มาดูตัวเลขต่างๆ ในงบการเงินของ ASTL แล้วมาโวยกันต่อครับ
โค้ด: เลือกทั้งหมด
ASTL เคยทำ tender offer ครั้งหนึ่งแล้วในปี 2541 ที่ราคา 210 บาท แต่เนื่องจากก่อนหน้านั้นราคาหุ้นได้ลดลงมาจาก 400-500 บาท จึงทำให้ผู้ถือหุ้นช่วงนั้นมีต้นทุนที่สูงกว่า tender offer ค่อนข้างมาก และประกอบกับมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่อย่าง Templeton fund ( ที่ Mark Mobius บริหาร ) จึงทำให้ tender offer นั้นตกไป แต่อย่างไร ครั้งนั้นก็มีผู้ถือหุ้นรายย่อยขายออกมาจำนวนไม่น้อยจึงเป็นผลให้ บ. แม่สามารถเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นเป็น 83% จาก 60 กว่า % ครับ
แต่ครั้งนี้ปัจจัยหลายอย่างก็ไม่เหมือนเดิมเท่าไหร่ครับ เพราะราคาที่ tender นั้นแม้ว่าจะต่ำกว่าที่ควรจะเป็น แต่ก็สูงกว่าต้นทุนของนักลงทุนส่วนใหญ่ 1-2 ปีย้อนหลัง และไม่มีกองทุนใหญ่ถือหุ้นแล้ว รวมทั้งจำนวนที่ บ. แม่ถืออยู่ตอนนี้ก็เยอะกว่าเที่ยวก่อนมาก การ vote คัดค้านจึงทำได้ค่อนข้างยากกว่าเที่ยวก่อนมากครับ
เข้าใจที่คุณ CK บอกครับ แต่จริงๆก็ไม่มีใครทำได้หรอกครับ
"ความเสี่ยงเรื่องของการถือหุ้นออกนอกตลาดใครๆก็รู้"
การสื่อแบบคุณ CK มัน นามธรรม เกินไป
แม้ว่ารายย่อยจะเป็นผู้ถือหุ้นส่วนน้อยที่ไม่มีอิทธิพลในกิจการมากมาย แต่เค้าก็มีจิตใจมีความรู้สึกครับ
บริษัทที่เข้ามาระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ก็ควรมีธรรมาภิบาลกับรายย่อยด้วยครับ
ไม่ใช่ทำอะไรก็ไม่เห็นหัวรายย่อย ถึงมันจะเป็นเรื่องของธุรกิจที่หวังผลกำไร
แต่ก็ควรคิดด้วยว่าการเปิดกิจการแล้วๆ เปิดโอกาสให้เค้ามอบความไว้วางใจาเข้ามาซื้อขายหุ้นเข้ามาลงทุนในกิจการตัวเองในตลาดทุนได้โดยเสรีแล้ว
ก็ควรปฎิบัติกับเค้าด้วย เมตตาธรรม และจรรยาบรรญทางธุรกิจด้วยครับ
จำไม่ได้เหมือนกันว่าบทความนี้เป็นของใคร และเอามาจากไหน แต่เห็นว่าเป็นประโยชน์ครับ
Cooperate Governance " ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน"
ในปัจจุบันนี้ มีปัจจัยหนึ่งที่นักลงทุนจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะนักลงทุนประเภทสถาบันจะพิจารณาในการตัดสินใจ เพื่อลงทุนในหุ้นตัวหนึ่งๆ คือ Good corporate governance หรือบรรษัทภิบาลที่ดีนั่นเอง
หลายคนอาจจะสงสัยว่าบรรษัทภิบาลที่ดีคืออะไร ถ้าอธิบายให้เข้าใจโดยง่ายก็คือ การที่บริษัททำดี ไม่เอารัดเอาเปรียบ กับทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับบริษัท ได้แก่ ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย supplier ลูกค้า เจ้าหนี้ คนงาน ลูกจ้าง สิ่งแวดล้อมและสังคม หรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Stakeholders เป็นต้น
หลายคนอาจจะรู้สึกว่าเรื่องบรรษัทภิบาลเป็นเรื่องไกลตัว และไม่น่าจะมีผลต่อการตัดสินใจในการลงทุน เพราะอาจจะคิดว่า หุ้นตัวไหนดี และน่าสนใจในการลงทุน น่าจะดูเพียงแค่ผลประกอบการ หรือดูความสามารถของผู้บริหารก็น่าจะเพียงพอแล้ว
การพิจารณาปัจจัยเรื่องธรรมาภิบาลที่ดี จะเป็นการประเมินผู้บริหารนอกเหนือจากความสามารถในการบริหาร แต่เป็นการประเมินในแง่คุณธรรมและจริยธรรมด้วย หากผู้บริหารบริษัทใดมีความสามารถ แต่ขาดจริยธรรมแล้วนั้น ในช่วงที่เศรษฐกิจดี บริษัทมีกำไรที่ดี ราคาหุ้นอาจจะขึ้น แต่ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยอาจจะได้รับประโยชน์ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย เพราะอาจจะมีการถ่ายเทกำไรให้กับตนและพวกพ้อง แต่ในภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำนั้น ผู้บริหารเหล่านี้มักจะทิ้งบริษัทเอาตัวรอด และปล่อยให้ผู้ถือหุ้นต้องรับความเสียหายกันไป
การพิจารณาว่าบริษัทที่เราสนใจเข้าลงทุนนั้นมีการปฏิบัติที่ดี และเป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเพียงใดนั้นมีปัจจัยให้พิจารณามากมาย เช่น ผู้บริหารและผู้ถือหุ้นรายใหญ่จะต้องไม่มีการกระทำใดๆ ที่เป็นการเบียดบังผลประโยชน์ของบริษัท เช่นไม่ควรจัดตั้งบริษัทส่วนตัวเพื่อรับงานจากบริษัท ขายสินค้าให้กับบริษัทในราคาแพงกว่าท้องตลาด หรือรับซื้อสินค้าจากบริษัทต่ำกว่าราคาท้องตลาด หรือให้บริษัทปล่อยกู้หรือค้ำประกันเงินกู้ให้กับบริษัทส่วนตัวของผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นใหญ่ ไม่ควรมีการกระทำใดๆ ที่เป็นการใช้ข้อมูลภายในของบริษัท เช่น ยอดขายหรือกำไร การประกาศจ่ายเงินปันผลที่สูงหรือต่ำกว่าปกติ การออกหุ้นเพิ่มทุนหรือวอแรนท์ เพื่อใช้ในการซื้อขายทำกำไรหุ้นของบริษัท หรือที่เรียกว่า Inside trading
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยปลีกย่อยอีกจำนวนมากที่แสดงถึงการปฏิบัติที่เท่าเทียมและเป็นธรรมแก่ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย เช่นบริษัทควรจะให้ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยมีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลของบริษัทเท่าเทียมกันและในเวลาเดียวกัน บางครั้ง นักลงทุนอาจจะรู้สึกว่า บริษัทเต็มใจที่จะให้ข้อมูลกับนักลงทุนสถาบันหรือนักลงทุนรายใหญ่มากกว่านักลงทุนรายย่อยอย่างพวกเรา อันนี้ก็ถือว่าขัดต่อหลักบรรษัทภิบาลที่ดีเช่นกันครับ ในปัจจุบัน หลายบริษัทได้หาทางออกด้วยการสร้าง website เพื่อให้ข้อมูลและข่าวสารแก่นักลงทุน หลาย website มีข้อมูลของบริษัทที่ใช้ในการประกอบการตัดสินใจค่อนข้างดีที่เดียว เช่นงบการเงินย้อนหลัง รายงานประจำปี ภาพรวมธุรกิจ หลายบริษัทมีการจัดตั้งฝ่ายลงทุนสัมพันธ์ หรือ IR ( Investor relation ) เพื่อตอบคำถามแก่นักลงทุนโดยเฉพาะ เพื่อที่จะให้ผู้บริหารไม่ต้องมานั่งตอบคำถามนักลงทุนซึ่งอาจจะทำให้ไม่มีเวลาไปบริหารกิจการ
ในส่วนการปฏิบัติที่ดีต่อลูกค้า คู่ค้า และเจ้าหนี้นั้นอาจจะขอจัดให้อยู่ในจำพวกเดียวกัน หลายคนอาจจะเห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่น่าสนใจ และไม่น่าจะมีผลต่อการตัดสินใจในการลงทุนเลย แต่ผมคิดว่ามีผลพอสมควรครับ หากบริษัทมีการเอาเปรียบลูกค้า เช่น อาจจะไม่ส่งมอบสินค้าที่มีคุณภาพหรือลักษณะตามสัญญา ในระยะยาวแล้วก็จะไม่มีใครอยากจะซื้อสินค้าจากบริษัทซึ่งส่งผลให้ยอดขายของบริษัทในอนาคตจะลดลง กำไรของบริษัทก็จะลดลง
ตัวอย่างของการรักษาผลประโยชน์ของผู้บริโภคจะเห็นได้ชัดในธุรกิจบ้านจัดสรร บริษัทที่ไม่เคยผิดสัญญาในการส่งมอบบ้านให้กับลูกค้าในช่วงวิกฤติสามารถรักษาความนิยมในตัวบริษัท และเมื่อธุรกิจเริ่มฟื้นตัว บริษัทเหล่านี้ก็สามารถเพิ่มยอดขาย และส่วนแบ่งตลาดโดยจะกินส่วนแบ่งตลาดจากบริษัทที่ผิดสัญญาลูกค้า ซึ่งได้ทยอยล้มหายตายจากกันไปหมดแล้ว สำหรับในแง่ของเจ้าหนี้และ supplier นั้น บริษัทที่เหนียวหนี้ หรือไม่ยอมชำระหนี้หรือประวิงเวลากับเจ้าหนี้หรือ supplier ท้ายที่สุดแล้วก็จะไม่มีใครอยากคบ ทำให้บริษัทระดมทุนได้ลำบากขึ้นซึ่งหมายถึงต้นทุนทางการเงินจะสูงขึ้นนั่นเอง หรือถ้าคิดง่ายๆ ก็คือ ขนาดลูกค้า เจ้าหนี้และ supplier ยังถูกเอาเปรียบ แล้วประสาอะไรกับผู้ถือหุ้นรายย่อยอย่างพวกเราจะไม่ถูกเอาเปรียบล่ะ
การปฏิบัติที่ดีต่อแรงงาน สิ่งแวดล้อมและสังคม ก็น่าจะอยู่ในกลุ่มเดียวกัน หลายบริษัทอาจจะมองข้ามความสำคัญในการปฏิบัติที่ดีต่อ 3 ปัจจัยเหล่านี้ และอาจจะคิดว่าการเอาเปรียบหรือถือประโยชน์จาก 3 ปัจจัยนี้ จะทำให้กำไรของบริษัทออกมาดีด้วยซ้ำไป เช่น บางบริษัทอาจจะกดค่าแรงงาน ให้สวัสดิการต่ำกว่าที่ควรจะเป็น อาจจะก่อสร้าง
อาคารหรือมีกระบวนการทำงานที่ไม่ถูกหลักความปลอดภัย มีการปล่อยน้ำเสียและมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม โดยไม่คิดที่จะเสียค่าใช้จ่ายในการบำบัด เป็นต้น ท้ายที่สุดแล้วบริษัทที่มีพฤติกรรมดังกล่าวนั้นมักจะจบลงด้วยความเสียหายของผู้ถือหุ้นอย่างพวกเรา เช่น บริษัทที่เอาเปรียบแรงงาน ก็จะทำให้ขวัญและกำลังใจในการทำงานตกต่ำ และส่งผลต่อประสิทธิภาพในการผลิต นานๆ เข้าก็จะมีการประท้วงของคนงาน อาจจะรุนแรงถึงขั้นปิดโรงงาน ทำให้บริษัทต้องหยุดการผลิตและไม่สามารถส่งมอบสินค้าได้ หรือบริษัทที่ปล่อยน้ำเสียลงสู่สิ่งแวดล้อม อาจจะมีกำไรที่ดีในช่วงแรกเพราะไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายด้านการบำบัด ท้ายสุดแล้วก็จะมีปัญหากับชาวบ้านอาจถึงขั้นมีการประท้วง และอาจจะถูกสั่งปิดโรงงานได้ ผมเชื่อว่านักลงทุนส่วนใหญ่คงจะไม่อยากจะถือหุ้นซึ่งหมายถึงการมีส่วนเป็นเจ้าของบริษัทที่เอาเปรียบแรงงาน สิ่งแวดล้อมหรือสังคม ใช่ไหมล่ะครับ หรือคิดง่ายๆ อีกเหมือนกันว่า ขนาดคนงานตัวเองยังไม่รัก แล้วจะรักผู้ถือหุ้นอย่างเราได้อย่างไร
อาจจะมีคำถามอยู่ว่า บริษัทที่มีบรรษัทภิบาลที่ดีจะนำมาสู่ผลประกอบการที่ดีและการให้ผลตอบแทนที่ดีแก่นักลงทุนหรือไม่ คำตอบคือผมคิดว่าไม่ทั้งหมด แต่ส่วนใหญ่น่าจะเป็นอย่างนั้นครับ ที่ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะบางบริษัทอาจจะอยู่ในอุตสาหกรรมที่อยู่ในช่วงตกต่ำ หรือเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรง และอาจจะทำให้ผลการดำเนินงานแย่ลงก็ได้ แต่ผมคิดว่า ในระยะยาว การลงทุนในหุ้นที่มีบรรษัทภิบาลที่ดีนั้น จะช่วยลดความเสียหายหากเศรษฐกิจและผลประกอบการที่ตกต่ำได้ในระดับหนึ่ง เพราะผมเชื่อว่า ในช่วงขาลง บริษัทจะยืนหยัดอยู่ได้จากการสนับสนุนของผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ supplier ลูกค้า และแรงงาน และในช่วงขาขึ้น บริษัทก็ไม่มีการถ่ายเทผลประโยชน์ และทำให้ผู้ถือหุ้นได้รับประโยชน์เต็มๆ
ในปัจจุบัน มีหุ้นจำนวนไม่น้อยที่มีบรรษัทภิบาลที่ดีนั้น ได้รับความนิยมจากนักลงทุนสถาบัน ทำให้ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนในบริษัทที่มีปัญหาเรื่องบรรษัทภิบาลนั้น มักจะไม่ได้รับความนิยมจากนักลงทุน และหลายบริษัทมีการซื้อขายกันที่ราคาต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐาน ที่ควรจะเป็นมากๆ เพราะนักลงทุนไม่เชื่อมั่นในตัวผู้บริหารนั่นเอง หลายบริษัทประสบกับผลขาดทุนอย่างต่อเนื่อง จนถึงขั้นถูกเพิกถอนจากการเป็นบริษัทจดทะเบียน และมีจำนวนไม่น้อยที่ผู้บริหารและกรรมการถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย สิ่งที่เกิดขึ้นนี้เข้าข่ายคำโบราณที่ว่า " ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน " นั่นเองครับ
บางครั้ง นักลงทุนอย่างพวกเราก็มีส่วนช่วยเสริมสร้างบรรษัทภิบาลให้กับบริษัทจดทะเบียนได้ไม่มากก็น้อยครับ เช่น การเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อเสนอแนะ ซักถาม โดยเฉพาะในประเด็นที่เห็นว่าบริษัทกำลังเอาเปรียบผู้ถือหุ้นรายย่อย หรือกำลังเอาเปรียบ stakeholders อื่นๆ หากบริษัทเห็นว่ามีนักลงทุนจำนวนมากคอยตรวจสอบดูแล ก็จะลดการกระทำที่ขัดต่อบรรษัทภิบาลที่ดีลงได้ ช่วยกันคนละไม้คนละมือ รวมกันก็เป็นพลังต่อรองได้พอสมควรครับ ไปประชุมผู้ถือหุ้นกันเถิดครับ ถือ 100 หุ้นก็เข้าประชุมได้แล้วครับ !
"ความเสี่ยงเรื่องของการถือหุ้นออกนอกตลาดใครๆก็รู้"
การสื่อแบบคุณ CK มัน นามธรรม เกินไป
แม้ว่ารายย่อยจะเป็นผู้ถือหุ้นส่วนน้อยที่ไม่มีอิทธิพลในกิจการมากมาย แต่เค้าก็มีจิตใจมีความรู้สึกครับ
บริษัทที่เข้ามาระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ก็ควรมีธรรมาภิบาลกับรายย่อยด้วยครับ
ไม่ใช่ทำอะไรก็ไม่เห็นหัวรายย่อย ถึงมันจะเป็นเรื่องของธุรกิจที่หวังผลกำไร
แต่ก็ควรคิดด้วยว่าการเปิดกิจการแล้วๆ เปิดโอกาสให้เค้ามอบความไว้วางใจาเข้ามาซื้อขายหุ้นเข้ามาลงทุนในกิจการตัวเองในตลาดทุนได้โดยเสรีแล้ว
ก็ควรปฎิบัติกับเค้าด้วย เมตตาธรรม และจรรยาบรรญทางธุรกิจด้วยครับ
จำไม่ได้เหมือนกันว่าบทความนี้เป็นของใคร และเอามาจากไหน แต่เห็นว่าเป็นประโยชน์ครับ
Cooperate Governance " ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน"
ในปัจจุบันนี้ มีปัจจัยหนึ่งที่นักลงทุนจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะนักลงทุนประเภทสถาบันจะพิจารณาในการตัดสินใจ เพื่อลงทุนในหุ้นตัวหนึ่งๆ คือ Good corporate governance หรือบรรษัทภิบาลที่ดีนั่นเอง
หลายคนอาจจะสงสัยว่าบรรษัทภิบาลที่ดีคืออะไร ถ้าอธิบายให้เข้าใจโดยง่ายก็คือ การที่บริษัททำดี ไม่เอารัดเอาเปรียบ กับทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับบริษัท ได้แก่ ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย supplier ลูกค้า เจ้าหนี้ คนงาน ลูกจ้าง สิ่งแวดล้อมและสังคม หรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Stakeholders เป็นต้น
หลายคนอาจจะรู้สึกว่าเรื่องบรรษัทภิบาลเป็นเรื่องไกลตัว และไม่น่าจะมีผลต่อการตัดสินใจในการลงทุน เพราะอาจจะคิดว่า หุ้นตัวไหนดี และน่าสนใจในการลงทุน น่าจะดูเพียงแค่ผลประกอบการ หรือดูความสามารถของผู้บริหารก็น่าจะเพียงพอแล้ว
การพิจารณาปัจจัยเรื่องธรรมาภิบาลที่ดี จะเป็นการประเมินผู้บริหารนอกเหนือจากความสามารถในการบริหาร แต่เป็นการประเมินในแง่คุณธรรมและจริยธรรมด้วย หากผู้บริหารบริษัทใดมีความสามารถ แต่ขาดจริยธรรมแล้วนั้น ในช่วงที่เศรษฐกิจดี บริษัทมีกำไรที่ดี ราคาหุ้นอาจจะขึ้น แต่ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยอาจจะได้รับประโยชน์ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย เพราะอาจจะมีการถ่ายเทกำไรให้กับตนและพวกพ้อง แต่ในภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำนั้น ผู้บริหารเหล่านี้มักจะทิ้งบริษัทเอาตัวรอด และปล่อยให้ผู้ถือหุ้นต้องรับความเสียหายกันไป
การพิจารณาว่าบริษัทที่เราสนใจเข้าลงทุนนั้นมีการปฏิบัติที่ดี และเป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเพียงใดนั้นมีปัจจัยให้พิจารณามากมาย เช่น ผู้บริหารและผู้ถือหุ้นรายใหญ่จะต้องไม่มีการกระทำใดๆ ที่เป็นการเบียดบังผลประโยชน์ของบริษัท เช่นไม่ควรจัดตั้งบริษัทส่วนตัวเพื่อรับงานจากบริษัท ขายสินค้าให้กับบริษัทในราคาแพงกว่าท้องตลาด หรือรับซื้อสินค้าจากบริษัทต่ำกว่าราคาท้องตลาด หรือให้บริษัทปล่อยกู้หรือค้ำประกันเงินกู้ให้กับบริษัทส่วนตัวของผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นใหญ่ ไม่ควรมีการกระทำใดๆ ที่เป็นการใช้ข้อมูลภายในของบริษัท เช่น ยอดขายหรือกำไร การประกาศจ่ายเงินปันผลที่สูงหรือต่ำกว่าปกติ การออกหุ้นเพิ่มทุนหรือวอแรนท์ เพื่อใช้ในการซื้อขายทำกำไรหุ้นของบริษัท หรือที่เรียกว่า Inside trading
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยปลีกย่อยอีกจำนวนมากที่แสดงถึงการปฏิบัติที่เท่าเทียมและเป็นธรรมแก่ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย เช่นบริษัทควรจะให้ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยมีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลของบริษัทเท่าเทียมกันและในเวลาเดียวกัน บางครั้ง นักลงทุนอาจจะรู้สึกว่า บริษัทเต็มใจที่จะให้ข้อมูลกับนักลงทุนสถาบันหรือนักลงทุนรายใหญ่มากกว่านักลงทุนรายย่อยอย่างพวกเรา อันนี้ก็ถือว่าขัดต่อหลักบรรษัทภิบาลที่ดีเช่นกันครับ ในปัจจุบัน หลายบริษัทได้หาทางออกด้วยการสร้าง website เพื่อให้ข้อมูลและข่าวสารแก่นักลงทุน หลาย website มีข้อมูลของบริษัทที่ใช้ในการประกอบการตัดสินใจค่อนข้างดีที่เดียว เช่นงบการเงินย้อนหลัง รายงานประจำปี ภาพรวมธุรกิจ หลายบริษัทมีการจัดตั้งฝ่ายลงทุนสัมพันธ์ หรือ IR ( Investor relation ) เพื่อตอบคำถามแก่นักลงทุนโดยเฉพาะ เพื่อที่จะให้ผู้บริหารไม่ต้องมานั่งตอบคำถามนักลงทุนซึ่งอาจจะทำให้ไม่มีเวลาไปบริหารกิจการ
ในส่วนการปฏิบัติที่ดีต่อลูกค้า คู่ค้า และเจ้าหนี้นั้นอาจจะขอจัดให้อยู่ในจำพวกเดียวกัน หลายคนอาจจะเห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่น่าสนใจ และไม่น่าจะมีผลต่อการตัดสินใจในการลงทุนเลย แต่ผมคิดว่ามีผลพอสมควรครับ หากบริษัทมีการเอาเปรียบลูกค้า เช่น อาจจะไม่ส่งมอบสินค้าที่มีคุณภาพหรือลักษณะตามสัญญา ในระยะยาวแล้วก็จะไม่มีใครอยากจะซื้อสินค้าจากบริษัทซึ่งส่งผลให้ยอดขายของบริษัทในอนาคตจะลดลง กำไรของบริษัทก็จะลดลง
ตัวอย่างของการรักษาผลประโยชน์ของผู้บริโภคจะเห็นได้ชัดในธุรกิจบ้านจัดสรร บริษัทที่ไม่เคยผิดสัญญาในการส่งมอบบ้านให้กับลูกค้าในช่วงวิกฤติสามารถรักษาความนิยมในตัวบริษัท และเมื่อธุรกิจเริ่มฟื้นตัว บริษัทเหล่านี้ก็สามารถเพิ่มยอดขาย และส่วนแบ่งตลาดโดยจะกินส่วนแบ่งตลาดจากบริษัทที่ผิดสัญญาลูกค้า ซึ่งได้ทยอยล้มหายตายจากกันไปหมดแล้ว สำหรับในแง่ของเจ้าหนี้และ supplier นั้น บริษัทที่เหนียวหนี้ หรือไม่ยอมชำระหนี้หรือประวิงเวลากับเจ้าหนี้หรือ supplier ท้ายที่สุดแล้วก็จะไม่มีใครอยากคบ ทำให้บริษัทระดมทุนได้ลำบากขึ้นซึ่งหมายถึงต้นทุนทางการเงินจะสูงขึ้นนั่นเอง หรือถ้าคิดง่ายๆ ก็คือ ขนาดลูกค้า เจ้าหนี้และ supplier ยังถูกเอาเปรียบ แล้วประสาอะไรกับผู้ถือหุ้นรายย่อยอย่างพวกเราจะไม่ถูกเอาเปรียบล่ะ
การปฏิบัติที่ดีต่อแรงงาน สิ่งแวดล้อมและสังคม ก็น่าจะอยู่ในกลุ่มเดียวกัน หลายบริษัทอาจจะมองข้ามความสำคัญในการปฏิบัติที่ดีต่อ 3 ปัจจัยเหล่านี้ และอาจจะคิดว่าการเอาเปรียบหรือถือประโยชน์จาก 3 ปัจจัยนี้ จะทำให้กำไรของบริษัทออกมาดีด้วยซ้ำไป เช่น บางบริษัทอาจจะกดค่าแรงงาน ให้สวัสดิการต่ำกว่าที่ควรจะเป็น อาจจะก่อสร้าง
อาคารหรือมีกระบวนการทำงานที่ไม่ถูกหลักความปลอดภัย มีการปล่อยน้ำเสียและมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม โดยไม่คิดที่จะเสียค่าใช้จ่ายในการบำบัด เป็นต้น ท้ายที่สุดแล้วบริษัทที่มีพฤติกรรมดังกล่าวนั้นมักจะจบลงด้วยความเสียหายของผู้ถือหุ้นอย่างพวกเรา เช่น บริษัทที่เอาเปรียบแรงงาน ก็จะทำให้ขวัญและกำลังใจในการทำงานตกต่ำ และส่งผลต่อประสิทธิภาพในการผลิต นานๆ เข้าก็จะมีการประท้วงของคนงาน อาจจะรุนแรงถึงขั้นปิดโรงงาน ทำให้บริษัทต้องหยุดการผลิตและไม่สามารถส่งมอบสินค้าได้ หรือบริษัทที่ปล่อยน้ำเสียลงสู่สิ่งแวดล้อม อาจจะมีกำไรที่ดีในช่วงแรกเพราะไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายด้านการบำบัด ท้ายสุดแล้วก็จะมีปัญหากับชาวบ้านอาจถึงขั้นมีการประท้วง และอาจจะถูกสั่งปิดโรงงานได้ ผมเชื่อว่านักลงทุนส่วนใหญ่คงจะไม่อยากจะถือหุ้นซึ่งหมายถึงการมีส่วนเป็นเจ้าของบริษัทที่เอาเปรียบแรงงาน สิ่งแวดล้อมหรือสังคม ใช่ไหมล่ะครับ หรือคิดง่ายๆ อีกเหมือนกันว่า ขนาดคนงานตัวเองยังไม่รัก แล้วจะรักผู้ถือหุ้นอย่างเราได้อย่างไร
อาจจะมีคำถามอยู่ว่า บริษัทที่มีบรรษัทภิบาลที่ดีจะนำมาสู่ผลประกอบการที่ดีและการให้ผลตอบแทนที่ดีแก่นักลงทุนหรือไม่ คำตอบคือผมคิดว่าไม่ทั้งหมด แต่ส่วนใหญ่น่าจะเป็นอย่างนั้นครับ ที่ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะบางบริษัทอาจจะอยู่ในอุตสาหกรรมที่อยู่ในช่วงตกต่ำ หรือเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรง และอาจจะทำให้ผลการดำเนินงานแย่ลงก็ได้ แต่ผมคิดว่า ในระยะยาว การลงทุนในหุ้นที่มีบรรษัทภิบาลที่ดีนั้น จะช่วยลดความเสียหายหากเศรษฐกิจและผลประกอบการที่ตกต่ำได้ในระดับหนึ่ง เพราะผมเชื่อว่า ในช่วงขาลง บริษัทจะยืนหยัดอยู่ได้จากการสนับสนุนของผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ supplier ลูกค้า และแรงงาน และในช่วงขาขึ้น บริษัทก็ไม่มีการถ่ายเทผลประโยชน์ และทำให้ผู้ถือหุ้นได้รับประโยชน์เต็มๆ
ในปัจจุบัน มีหุ้นจำนวนไม่น้อยที่มีบรรษัทภิบาลที่ดีนั้น ได้รับความนิยมจากนักลงทุนสถาบัน ทำให้ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนในบริษัทที่มีปัญหาเรื่องบรรษัทภิบาลนั้น มักจะไม่ได้รับความนิยมจากนักลงทุน และหลายบริษัทมีการซื้อขายกันที่ราคาต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐาน ที่ควรจะเป็นมากๆ เพราะนักลงทุนไม่เชื่อมั่นในตัวผู้บริหารนั่นเอง หลายบริษัทประสบกับผลขาดทุนอย่างต่อเนื่อง จนถึงขั้นถูกเพิกถอนจากการเป็นบริษัทจดทะเบียน และมีจำนวนไม่น้อยที่ผู้บริหารและกรรมการถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย สิ่งที่เกิดขึ้นนี้เข้าข่ายคำโบราณที่ว่า " ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน " นั่นเองครับ
บางครั้ง นักลงทุนอย่างพวกเราก็มีส่วนช่วยเสริมสร้างบรรษัทภิบาลให้กับบริษัทจดทะเบียนได้ไม่มากก็น้อยครับ เช่น การเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อเสนอแนะ ซักถาม โดยเฉพาะในประเด็นที่เห็นว่าบริษัทกำลังเอาเปรียบผู้ถือหุ้นรายย่อย หรือกำลังเอาเปรียบ stakeholders อื่นๆ หากบริษัทเห็นว่ามีนักลงทุนจำนวนมากคอยตรวจสอบดูแล ก็จะลดการกระทำที่ขัดต่อบรรษัทภิบาลที่ดีลงได้ ช่วยกันคนละไม้คนละมือ รวมกันก็เป็นพลังต่อรองได้พอสมควรครับ ไปประชุมผู้ถือหุ้นกันเถิดครับ ถือ 100 หุ้นก็เข้าประชุมได้แล้วครับ !
ความคิดเห็นส่วนตัว
ผมว่าราคานี้ก็ไม่น่าเกลียดนะครับ
(ที่ 270 PE ประมาณ 12-13 เท่า ขณะที่ PE ตลาดอยู่ที่ 10 เท่า)
ผมเองก็มีตัวนี้มานาน คิดว่าคงขายให้เค้าหละครับ
ผมคิดว่าเงินที่ได้จากการขายตัวนี้สามารถมองหาหุ้นตัวอื่นในตลาด
ที่ได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าได้ไม่ยากนะครับ
ส่วนการตามไปถือต่อหลัง delist ไม่ทำแน่ครับ
ขนาด SPP บริษัทลูกปูนใหญ่ ยังทำผมมาแล้วเลย (ยังไม่หายแค้น)
นี่บริษัทข้ามชาติ ไม่ต้องพูดถึง
ปล. ณ ปัจจุบันถ้าซื้อได้ที่ 262 แล้วขายตอน delist จะได้ผมตอบแทน
ประมาณ 2.5% ในเวลาไม่เกิน 6 เดือน เทียบกับเงินฝากประจำ
หรือตราสารหนี้ ถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามากครับ
แต่ก็มีความเสี่ยงคือบริษัทเกิดเปลี่ยนใจไม่ delist
ผมว่าราคานี้ก็ไม่น่าเกลียดนะครับ
(ที่ 270 PE ประมาณ 12-13 เท่า ขณะที่ PE ตลาดอยู่ที่ 10 เท่า)
ผมเองก็มีตัวนี้มานาน คิดว่าคงขายให้เค้าหละครับ
ผมคิดว่าเงินที่ได้จากการขายตัวนี้สามารถมองหาหุ้นตัวอื่นในตลาด
ที่ได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าได้ไม่ยากนะครับ
ส่วนการตามไปถือต่อหลัง delist ไม่ทำแน่ครับ
ขนาด SPP บริษัทลูกปูนใหญ่ ยังทำผมมาแล้วเลย (ยังไม่หายแค้น)
นี่บริษัทข้ามชาติ ไม่ต้องพูดถึง
ปล. ณ ปัจจุบันถ้าซื้อได้ที่ 262 แล้วขายตอน delist จะได้ผมตอบแทน
ประมาณ 2.5% ในเวลาไม่เกิน 6 เดือน เทียบกับเงินฝากประจำ
หรือตราสารหนี้ ถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามากครับ
แต่ก็มีความเสี่ยงคือบริษัทเกิดเปลี่ยนใจไม่ delist
คุณ CK ครับ ขออธิบายเพิ่มเติมหน่อยนะครับ
พอดีเคยอ่านเจอในแบบคำเสนอซื้อของ UFC จำได้ว่า
เค้าจะมีกำหนดเอาไว้ว่าบริษัทสามารถเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขราคาหรือยกเลิก
ได้กรณีที่เกิดเหตุสุดวิสัยจริง ๆ เช่นภาวะเศรษฐกิจหรืออะไรเนี่ยแหละ
เพราะฉะนั้นผมจึงยังถือว่ามีความเสี่ยงอยู่ครับ แต่นับในระดับที่สูงกว่าเงิน
ฝากประจำแต่ต่ำกว่าตราสารหนี้
เคยอ่านเจอในตำราอะไรสักอย่างนึงเค้าบอกว่าไม่มีสินทรัพย์อะไรในโลก
นี้ที่เป็น risk free อย่างแท้จริงครับ แม้แต่ตั๋วเงินคลัง
แต่พออ่านคำอธิบายแล้วไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่
พอดีเคยอ่านเจอในแบบคำเสนอซื้อของ UFC จำได้ว่า
เค้าจะมีกำหนดเอาไว้ว่าบริษัทสามารถเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขราคาหรือยกเลิก
ได้กรณีที่เกิดเหตุสุดวิสัยจริง ๆ เช่นภาวะเศรษฐกิจหรืออะไรเนี่ยแหละ
เพราะฉะนั้นผมจึงยังถือว่ามีความเสี่ยงอยู่ครับ แต่นับในระดับที่สูงกว่าเงิน
ฝากประจำแต่ต่ำกว่าตราสารหนี้
เคยอ่านเจอในตำราอะไรสักอย่างนึงเค้าบอกว่าไม่มีสินทรัพย์อะไรในโลก
นี้ที่เป็น risk free อย่างแท้จริงครับ แม้แต่ตั๋วเงินคลัง
แต่พออ่านคำอธิบายแล้วไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่
ถ้าเขาต้องซื้อที่ 270 ถึงแม้จะไม่ delist แล้ว ผมนึกไม่ออกว่าทำไมจึงมีคนขายหุ้นออกมาเรื่อยๆ ทั้งที่ถือรออีกหน่อยก็รับทรัพย์แน่ๆ งงครับCK เขียน:risk free ครับ ผู้ทำ T/O ต้องซื้อทุกหุ้นที่ยอมขายครับ ต่อให้เปลี่ยนใจgone เขียน:แต่ก็มีความเสี่ยงคือบริษัทเกิดเปลี่ยนใจไม่ delist
ไม่ delist แต่เมื่อออก T/O แล้ว ถ้ามีคนจะขาย (ภายในระยะเวลาที่กำหนด)
จะต้องซื้อคืน
ความเสี่ยงของการไม่ delist คือราคาหุ้นอาจจะพุ่งขึ้นไปเกิน 270 ครับ