คุณฉัตรชัยครับ
ABSOLUTELY UNFAIR!!!
Can't the BOT come up with a better way to EVENLY distribute it to the ORDINARY people who DOES NOT have any connections AT ALL?
It's a VICIOUS cycle in which the well-being is getting richer and the poor is getting poorer.
I suggest the BOT should proportionately allocate the bond to EVERYBODY by proportionating it with the amout booked.
Will you be sad like me if you see an old lady asked the bank teller of how to subscribe for the bond only to know a moment ago that the bond is FULLY subscribed and you must be on the waiting list.
Really sad. And the person involved should be CONDEMNED.
Can't the BOT come up with a better way to EVENLY distribute it to the ORDINARY people who DOES NOT have any connections AT ALL?
It's a VICIOUS cycle in which the well-being is getting richer and the poor is getting poorer.
I suggest the BOT should proportionately allocate the bond to EVERYBODY by proportionating it with the amout booked.
Will you be sad like me if you see an old lady asked the bank teller of how to subscribe for the bond only to know a moment ago that the bond is FULLY subscribed and you must be on the waiting list.
Really sad. And the person involved should be CONDEMNED.
You are right, khun CK. Why can't it be done here? Why don't we have someone who thinks for the benefit for the overall rather than for himself and cronies?
The world is sinking as we have too many greeds trying to take away from the poor and there is nobody stands out to voice out the absurd practice.
The world is sinking as we have too many greeds trying to take away from the poor and there is nobody stands out to voice out the absurd practice.
http://www.bangkokbizweek.com/
วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2547
ป๋ามนโยนเผือกร้อนมาให้พี่ chatchai แล้ววู้ย
(ไม่แน่ใจสำนวนว่าใช้ถูกต้องมั้ย)
ดีครับดี พวกเราจะได้ดูดความรู้จากพี่ chatchai ได้มากขึ้นเฟ้ย
:lol: :lol: :lol:
วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2547
ป๋ามน เขียน:Value Way : จุดสังเกต 'งบการเงิน'
มนตรี นิพิฐวิทยา
การลงทุนแบบเน้นคุณค่านั้น จะมีการวิเคราะห์ด้วยกัน 2 แบบ คือ การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ และการวิเคราะห์เชิงปริมาณ โดยการวิเคราะห์เชิงปริมาณนี้ ก็หนีไม่พ้นต้องวิเคราะห์จากงบการเงิน โดยวิเคราะห์งบการเงินย้อนหลัง ให้มากที่สุด เท่าที่ข้อมูลเราจะหาได้
ในงบการเงินนั้นจะประกอบไปด้วยข้อมูลทางการเงินที่สำคัญๆ คือ งบดุล(Balance Sheet) งบกำไรขาดทุน (Income Statement) งบกระแสเงินสด (Cash Flow Statement) และหมายเหตุประกอบงบการเงิน (Note to Financial Statement) ข้อมูลทั้งหมดนี้จะต้องใช้ร่วมกัน ขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไม่ได้
งบดุลจะให้ข้อมูลว่า ในช่วงเวลางวดบัญชีหนึ่งๆบริษัทมีสินทรัพย์ หนี้สินและทุน มากน้อยเท่าไร มีความมั่นคงเพียงใด
สังเกตง่ายๆว่า หากหนี้สินมากกว่าทุน แสดงว่า บริษัทนี้กู้เงินมาลงทุนเป็นส่วนใหญ่ และมักจะมีภาระที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยและใช้คืนเงินต้นมากมายและยาวนานหลายปีสินทรัพย์ที่มีเกือบทั้งหมดจะเป็นสิทธิของเจ้าหนี้ รายได้ที่ทำมาหาได้จากการดำเนินธุรกิจส่วนใหญ่จะเป็นของเจ้าหนี้
ส่วนที่เหลือถึงจะตกมาถึงผู้ถือหุ้น บริษัทนี้หากเกิดวิกฤติขึ้นมา มักจะเกิดปัญหาเรื่องสภาพคล่องทางการเงิน ในทางกลับกันหากบริษัทมีหนี้น้อย รายได้ส่วนใหญ่จะเป็นของผู้ถือหุ้น สินทรัพย์ที่บริษัทมีจะเป็นสิทธิของผู้ถือหุ้นอย่างเต็มที่
บริษัทที่ Value Investor ชอบ ก็คือ บริษัทที่ไม่มีหนี้สิน หรือมีน้อยมาก เพราะปลอดภัยและรายได้ที่หาได้เป็นของผู้ถือหุ้น
"งบกำไรขาดทุน" จะให้ข้อมูลว่า บริษัทได้ดำเนินกิจการในช่วงเวลางวดบัญชีหนึ่งๆ มีรายได้จากการดำเนินงานมาจากอะไรบ้าง มีต้นทุนเกิดขึ้นเท่าไรบ้าง ในงบกำไรขาดทุนนี้จะมีการบันทึกบัญชีการได้ค่าใช้จ่ายแบบคงค้าง คือได้ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าไปแล้ว แต่ยังไม่ได้รับเงิน เมื่อส่งสินค้าแล้วถือว่า ได้ขายออกไปแล้ว
ดังนั้น เวลาวิเคราะห์งบการเงินต้องทำความเข้าใจหลักเกณฑ์ในการบันทึกบัญชีให้ละเอียดว่า บริษัทมีนโยบายในการบันทึกบันชีอย่างไร..?
"งบกระแสเงินสด" จะประกอบไปด้วยข้อมูลทางการเงิน 3 ส่วน คือ กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน กระแสเงินสดจากการลงทุน และกระแสเงินสดจากการจัดหาเงิน
กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน ให้ข้อมูลที่ปรับจากเกณฑ์คงค้างในงบกำไรขาดทุนมาเป็นเกณฑ์เงินสด เราจะได้ข้อมูลว่า ในช่วงเวลางวดบัญชีหนึ่งๆนั้น บริษัทขายสินค้าแล้วสามารถเก็บเป็นเงินสดได้มากน้อยเท่าไร ทั้งนี้จะมีการปรับรายการที่ไม่ใช่เงินสดออกจนหมด เช่น ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร อุปกรณ์ สินค้าคงเหลือต่างๆ และข้อมูล อีกมาก
ส่วนกระแสเงินสดจากการลงทุน จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนของบริษัทว่า ในเวลางวดนั้น บริษัทได้ใช้เงินลงทุนไปในเรื่องใดบ้าง เป็นจำนวนเงินเท่าใด
กระแสเงินสดจากการจัดหาเงิน ให้ข้อมูลว่า บริษัทจัดหาเงินมาใช้ลงทุนและดำเนินกิจการจากแหล่งใด กู้มาหรือใช้ทุนเดิมหรือเพิ่มทุน
ผมอยากจะยกตัวอย่างง่ายๆ กับการสังเกตงบการเงินเพื่อการลงทุนที่ปลอดภัย หลายท่านคงจะจำกรณี "หุ้น ROYNET" กันได้ดี หรือหากเป็นนักลงทุนใหม่คงจะต้องกลับไปค้นกันหน่อยครับ เพราะกรณีนี้โด่งดังมากและทำให้นักลงทุนกลายร่าง ปีกงอกเป็นแมงเม่ากันมากมาย จน ก.ล.ต.และตลาดหลักทรัพย์ต้องลงมาจัดการกันจนเป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โต จนทุกวันนี้ยังไม่จบเรื่องเลยครับ
รายการนี้นักลงทุนหลายคนเจออาการที่เรียกว่า ผีหลอกกลางวัน ครับ กำไรอยู่ดีๆตั้งสองไตรมาส 10.2 ล้านบาทก้าวกระโดดจากขาดทุนสุทธิ 11.19 ล้านบาทในปีก่อน แล้วกลับมาเป็นขาดทุนสุทธิ 36.7 ล้านบาทในไตรมาส 3 ขาดทุนสะสมแล้ว 71ล้านบาท
ก่อนหน้านั้นบริษัทรายงานว่า บริษัทพลิกจากขาดทุนมาเป็นกำไรได้อย่างมากมาย จัดว่า "ก้าวกระโดด" เลยก็ว่าได้ ที่มาของอาการผีหรอกก็ไม่มีอะไรมากครับ ผู้บริหารแกล้งทำเป็นไร้เดียงสาบันทึกรายได้เร็ว(เกิน)ไป(ไม่)หน่อย ครับ แต่แล้วก่อนประกาศผลประกอบการไตรมาสที่ 3 พวกท่านก็เกิดรู้เดียงสาขึ้นมาอย่างไม่ทราบสาเหตุ โดยนำหุ้นของพวกในตระกูลท่านที่มีอยู่ 60% ของทุนจดทะเบียน เข้าไปขายให้แมงเม่าทั้งหลายจนหมดสิ้น
พอ...งบออกเท่านั้นแหละครับ ซากแมงเม่าก็กองเกลื่อนไปทั่วตลาดหลักทรัพย์
ผมลองเข้าไปดูงบย้อนหลังดูพบว่า บริษัทฯขายชั่วโมง Internet แบบฝากขาย บริษัทย่อยให้บริการอี-คอมเมิร์ซและเป็นที่ปรึกษาเรื่องการออกแบบwebsiteและการรับรู้รายได้ก็เปิดเผยอย่างชัดเจนในหมายเหตุประกอบงบการเงินในข้อที่ 3 สรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญ หัวข้อย่อยที่ 3.1 บริษัทรับรู้รายได้ดังนี้
3.1.1 รายได้จากการขายบันทึกรับรู้ เมื่อส่งมอบสินค้า
3.1.2 รายได้จากการฝากขายบันทึกรับรู้ เมื่อได้รับการชำระเงิน
แต่ในงบกำไรขาดทุนมีหัวข้อ รายได้จากการขาย รายได้จากการให้บริการ รายได้ดอกเบี้ย รายได้อื่นๆ ไม่มีหัวข้อรายได้จากการฝากขาย จึงเป็นช่องทางให้ผู้บริหารเล่นแร่แปรธาตุได้อย่างง่ายดาย โดยผู้สอบบัญชีเองก็ไม่อาจตรวจพบได้ (อันนี้ไม่รับรองนะครับ)
เรื่องของเรื่อง คือ บริษัทเร่งรับรู้รายได้จากการฝากขาย ทั้งๆที่ยังไม่ได้รับชำระเงินเป็นจำนวนมากทั้ง 2 ไตรมาส จนไตรมาส 3 ผู้สอบบัญชีทนไม่ได้ จึงทำการปรับงบการเงินให้สะท้อนภาพความเป็นจริง ซึ่งเป็นเหตุให้แมงเม่าวงแตกกระเจิง
โดยไตรมาส 1 รับรู้รายได้24 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 6.9 ล้านบาท ไตรมาส 2 รับรู้รายได้ 23.4 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 3.24 ล้านบาท
ทีนี้มาดูที่งบกระแสเงินสด ผมพบตัวเลขในหัวข้อ ลูกหนี้การค้าและตั๋วเงินรับ ในไตรมาสแรกประมาณ 22 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนหน้าที่ประมาณ 34,738 บาท ในไตรมาส 2 งวด 6 เดือนประมาณ 42.25 ล้านบาท เทียบกับงวด 6 เดือนของปีก่อนหน้าที่ประมาณ 504,143 บาท พอมาในงวด 9 เดือน ตัวเลขเหล่านี้ถูกปรับใหม่จนมีสภาพดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น
อย่างที่ยกตัวอย่างมานี่แหละครับ แค่เรื่องการรับรู้รายได้แค่นี้ ก็ทำร้อนไปตามๆกัน เหตุการณ์นี้บอกให้รู้ว่า งบการเงินนั้น หากเราวิเคราะห์และสังเกตให้ดีๆมัน คือ แหล่งข้อมูลที่จะบอกพิรุธได้อย่างมาก แต่ก็น้อยคนจริงๆที่จะใส่ใจดูกัน
สำหรับผมและเพื่อน Value Investor อีกหลายท่านมุ่งเน้นว่า ต้องรู้เรื่องธุรกิจให้ชัดเจนทุกขุมขนเลย มีความรู้เรื่องบัญชีเล็กน้อยแต่ให้สังเกตและตั้งข้อสงสัยให้มากไว้ แล้วหาคำตอบให้ได้ก่อนการลงทุน จะปลอดภัยครับ
ใน www.thaivalueinvestor.com มีสมาชิกท่านหนึ่งใช้นามแฝงว่า Chatchai ท่านตรวจสอบงบการเงินได้ละเอียดมาก หากสนใจศึกษาเรื่องนี้ให้ไป post กระทู้ถามได้เลยครับ....
ป๋ามนโยนเผือกร้อนมาให้พี่ chatchai แล้ววู้ย
(ไม่แน่ใจสำนวนว่าใช้ถูกต้องมั้ย)
ดีครับดี พวกเราจะได้ดูดความรู้จากพี่ chatchai ได้มากขึ้นเฟ้ย
:lol: :lol: :lol: