่าจะเป็นสิ่งที่ผิด คงเป็นหน้าที่ของเพื่อนสมาชิกคนอืนๆ ที่จะโต้แย้ง โดยใช้ข้อมูลที่ถูกต้องมาอ้างอิง
( ซึ่งการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นนี้เป็นหัวใจของเวปบอร์ดหุ้นเลยครับ)
- การเชียร์ซื้อหุ้น (ที่ตัวเองถือ) จะโดยพยายามเสนอข้อมูลด้านเดียว
การใช้ข้อมูลที่บิดเบือน (เจ้าตัวรู้ความจริง แต่ไม่พูด) เหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง ทั้งทางด้านกฎหมาย ด้านจริยธรรม
ทั้งที่นักลงทุนส่วนใหญ่ก็ร่ำรวย มีการศึกษาที่ดี มีการงานที่ได้รับการนับหน้าถือตา แต่บางครั้งก็ยังพลาดไปทำเช่นนี้ อยากให้ระลึกไว้ว่าถึงจุดหนึ่งที่มีเงินเยอะแล้ว ความสุขที่เกิดจากเงินเหล่านี้ก็หมดความหมายครับ เป็นแค่ตัวเลขทางบัญชีเท่านั้น แม้แต่ข้าวก็ยังกิน 3 มื้อ เหมือนเดิม มีแต่ต้องการสุขทางใจเท่านั้นครับ และจะสุขได้อย่างไรครับ หากเงินที่ได้มาเพราะการกระทำเหล่านี้ เหมือนที่พระท่านว่าไว้ สุขทุกข์นั่นอยู่ที่ใจ นั่นละครับ :lol:
เป็นที่น่าดีใจ ที่มักจะเกิดเฉพาะเหตุการณ์ข้อ 1 และ 2 เท่านั้นที่ TVI แห่งนี้
คงเป็นเพราะการร่วมแรงร่วมใจของสมาชิกที่นี่ และผู้บริหารชุดนี้ ทำให้ TVI เป็นที่พึ่งสุดท้ายของนักลงทุนหลายๆท่าน
การปล่อยให้มีการใบ้หุุ้น การเชียร์หุ้นบางตัว อย่างไม่ตะบันยั้ง การนำเสนอเฉพาะกระทู้ที่สนับสนุนประโยชน์ของตน
การลบหรือลดความน่าเชื่อถือของกระทู้ที่ขัดผลประโยชน์
รังแต่จะทำให้เกิดความแตกแยก ของเหล่าสมาชิก
เกิดความเสื่อม ของเวปบอร์ดเหล่านั้น
ดังที่เราได้เห็นกันอยู่
หากข้อมูลที่นำเสนอ มีประโยชน์บ้างต่อนักลงทุนบางท่าน ก็คงเป็นผลของพยายามอ่านพยายามเข้าใจของท่านเองครับ
หากเป็นเช่นนั้น ผมก็คงมีความสุขไปด้วยครับ (แม้เพียงจะเริ่มให้)
เป็น สุุข ที่เกิดจากการ ให้
แม้คนส่วนใหญ่จะ สุข เมื่อได้ รับ
และน่ายินดีอีกครั้ง ที่ TVI แห่งนี้ มีผู้รู้ และผู้อาวุโส พี่ครรชิต ลุงขวด พี่ปรัชญา พี่เจ๋ง คุณมน คุณวิบูลย์ พี่ CK พี่ฉัตรชัย คุณ ayethebing พี่Thanwa แม้กระทั่ง คุณ Invisible Hand คุณ No Name และน้องๆ อีกหลายท่าน
ที่ได้ให้มาตลอด จะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว และผมก็มั่นใจว่าท่านเหล่านี้ได้รับ สุข ที่เกิดจากการให้เช่นกันครับ
ขอตอบเป็นกระทู้สุดท้ายนะครับ เพราะข้อมูลคงจะครบถ้วนแล้วครับ
จะได้โผล่ ขึ้นไปบนดินเสียที :lol: :lol: :lol:
หากมีการเสนอข้อมูลหุ้นบางตัว เพียงด้านเดียว
และข้อมูลที่นำมาเสนอ ก็ดูจะคลาดเคลื่อน
จะโดยความตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจ ซึ่งอาจทำให้นักลงทุนใหม่ๆ เข้าใจผิด
และอาจนำไปสู่ความเสียหายได้
ดังนั้น ต้องขอขอบคุณทุกท่านที่สละเวลาเข้ามาแสดงความคิดเห็น
เพราะดูเหมือนจะมีคนสนใจกระทู้นี้ ค่อนข้างมาก
ซึ่งก็คงบรรลุวัตถุประสงค์ของผมแล้ว
ที่ได้แสดงอีกด้านหนึง ที่ไม่มีใครพูดถึงกันนัก
ในขณะที่ด้านดี มีคนพูดถึงเยอะแล้ว
ซึ่งประเด็นเหล่านี้ ผมขอสรุปเป็นครั้งสุดท้าย
1.ควรใช้งบดอลลาร์ในการพิจารณาบริษัท ที่มีรายได้-รายจ่ายเป็นสกุลเงินเหรียญ เพื่อลดความคลาดเคลื่อนจากวิธีทางบัญชี ซึ่งบริษัทเหล่านี้ก็มีไม่มากนัก เช่น psl,rcl,tta โดยงบการเงินเหล่านี้ สามารถดูได้ที่ได้ที่เวปไซร์บริษัท ในกรณี psl จะเห็นได้ว่ากำไรของงบเงินบาท - และเงินเหรียญต่างกัน เกือบ 1 เท่าตัว แสดงให้เห็นว่า ค่าต่างๆ ที่คำนวณขึ้นจากงบเงินบาท ให้ค่าที่คลาดเคลื่อนไปมาก
2. หากค่าระวาง เพิ่มขึ้นน้อยกว่าต้นทุน จะทำให้กำไรขั้นต้นของ psl ลดลง
ต้นทุนที่เพิ่มเกิดจาก 2 ปัจจัย คือในงบเงินบาท ค่่าเสื่อมราคาจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้อัตรากำไรขั้นต้นลดลง เพราะเรือเก่าที่บันทึกเป็นสินทรัพย์ที่ 25 ฿/$ จะทยอยปลดระวาง ในขณะที่งบดอลลาร์ ต้นทุนก็จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากเรือเก่าๆ ซึ่งซื้อในราคาถูก เริ่มปลดระวาง ขณะที่เรือใหม่ๆที่ซื้อ มีราคาแพงขึ้นมาก
3.ความผันผวนของค่าระวาง จากจุดที่ค่าระวางต่ำสุด จนขณะนี้ ผมไม่มีตัวเลข แต่เข้าใจว่ามีการเปลี่ยนแปลงนับร้อยเปอร์เซนต์ มองในอีกแง่ หากถึงจุดหนึ่ง ที่ค่าระวางขึ้นไปมาก มากจนจูงใจให้อู่ต่อเรือ หันมาต่อเรือใหม่มากๆ ก็เป็นไปได้ว่าค่าระวาง อาจจะลดลงได้เป็นร้อยเปอร์เซนต์เหมือนกัน ดังนั้นการถือหุ้นที่มีรายได้ผันผวน ในระยะยาว จะความเสี่ยงมาก หลายท่านอาจคิดว่า ก็หากค่าระวางเริ่มอ่ิมตัว หรือลดลง ก็ขายหุ้นออกมาเสีย แต่สุดท้ายใครละครับที่จะไปรับหุ้นเหล่านั้น ก็คงเป็นนักลงทุนหน้าใหม่ หรือนักลงทุนที่ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ นั่นเอง
ผมขอตอบประเด็นต่างๆที่เพื่อนๆ แสดงความคิดเห็นเข้ามานะครับ เท่าที่พอจะตอบได้
1.ช่องโหว่ ที่ทำให้งบทั้งสองงบ เกิดความแตกต่างกันมาก เกิดขึ้นเนื่องจากปัจจัย
เท่าที่คิดออก
- กลต หรือตลาดหลักทรัพย์ บังคับให้บริษัทที่จดทะเบียนในประเทศไทย ต้องสำแดงงบในภาษาไทย อัตราแลกเปลี่ยนเงินไทย ดังนั้นบริษัทที่มีรายได้-รายจ่ายเป็นสกุลเงินต่างประเทศ ต้องแปลงงบตามข้อกำหนดข้างต้น แต่อัตราแลกเปลี่ยนมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงทำให้เกิดรายการ ที่ไม่สอดคล้องกัน
- กฎทางบัญชีข้อนึงคือ จะเน้นหลักอนุรักษ์นิยม เพื่อป้องกันความเสียหายจากการอ่านงบ ดังนั้นในกรณีนี้ซื้อสินทรัพย์เรือ และบันทึกไว้ที่ 25 ฿/$ ต่อมาเมื่ออัตราแลกเปลี่ยน เปลี่ยนเป็น 39 ฿/$
แทนที่จะปรับราคาสินทรัพย์นั้นตามอัตราแลกเปลี่ยนใหม่ แต่ก็ไม่ได้ทำ ก็เนื่องมาจากหลักอนุรักษ์นิยมนั่นเอง แต่ในกรณีที่ราคาสินทรัพย์ลดลงต่ำกว่าราคาต้นทุน จะมีการปรับลดลง ที่เรียกว่า ค่าด้อยค่าสินทรัพย์นั่นเอง
2. ทำไมต้องมาพูดเรื่องนี้ ขณะนี้ (ตอนราคา psl ตก) ที่จริงเรื่องนี้เคยมีการพูดคุยกันบ้างแล้ว โดยกระทู้ถามของคุณ blueblood ในส่วน value account และได้มีการนำไป post ที่บอร์ดอื่นๆ ด้วยความหวังดี โดยคุณ ฺblueblood เช่นกัน แต่ตอนนั้น กองเรือกำลังทะยานไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง เสียงเตือนเล็กๆ ก็คงโดนเสียงคลื่น เสียงลม และเสียงโห่ร้องอย่างฮึกเฮิม ของเหล่ากลาสีเรือ กลบไปหมดสิ้นครับ
3.เรื่องอัตราส่วน EV/EBITDA ต้องขอขอบคุณ Invisible hand ที่ให้ความกระจ่าง อัตราส่วนนี้ แสดงให้เห็นถึง กระแสเงินสดที่กิจการทำได้ เป็นกีี่เท่า ของมูลค่ากิจการที่กำลังซื้อขายกัน แน่นอนว่ายิ่งน้อยยิ่งดี แต่ค่าที่คุณ Another Guest ยกตัวอย่างมา ดูจะคลาดเคลื่อนนะครับ เพราะดูจากงบ 9 เดือน EBITDA แค่ 30 ล้านเหรียญเท่านั้นครับ ถึงรวมไตรมาสสุดท้าย ก็คงห่างจาก 100 ล้านเหรียญเยอะครับ
และ EV ก็ตามสูตรที่คุณ IH ให้มานะครับ market cap ต้องบวกด้วย debt สุทธิ ครับ ไม่ใช่นำไปลบออก
4.ทำไมมีคนขายเรือให้ psl ในราคาถูก ในเมื่อค่าระวางสูงเช่นนี้ ที่เพื่อนๆแสดงความคิดเห็นมาบางส่วน ผมก็คิดว่ามีส่วนถูกครับ แต่ส่วนใหญ่แล้ว ผมก็ยังคิดว่าเรื่องนี้คงไม่เกิดขึ้นบ่อย เพราะคนที่จะซื้อเรือเหล่านี้ คงไม่ได้มี psl เจ้าเดียว ย่อมต้องมีการแข่งขันกัน ซื้อเรือมือสองเหล่านี้ โดยเฉพาะในตอนนี้ ที่ค่าเช่าทำ all time high ทุกวัน ดังนั้นการซื้อเรือ ตอนนี้ แล้วคุ้มทุนภายใน ปี สองปี เป็นสิ่งที่แปลก หากเกิดขึ้น
5.อยากให้ข้อคิดนิดนึงกับการอ่านงานวิจัยของโบรคเกอร์ ก็คงตามที่ท่านศาสดา ได้สอนเรา ให้รับฟัง แต่อย่าเพิ่งปักใจเชื่อครับ ให้วิเคราะห์ ทดสอบด้วยตัวเองก่อนครับถึงจะเชื่อ โดยเฉพาะงานวิจัยของโบรคเกอร์ที่มีความเป็นอาชีพน้อยหน่อย ยกตัวอย่างเช่น วันที่ 27 ที่ผ่านมาโบรคแห่งหนึ่งแนะนำให้ซื้อ AA (Advance Agro)
ซึ่งผมเคยโพสต์ไปว่าไม่เหมาะสมเลยครับ เพราะเล่นรวมกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนไปด้วย นอกจากนั้นบริษัทยังมีหนี้สินระยะสั้น-ยาว เยอะมาก แล้วเพราะเหตุอันใดไม่ทราบ วันนี้วันที่ 30 โบรคแห่งนั้น ออกงานวิจัยบริษัทนี้มาอีก แต่เปลี่ยนให้ถือครับ บอกว่ามีหนี้เยอะ คิดดูเถอะครับ แค่ 3 วันเปลี่ยนจากซื้อ >>>ถือ โบรคแห่งนี้ก็ไม่ใช่โบรคเล็กๆ เลยนะครับ
6. การเชียร์ซื้อหุุ้น ที่ตัวเองมีส่วนได้เสีย หรือการเชียร์ลง เพื่อจะได้ช้อนซื้อ ซึ่งหลังๆ มานี้เกิดขึ้นมากในเวปบอร์ดหุ้นต่างๆ ประเด็นนี้จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า การทับซ้อนของประโยชน์ หรือที่ฝรั่งเรียกว่า conflict of interest นั่นละครับ
แต่เรื่องนี้ก็ยังแบ่งย่อย ได้อีกเป็น..
- การแนะนำให้ซื้อหุ้น โดยที่หุ้นที่แนะนำเป็นหุ้นที่ดีจริง มีตัวเลข ข้อมูลประกอบ ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเป็นสิ่งที่ดี คนที่ซื้อไว้ก็ได้รับประโยชน์ เพราะหุ้นที่สูงขึ้น คนซื้อก็ได้ซื้อหุ้นที่ดี แม้ในราคาที่อาจสูงกว่าคนแนะนำบ้าง
- การแนะนำให้ซื้อหุ้น โดยมีข้อมูลประกอบ แต่ข้อมูลที่นำมากล่าวอ้าง อาจจะผิด คลาดเคลื่อน จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ก็ไม่น่าจะเป็นสิ่งที่ผิด คงเป็นหน้าที่ของเพื่อนสมาชิกคนอืนๆ ที่จะโต้แย้ง โดยใช้ข้อมูลที่ถูกต้องมาอ้างอิง
( ซึ่งการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นนี้เป็นหัวใจของเวปบอร์ดหุ้นเลยครับ)
- การเชียร์ซื้อหุ้น (ที่ตัวเองถือ) จะโดยพยายามเสนอข้อมูลด้านเดียว
การใช้ข้อมูลที่บิดเบือน (เจ้าตัวรู้ความจริง แต่ไม่พูด) เหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง ทั้งทางด้านกฎหมาย ด้านจริยธรรม
ทั้งที่นักลงทุนส่วนใหญ่ก็ร่ำรวย มีการศึกษาที่ดี มีการงานที่ได้รับการนับหน้าถือตา แต่บางครั้งก็ยังพลาดไปทำเช่นนี้ อยากให้ระลึกไว้ว่าถึงจุดหนึ่งที่มีเงินเยอะแล้ว ความสุขที่เกิดจากเงินเหล่านี้ก็หมดความหมายครับ เป็นแค่ตัวเลขทางบัญชีเท่านั้น แม้แต่ข้าวก็ยังกิน 3 มื้อ เหมือนเดิม มีแต่ต้องการสุขทางใจเท่านั้นครับ และจะสุขได้อย่างไรครับ หากเงินที่ได้มาเพราะการกระทำเหล่านี้ เหมือนที่พระท่านว่าไว้ สุขทุกข์นั่นอยู่ที่ใจ นั่นละครับ :lol:
เป็นที่น่าดีใจ ที่มักจะเกิดเฉพาะเหตุการณ์ข้อ 1 และ 2 เท่านั้นที่ TVI แห่งนี้
คงเป็นเพราะการร่วมแรงร่วมใจของสมาชิกที่นี่ และผู้บริหารชุดนี้ ทำให้ TVI เป็นที่พึ่งสุดท้ายของนักลงทุนหลายๆท่าน
การปล่อยให้มีการใบ้หุุ้น การเชียร์หุ้นบางตัว อย่างไม่ตะบันยั้ง การนำเสนอเฉพาะกระทู้ที่สนับสนุนประโยชน์ของตน
การลบหรือลดความน่าเชื่อถือของกระทู้ที่ขัดผลประโยชน์
รังแต่จะทำให้เกิดความแตกแยก ของเหล่าสมาชิก
เกิดความเสื่อม ของเวปบอร์ดเหล่านั้น
ดังที่เราได้เห็นกันอยู่
หากข้อมูลที่นำเสนอ มีประโยชน์บ้างต่อนักลงทุนบางท่าน ก็คงเป็นผลของพยายามอ่านพยายามเข้าใจของท่านเองครับ
หากเป็นเช่นนั้น ผมก็คงมีความสุขไปด้วยครับ (แม้เพียงจะเริ่มให้)
เป็น สุุข ที่เกิดจากการ ให้
แม้คนส่วนใหญ่จะ สุข เมื่อได้ รับ
และน่ายินดีอีกครั้ง ที่ TVI แห่งนี้ มีผู้รู้ และผู้อาวุโส พี่ครรชิต ลุงขวด พี่ปรัชญา พี่เจ๋ง คุณมน คุณวิบูลย์ พี่ CK พี่ฉัตรชัย คุณ ayethebing พี่Thanwa แม้กระทั่ง คุณ Invisible Hand คุณ No Name และน้องๆ อีกหลายท่าน
ที่ได้ให้มาตลอด จะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว และผมก็มั่นใจว่าท่านเหล่านี้ได้รับ สุข ที่เกิดจากการให้เช่นกันครับ
ขอตอบเป็นกระทู้สุดท้ายนะครับ เพราะข้อมูลคงจะครบถ้วนแล้วครับ
จะได้โผล่ ขึ้นไปบนดินเสียที :lol: :lol: :lol:
หุ้นตัวนี้ ผมเคยซื้อที่ 22- 60 บาท(ก่อนแตกพาร์) และขายออกไปที่ 10 กว่าบาท (หลังแตกพาร์) เหตุผลในการขาย ก็มาจากการดูงบดอลลาร์ ซึ่งรายงานผลกำไรน้อยกว่างบเงินบาทมาก อีกเหตุผลหนึ่ง ก็คือ หุ้นตัวนี้เป็นหุ้นCYCLICAL ซึงในช่วง PEAK เราไม่ควรจะให้ค่า P/E ที่สูงเกินไป เพราะกำไรที่เกิดขึ้นในช่วง PEAK ไม่ใช่กำไรในลักษณะที่ยั่งยืน หุ้นCYCLICAL จะมี P/E สูง ๆ ได้ ก็ในช่วงแถว ๆ จุดต่ำสุดของ CYCLE และกำลังจะ TURNAROUND WARREN BUFFETT บอกอยู่ตลอดครับว่า ให้ซื้อสิ่งที่เรามีความเข้าใจเป็นอย่างดี ซึ่งหุ้นหลายตัวที่เราเข้าใจ ณ ระดับราคาหนึ่ง พอราคาขึ้นสูงไปมากๆ เราอาจจะไม่เข้าใจมันแล้วก็ได้
อายุเรืออาจจะใช้ได้ถึง 32/35 ปีครับ แล้วแต่การดูแลรักษาของเจ้าของเรือ ปัจจุบันตลาดเรือดีมาก เจ้าของเรือจะดูแลเรือยิ่งกว่าดูแลลูกเมียเสียอีก เพียงแต่ว่าเมื่อเกิน 25 ปีแล้ว ค่าเบี้ยประกันภัยก็จะแพงขึ้น ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบรับรองเรือก็จะแพงขึ้นchatchai เขียน:ไม่ทราบว่ามีใครร้อายการใช้งานของเรือแต่ละลำของบริษัทไหมครับ ว่าแต่ละลำใช้งานได้อีกกี่ปี ซึ่งการซื้อเรือเพื่อทดแทนลำเดิมนั้น ผมคิดว่าจะเป็นประเด็นที่จะทำให้บริษัทมีรายจ่ายในแง่กระแสเงินสดออกจากบริษัทเป็นจำนวนพอสมควร ในขณะที่ไม่เพิ่มรายได้ด้วยเนื่องจากเป็นการทดแทนลำเดิมนะครับ ถ้าร้จะได้ทำการประมาณการงบกระแสเงินสดและหา FCF ของบริษัทได้ครับ
เวลานี้ ยังไม่ได้ข่าวว่า TTA/PSL จะซื้อเรือมาทดแทนเรือลำเดินเลยครับ ซื้อเพิ่มครับ และช่วงนี้ ปลดระวางยากครับ เพราะรายได้ดี
เรือเก่าที่มีอยู่นั้น มี Hidden Asset อยู่มากเพราะในบัญชี จะบันทึกไว้ต่ำมาก เรือ 1 ลำ เมื่อ 4 ปีก่อนซื้อมา 3 ล้านเหรียญ ตอนนี้ค่าเช่าเรือวันละ
อาจจะประมาณ 4500 เหรียญ แต่วันนี้ ค่าเช่าเพิ่มเป็น 12000-14000 เหรียญ โดยที่ค่าใช้จ่ายยังเท่าเดิม หรือ มากกว่าเดิมเล็กน้อย หรืออาจจะน้อยกว่าเดิมก็ได้ เพราะว่ามีเรือมากขึ้น แต่ใช้พนักงานใน office เพิ่มขึ้นไม่มากเท่าไร โดยเฉพาะฝ่ายบริหาร และฝ่ายการตลาด อาจจะไม่เพิ่มเลยก็ได้ ดังนั้น overhead cost ก็น่าจะต่ำลง อันนี้เห็นชัด ๆ ว่ากระแสเงินรับมากขึ้น ส่วนค่าใช้จ่ายในตัว depreciation นั้น มีแต่ตัวเลขทางบัญชี เงินสดไม่ออกไปเลย แถมราคาเรือเก่าเพิ่มอีก
การซื้อเรือใหม่ ส่วนใหญ่จะใช้เงินสด 10-20 เปอร์เซนต์ของราคาเรือ ที่เหลือก็ใช้เงินกู้
บริษัทเรือจะซื้อเรือเพิ่มก็เพราะมั่นใจว่าจะสามารถสร้างรายได้เพิ่มซิครับ
ถ้าซื้อเรือใหม่ทดแทนเรือเก่า เรือเก่าที่ปลดระวางก็ขายได้ครับ และวันนี้ราคาดีเสียด้วย และเวลาขาย ก็ขายเงินสด
ดังนั้น พิจารณาดี ๆ ในเรื่องกระแสเงินสดนะครับ โดยเฉพาะช่วงหลัง PSL ปล่อยเช่าเรือระยะยาว 12 เดือน ถ้าจำตัวเลขไม่ผิด ค่าเช่าที่ได้ใน 12 เดือน เกือบครึ่งของราคาเรือที่ซื้อมาแล้ว
ในลิ้งค์ ที่คุณ HOT โพสท์มาของ PSL นั้น จะเห็นได้ว่าเขาปล่อยเช่าช่วงสั้น ๆ ไป 14 ลำ และปล่อยระยะยาว (เข้าใจว่า 12 เดือน) ไป 10 ลำ อันนี้จะทำให้มีรายได้เป็นกอบเป็นกำครับ
ดร นิเวศน์แกก็ลงทุนในช่วงที่ธุรกิจของแกเป็น จุดต่ำสุดของcycle เหมือนกันครับ SSC ในอนาคตหากทำน้ำอัดลมอย่างเดียวก็คงมีแต่กำไรลดลง Stanley เมื่อ 4 ปีก่อนเป็นไงครับ อยู่ในช่วงถดถอยเหมือนกัน แล้วลองดูสิครับ อนาคต บริษัท ขาย มาม่า จะมีอัตราการเติบโตได้ยังไง ในเมื่อขายแพงก็ไม่ได้ แต่ค่าแรงเพิ่มทุกปีๆๆๆ หลักทีสำคัญคือ ซื้อหุ้นได้ แต่อย่ารักหุ้นครับ ใครที่บอกว่าลงทุนระยะยาวจะได้ผลตอบแทนดี ส่วนใหญ่จะมาโชว์ผลงานตอนที่หุ้นตัวนั้นกำลังให้ผลตอบแทนที่ดี ตอนที่ผลตอบแทนมันต่ำนักลงทุนเหล่าก็เงียบไม่มีใครออกมาโอ้อวดผลงานเลย หากคิดจะซื้อรับปันผลก็หมายถึงพอใจดอกเบี้ยที่บริษัท เค้าจ่ายคืนเรา อันนั้นอีกเรื่องหนึ่ง ลงทุนสั้นกับยาว นั้น จังหวะการซื้อสำคัญที่สุดครับ ลองดูPSL สิ ใครซื้อเมื่อปี 44 ที่ 1 บาทกว่าถือมาถึงวันรี้แล้วยังไม่ขาย กำไร 43.75 บาท แต่ใครซื้อปี 45 ที่ 2 บาทกว่าๆๆ ขายตอน 50 กำไร 48.5 บาท แล้วซื้อตอนมันลงไป 33 บาท กำไรเพิ่ม อีก 11 บาท ถือหุ้นสั้นกว่าเท่าตัว
นี่คือความจริง ขึ้นอยู่กับใครจะเอาความจริงช่วงไหนมาเอ่ยอ้าง
นี่คือความจริง ขึ้นอยู่กับใครจะเอาความจริงช่วงไหนมาเอ่ยอ้าง
คุณ Jeng ครับ ผมเคยคุยกับ ดร. นิเวศน์ ครับ ท่านบอกผมว่า ท่านไม่มีความรู้เรื่องเรือ และ คงจะไม่ลงทุนครับ
เห็นด้วยครับ ว่าบางครั้งหุ้นบางตัว ลงทุนได้ถูกจังหวะ ก็ให้ผลตอบแทนมากมาย ไม่ว่าระยะสั้น หรือ ระยะยาว
ผมเองซื้อ PSL ตอน 46 พาร์ 10 ขายทิ้งไป 1 รอบที่ 62 และซื้อกลับอย่างบ้าคลั่งที่ราคาเฉลี่ย 10 กว่าบาท พาร์ 1 แต่ขายทิ้งก่อนปีใหม่ที่ 31/33 บาท เพื่อลดความเสี่ยงช่วงหยุดยาว ทั้ง ๆ ที่ผมเองก็มีประสบการณ์ในวงการขนส่งทางเรือ แต่ก็ไม่ได้เข้าลงทุนตอน 1 บาทกว่า ๆ และขายทิ้งแม้จะรู้ว่า หุ้นตัวนี้มีโอกาสกำไรอีกมาก แต่ก็ต้องขายเพราะตั้งกฎให้กับตัวเองว่า ถ้าไม่ชัวร์ ให้ทำกำไร หรือตัดขาดทุน ผมขายช่วงก่อนปีใหม่ตัว PSL/RCL แต่ก็ยังเก็บ TTA ไว้ ก็เพื่อลดความเสี่ยง คาดไม่ถึงว่าหลังปีใหม่ ทั้งสองตัวกลับขึ้นแรง แต่ผมก็ซื้อ TTA เพิ่ม และซื้อ PSL กลับมาใหม่ ต้นทุนเฉลี่ยวันนี้ 42 กว่า ๆ ครับ
ทุกครั้ง ที่มาซื้อตอนแพง ก็เพราะได้เห็นแล้วว่า ในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ นั้นบริษัทน่าจะทำกำไรให้ได้คุ้มกับที่ได้ลงทุน
ผมมีเพื่อน 2/3 คน ที่ซื้อ TTA ตอนบาทกว่า ๆ ทั้ง ๆ ที่ไม่มีความรู้เรื่องเรือเลย แต่ซื้อเพราะดูงบดุลแล้วพบว่ามันถูกมาก และ เห็นกระแสเงินสดมาก ก็เลยซื้อ เขาเองก็ไม่เคยคาดว่าจะทำกำไรได้ถึง 40 กว่าบาทต่อหุ้น มีอยู่คนหนึ่งเป็นฝรั่ง มีเป็นล้านหุ้น ขายบางส่วนที่ 21บาท แต่พอได้อ่านข้อมูลต่าง ๆ ที่ผมให้ไป วันนี้ก็ยังถืออยู่หลายแสนหุ้น
การลงทุนนั้น ไม่มีใครจะมั่นใจได้จริง ๆ จะรู้ก็ตอนผลออกมาแล้ว เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า ทำไมยังมีกองทุนทั้งในและนอก เพิ่งจะเข้าซื้อหุ้น TTA/PSL หรืออื่น ๆ ตอนที่ขึ้นมามาก ในขณะที่เวลาเดียวกัน ก็มีกองทุนขายหุ้นตัวเดียวกันออกมา ผมว่าขึ้นอยู่กับความพอใจ และ มั่นใจ ณ เวลานั้น ๆ
เห็นด้วยครับ ว่าบางครั้งหุ้นบางตัว ลงทุนได้ถูกจังหวะ ก็ให้ผลตอบแทนมากมาย ไม่ว่าระยะสั้น หรือ ระยะยาว
ผมเองซื้อ PSL ตอน 46 พาร์ 10 ขายทิ้งไป 1 รอบที่ 62 และซื้อกลับอย่างบ้าคลั่งที่ราคาเฉลี่ย 10 กว่าบาท พาร์ 1 แต่ขายทิ้งก่อนปีใหม่ที่ 31/33 บาท เพื่อลดความเสี่ยงช่วงหยุดยาว ทั้ง ๆ ที่ผมเองก็มีประสบการณ์ในวงการขนส่งทางเรือ แต่ก็ไม่ได้เข้าลงทุนตอน 1 บาทกว่า ๆ และขายทิ้งแม้จะรู้ว่า หุ้นตัวนี้มีโอกาสกำไรอีกมาก แต่ก็ต้องขายเพราะตั้งกฎให้กับตัวเองว่า ถ้าไม่ชัวร์ ให้ทำกำไร หรือตัดขาดทุน ผมขายช่วงก่อนปีใหม่ตัว PSL/RCL แต่ก็ยังเก็บ TTA ไว้ ก็เพื่อลดความเสี่ยง คาดไม่ถึงว่าหลังปีใหม่ ทั้งสองตัวกลับขึ้นแรง แต่ผมก็ซื้อ TTA เพิ่ม และซื้อ PSL กลับมาใหม่ ต้นทุนเฉลี่ยวันนี้ 42 กว่า ๆ ครับ
ทุกครั้ง ที่มาซื้อตอนแพง ก็เพราะได้เห็นแล้วว่า ในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ นั้นบริษัทน่าจะทำกำไรให้ได้คุ้มกับที่ได้ลงทุน
ผมมีเพื่อน 2/3 คน ที่ซื้อ TTA ตอนบาทกว่า ๆ ทั้ง ๆ ที่ไม่มีความรู้เรื่องเรือเลย แต่ซื้อเพราะดูงบดุลแล้วพบว่ามันถูกมาก และ เห็นกระแสเงินสดมาก ก็เลยซื้อ เขาเองก็ไม่เคยคาดว่าจะทำกำไรได้ถึง 40 กว่าบาทต่อหุ้น มีอยู่คนหนึ่งเป็นฝรั่ง มีเป็นล้านหุ้น ขายบางส่วนที่ 21บาท แต่พอได้อ่านข้อมูลต่าง ๆ ที่ผมให้ไป วันนี้ก็ยังถืออยู่หลายแสนหุ้น
การลงทุนนั้น ไม่มีใครจะมั่นใจได้จริง ๆ จะรู้ก็ตอนผลออกมาแล้ว เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า ทำไมยังมีกองทุนทั้งในและนอก เพิ่งจะเข้าซื้อหุ้น TTA/PSL หรืออื่น ๆ ตอนที่ขึ้นมามาก ในขณะที่เวลาเดียวกัน ก็มีกองทุนขายหุ้นตัวเดียวกันออกมา ผมว่าขึ้นอยู่กับความพอใจ และ มั่นใจ ณ เวลานั้น ๆ
ขอบคุณครับ เป็นกระทู้ที่น่าอ่านจริงๆ ครับ โดยเฉพาะคนที่ถือ psl
ผมเคยซื้อ rcl ตอน 65 บาทก่อนแตกพาร์ เคยงง ๆ กับเรื่องงบเหมือนกัน เลยรีบขายเอาทุนออกมาแล้วที่ 12.50 บาท
เรื่อง งบดอลล่าร์ นี้ ผมงงว่า
1. ถ้าจริงๆ แล้วมันเป็นประโยชน์ต่อ psl มากขนาดนี้ น่าจะแสดงให้เห็นตอนลอยตัวค่าเงินบาท สมัยที่ 1 us = 50 บาท แล้วสิครับ ทำไมมันถึงมาออกอาการตอนค่าระวางเรือที่สูงขึ้นละครับ
2. แล้วถ้าค่าเงินไม่ลอยตัว แต่ค่าระวางเรือสูงขึ้น ราคา psl จะเป็นอย่างไร
3. ถ้าเงินบาท เป็น 1 us = 100 บาท แล้วค่าระวางเรือไม่สูงขึ้น psl จะกำไรทางบัญชีเงินบาทมากขึ้นรึเปล่า แล้วราคา psl จะเป็นอย่างไร
สรุปว่า คิดไป คิดมา เอาง่าย ๆ แบบเถ้าแก่ดีกว่า มีเงินเข้าเยอะกว่าเงินออกมากๆ ก็ถือว่าดีละกัน คืนทุนไวๆ ถือว่า เจ๋ง
แต่ผมสงสัยเรื่อง การปันผล ดูที่งบบาท หรือ งบดอลล่าร์ครับ
ผมเคยซื้อ rcl ตอน 65 บาทก่อนแตกพาร์ เคยงง ๆ กับเรื่องงบเหมือนกัน เลยรีบขายเอาทุนออกมาแล้วที่ 12.50 บาท
เรื่อง งบดอลล่าร์ นี้ ผมงงว่า
1. ถ้าจริงๆ แล้วมันเป็นประโยชน์ต่อ psl มากขนาดนี้ น่าจะแสดงให้เห็นตอนลอยตัวค่าเงินบาท สมัยที่ 1 us = 50 บาท แล้วสิครับ ทำไมมันถึงมาออกอาการตอนค่าระวางเรือที่สูงขึ้นละครับ
2. แล้วถ้าค่าเงินไม่ลอยตัว แต่ค่าระวางเรือสูงขึ้น ราคา psl จะเป็นอย่างไร
3. ถ้าเงินบาท เป็น 1 us = 100 บาท แล้วค่าระวางเรือไม่สูงขึ้น psl จะกำไรทางบัญชีเงินบาทมากขึ้นรึเปล่า แล้วราคา psl จะเป็นอย่างไร
สรุปว่า คิดไป คิดมา เอาง่าย ๆ แบบเถ้าแก่ดีกว่า มีเงินเข้าเยอะกว่าเงินออกมากๆ ก็ถือว่าดีละกัน คืนทุนไวๆ ถือว่า เจ๋ง
แต่ผมสงสัยเรื่อง การปันผล ดูที่งบบาท หรือ งบดอลล่าร์ครับ
รายงานการซื้อขายเรือที่ได้รับวันนี้ครับ
MV 'Handy Dragon', 21341 DWT, built 1983, Japan B&W 8100
Gears 3x 25 t Cranes, 1 x 25 t Derricks
MV 'Handy Silver', 25404, built 1983, Japan Sulzer 9450, Gears 4 x 25 t Cranes
MV 'Federal Bergen', 29159 DWT, built 1984, Japan, B&W 9500,
Gears 5 x 25 t Cranes
MV 'Sulu Warrior', 33024 DWT, built 1985, Japan Mitsubishii 7730,
Gears 4 x 25 t Cranes, TEU 140
MV 'Handy Success', 34072 DWT, built 1982, japan Mitsubishi 10800, 4 x 25 t Cranes, TEU 136
Sold en-bloc to Precious Shipping Ltd., Thailand, at undisclosed price
+++++
Sold for Demolition:
MV 'Baki I', 13742 DWT, built 1971, sold to India US$304/LDT
MV 'Svyatoy Georgiy', 29202 DWT, built 1971, 6606 LDT at $291/LDT, sold to India
MV 'USF 1', bulkcarrier, 72774 DWT, built 1965, LDT 16,725,
Lumpsum US$3.8 as is Cameroon basis
MV 'Handy Dragon', 21341 DWT, built 1983, Japan B&W 8100
Gears 3x 25 t Cranes, 1 x 25 t Derricks
MV 'Handy Silver', 25404, built 1983, Japan Sulzer 9450, Gears 4 x 25 t Cranes
MV 'Federal Bergen', 29159 DWT, built 1984, Japan, B&W 9500,
Gears 5 x 25 t Cranes
MV 'Sulu Warrior', 33024 DWT, built 1985, Japan Mitsubishii 7730,
Gears 4 x 25 t Cranes, TEU 140
MV 'Handy Success', 34072 DWT, built 1982, japan Mitsubishi 10800, 4 x 25 t Cranes, TEU 136
Sold en-bloc to Precious Shipping Ltd., Thailand, at undisclosed price
+++++
Sold for Demolition:
MV 'Baki I', 13742 DWT, built 1971, sold to India US$304/LDT
MV 'Svyatoy Georgiy', 29202 DWT, built 1971, 6606 LDT at $291/LDT, sold to India
MV 'USF 1', bulkcarrier, 72774 DWT, built 1965, LDT 16,725,
Lumpsum US$3.8 as is Cameroon basis
Rising freight rates to boost PSLs profit (Exclusive)
THOSATHORN KRUTHANAWAT staff writer
04-aug-04
PRECIOUS Shipping Plc (PSL), one of the worlds largest handy-sized ship operators, said that it expects its outlook for the second half of this year to be better than the first half in line with the rising freight rate.
PSLs managing director Khalid Hashim, pictured right, told Business Day that the outlook for the second half should improve underpinned by the surge in freight rates and the strong demand for shipping.
The freight rate in the second quarter should be better or at least the same when compared to the first quarter, while we expect that the whole year freight rate should be about US$13,000-$14,000 per day per ship, he added.
He said the demand for shipping is looking good, while the operating costs per ship, which were $2,869 per day in the first quarter, are expected to average $2,700 per day for the whole year.
Khalid recently said its 2004 profit may rise to a record level, more than its combined net income since it started operations 13 years ago, because of higher cargo rates.
Bangkok-based PSL had a combined net income of 1.94 billion baht from 1991 to the first quarter of this year ended March. The company has 50 ships in operation at present.
In the first quarter, the company reported a 626.4 million baht net profit, which increased 22 percent from the fourth quarter of last year and 238 percent from a year ago.
Sukhbir Khanijoh, an analyst at Trinity Securities said PSLs earnings in the second quarter is expected to grow to 850 million baht compared to 626 million baht in the first quarter as its fleet increased from 33 ships to 49 ships during the quarter.
He said the companys net profit is expected to rise to 1.2 billion baht in the third quarter when all 15 ships will contribute to the firms revenue along with two new deliveries.
The company had taken delivery of 15 more ships from Malaysia International Shipping Corporation (MISC) in mid-May. The company projects it would be operating 51 ships in the third quarter.
The broker said renewed demand from China is expected to boost PSLs earnings in the second half of this year despite a slow down in the freight market in the second quarter after the Chinese government announced its intention to slow down its overheating economy.
He said the recent uptrend in Baltic Dry Index should boost PSLs future earnings given that PSL locks in long-term contracts.
Natanee Savirasarid, an analyst at Capital Nomura Securities Plc (CNS) said the freight rate of PSL should be about $12,800 per day per ship in the second quarter compared with $12,526 in the first quarter, generating 678 million baht net profit in the second quarter of this year, a 141 percent increase from the same period last year.
THOSATHORN KRUTHANAWAT staff writer
04-aug-04
PRECIOUS Shipping Plc (PSL), one of the worlds largest handy-sized ship operators, said that it expects its outlook for the second half of this year to be better than the first half in line with the rising freight rate.
PSLs managing director Khalid Hashim, pictured right, told Business Day that the outlook for the second half should improve underpinned by the surge in freight rates and the strong demand for shipping.
The freight rate in the second quarter should be better or at least the same when compared to the first quarter, while we expect that the whole year freight rate should be about US$13,000-$14,000 per day per ship, he added.
He said the demand for shipping is looking good, while the operating costs per ship, which were $2,869 per day in the first quarter, are expected to average $2,700 per day for the whole year.
Khalid recently said its 2004 profit may rise to a record level, more than its combined net income since it started operations 13 years ago, because of higher cargo rates.
Bangkok-based PSL had a combined net income of 1.94 billion baht from 1991 to the first quarter of this year ended March. The company has 50 ships in operation at present.
In the first quarter, the company reported a 626.4 million baht net profit, which increased 22 percent from the fourth quarter of last year and 238 percent from a year ago.
Sukhbir Khanijoh, an analyst at Trinity Securities said PSLs earnings in the second quarter is expected to grow to 850 million baht compared to 626 million baht in the first quarter as its fleet increased from 33 ships to 49 ships during the quarter.
He said the companys net profit is expected to rise to 1.2 billion baht in the third quarter when all 15 ships will contribute to the firms revenue along with two new deliveries.
The company had taken delivery of 15 more ships from Malaysia International Shipping Corporation (MISC) in mid-May. The company projects it would be operating 51 ships in the third quarter.
The broker said renewed demand from China is expected to boost PSLs earnings in the second half of this year despite a slow down in the freight market in the second quarter after the Chinese government announced its intention to slow down its overheating economy.
He said the recent uptrend in Baltic Dry Index should boost PSLs future earnings given that PSL locks in long-term contracts.
Natanee Savirasarid, an analyst at Capital Nomura Securities Plc (CNS) said the freight rate of PSL should be about $12,800 per day per ship in the second quarter compared with $12,526 in the first quarter, generating 678 million baht net profit in the second quarter of this year, a 141 percent increase from the same period last year.
http://finance.yahoo.com/q?d=t&s=EXM
เรือลำนี้ใช้น้ำมันยี่ห้ออะไรกันนี่ วิ่งเร็วดีจริงๆ จากต้นเดือน 8/47 ราคาประมาณ 12 USD ปัจจุบันวันที่ 10/9/47 ราคา 38.87 USD ขึ้นมา 3 เท่าตัว P/E 19.91
ส่วนเรือเราวิ่งเขย่าน่าดู
เรือลำนี้ใช้น้ำมันยี่ห้ออะไรกันนี่ วิ่งเร็วดีจริงๆ จากต้นเดือน 8/47 ราคาประมาณ 12 USD ปัจจุบันวันที่ 10/9/47 ราคา 38.87 USD ขึ้นมา 3 เท่าตัว P/E 19.91
ส่วนเรือเราวิ่งเขย่าน่าดู