โอ SE-ED กำไรลด
เป็นที่น่าสังเกตว่า งบการเงินของธุรกิจสิ่งพิมพ์ที่ประกาศออกมาแล้วในไตรมาสที่ 2 นี้ พร้อมใจกันตกลงกว่าปีก่อนเกือบทั้งหมด ยกเว้นเพียง POST เพียงรายเดียวที่ทำกำไรได้ดีขึ้น เนื่องจากปีก่อน POST ขาดทุนจากการออกหนังสือพิมพ์ฉบับใหม่ และปีนี้มีรายได้โฆษณาเข้ามามาก
เริ่มตั้งแต่ APRINT ที่รายได้เพิ่มขึ้นในไตรมาส 2 15.7% แต่กำไรสุทธิลดลง 0.8% โดยค่าใช้จ่ายงานขายและการบริหารสูงขึ้นถึง 25% และที่น่าสังเกตคือ APRINT ลดสัดส่วนการถือหุ้นใน บริษัท อมรินทร์บุ๊คเซ็นเตอร์ ลงจาก 40% เหลือ 19% คาดว่าเพื่อจะได้ไม่ต้องทำงบรวม คาดว่าคงเกิดจากธุรกิจส่วนร้านหนังสือขาดทุน ไม่ประสบผลสำเร็จ และคงเป็นตัวถ่วงผลการดำเนินงานในระยะนี้ จึงตัดออกจากงบไปก่อน มิฉะนั้น กำไรสุทธิอาจน้อยลงกว่านี้เยอะ และคงมีการลงทุนในนิตยสารใหม่หลายฉบับ ซึ่งรายรับยังเข้ามาไม่ได้ตามเป้าหมาย จึงทำให้ค่าใช้จ่ายสูงกว่าเดิมมาก
ถัดมาคือ MATI ซึ่งหนักหนากว่าเพิ่อนในวงการสิ่งพิมพ์ โดยรายได้รวมสูงขึ้น 9.8% แต่กำไรสุทธิลดลงถึง 52% หรือถ้าดูรอบ 6 เดือน รายได้เพิ่มขึ้น 8.6% แต่กำไรสุทธิลดลง 48% ต้นทุนสินค้าขายเพิ่มขึ้น 21.3% ขณะที่ค่าใช้จ่ายงานขายและบริหารเพิ่มขึ้น 9.8% ตรงนี้คงคาดได้ว่ามาจากค่ากระดาษที่สูงขึ้นมากมาตั้งแต่ต้นปี
ถัดมาคือ NMG ซึ่งในไตรมาส 2 นี้ รายได้สูงขึ้น 7.3% แกต่กำไรลดลง 25.9% โดยต้นทุนสินค้าขายสูงขึ้น 19.2% งบ 6 เดือนก็มีกำไรลดลง 7.5% คงคาดเดาได้เช่นเดียวกับมติชนว่า เป็นผลเนื่องมาจากต้นทุนกระดาษที่สูงขึ้นมาก
ส่วนของ SE-ED นั้น รายได้สูงขึ้นมากขนาด 24.8% แต่กำไรลดลง 16.1% โดยต้นทุนสินค้าขายสูงขึ้น 28.3% และค่าใช้จ่ายงานขายและบริหารสูงขึ้น 27.2% ขณะที่ถ้าดูงบ 6 เดือน รายได้สูงขึ้น 24.6% ต้นทุนสินค้าสูงขึ้น 25.8% และกำไรสูงขึ้น 0.6%
แต่ถ้าดูจากสารสนเทศของ SE-ED ที่แจ้งตลาดหลักทรัพย์ว่า จริงๆ แล้วถ้าพิจารณา net operating profit จริงๆ ของรอบ 6 เดือน จะมีกำไรสูงขึ้น 32.68% แต่ที่ลดลงเพราะมีรายการพิเศษที่ทำให้ปีก่อนกำไรมากกว่าปกติอยู่จำนวนหนึ่ง เช่น กำไรจากการขายทรัพย์สิน และเงินลงทุน เป็นต้น แต่ถ้าใช้คำอธิบายเดียวกันมาพิจารณางบไตรมาส 2 โดยหักรายการพิเศษออกเช่นเดียวกัน จะพบว่าไตรมาส 2 ได้ net operating profit สูงกว่าปีก่อนเล็กน้อย (แทนที่จะตกลง)
ถ้าจะมาวิเคราะห์หาสาเหตุว่าทำไม รายได้ของ SE-ED เติบโตอย่างน่าประทับใจ เพราะสูงสุดในกลุ่มสิ่งพิมพ์ แต่ทำไมกำไรจึงไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็น (ไตรมาส 2 เทียบกับไตรมาส 1 ของปีนี้)
ผู้บริหารเคยชี้แจงว่า ในปีนี้จะยังเน้นการเติบโตของยอดขาย เพื่อสร้างฐานการเติบโตไว้ก่อน โดยขยายสาขาจำนวนมากในทำเลที่น่าจะเป็นไปได้ในอนาคต ดังนั้น สาขาใหม่เหล่านี้ จึงน่าจะยังไม่สามารถทำกำไรได้ในขณะนี้ เพราะเริ่มลงในจังหวัดที่เล็กลง หรือลงในพื้นที่ที่มีร้านใกล้เคียงกันอยู่แล้ว ดังนั้น จะเห็นว่าค่าใช้จ่ายงานขายและบริหารมีอัตราการเพิ่มสูงกว่าการเพิ่มของยอดขาย สาขาใหม่เหล่านี้ คงต้องใช้ระยะเวลาหนึ่งกว่าจะผลักยอดขายให้สูงขึ้นจนทำกำไรได้ อีกส่วนหนึ่งคงมาจากการที่ซีเอ็ดลงทุนระบบสารสนเทศ และโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการขยายงาน
ส่วนต้นทุนสินค้าขายของ SE-ED สูงขึ้น น่าจะมาจากการที่มีสัดส่วนสินค้าขายเปลี่ยนไปมากกว่าเดิม เช่น มีสินค้าที่มีกำไรต่ำกว่ามีอัตราเติบโตมากกว่าสินค้าที่มีกำไรดีกว่า เช่น อาจจะขายหนังสือพิมพ์ และนิตยสารสูงขึ้นมาก หรือขายสินค้าอื่นได้มากว่าสินค้าที่ผลิตเอง นอกจากนั้น ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากต้นทุนกระดาษสูงขึ้นมากในการผลิตวารสารของ SE-ED เอง ส่วนต้นทุนการผลิตหนังสือก็คงสูงขึ้นเช่นเดียวกันแต่คงไม่รุนแรงเท่าวารสาร เพราะมีความยืดหยุ่นเรื่องราคาขายได้มากกว่าวารสารที่ราคาขายเท่าเดิม
ถ้าจะให้สรุป ก็คือ SE-ED น่าจะยังคงมีการเติบโตของรายได้ดีอยู่ตลอดปีที่ประมาณ 24-25% และน่าจะเป็นไปตามเป้าหมาย 3,000 ล้านบาท (ตามที่ผู้บริหารย้ำว่าน่าจะถึง) น่าจะจ่ายปันผลได้ตามเดิมอยู่ แต่การเติบโตของกำไรสุทธิในปีนี้อาจไม่ดีเท่าที่หลายสำนักประเมินไว้ จนกว่าซีเอ็ดจะปรับปรุงระบบสารสนเทศเสร็จในต้นปี 2548 ซึ่งผู้บริหารเคยแจ้งว่า 2548-2549 จะเป็นปีแห่งการปรับปรุงสภาพการทำกำไรของ SE-ED ส่วน 2-3 ปีที่ผ่านมา เป็นปีของการสร้างฐานยอดขาย
ส่วนจะปรับปรุงได้มากน้อยเพียงใด ก็ต้องลองติดตามดู
และเชื่อว่าช่วงนี้ถึงต้นเดือนหน้า ซีเอ็ดคงกลับเข้ามาซื้อหุ้นคืนต่อ เพราะราคาหุ้นตอนนี้เหมาะกับการซื้อคืนแล้ว และใกล้จะหมดเวลาซื้อหุ้นคืนแล้ว
เริ่มตั้งแต่ APRINT ที่รายได้เพิ่มขึ้นในไตรมาส 2 15.7% แต่กำไรสุทธิลดลง 0.8% โดยค่าใช้จ่ายงานขายและการบริหารสูงขึ้นถึง 25% และที่น่าสังเกตคือ APRINT ลดสัดส่วนการถือหุ้นใน บริษัท อมรินทร์บุ๊คเซ็นเตอร์ ลงจาก 40% เหลือ 19% คาดว่าเพื่อจะได้ไม่ต้องทำงบรวม คาดว่าคงเกิดจากธุรกิจส่วนร้านหนังสือขาดทุน ไม่ประสบผลสำเร็จ และคงเป็นตัวถ่วงผลการดำเนินงานในระยะนี้ จึงตัดออกจากงบไปก่อน มิฉะนั้น กำไรสุทธิอาจน้อยลงกว่านี้เยอะ และคงมีการลงทุนในนิตยสารใหม่หลายฉบับ ซึ่งรายรับยังเข้ามาไม่ได้ตามเป้าหมาย จึงทำให้ค่าใช้จ่ายสูงกว่าเดิมมาก
ถัดมาคือ MATI ซึ่งหนักหนากว่าเพิ่อนในวงการสิ่งพิมพ์ โดยรายได้รวมสูงขึ้น 9.8% แต่กำไรสุทธิลดลงถึง 52% หรือถ้าดูรอบ 6 เดือน รายได้เพิ่มขึ้น 8.6% แต่กำไรสุทธิลดลง 48% ต้นทุนสินค้าขายเพิ่มขึ้น 21.3% ขณะที่ค่าใช้จ่ายงานขายและบริหารเพิ่มขึ้น 9.8% ตรงนี้คงคาดได้ว่ามาจากค่ากระดาษที่สูงขึ้นมากมาตั้งแต่ต้นปี
ถัดมาคือ NMG ซึ่งในไตรมาส 2 นี้ รายได้สูงขึ้น 7.3% แกต่กำไรลดลง 25.9% โดยต้นทุนสินค้าขายสูงขึ้น 19.2% งบ 6 เดือนก็มีกำไรลดลง 7.5% คงคาดเดาได้เช่นเดียวกับมติชนว่า เป็นผลเนื่องมาจากต้นทุนกระดาษที่สูงขึ้นมาก
ส่วนของ SE-ED นั้น รายได้สูงขึ้นมากขนาด 24.8% แต่กำไรลดลง 16.1% โดยต้นทุนสินค้าขายสูงขึ้น 28.3% และค่าใช้จ่ายงานขายและบริหารสูงขึ้น 27.2% ขณะที่ถ้าดูงบ 6 เดือน รายได้สูงขึ้น 24.6% ต้นทุนสินค้าสูงขึ้น 25.8% และกำไรสูงขึ้น 0.6%
แต่ถ้าดูจากสารสนเทศของ SE-ED ที่แจ้งตลาดหลักทรัพย์ว่า จริงๆ แล้วถ้าพิจารณา net operating profit จริงๆ ของรอบ 6 เดือน จะมีกำไรสูงขึ้น 32.68% แต่ที่ลดลงเพราะมีรายการพิเศษที่ทำให้ปีก่อนกำไรมากกว่าปกติอยู่จำนวนหนึ่ง เช่น กำไรจากการขายทรัพย์สิน และเงินลงทุน เป็นต้น แต่ถ้าใช้คำอธิบายเดียวกันมาพิจารณางบไตรมาส 2 โดยหักรายการพิเศษออกเช่นเดียวกัน จะพบว่าไตรมาส 2 ได้ net operating profit สูงกว่าปีก่อนเล็กน้อย (แทนที่จะตกลง)
ถ้าจะมาวิเคราะห์หาสาเหตุว่าทำไม รายได้ของ SE-ED เติบโตอย่างน่าประทับใจ เพราะสูงสุดในกลุ่มสิ่งพิมพ์ แต่ทำไมกำไรจึงไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็น (ไตรมาส 2 เทียบกับไตรมาส 1 ของปีนี้)
ผู้บริหารเคยชี้แจงว่า ในปีนี้จะยังเน้นการเติบโตของยอดขาย เพื่อสร้างฐานการเติบโตไว้ก่อน โดยขยายสาขาจำนวนมากในทำเลที่น่าจะเป็นไปได้ในอนาคต ดังนั้น สาขาใหม่เหล่านี้ จึงน่าจะยังไม่สามารถทำกำไรได้ในขณะนี้ เพราะเริ่มลงในจังหวัดที่เล็กลง หรือลงในพื้นที่ที่มีร้านใกล้เคียงกันอยู่แล้ว ดังนั้น จะเห็นว่าค่าใช้จ่ายงานขายและบริหารมีอัตราการเพิ่มสูงกว่าการเพิ่มของยอดขาย สาขาใหม่เหล่านี้ คงต้องใช้ระยะเวลาหนึ่งกว่าจะผลักยอดขายให้สูงขึ้นจนทำกำไรได้ อีกส่วนหนึ่งคงมาจากการที่ซีเอ็ดลงทุนระบบสารสนเทศ และโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการขยายงาน
ส่วนต้นทุนสินค้าขายของ SE-ED สูงขึ้น น่าจะมาจากการที่มีสัดส่วนสินค้าขายเปลี่ยนไปมากกว่าเดิม เช่น มีสินค้าที่มีกำไรต่ำกว่ามีอัตราเติบโตมากกว่าสินค้าที่มีกำไรดีกว่า เช่น อาจจะขายหนังสือพิมพ์ และนิตยสารสูงขึ้นมาก หรือขายสินค้าอื่นได้มากว่าสินค้าที่ผลิตเอง นอกจากนั้น ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากต้นทุนกระดาษสูงขึ้นมากในการผลิตวารสารของ SE-ED เอง ส่วนต้นทุนการผลิตหนังสือก็คงสูงขึ้นเช่นเดียวกันแต่คงไม่รุนแรงเท่าวารสาร เพราะมีความยืดหยุ่นเรื่องราคาขายได้มากกว่าวารสารที่ราคาขายเท่าเดิม
ถ้าจะให้สรุป ก็คือ SE-ED น่าจะยังคงมีการเติบโตของรายได้ดีอยู่ตลอดปีที่ประมาณ 24-25% และน่าจะเป็นไปตามเป้าหมาย 3,000 ล้านบาท (ตามที่ผู้บริหารย้ำว่าน่าจะถึง) น่าจะจ่ายปันผลได้ตามเดิมอยู่ แต่การเติบโตของกำไรสุทธิในปีนี้อาจไม่ดีเท่าที่หลายสำนักประเมินไว้ จนกว่าซีเอ็ดจะปรับปรุงระบบสารสนเทศเสร็จในต้นปี 2548 ซึ่งผู้บริหารเคยแจ้งว่า 2548-2549 จะเป็นปีแห่งการปรับปรุงสภาพการทำกำไรของ SE-ED ส่วน 2-3 ปีที่ผ่านมา เป็นปีของการสร้างฐานยอดขาย
ส่วนจะปรับปรุงได้มากน้อยเพียงใด ก็ต้องลองติดตามดู
และเชื่อว่าช่วงนี้ถึงต้นเดือนหน้า ซีเอ็ดคงกลับเข้ามาซื้อหุ้นคืนต่อ เพราะราคาหุ้นตอนนี้เหมาะกับการซื้อคืนแล้ว และใกล้จะหมดเวลาซื้อหุ้นคืนแล้ว
ต้นทุนที่สูงขึ้นส่วนหนึ่ง น่าจะมาจากค่ากระดาษ ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องครับ
ธุรกิจที่บ้านผมทำเป็นโรงพิมพ์ ก็เจอปัญหาคล้ายๆกัน คือกระดาษที่ใช้พิมพ์พวก หนังสือ โบร์ชัวร์ต่างๆ เช่น อาร์ตการ์ด อาร์ตด้าน กระดาษปอนด์ ราคาขึ้นตลอดครับ นอกจากนี้ยังมีค่าขนส่ง หรือที่มีปัจจัยมาจากราคาน้ำมัน
และอีกอย่างที่บางคนอาจจะไม่ได้คิดถึงคือ เครื่องพิมพ์แบบอ๊อฟเซ็ทต่างๆ ใช้น้ำมันเบนซิน ในการล้างเพลท ทำความสะอาดสี ซึ่งวันนึงใช้หลายลิตรมากครับ
ปัจจัยเหล่านี้ เราขึ้นราคาหนังสือ ไม่ค่อยได้ เพราะต้องรักษาลูกค้า รวมถึงต้องแข่งขันกับอีกหลายโรง ในขณะเดียวกัน คนที่ทำหนังสือขาย ไม่ว่าจะหนังสือพิมพ์ นิตยสารประจำ ก็ยังไม่สามารถขึ้นราคาขายได้เช่นกัน
ธุรกิจที่บ้านผมทำเป็นโรงพิมพ์ ก็เจอปัญหาคล้ายๆกัน คือกระดาษที่ใช้พิมพ์พวก หนังสือ โบร์ชัวร์ต่างๆ เช่น อาร์ตการ์ด อาร์ตด้าน กระดาษปอนด์ ราคาขึ้นตลอดครับ นอกจากนี้ยังมีค่าขนส่ง หรือที่มีปัจจัยมาจากราคาน้ำมัน
และอีกอย่างที่บางคนอาจจะไม่ได้คิดถึงคือ เครื่องพิมพ์แบบอ๊อฟเซ็ทต่างๆ ใช้น้ำมันเบนซิน ในการล้างเพลท ทำความสะอาดสี ซึ่งวันนึงใช้หลายลิตรมากครับ
ปัจจัยเหล่านี้ เราขึ้นราคาหนังสือ ไม่ค่อยได้ เพราะต้องรักษาลูกค้า รวมถึงต้องแข่งขันกับอีกหลายโรง ในขณะเดียวกัน คนที่ทำหนังสือขาย ไม่ว่าจะหนังสือพิมพ์ นิตยสารประจำ ก็ยังไม่สามารถขึ้นราคาขายได้เช่นกัน
เรียน คุณลูกอีสาน
พอดีแวะกลับมาอ่าน เห็นคุณฝากให้ไปถามผู้บริหารของ SE-ED แต่ช่วงนี้ผมยังไม่มีคิวขอนัดสัมภาษณ์ครับ จึงขอตอบตามข้อมูลเดิมที่มีอยู่ ดังนี้
1. สัญญาเช่าพื้นที่ของ SE-ED ส่วนใหญ่จะมีสัญญาเช่าระหว่าง 6-10 ปีครับ ถ้าเป็นเซ้งก็น่าจะอยู่ระหว่าง 20 ปีขึ้นไป ในบิ๊กซีก็น่าจะอยู่ภายใต้เงื่อนไขนี้ ส่วนที่เซ็นทรัล ส่วนหนึ่งที่เป็นสาขาเก่า (อย่างพวก บางนา ปิ่นเกล้า) คงเป็นการเซ้งระยะยาว สาขาในเซ็นทรัลนอกนั้นคงเป็นการเช่า (เช่น สาขาพระราม 3 พระราม 2 และแอร์พอร์ตพลาซ่าเชียงใหม่) เพราะนโยบายของเซ็นทรัลพัฒนา ซึ่งเป็นผู้ให้เช่า คงต้องการทำกำไรระยะยาวตามข่าวในหนังสือพิมพ์ โดยการขึ้นราคาเป็นระยะๆ
ในการพิจารณาเรื่องที่ถามว่า จะมีแนวโน้มต่อสัญญาหรือไม่ เพราะเกรงว่าเซ็นทรัลจะกั๊กพื้นที่ให้ B2S หรือไม่นั้น ตรงนี้ผมคงตอบไม่ได้ แต่ถ้าให้เดาคิดว่าทางกลุ่มเซ็นทรัลรีเทล (หรือ CRC ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในบิ๊กซี โรบินสัน ท็อปส์ และเป็นผู้ดำเนินการ B2S SuperSport PowerBuy Office Depot HomeWorks เป็นต้น) คงจะพยายามผลักดันให้ B2S ได้เกิดในบิ๊กซี ซึ่งเขาถือหุ้น และเป็นกรรมการอยู่ รวมทั้งที่ใดที่เขามีบทบาทจะแทรกตัวเข้าไปแทนที่ SE-ED ได้ ซึ่งน่าจะหมายถึงโรบินสัน และท็อปส์ ทั้งหมด และเอา B2S ไปเสียบแทนที่เมื่อมีการหมดสัญญา ตรงนี้ทาง SE-ED คงทำใจอยู่แล้ว
นี่เป็นการคาดการณ์จากปัจจุบันนะครับ แต่ถ้าเกิด B2S ไม่ประสบผลสำเร็จในการเปิดร้านในทำเลเหล่านั้น จนขาดแรงจูงใจที่จะไปในอนาคต ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะ SE-ED น่าจะยังมีสัญญาเช่าอีกนานพอที่ผู้บริหารของบิ๊กซี และ B2S จะมีเวลาตัดสินใจว่าผลการเปิด B2S ในบิ๊กซีสาขาใหม่ๆ เป็นอย่างไร
แต่ถ้าเป็นพื้นที่ที่ทางเซ็นทรัลพัฒนา เป็นเจ้าของ ซึ่งคือศูนย์การค้าที่มีชื่อว่าเซ็นทรัลนำหน้า และมี B2S อยู่แล้วในส่วนห้างสรรพสินค้า ในส่วนพื้นที่พลาซ่า ก็น่าจะต่อสัญญาเช่าให้ SE-ED ในฐานะผู้เช่าตามปกติ เพียงแต่คงมีการขึ้นราคาค่าเช่าทุก 3 ปี
2. ระบบสารสนเทศ ที่ทางผู้บริหาร SE-ED เล่าให้ฟังนั้น เป็นเรื่องที่ทาง SE-ED ให้ความสำคัญมาก และจะเอามาใช้เป็นเครื่องมือหลักในการปรับปรุงสภาพการทำกำไร ที่ได้ยินมาได้แก่ การที่จะเอามาช่วยตัดสินใจปรับปรุงการทำกำไรต่อพื้นที่ขาย การบริหารสต็อกสินค้าให้เหมาะสมขึ้น การช่วยตัดสินใจแทนคน และการลดงานซ้ำซ้อน เพื่อทำให้พนักงานที่มีอยู่รองรับสาขาได้มากขึ้นโดยไม่ต้องเพิ่มจำนวนพนักงานอีก (ซึ่งก็คือ ลดค่าใช้จ่าย หรือการเพิ่มกำไรนั่นเอง) การบริหารศูนย์กระจายสินค้า และการจัดส่ง การบริหารงานขาย การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ เป็นต้น
ส่วนอีกส่วนหนึ่ง เป็นการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานในระบบการทำงานให้สามารถให้บริการได้เร็วขึ้น และมากขึ้น
3. การซื้อหุ้นคืน นาจะมีการซื้อต่อ เพราะสภาพคล่องของ SE-ED ยังมีเหลืออยู่ แต่จะซื้อได้ครบทันเวลาหรือไม่ ผมไม่ทราบครับ
4. ยังไม่ได้ยินเรื่องการเปิดแบบ stand alone เป็นเรื่องเป็นราวนะครับ แต่ผู้บริหารแจ้งว่ากำลังทดสอบรูปแบบใหม่ๆ อยู่อีกหลายรูปแบบ ดังนั้น ทิศทางการเติบโตว่าจะไปทางใดกรณีที่ห้างเปิดน้อยลงนี้จะชัดเจนขึ้น ก็น่าจะ ต้องปี 2548 กระมังครับ ซึ่งถึงตอนนั้น SE-ED คงมีสาขาไม่น้อยกว่า 210 สาขาแล้ว
และขอเสริมท่านอื่นๆ อีกนิดครับ ว่าสำหรับ SE-ED แล้ว ค่ากระดาษที่เพิ่มขึ้นคงไม่ใช่สาระสำคัญหลักนัก เพราะรายได้หลักในขณะนี้มาจากธุรกิจร้านหนังสือกว่า 80% ค่าใช้จ่ายหลักคงเป็นค่าใช้จ่ายด้านพนักงาน ค่าเช่า ค่าไฟฟ้า ค่าเสื่อมราคา และค่าขนส่ง เป็นหลัก
คงเข้ามาช่วยเสริมได้เท่านี้นะครับ เอาไว้ไปอัพเดตข้อมูลก่อนแล้วค่อยมาว่ากันใหม่อีกทีถ้ามีประเด็นที่น่าสนใจเพิ่มขึ้น
พอดีแวะกลับมาอ่าน เห็นคุณฝากให้ไปถามผู้บริหารของ SE-ED แต่ช่วงนี้ผมยังไม่มีคิวขอนัดสัมภาษณ์ครับ จึงขอตอบตามข้อมูลเดิมที่มีอยู่ ดังนี้
1. สัญญาเช่าพื้นที่ของ SE-ED ส่วนใหญ่จะมีสัญญาเช่าระหว่าง 6-10 ปีครับ ถ้าเป็นเซ้งก็น่าจะอยู่ระหว่าง 20 ปีขึ้นไป ในบิ๊กซีก็น่าจะอยู่ภายใต้เงื่อนไขนี้ ส่วนที่เซ็นทรัล ส่วนหนึ่งที่เป็นสาขาเก่า (อย่างพวก บางนา ปิ่นเกล้า) คงเป็นการเซ้งระยะยาว สาขาในเซ็นทรัลนอกนั้นคงเป็นการเช่า (เช่น สาขาพระราม 3 พระราม 2 และแอร์พอร์ตพลาซ่าเชียงใหม่) เพราะนโยบายของเซ็นทรัลพัฒนา ซึ่งเป็นผู้ให้เช่า คงต้องการทำกำไรระยะยาวตามข่าวในหนังสือพิมพ์ โดยการขึ้นราคาเป็นระยะๆ
ในการพิจารณาเรื่องที่ถามว่า จะมีแนวโน้มต่อสัญญาหรือไม่ เพราะเกรงว่าเซ็นทรัลจะกั๊กพื้นที่ให้ B2S หรือไม่นั้น ตรงนี้ผมคงตอบไม่ได้ แต่ถ้าให้เดาคิดว่าทางกลุ่มเซ็นทรัลรีเทล (หรือ CRC ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในบิ๊กซี โรบินสัน ท็อปส์ และเป็นผู้ดำเนินการ B2S SuperSport PowerBuy Office Depot HomeWorks เป็นต้น) คงจะพยายามผลักดันให้ B2S ได้เกิดในบิ๊กซี ซึ่งเขาถือหุ้น และเป็นกรรมการอยู่ รวมทั้งที่ใดที่เขามีบทบาทจะแทรกตัวเข้าไปแทนที่ SE-ED ได้ ซึ่งน่าจะหมายถึงโรบินสัน และท็อปส์ ทั้งหมด และเอา B2S ไปเสียบแทนที่เมื่อมีการหมดสัญญา ตรงนี้ทาง SE-ED คงทำใจอยู่แล้ว
นี่เป็นการคาดการณ์จากปัจจุบันนะครับ แต่ถ้าเกิด B2S ไม่ประสบผลสำเร็จในการเปิดร้านในทำเลเหล่านั้น จนขาดแรงจูงใจที่จะไปในอนาคต ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะ SE-ED น่าจะยังมีสัญญาเช่าอีกนานพอที่ผู้บริหารของบิ๊กซี และ B2S จะมีเวลาตัดสินใจว่าผลการเปิด B2S ในบิ๊กซีสาขาใหม่ๆ เป็นอย่างไร
แต่ถ้าเป็นพื้นที่ที่ทางเซ็นทรัลพัฒนา เป็นเจ้าของ ซึ่งคือศูนย์การค้าที่มีชื่อว่าเซ็นทรัลนำหน้า และมี B2S อยู่แล้วในส่วนห้างสรรพสินค้า ในส่วนพื้นที่พลาซ่า ก็น่าจะต่อสัญญาเช่าให้ SE-ED ในฐานะผู้เช่าตามปกติ เพียงแต่คงมีการขึ้นราคาค่าเช่าทุก 3 ปี
2. ระบบสารสนเทศ ที่ทางผู้บริหาร SE-ED เล่าให้ฟังนั้น เป็นเรื่องที่ทาง SE-ED ให้ความสำคัญมาก และจะเอามาใช้เป็นเครื่องมือหลักในการปรับปรุงสภาพการทำกำไร ที่ได้ยินมาได้แก่ การที่จะเอามาช่วยตัดสินใจปรับปรุงการทำกำไรต่อพื้นที่ขาย การบริหารสต็อกสินค้าให้เหมาะสมขึ้น การช่วยตัดสินใจแทนคน และการลดงานซ้ำซ้อน เพื่อทำให้พนักงานที่มีอยู่รองรับสาขาได้มากขึ้นโดยไม่ต้องเพิ่มจำนวนพนักงานอีก (ซึ่งก็คือ ลดค่าใช้จ่าย หรือการเพิ่มกำไรนั่นเอง) การบริหารศูนย์กระจายสินค้า และการจัดส่ง การบริหารงานขาย การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ เป็นต้น
ส่วนอีกส่วนหนึ่ง เป็นการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานในระบบการทำงานให้สามารถให้บริการได้เร็วขึ้น และมากขึ้น
3. การซื้อหุ้นคืน นาจะมีการซื้อต่อ เพราะสภาพคล่องของ SE-ED ยังมีเหลืออยู่ แต่จะซื้อได้ครบทันเวลาหรือไม่ ผมไม่ทราบครับ
4. ยังไม่ได้ยินเรื่องการเปิดแบบ stand alone เป็นเรื่องเป็นราวนะครับ แต่ผู้บริหารแจ้งว่ากำลังทดสอบรูปแบบใหม่ๆ อยู่อีกหลายรูปแบบ ดังนั้น ทิศทางการเติบโตว่าจะไปทางใดกรณีที่ห้างเปิดน้อยลงนี้จะชัดเจนขึ้น ก็น่าจะ ต้องปี 2548 กระมังครับ ซึ่งถึงตอนนั้น SE-ED คงมีสาขาไม่น้อยกว่า 210 สาขาแล้ว
และขอเสริมท่านอื่นๆ อีกนิดครับ ว่าสำหรับ SE-ED แล้ว ค่ากระดาษที่เพิ่มขึ้นคงไม่ใช่สาระสำคัญหลักนัก เพราะรายได้หลักในขณะนี้มาจากธุรกิจร้านหนังสือกว่า 80% ค่าใช้จ่ายหลักคงเป็นค่าใช้จ่ายด้านพนักงาน ค่าเช่า ค่าไฟฟ้า ค่าเสื่อมราคา และค่าขนส่ง เป็นหลัก
คงเข้ามาช่วยเสริมได้เท่านี้นะครับ เอาไว้ไปอัพเดตข้อมูลก่อนแล้วค่อยมาว่ากันใหม่อีกทีถ้ามีประเด็นที่น่าสนใจเพิ่มขึ้น
Symbol: SE-ED
Headline: รายงานผลการซื้อหุ้นคืนกรณีเพื่อการบริหารทางการเงิน16 ส.ค. 47
Time: 16 ส.ค. 2004 20:02:28
แบบรายงานผลการซื้อหุ้นคืนกรณีเพื่อการบริหารทางการเงิน
บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
วันที่ 16 สิงหาคม 2547
1. วิธีการในการซื้อหุ้นคืน
ซื้อในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
วันที่ครบกำหนดโครงการ 11 กันยายน 2547
(โครงการซื้อหุ้นคืนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีระยะเวลาดำเนินการไม่เกิน 6
เดือน)
2. โครงการซื้อหุ้นคืน
2.1 วันที่คณะกรรมการมีมติให้ซื้อหุ้นคืน 24 กุมภาพันธ์ 2547
2.2 ผลการซื้อหุ้นคืน
จำนวนหุ้นที่จะซื้อคืนสูงสุดตามโครงการ 25,783,600 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 9.99 ของหุ้นที่
จำหน่ายได้แล้ว ทั้งหมด (ณ วันที่ 28 มกราคม 2547)
ราคาที่ซื้อต่อหุ้น
วันที่ซื้อหุ้นคืน จำนวนหุ้นที่ซื้อคืน ราคาสูงสุด ราคาต่ำสุด มูลค่ารวม
(บาท/หุ้น) (บาท/หุ้น) (บาท)
16 สิงหาคม 2547 368,700 6.30 6.20 2,300,940
2.3 จำนวนหุ้นที่ซื้อคืนทั้งสิ้น
จำนวนรวมของหุ้นที่ซื้อคืนในโครงการจนถึงปัจจุบัน (รวมข้อ 2.2) 16,568,700 หุ้น มูลค่า
รวม 102,222,255 บาท
คิดเป็น 6.426% ของทุนชำระแล้ว 257,836,950 หุ้น ณ วันที่ 28 มกราคม 2547 หรือ
คิดเป็น 5.347% ของทุนชำระแล้ว 309,863,410 หุ้น ณ วันที่ 27 กรกฎาคม 2547 เนื่องจาก
ระหว่างวันที่ 28 มกราคม 2547 ถึง 27 กรกฎาคม 2547 มีการแปลงสภาพใบสำคัญแสดง
สิทธิซื้อหุ้นสามัญเป็นหุ้นสามัญ จึงทำให้ทุนชำระแล้วของบริษัทฯ เปลี่ยนแปลง
บริษัทขอรับรองว่าสารสนเทศในแบบรายงานนี้ถูกต้องและครบถ้วนทุกประการ
....................................................
(นายพงษ์ศักดิ์ ศิวะภัทรกำพล)
รองกรรมการผู้จัดการ
Headline: รายงานผลการซื้อหุ้นคืนกรณีเพื่อการบริหารทางการเงิน16 ส.ค. 47
Time: 16 ส.ค. 2004 20:02:28
แบบรายงานผลการซื้อหุ้นคืนกรณีเพื่อการบริหารทางการเงิน
บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
วันที่ 16 สิงหาคม 2547
1. วิธีการในการซื้อหุ้นคืน
ซื้อในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
วันที่ครบกำหนดโครงการ 11 กันยายน 2547
(โครงการซื้อหุ้นคืนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีระยะเวลาดำเนินการไม่เกิน 6
เดือน)
2. โครงการซื้อหุ้นคืน
2.1 วันที่คณะกรรมการมีมติให้ซื้อหุ้นคืน 24 กุมภาพันธ์ 2547
2.2 ผลการซื้อหุ้นคืน
จำนวนหุ้นที่จะซื้อคืนสูงสุดตามโครงการ 25,783,600 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 9.99 ของหุ้นที่
จำหน่ายได้แล้ว ทั้งหมด (ณ วันที่ 28 มกราคม 2547)
ราคาที่ซื้อต่อหุ้น
วันที่ซื้อหุ้นคืน จำนวนหุ้นที่ซื้อคืน ราคาสูงสุด ราคาต่ำสุด มูลค่ารวม
(บาท/หุ้น) (บาท/หุ้น) (บาท)
16 สิงหาคม 2547 368,700 6.30 6.20 2,300,940
2.3 จำนวนหุ้นที่ซื้อคืนทั้งสิ้น
จำนวนรวมของหุ้นที่ซื้อคืนในโครงการจนถึงปัจจุบัน (รวมข้อ 2.2) 16,568,700 หุ้น มูลค่า
รวม 102,222,255 บาท
คิดเป็น 6.426% ของทุนชำระแล้ว 257,836,950 หุ้น ณ วันที่ 28 มกราคม 2547 หรือ
คิดเป็น 5.347% ของทุนชำระแล้ว 309,863,410 หุ้น ณ วันที่ 27 กรกฎาคม 2547 เนื่องจาก
ระหว่างวันที่ 28 มกราคม 2547 ถึง 27 กรกฎาคม 2547 มีการแปลงสภาพใบสำคัญแสดง
สิทธิซื้อหุ้นสามัญเป็นหุ้นสามัญ จึงทำให้ทุนชำระแล้วของบริษัทฯ เปลี่ยนแปลง
บริษัทขอรับรองว่าสารสนเทศในแบบรายงานนี้ถูกต้องและครบถ้วนทุกประการ
....................................................
(นายพงษ์ศักดิ์ ศิวะภัทรกำพล)
รองกรรมการผู้จัดการ