ITV
ITV
ช่วยกันทำร้อยคนร้อยหุ้น เป็นที่ระลึก ITV กันเถอะครับ
ประวัติความเป็นมาและการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ
บริษัท สยามอินโฟเทนเมนท์ จำกัด ก่อตั้งเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2538 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มต้นและชำระแล้ว 250 ล้านบาท และมีการเพิ่มทุนเป็น 1,000 ล้านบาทในปีเดียวกัน ต่อมาในปี 2541 ได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจสถานีโทรทัศน์ระบบยู เอช เอฟ แห่งแรกของประเทศไทย ภายใต้ชื่อ สถานีโทรทัศน์ไอทีวี โดยบริษัท ฯ ได้รับสัมปทานจาก สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้เป็นผู้ดำเนินการบริหารสถานีเป็นระยะเวลา 30 ปี สิ้นสุดวันที่ 3 กรกฎาคม 2568 โดยบริษัท ฯ มีการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาการที่สำคัญ เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ และการบริหารงานดังนี้
ปี 2538 กลุ่มบริษัท สยามทีวีแอนด์คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด นำโดยธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (ธนาคารฯ) ได้รับอนุมัติ ให้เป็นผู้ดำเนินงาน โครงการโทรทัศน์ช่องใหม่ระบบยู เอช เอฟ จากสำนักงาน ฯ โดยได้ก่อตั้งบริษัท สยามอินโฟเทนเมนท์ จำกัด เพื่อลงนามในสัญญาสัมปทานเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2538
ปี 2539 บริษัทฯ ได้ดำเนินการจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์ และได้เริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2539
ปี 2540 บริษัทฯ มีสถานีส่งรวมทั้งสิ้น 36 สถานี สามารถให้บริการ ครอบคลุมพื้นที่ บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคใต้ของประเทศไทยเพียงบางจังหวัด นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน ตามที่กำหนด ในสัญญาสัมปทาน และได้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2541
ปี 2541 บริษัทฯ ได้ติดตั้งสถานีส่งบนอาคารใบหยก 2 มีขนาดกำลังส่ง ออกอากาศ 1,000 กิโลวัตต์ สามารถให้บริการ ในรัศมีประมาณ 100 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ทั่วกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล รวมทั้งจังหวัดในภาคกลาง
ปี 2542 กลุ่มบริษัท สยามทีวีแอนด์คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด นำโดยธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (ธนาคารฯ) ได้รับอนุมัติ ให้เป็นผู้ดำเนินงาน โครงการโทรทัศน์ช่องใหม่ระบบยู เอช เอฟ จากสำนักงาน ฯ โดยได้ก่อตั้งบริษัท สยามอินโฟเทนเมนท์ จำกัด เพื่อลงนามในสัญญาสัมปทานเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2538
ปี 2543 บริษัทฯ มีสถานีส่งรวมทั้งสิ้น 36 สถานี สามารถให้บริการ ครอบคลุมพื้นที่บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคใต้ของประเทศไทยเพียงบางจังหวัด นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน ตามที่กำหนด ในสัญญาสัมปทาน และได้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2541
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคใต้ของประเทศไทย เพียงบางจังหวัด นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน ตามที่กำหนดในสัญญาสัมปทาน และได้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2541
ปี 2544 เมื่อวันที่13 พฤศจิกายน 2544มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัทฯ โดยชินคอร์ป ได้ตกลง ซื้อหุ้นสามัญของบริษัทฯ จากธนาคารฯ จำนวน 106,250,000 หุ้น ในราคาหุ้นละ 10.6573 บาท รวมทั้งได้ดำเนินการเสนอ ซื้อหุ้นสามัญของบริษัทฯ จากผู้ถือหุ้นรายอื่นในราคาเดียวกัน เป็นผลให้ ชินคอร์ป เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด ทั้งนี้การดำเนินงานของบริษัทฯ ยังอยู่ภายใต้บริหารเดิม ต่อมาที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2544 ได้มีมติเปลี่ยนแปลง มูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้น จากเดิม 10 บาทต่อหุ้นเป็น 5 บาทต่อหุ้น ทำให้หุ้นทั้งหมดของบริษัทฯ เพิ่มเป็น 1,200 ล้านหุ้น โดยเป็นหุ้นที่ชำระแล้วจำนวน 850 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 5 บาท
ปี 2545 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึง 1 มีนาคม 2545 บริษัทฯ ได้เสนอขายหุ้นของบริษัทฯแก่ประชาชนทั่วไป จำนวน 300 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 6 บาท เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2545 บริษัทฯ ได้จดทะเบียนเพิ่มทุนชำระแล้วเป็น 5,750 ล้านบาทและในวันที่ 13 มีนาคม 2545 บริษัทฯ ได้เข้าจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ปี 2546 เพื่อเป็นการรองรับการขยายตัวของธุรกิจให้มีพื้นที่สำนักงานและสตูดิโอเพิ่มขึ้นเนื่องจาก บริษัทฯ มีการผลิตรายการเองมากขึ้น เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2546 บริษัทฯ ได้ดำเนินการย้ายสำนักงาน รวมทั้งสตูดิโอไปยังที่ทำการใหม่ เลขที่ 1010 อาคารชินวัตรทาวเวอร์ 3
บริษัทฯ ได้ปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ใหม่ เพื่อพร้อมรับการแข่งขันของธุรกิจสื่อโทรทัศน์ ที่มีความเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ โดยการปรับเปลี่ยนผังรายการใหม่ ภายใต้ Concept " Speed & Spice " ความมีพลัง ทันสมัย สร้างสรรค์ ทางด้านรายการข่าว ที่เน้นความลึก เข้มข้น ถูกต้อง และเป็นธรรม ส่วนรายการบันเทิง มีพลังแห่งสีสัน ความหลากหลาย เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่ตรงใจผู้ชมทุกรุ่น
เดือนธันวาคม 2546 คณะกรรมการบริษัทได้เพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัทเป็น 7,800 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 1,560 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 5 บาท โดยออกหุ้นสามัญใหม่ จำนวน 300 ล้านหุ้น เป็นเงิน 1,500 ล้านบาท จัดสรรเป็นการเฉพาะเจาะจง ให้นายไตรภพ ลิมปพัทธ์ และบริษัทกันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ซึ่งการขายหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าว จะสำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการตรวจสอบ Due Diligence ของบริษัท ทั้งนี้การเข้ามาร่วมงานของพันธมิตรทั้ง 2 รายเพื่อพัฒนาคุณภาพรายการ และเสริมฐานเงินทุนของไอทีวีให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
ปี 2547 เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2547 คณะอนุญาโตตุลาการได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดตามข้อพิพาท มีสาระสำคัญดังนี้
ให้สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ชดเชยความเสียหายโดยชำระเงินให้แก่บริษัทฯ จำนวน 20 ล้านบาท
ให้ปรับลดผลประโยชน์ตอบแทนตามสัญญาเข้าร่วมงานฯ ข้อ 5 วรรคหนึ่ง ในส่วนจำนวนเงินรับประกันผลประโยชน์ขั้นต่ำ ให้ปรับลดจากเดิมลงเหลือปีละ 230 ล้านบาท โดยไม่ต้องชำระขั้นต่ำส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี และปรับลดผลประโยชน์ตอบแทน เป็นอัตราร้อยละจากเดิมลงเหลือ อัตราร้อยละ 6.5 ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย และภาษีใดๆ โดยเปรียบเทียบ ระหว่างจำนวนเงินที่คำนวณได้ ตามอัตราร้อยละ 6.5 ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายและภาษีใดๆ กับเงินประกัน ผลประโยชน์ตอบแทน ขั้นต่ำ ปีละ 230 ล้านบาท จำนวนใดมากกว่าให้ชำระตามจำนวนที่มากกว่านั้น ทั้งนี้ นับแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2545 เป็นต้นไป
ให้สปน. คืนผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำที่บริษัทได้ชำระ โดยมีเงื่อนไขระหว่างพิจารณาข้อพิพาทนี้เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2546 จำนวน 800 ล้านบาท โดยคืนให้แก่บริษัทฯ จำนวน 570 ล้านบาท
ให้บริษัทฯ สามารถออกอากาศช่วงเวลา Prime Time คือช่วงเวลาระหว่าง 19.00 - 21.30 น. ได้โดยไม่ต้องถูกจำกัด เฉพาะรายการข่าว สารคดี และสาระประโยชน์ แต่ต้องเสนอรายการข่าว สารคดี และสาระประโยชน์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของเวลาออกอากาศทั้งหมด ทั้งนี้ภายใต้ข้อบังคับของกฎระเบียบที่ทางราชการออกใช้บังคับแก่สถานีวิทยุโทรทัศน์โดยทั่วไป
ทางด้านการปรับเปลี่ยนผังรายการนั้น หลังจากได้พันธมิตรใหม่ทั้ง 2 รายมาร่วมงานแล้ว ไอทีวีก็ได้ปรับราย การให้เหมาะสม กับกลุ่มผู้ชมทั่วประเทศ โดยเพิ่มเติมรายการประเภท บันเทิง และรายการเพื่อ ครอบครัวสมัยใหม่มากขึ้น และยังเพิ่มสัดส่วน ของรายการข่าวมากขึ้น นอกเหนือไปจากรายการข่าวประจำวันแล้ว ยังเพิ่มรายการไอทีวี ฮอตนิวส์ และรายการ ร่วมมือ ร่วมใจ ซึ่งได้รับความนิยมจากผู้ชมเป็นอย่างดี
ปัจจุบัน สถานีโทรทัศน์ไอทีวีมีสถานีเครือข่ายทั้งสิ้น 50 สถานี ซึ่งนับว่าเป็นสถานีโทรทัศน์ที่มี เครือข่ายมากที่สุด ในบรรดาสถานีโทรทัศน์ทุกช่อง ครอบคลุมประชากร ที่สามารถรับชมได้ ประมาณร้อยละ 98 ของประชากรทั้งหมดในประเทศไทย
ประวัติความเป็นมาและการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ
บริษัท สยามอินโฟเทนเมนท์ จำกัด ก่อตั้งเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2538 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มต้นและชำระแล้ว 250 ล้านบาท และมีการเพิ่มทุนเป็น 1,000 ล้านบาทในปีเดียวกัน ต่อมาในปี 2541 ได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจสถานีโทรทัศน์ระบบยู เอช เอฟ แห่งแรกของประเทศไทย ภายใต้ชื่อ สถานีโทรทัศน์ไอทีวี โดยบริษัท ฯ ได้รับสัมปทานจาก สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้เป็นผู้ดำเนินการบริหารสถานีเป็นระยะเวลา 30 ปี สิ้นสุดวันที่ 3 กรกฎาคม 2568 โดยบริษัท ฯ มีการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาการที่สำคัญ เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ และการบริหารงานดังนี้
ปี 2538 กลุ่มบริษัท สยามทีวีแอนด์คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด นำโดยธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (ธนาคารฯ) ได้รับอนุมัติ ให้เป็นผู้ดำเนินงาน โครงการโทรทัศน์ช่องใหม่ระบบยู เอช เอฟ จากสำนักงาน ฯ โดยได้ก่อตั้งบริษัท สยามอินโฟเทนเมนท์ จำกัด เพื่อลงนามในสัญญาสัมปทานเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2538
ปี 2539 บริษัทฯ ได้ดำเนินการจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์ และได้เริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2539
ปี 2540 บริษัทฯ มีสถานีส่งรวมทั้งสิ้น 36 สถานี สามารถให้บริการ ครอบคลุมพื้นที่ บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคใต้ของประเทศไทยเพียงบางจังหวัด นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน ตามที่กำหนด ในสัญญาสัมปทาน และได้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2541
ปี 2541 บริษัทฯ ได้ติดตั้งสถานีส่งบนอาคารใบหยก 2 มีขนาดกำลังส่ง ออกอากาศ 1,000 กิโลวัตต์ สามารถให้บริการ ในรัศมีประมาณ 100 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ทั่วกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล รวมทั้งจังหวัดในภาคกลาง
ปี 2542 กลุ่มบริษัท สยามทีวีแอนด์คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด นำโดยธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (ธนาคารฯ) ได้รับอนุมัติ ให้เป็นผู้ดำเนินงาน โครงการโทรทัศน์ช่องใหม่ระบบยู เอช เอฟ จากสำนักงาน ฯ โดยได้ก่อตั้งบริษัท สยามอินโฟเทนเมนท์ จำกัด เพื่อลงนามในสัญญาสัมปทานเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2538
ปี 2543 บริษัทฯ มีสถานีส่งรวมทั้งสิ้น 36 สถานี สามารถให้บริการ ครอบคลุมพื้นที่บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคใต้ของประเทศไทยเพียงบางจังหวัด นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน ตามที่กำหนด ในสัญญาสัมปทาน และได้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2541
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคใต้ของประเทศไทย เพียงบางจังหวัด นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน ตามที่กำหนดในสัญญาสัมปทาน และได้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2541
ปี 2544 เมื่อวันที่13 พฤศจิกายน 2544มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัทฯ โดยชินคอร์ป ได้ตกลง ซื้อหุ้นสามัญของบริษัทฯ จากธนาคารฯ จำนวน 106,250,000 หุ้น ในราคาหุ้นละ 10.6573 บาท รวมทั้งได้ดำเนินการเสนอ ซื้อหุ้นสามัญของบริษัทฯ จากผู้ถือหุ้นรายอื่นในราคาเดียวกัน เป็นผลให้ ชินคอร์ป เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด ทั้งนี้การดำเนินงานของบริษัทฯ ยังอยู่ภายใต้บริหารเดิม ต่อมาที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2544 ได้มีมติเปลี่ยนแปลง มูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้น จากเดิม 10 บาทต่อหุ้นเป็น 5 บาทต่อหุ้น ทำให้หุ้นทั้งหมดของบริษัทฯ เพิ่มเป็น 1,200 ล้านหุ้น โดยเป็นหุ้นที่ชำระแล้วจำนวน 850 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 5 บาท
ปี 2545 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึง 1 มีนาคม 2545 บริษัทฯ ได้เสนอขายหุ้นของบริษัทฯแก่ประชาชนทั่วไป จำนวน 300 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 6 บาท เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2545 บริษัทฯ ได้จดทะเบียนเพิ่มทุนชำระแล้วเป็น 5,750 ล้านบาทและในวันที่ 13 มีนาคม 2545 บริษัทฯ ได้เข้าจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ปี 2546 เพื่อเป็นการรองรับการขยายตัวของธุรกิจให้มีพื้นที่สำนักงานและสตูดิโอเพิ่มขึ้นเนื่องจาก บริษัทฯ มีการผลิตรายการเองมากขึ้น เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2546 บริษัทฯ ได้ดำเนินการย้ายสำนักงาน รวมทั้งสตูดิโอไปยังที่ทำการใหม่ เลขที่ 1010 อาคารชินวัตรทาวเวอร์ 3
บริษัทฯ ได้ปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ใหม่ เพื่อพร้อมรับการแข่งขันของธุรกิจสื่อโทรทัศน์ ที่มีความเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ โดยการปรับเปลี่ยนผังรายการใหม่ ภายใต้ Concept " Speed & Spice " ความมีพลัง ทันสมัย สร้างสรรค์ ทางด้านรายการข่าว ที่เน้นความลึก เข้มข้น ถูกต้อง และเป็นธรรม ส่วนรายการบันเทิง มีพลังแห่งสีสัน ความหลากหลาย เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่ตรงใจผู้ชมทุกรุ่น
เดือนธันวาคม 2546 คณะกรรมการบริษัทได้เพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัทเป็น 7,800 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 1,560 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 5 บาท โดยออกหุ้นสามัญใหม่ จำนวน 300 ล้านหุ้น เป็นเงิน 1,500 ล้านบาท จัดสรรเป็นการเฉพาะเจาะจง ให้นายไตรภพ ลิมปพัทธ์ และบริษัทกันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ซึ่งการขายหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าว จะสำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการตรวจสอบ Due Diligence ของบริษัท ทั้งนี้การเข้ามาร่วมงานของพันธมิตรทั้ง 2 รายเพื่อพัฒนาคุณภาพรายการ และเสริมฐานเงินทุนของไอทีวีให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
ปี 2547 เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2547 คณะอนุญาโตตุลาการได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดตามข้อพิพาท มีสาระสำคัญดังนี้
ให้สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ชดเชยความเสียหายโดยชำระเงินให้แก่บริษัทฯ จำนวน 20 ล้านบาท
ให้ปรับลดผลประโยชน์ตอบแทนตามสัญญาเข้าร่วมงานฯ ข้อ 5 วรรคหนึ่ง ในส่วนจำนวนเงินรับประกันผลประโยชน์ขั้นต่ำ ให้ปรับลดจากเดิมลงเหลือปีละ 230 ล้านบาท โดยไม่ต้องชำระขั้นต่ำส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี และปรับลดผลประโยชน์ตอบแทน เป็นอัตราร้อยละจากเดิมลงเหลือ อัตราร้อยละ 6.5 ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย และภาษีใดๆ โดยเปรียบเทียบ ระหว่างจำนวนเงินที่คำนวณได้ ตามอัตราร้อยละ 6.5 ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายและภาษีใดๆ กับเงินประกัน ผลประโยชน์ตอบแทน ขั้นต่ำ ปีละ 230 ล้านบาท จำนวนใดมากกว่าให้ชำระตามจำนวนที่มากกว่านั้น ทั้งนี้ นับแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2545 เป็นต้นไป
ให้สปน. คืนผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำที่บริษัทได้ชำระ โดยมีเงื่อนไขระหว่างพิจารณาข้อพิพาทนี้เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2546 จำนวน 800 ล้านบาท โดยคืนให้แก่บริษัทฯ จำนวน 570 ล้านบาท
ให้บริษัทฯ สามารถออกอากาศช่วงเวลา Prime Time คือช่วงเวลาระหว่าง 19.00 - 21.30 น. ได้โดยไม่ต้องถูกจำกัด เฉพาะรายการข่าว สารคดี และสาระประโยชน์ แต่ต้องเสนอรายการข่าว สารคดี และสาระประโยชน์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของเวลาออกอากาศทั้งหมด ทั้งนี้ภายใต้ข้อบังคับของกฎระเบียบที่ทางราชการออกใช้บังคับแก่สถานีวิทยุโทรทัศน์โดยทั่วไป
ทางด้านการปรับเปลี่ยนผังรายการนั้น หลังจากได้พันธมิตรใหม่ทั้ง 2 รายมาร่วมงานแล้ว ไอทีวีก็ได้ปรับราย การให้เหมาะสม กับกลุ่มผู้ชมทั่วประเทศ โดยเพิ่มเติมรายการประเภท บันเทิง และรายการเพื่อ ครอบครัวสมัยใหม่มากขึ้น และยังเพิ่มสัดส่วน ของรายการข่าวมากขึ้น นอกเหนือไปจากรายการข่าวประจำวันแล้ว ยังเพิ่มรายการไอทีวี ฮอตนิวส์ และรายการ ร่วมมือ ร่วมใจ ซึ่งได้รับความนิยมจากผู้ชมเป็นอย่างดี
ปัจจุบัน สถานีโทรทัศน์ไอทีวีมีสถานีเครือข่ายทั้งสิ้น 50 สถานี ซึ่งนับว่าเป็นสถานีโทรทัศน์ที่มี เครือข่ายมากที่สุด ในบรรดาสถานีโทรทัศน์ทุกช่อง ครอบคลุมประชากร ที่สามารถรับชมได้ ประมาณร้อยละ 98 ของประชากรทั้งหมดในประเทศไทย
ESOP ที่ไม่มีโอกาสแปลงสภาพ
ที่ ITV-CP 017/2550
1 มีนาคม 2550
เรื่อง รายงานผลการใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญตามใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นสามัญของ
บริษัทฯ ที่ออกให้แก่ กรรมการและพนักงาน ของบริษัทฯ (โครงการ ESOP
ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3) ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2550
เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ตามที่บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ("บริษัท") ได้ออกและเสนอขาย
ใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นสามัญของบริษัทฯ ให้แก่ กรรมการ และพนักงานของบริษัทฯ
(โครงการ ESOP) โดยมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
รายละเอียดใบสำคัญแสดงสิทธิ ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3
จำนวนใบสำคัญแสดงสิทธิ
ที่เสนอขาย (หน่วย) 16,769,000 9,173,600 9,653,900
วันที่เสนอขาย 30 พฤษภาคม 2546 31 พฤษภาคม 2547 31 พฤษภาคม 2548
ราคาการใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญ (บาท/หุ้น) 5.38 17.81 13.79
อัตราการใช้สิทธิใบสำคัญแสดงสิทธิ 1 หน่วยต่อหุ้นสามัญ 1 หุ้น
อายุของใบสำคัญแสดงสิทธิ 5 ปี นับจากวันที่ออกและเสนอขาย
บริษัทฯ ขอรายงานผลการใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญตามใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นสามัญ
ของบริษัทฯ ที่ออกให้แก่ กรรมการ และพนักงานของบริษัทฯ (โครงการ ESOP) ครั้งที่ 1
ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ดังนี้
รายละเอียด ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3
จำนวนหน่วยของใบสำคัญแสดงสิทธิ
ที่ใช้สิทธิ (หน่วย) - - -
จำนวนหน่วยของใบสำคัญแสดงสิทธิ
ที่ยังไม่ได้ใช้สิทธิ (หน่วย) 10,071,600 9,173,600 9,653,900
จำนวนหุ้นสามัญที่ได้จากการ
ใช้สิทธิในครั้งนี้ (หุ้น) - - -
จำนวนหุ้นสามัญที่จัดสรรไว้รองรับ
การใช้สิทธิคงเหลือ (หุ้น) 10,071,600 9,173,600 9,653,900
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
ขอแสดงความนับถือ
(นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล)
กรรมการ
บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน)
ที่ ITV-CP 017/2550
1 มีนาคม 2550
เรื่อง รายงานผลการใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญตามใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นสามัญของ
บริษัทฯ ที่ออกให้แก่ กรรมการและพนักงาน ของบริษัทฯ (โครงการ ESOP
ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3) ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2550
เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ตามที่บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ("บริษัท") ได้ออกและเสนอขาย
ใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นสามัญของบริษัทฯ ให้แก่ กรรมการ และพนักงานของบริษัทฯ
(โครงการ ESOP) โดยมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
รายละเอียดใบสำคัญแสดงสิทธิ ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3
จำนวนใบสำคัญแสดงสิทธิ
ที่เสนอขาย (หน่วย) 16,769,000 9,173,600 9,653,900
วันที่เสนอขาย 30 พฤษภาคม 2546 31 พฤษภาคม 2547 31 พฤษภาคม 2548
ราคาการใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญ (บาท/หุ้น) 5.38 17.81 13.79
อัตราการใช้สิทธิใบสำคัญแสดงสิทธิ 1 หน่วยต่อหุ้นสามัญ 1 หุ้น
อายุของใบสำคัญแสดงสิทธิ 5 ปี นับจากวันที่ออกและเสนอขาย
บริษัทฯ ขอรายงานผลการใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญตามใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นสามัญ
ของบริษัทฯ ที่ออกให้แก่ กรรมการ และพนักงานของบริษัทฯ (โครงการ ESOP) ครั้งที่ 1
ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ดังนี้
รายละเอียด ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3
จำนวนหน่วยของใบสำคัญแสดงสิทธิ
ที่ใช้สิทธิ (หน่วย) - - -
จำนวนหน่วยของใบสำคัญแสดงสิทธิ
ที่ยังไม่ได้ใช้สิทธิ (หน่วย) 10,071,600 9,173,600 9,653,900
จำนวนหุ้นสามัญที่ได้จากการ
ใช้สิทธิในครั้งนี้ (หุ้น) - - -
จำนวนหุ้นสามัญที่จัดสรรไว้รองรับ
การใช้สิทธิคงเหลือ (หุ้น) 10,071,600 9,173,600 9,653,900
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
ขอแสดงความนับถือ
(นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล)
กรรมการ
บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน)
เก็บข้อมูลเอาไว้นะ เผื่อใครจะไปเล่นเกมโชว์
หลักทรัพย์ ITV
หัวข้อข่าว ตลาดหลักทรัพย์ขึ้นเครื่องหมาย SP หลักทรัพย์ ITV
วันที่/เวลา 28 ก.พ. 2550 09:49:00
ตลาดหลักทรัพย์ขึ้นเครื่องหมาย SP หลักทรัพย์ ITV
ตามที่ได้ปรากฏข่าวในสื่อต่างๆเป็นการทั่วไปว่าคณะรัฐมนตรีมีมติให้สำนักปลัด
ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ยกเลิกสัญญาสัมปทานกับบริษัท ไอทีวี จำกัด
(มหาชน) (ITV) ได้ หาก ITV ไม่จ่ายค่าปรับและค่าสัมปทานส่วนต่างภายใน
วันที่ 6 มีนาคม 2550 ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ยังไม่ได้รับทราบข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว
จาก ITV ดังนั้น ตลาดหลักทรัพย์จึงหยุดพักการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทเป็นการ
ชั่วคราวตั้งแต่ภาคบ่ายของวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2550 จนกว่าบริษัทจะได้ชี้แจงหรือ
เปิดเผยสารสนเทศสำคัญดังกล่าวมายังตลาดหลักทรัพย์
(รายละเอียดปรากฏตามข่าวตลาดหลักทรัพย์ประจำวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2550)
บัดนี้ ITV ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ว่า หาก สปน. ยังยืนยันให้บริษัทชำระหนี้
ค่าปรับและค่าสัมปทานส่วนต่างดังกล่าวข้างต้นรวมจำนวนประมาณ100,000 ล้านบาท
ภายใน 6 มีนาคม 2550 ที่จะถึงนี้นั้น บริษัทคงไม่สามารถหาแหล่งเงินมาชำระหนี้
ดังกล่าวได้ ทั้งนี้หากบริษัทถูกยกเลิกสัญญาสัมปทานซึ่งมีผลบังคับตามกฎหมาย
จะส่งผลให้บริษัทไม่สามารถออกอากาศต่อไปได้ เนื่องจากไม่มีใบอนุญาตประกอบ
กิจการแล้ว
(รายละเอียดปรากฏตามข่าวตลาดหลักทรัพย์ประจำวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2550)
จากข้อมูลดังกล่าวจะกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการดำเนินงาน ฐานะการเงิน
และการประกอบธุรกิจของ ITV ซึ่งอาจส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อการซื้อหรือ
ขายหลักทรัพย์ ITV รวมถึงสถานะการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ตลาดหลักทรัพย์จึงยังคงสั่งห้ามการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ ITV โดยขึ้นเครื่อง
หมาย SP (Suspension) เพื่อห้ามการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ของ ITV
ตั้งแต่การซื้อขายรอบเช้าของวันที่ 28 ก.พ. 50 จนกว่าบริษัทจะชี้แจงแนวทาง
แก้ไขปัญหาที่ชัดเจนในการดำรงอยู่ของกิจการและการดำเนินธุรกิจของบริษัทต่อไป
หลักทรัพย์ ITV
หัวข้อข่าว ตลาดหลักทรัพย์ขึ้นเครื่องหมาย SP หลักทรัพย์ ITV
วันที่/เวลา 28 ก.พ. 2550 09:49:00
ตลาดหลักทรัพย์ขึ้นเครื่องหมาย SP หลักทรัพย์ ITV
ตามที่ได้ปรากฏข่าวในสื่อต่างๆเป็นการทั่วไปว่าคณะรัฐมนตรีมีมติให้สำนักปลัด
ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ยกเลิกสัญญาสัมปทานกับบริษัท ไอทีวี จำกัด
(มหาชน) (ITV) ได้ หาก ITV ไม่จ่ายค่าปรับและค่าสัมปทานส่วนต่างภายใน
วันที่ 6 มีนาคม 2550 ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ยังไม่ได้รับทราบข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว
จาก ITV ดังนั้น ตลาดหลักทรัพย์จึงหยุดพักการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทเป็นการ
ชั่วคราวตั้งแต่ภาคบ่ายของวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2550 จนกว่าบริษัทจะได้ชี้แจงหรือ
เปิดเผยสารสนเทศสำคัญดังกล่าวมายังตลาดหลักทรัพย์
(รายละเอียดปรากฏตามข่าวตลาดหลักทรัพย์ประจำวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2550)
บัดนี้ ITV ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ว่า หาก สปน. ยังยืนยันให้บริษัทชำระหนี้
ค่าปรับและค่าสัมปทานส่วนต่างดังกล่าวข้างต้นรวมจำนวนประมาณ100,000 ล้านบาท
ภายใน 6 มีนาคม 2550 ที่จะถึงนี้นั้น บริษัทคงไม่สามารถหาแหล่งเงินมาชำระหนี้
ดังกล่าวได้ ทั้งนี้หากบริษัทถูกยกเลิกสัญญาสัมปทานซึ่งมีผลบังคับตามกฎหมาย
จะส่งผลให้บริษัทไม่สามารถออกอากาศต่อไปได้ เนื่องจากไม่มีใบอนุญาตประกอบ
กิจการแล้ว
(รายละเอียดปรากฏตามข่าวตลาดหลักทรัพย์ประจำวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2550)
จากข้อมูลดังกล่าวจะกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการดำเนินงาน ฐานะการเงิน
และการประกอบธุรกิจของ ITV ซึ่งอาจส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อการซื้อหรือ
ขายหลักทรัพย์ ITV รวมถึงสถานะการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ตลาดหลักทรัพย์จึงยังคงสั่งห้ามการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ ITV โดยขึ้นเครื่อง
หมาย SP (Suspension) เพื่อห้ามการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ของ ITV
ตั้งแต่การซื้อขายรอบเช้าของวันที่ 28 ก.พ. 50 จนกว่าบริษัทจะชี้แจงแนวทาง
แก้ไขปัญหาที่ชัดเจนในการดำรงอยู่ของกิจการและการดำเนินธุรกิจของบริษัทต่อไป
หลังเที่ยงคืน ไอทีวี จอดับไม่มีกำหนด-ส่งกฤษฎีกาเคลียร์ กม.ก่อน
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 6 มีนาคม 2550 15:19 น.
หลังเที่ยงคืนนี้ ไอทีวี จอดับชั่วคราว รัฐบาลส่งให้กฤษฎีกาตีความข้อกฎหมายให้ชัดเจนก่อน ขณะเดียวกันเลิกอุ้มพนักงานปล่อยเป็นเรื่องของบริษัทกับพนักงาน หากไม่เป็นธรรม กระทรวงแรงงานจะเข้าไปดูแล พร้อมทั้งยกเลิกเช่าตึกชินวัตร 3 ด้วย
วันนี้ (6 มี.ค.) คุณหญิงทิพาวดี เฆมสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีว่า ในการพิจารณาของครม.ตนและนายจุลยุทธ หิรัณยะวสิต ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้นำเสนอผลการดำเนินในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาต่อครม.โดยมี 4 ประเด็นที่ต้องพิจารณาคือ1.เรื่องโครงสร้างที่มีข้อจำกัดที่มีข้อจำกัดในข้อกฎหมาย 2.เรื่องสัญญาที่มีสัญญาร่วมการงานฯ ที่จะต้องแจ้งยกเลิกสัญญา ซึ่งมีมูลค่าที่ทางบริษัทไอทีวีติดค้างอยู่จะต้องชำระกับให้ สปน.ประมาณกว่าหนึ่งแสนล้านบาท นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดที่ได้ตรวจสอบก็พบว่า ทรัพย์สินอุปกรณ์ต่างๆ ที่ในสัญญาเขียนไว้วา จะต้องตกเป็นของ สปน. เมื่อได้ตรวจสอบในเบื้องต้นพบว่า มีมูลค่าไม่ตรงกัน เพราะมูลค่าที่ทาง สปน.มีอยู่ ยังมีการค้างอยู่อีกประมาณ 557.2 ล้านบาท ดังนั้นในแง่รายละเอียดของอุปกรณ์ที่ต้องตกเป็นของสปน.ก็ยังเป็นประเด็นที่ยังเป็นประเด็นทางกฎหมายที่ไม่ตรงกันอยู่
นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดที่ไอทีวีทำสัญญาไว้กับบริษัทย่อยๆ ซึ่งในสัญญาที่ต้องดูแลถ้าจะมีการรับมอบกันมีสัญญามากถึง 446 สัญญา ส่วนบุคลากรของไอทีวีนั้นจากที่ได้ดูข้อกฎหมายถือว่าเป็นความรับผิดชอบของไอทีวี จากการประสานงานกับนายอภัย จันทนจุลกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ก็ได้ตรวจสอบข้อกฎหมายแล้ว เห็นว่ามีกฎหมาย 2 ฉบับ ที่จะดูแลพนักงานไอทีวี หลังจากที่หยุดกิจการ คือกฎหมายเกี่ยวกับแรงงาน และกฎหมายประกันสังคม คาดว่าไอทีวีคงจะดำเนินกับพนักงานให้เป็นไปตามข้อกฎหมายทุกประการ ซึ่งตนคิดว่าไม่มีปัญหาอะไรกับพนักงานของไอวีที เพราะจะได้รับค่าชดเชยและการดูแลให้เป็นไปตามเงื่อนไขของกฎหมายแรงงานทุกประการ ถ้าหากสามารถดำเนินการได้ก็จะมีการว่าจ้างบุคลากรของไอทีวีก็จะดำเนินการว่าจ้างต่อไป แต่ตอนนี้ต้องตัดตอนออกจากไอทีวีเสียก่อน โดยเงื่อนไขในการว่าจ้างจะต้องอยู่ภายใต้การกำกับของกรมประชาสัมพันธ์
เมื่อถามต่อว่าภายหลังที่คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความออกมาว่าสามารถดำเนินการต่อได้ พนักงานไอทีวีสามารถกลับมาทำงานใช่หรือไม่ คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า ในการบริหารวิทยุโทรทัศน์มีสิ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญคือคลื่น อุปกรณ์ และบุคลากร ดังนั้นเมื่อรัฐบาลจำเป็นต้องแก้ปัญหาโดยการมอบให้กรมประชาสัมพันธ์เป็นผู้บริหาร ทางกรมประชาสัมพันธ์ก็จำเป็นต้องมีบุคลากร แต่ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ ดังนั้นแนวทางที่คณะทำงานจะดำเนินการต่อคือต้องพิจารณารายละเอียดของบุคลากร โดยหลักการคาดว่าจะมีการพิจารณาว่าจ้างพนักงานไอทีวีเก่าเข้ามาช่วยรับผิดชอบ เพราะถือเป็นเรื่องง่าย เนื่องจากพนักงานไอทีวีเป็นคนที่มีประสบการณ์อยู่แล้ว จึงสามารถเข้ามารับช่วง แต่ทุกอย่างทำในนามกรมประชาสัมพันธ์ แต่ไม่อยู่ในลักษณะข้าราชการ คาดว่าจะเป็นลูกจ้างตามสัญญาจ้าง ทั้งนี้มีความเป็นไปได้ว่าจะเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นที่มีความสามารถนอกเหนือจากพนักงานไอทีวีเดิมเข้าไปสมัครได้ด้วย
วันนี้สิ่งที่ครม.ได้พิจารณาและอภิปรายกันอย่างรอบคอบแล้วเห็นว่าในเรื่องของรูปสัญญาและการปกป้องคุ้มครองพิทักษ์สิทธิอันเป็นประโยชน์ของทางราชการ ก็จำเป็นจะต้องดำเนินการทุกอย่างให้เป็นไปตามขั้นตอนทุกประการ โดยทางสำนักงานอัยการสูงสุด จะเป็นผู้ดำเนินการในส่วนนี้ ซึ่งจะมีรายละเอียดในการรักษารูปคดีเอาไว้ เพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์ทางราชการไว้ ดังนั้นถ้ามีการยกเลิกสัญญาก็จะต้องเข้าไปดำเนินการทางกฎหมาย ส่วนอุปกรณ์ต่าง ๆ นั้น จำเป็นต้องเข้าไปตรวจสอบรายละเอียดที่มีเงื่อนเวลา และมีวิธีการทางกฎหมายที่จำเป็นต้องรักษาไว้ไม่ให้เสียรูปคดีคุณหญิงทิพาวดี กล่าว
คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า ทั้งนี้มีการพิจารณาในประเด็นที่ว่าเมื่อคลื่นได้กลับมาภายใต้ความรับผิดชอบของ สปน.จะมอบหมายให้กรมประชาสัมพันธ์เข้าไปเป็นผู้บริหารคลื่นนี้ อย่างไรก็ตามเพื่อให้เกิดความรอบคอบในเชิงอำนาจหน้าที่ของ สปน.เพื่อไม่ให้มีประเด็นที่ผิดกฎหมายมาตรา 80 ตามพ.ร.บ.ประกอบกิจการคลื่นความถี่วิทยุและโทรทัศน์ ก็จะต้องส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาวินิจฉัยตีความให้ถูกต้อง โดยคุณพรทิพย์ จาละ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาได้แจ้งว่าจะเร่งให้มีการประชุมเพื่อวินิจฉัยเรื่องนี้ให้เร็วที่สุด
คาดว่าวันศุกร์นี้จะได้รับคำตอบ ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 7 มี.ค.จนถึงความชัดเจนในแง่ของกฎหมายที่จะให้กรมประชาสัมพันธ์เข้ามาบริหารคลื่นนี้แทน สปน.ก็คงจะมีการเว้นช่วง ดังนั้นจึงขอแจ้งต่อพนักงานไอทีวีและประชาชนทุกคนว่าในการดำเนินการต่างๆ ได้ยึดถือขั้นตอนของกฎหมายอย่างเคร่งครัด และได้คำนึงถึงความรู้สึกของประชาชน รวมทั้งได้พิจารณาถึงโอกาสและทางเลือกที่ประชาชนจะได้สาระข้อมูลทางทีวี คิดว่าความไม่สะดวกคงมีระยะเวลาไม่นาน คุณหญิงทิพาวดีกล่าว
คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า นอกจากนี้ครม.ยังมีมติว่าในช่วงเวลาที่จะต้องทำคู่ขนานกันไปได้ขอให้คณะกรรมการกำกับกิจการสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟที่ตนเป็นประธานไปพิจารณาแนวทางและอนาคตของคลื่นว่าจะบริหารต่อไปอย่างไร ดังนั้นภารกิจที่มอบหมายกำหนดเวลาให้ดำเนินการไม่เกิน 1 เดือน และต้องนำมารายงานให้ครม.ทราบอีกครั้ง
ผู้สื่อข่าวถามว่าตกลงมติครม.เป็นอย่างไร คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า ครม.มีมติให้ทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย โดยให้สำนักงานอัยการสูงสุด หลังจากที่ สปน.แจ้งยกเลิกสัญญาก็จะต้องดำเนินการตามกฎหมายทุกประการ
มันต้องปิดเป็นการชั่วคราว ต้องรอจนกว่าจะมีความชัดเจนในข้อกฎหมายที่คณะกรรมการกฤษฎีกา จะเป็นผู้ตอบคาดว่าวันศุกร์ที่ 9 มี.ค.นี้จะได้รับคำตอบที่ชัดเจนคุณหญิงทิพาวดี กล่าว
เมื่อถามว่าก่อนหน้านี้เคยชี้แจงว่าจะมีการระงับการออกอากาศของไอทีวีเป็นเวลา 1 เดือน ยังยืนยันตามเดิมหรือไม่ คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า ก่อนหน้านี้เคยประเมินเอาไว้ว่าคาดว่าอาจจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือนจริง แต่ตอนนี้เรามีทางออกแล้วงว่าถ้ามอบหมายให้กรมประชาสัมพันธ์ดำเนินการได้ ดังนั้นช่วงที่จะมีการตรวจอุปกรณ์ก็สามารถเดินคู่ขนานไปได้ เมื่อถามย้ำว่านับจากวันที่ 7 มี.ค.เป็นต้นไป จะมีการออกอากาศหรือไม่ คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า ไม่มี เพราะเมื่อมีการยกเลิกสัญญาแล้วคงไม่สามารถออกอากาศได้จนกว่าจะได้รับคำตอบจากกฤษฎีกา นอกจากนี้ยังมีประเด็นที่ติดขัดอีกคือ ขณะนี้สถานีโทรทัศน์ไอทีวีเช่าตึกชินวัตร 3 ดังนั้นเมื่อมีการยกเลิกสัญญาก็ต้องยกเลิกสัญญาการเช่าตึกด้วย ซึ่งอุปกรณ์ต่างๆ ก็จะถูกถ่ายโอนออกจากสำนักงานมาไว้ที่กรมประชาสัมพันธ์หรือสถานที่ที่ สปน.กำหนด ซึ่งจะมีช่วงเวลาที่ขลุกขลักประมาณ 3-4 วัน โดยตั้งแต่วันที่ 7 มี.ค.นี้จะมีการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ เพราะถือว่าเมื่อบอกเลิกสัญญาทุกอย่างต้องสิ้นสุดลง และกลับคืนมาเป็นสปน.
เมื่อถามว่ากระบวนการต่อจากนี่กรมประชาสัมพันธ์สามารถว่าจ้าง บมจ.อสมท.มาทำรายการได้หรือไม่ คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า เมื่อได้รับคำตอบจากกฤษฎีกาแล้ว หากตอบว่าสปน.ในฐานะที่เป็นผู้รับผิดชอบคลื่นสามารถมอบให้กรมประชาสัมพันธ์ที่อยู่ในสังกัดสปน.และได้รับการยกเว้นให้เป็นบริหารสถานีวิทยุและโทรทัศน์ได้สามารถดำเนินการต่อไปได้ ก็จะออกอากาศได้ โดยทางกรมประชาสัมพันธ์จะต้องตั้งบริษัทลูกขึ้นมาเพื่อรับสมัครพนักงานเข้าทำงาน ซึ่งตรงนี้จะเปิดโอกาสให้บุคคลที่มีความสามารถจากภายนอกเข้ามาสมัครได้ด้วย
ส่วนเหตุผลที่ไม่ให้ อสมท.เข้ามาบริหารไอทีวี ทั้งที่เคยมีแนวคิดก่อนก่อนหน้านี้นั้น ต้องขอชี้แจงว่าตอนนี้เราเปลี่ยนแล้ว เพราะในเชิงเทคนิคกรมประชาสัมพันธ์สามารถเข้าไปรับช่วงได้ ซึ่งได้รับการยืนยันจากนายปราโมช รัฐวินิจ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์แล้ว แต่เพื่อให้เกิดความรอบคอบและเป็นไปตามพ.ร.บ.ประกอบคลื่นความถี่วิทยุและโทรทัศน์ในช่วงที่ยังไม่มี กสช.มีประเด็นว่าถ้า สปน.ยกเลิกคลื่นความถี่นี้แล้ว คลื่นจะกลับมาเป็นของ สปน.แต่สปน.ไม่มีใบอนุญาตในการประกอบกิจการจึงไม่สามารถบริหารสถานีได้ แต่ผู้ที่สามารถบริหารได้คือกรมประชาสัมพันธ์และ อสมท. แต่ขณะนี้มีความชัดเจนแล้วว่าจะให้กรมประชาสัมพันธ์เป็นผู้ดำเนินการเท่านั้นคุณหญิงทิพาวดี กล่าว
เมื่อถามว่ามติครม.เป็นไปตามข้อกฎหมายหรือแรงกดดันทางการเมือง คุณหญิงทิพาวดี กล่าวยืนยันว่า ทั้งหมดเป็นไปตามข้อกฎหมายและคณะกรรมการฯที่พิจารณาเรื่องนี้ก็มีตัวแทนจากคณะกรรมการกฤษฎีด้วย โดยผู้แทนจากกฤษฎีกาก็ไม่สามารถตอบประเด็นทางข้อกฎหมายแทนองค์คณะได้ อย่างไรก็ตามสำหรับโครงสร้างนั้นเราจะมีทางออกให้ โดยอยู่ภายใต้การดูแลของคณะกรรมการชุดที่ตนเป็นประธาน
เมื่อถามว่ากระบวนการต่อจากนี้จะให้เอกชนเข้ามาดำเนินกิจการได้เลยหรือไม่ คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า ในช่วงระยะเวลาต่อจากนี้ ตนได้รับมอบหมายให้ทำงานคู่ขนานกันไป โดยในช่วง 1 เดือนจากนี้จะพิจารณาในภาพใหญ่ถึงอนาคตของคลื่นนี้ ดังนั้นภายใน 1 เดือนจะมีคำตอบและแนวทางในระยะยาวต่อไป
เมื่อถามว่ายืนยันได้หรือไม่ว่ากระบวรการเปิดประมูลจะมีความโปร่งใส โดยไม่มีการล็อกสเปกให้เอกชนรายใดรายหนึ่ง คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า ยังไม่มีการตัดสินใจให้เปิดประมูล เพราะในแง่ของกฎหมายยังทำไม่ได้ ต้องขอย้ำว่าในขณะนี้ตามเงื่อนไขของพ.ร.บ.ประกอบกิจการวิทยุฯมาตรา 80 กำหนดไว้ว่าผู้ครอบครองคลื่นไม่สามารถไปจัดสรรต่อ หรือโอนให้ใครได้ ดังนั้นการประมูลจึงขัดข้องด้วยข้อกฎหมาย ดังนั้นเวลา 1 เดือน ที่ครม.มอบหมายให้ตนไปดำเนินการจะต้องมองภาพใหญ่ ซึ่งอาจจะนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทำไมตอนแรกรู้ว่า อสมท.ไม่สามารถทำได้ แต่ยังเลือก อสมท.มาบริหาร รัฐบาลหลงทางไหม คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า ไม่ได้หลงทาง แต่เป็นทางเลือกในการพิจารณาดำเนินการซึ่งเรามีหลายทางเลือก การมอง อสมท.ก็เป็นทางเลือกหนึ่ง แต่เมื่อพิจารณาอีกครั้งว่าให้ทางกรมประชาสัมพันธ์ดำเนินการน่าจะเหมาะสมกว่าในตอนนี้ แต่ทั้งหมดนี้เป็นการชั่วคราวเท่านั้น เมื่อถามว่า เป็นปัญหาทางข้อกฎหมายหรือปัญหาการเมือง คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า เหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นบริษัทไอทีวีไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของสัญญาร่วมการงาน ดังนั้นรัฐบาลจำเป็นต้องรับภาระนี้ทั้งที่ปัญหานี้เป็นปัญหาที่เอกชนสร้างขึ้นมา แนวทางแก้ไขที่รัฐบาลพยายามทำมาตลอดคือทำด้วยความระมัดระวัง เพราะสัญญามีมูลค่าถึงแสนกว่าล้านบาท และมีรายละเอียดขึ้นตอนเยอะมาก ฉะนั้นต้องทำด้วยความรอบครอบเพื่อประโยชน์ของรัฐ และในฐานะเจ้าหนี้เรามีข้อมูลที่จะต้องรักษารูปคดีไว้ด้วยขณะหนึ่ง จะต้องตัดตอนทุกอย่าง ตรงนี้เป็นคำแนะนำของอัยการ เนื่องจากจะต้องมีการฟ้องร้องกันอีกยาว และจะโยงไปอีก ซึ่งไม่อยากพูด ขอพูดแค่นี้
เมื่อถามว่าผู้ผลิตรายการของไอทีวีที่ได้รับผลกระทบด้วยรัฐบาลจะทำอย่างไร คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า วันนี้คณะทำงานต้องทำงานกันทั้งคืน เพื่อหารือในรายละเอียดกัน เมื่อถามว่ารัฐบาลจะส่งฟ้องต่อเมื่อไหร่ คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า หลังจากแจ้งยกเลิกสัญญา ซึ่งจะต้องดำเนินการตามขั้นตอน เมื่อถามว่า แสดงว่าจะไม่มีการจ้าง อสมท.เข้าไปดำเนินการแล้ว คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า ไม่มี และบอร์ด อสมท.ไม่จำเป็นต้องประชุมกันเรื่องนี้แล้ว เมื่อถามว่ารัฐบาลได้มีการประเมินถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นหรือไม่ คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า เรียนตรงๆว่ารัฐบาลพยามเต็มที่แล้ว โดยพิจารณาขั้นตอนกฎหมายและความรู้สึกของประชาชนรวมถึงโอกาสที่ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสาร ยืนยันเราจำเป็นต้องดำเนินการอย่างนี้
เมื่อถามว่า ทำไมรัฐบาลถึงไม่แม่นในข้อกฎหมายต้องส่งอัยการตีความทุกเรื่อง คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า เราต้องการความรอบครอบไม่ได้โยนกฤษฎีกา และการที่เราต้องให้กรมประชาสัมพันธ์ดำเนินการ เพราะหากไม่ทำเช่นนี้ก็จะมีปัญหาข้อกฎหมายมาตรา 80 พ.ร.บ.คลื่นความถี่ ซึ่งในระหว่างยังไม่มี กสช.และ กทช.ห้ามมีการจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่หรือโอนไปให้คนอื่น สปน.ต้องบริหารคลื่นเอง แต่ สปน.ไม่มีสถานภาพในการบริหาร ฉะนั้นต้องให้กรมประชาสัมพันธ์ ที่สังกัด สปน.
เมื่อถามถึงกรณีที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล ระบุในรายการยามเฝ้าแผ่นดินว่า คุณหญิงเกี่ยวพันกับเงิน 40 ล้านดอลล่าร์ คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า ไม่มี ยังไม่รู้เลยว่าที่นายสนธิ พูดหมายถึงอะไร แต่โดยส่วนตัวเข้าใจว่าน่าจะหมายถึงโครงการเวิร์ลแบงค์ ที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)รายงานว่าโครงการดังกล่าวใช้จ่ายไม่คุ้มค่า อย่างไรก็ตามการพูดดังกล่าวไม่น่าจะเกี่ยวกับการตัดสินใจกรณีไอทีวีของตนเอง
เมื่อถามว่า หากกฤษฎีกาวินิจฉัยว่าทางกรมประชาสัมพันธ์สามารถดำเนินการได้รูปแบบผังรายการจะเป็นอย่างไร คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่น่ามีปัญหาขัดข้อง กรมประชาสัมพันธ์มีความพร้อมที่จะเดินหน้าออกอากาศ ซึ่งอาจจะนำเทปหรือรายการต่างๆมาออกอากาศได้ อย่างไรก็ตามการขอความชัดเจนกฤษฎีกาครั้งนี้เราไม่ได้ล๊อคเวลากฤษฎีกา แต่ทางเลขากฤษฎีกาบอกว่าการพิจารณาเร็วที่สุดน่าจะได้คำตอบวันศุกร์นี้
นายกฯได้ขอให้ยึดกฎหมายในการพิจารณาเป็นหลัก ซึ่งท่านเองก็เป็นห่วง เพราะเคยไปรับปากกับพนักงานไอทีวีไว้และใจจริงก็อยากดำเนินการให้เป็นไปตามที่รับปาก แต่เมื่อพบปัญหาติดขัดท่านก็พร้อมที่จะขอโทษพนักงาน คุณหญิงทิพาวดี กล่าวและว่าเรื่องนี้ไม่ได้มีคำตอบมาก่อน แต่เมื่อนายคัมภีร์ แก้วเจริญ กรรมการชุดของตนเอง ได้ไปตรวจเช็คทรัพย์สิน อุปกรณ์ต่างๆ แจ้งว่าในแง่ของรูปคดีจำเป็นอย่างยิ่งต้องยกเลิกสัญญาการเช่าตึกชินวัตรและขนย้ายอุปกรณ์ออกทันที
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่มีคำตอบชัดเจน ปรากฏว่าพนักงานไอทีวีถึงกับน้ำตาไหลพราก กอดคอกันร้องไห้ด้วยความเสียใจ ขณะเดียวกันเพื่อนๆผู้สื่อข่าวจากสำนักอื่นก็รู้สึกเห็นใจถึงขนาดร้องไห้ตามไปด้วย โดยส่วนใหญ่ได้ให้กำลังใจและขอให้พนักงานไอทีวียืดหยัดสู้ต่อไป
ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า ระหว่างการแถลงข่าวของคุณหญิงทิพาวดี ผู้สื่อข่าวของไอทีวีพยายามตะโกนคำถามเพื่อขอความชัดเจนให้รัฐบาลรับรองอนาคตในหน้าที่การงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรัฐบาลก็ได้รับปากไว้จะดูแล นอกจากนี้พนักงานไอทีวียังตั้งคำถามถึงความรับผิดชอบของรัฐบาลเกี่ยวกับผู้ร่วมผลิตรายการประมาณ 130 ราย ซึ่งคุณหญิงทิพาวดี ยืนกรานรัฐบาลยึดหลักถูกต้องของกฎหมายทุกอย่าง และโปร่งใสมาโดยตลอด
ต่อมาคุณหญิงทิพาวดี ให้สัมภาษณ์อีกครั้งว่า เมื่อคณะกรรมการกฤษฎีกาส่งผลการตีความมาให้รัฐบาลแล้วก็จะสามารถออกอากาศได้เลย แต่จะให้กรมประชาสัมพันธ์เป็นผู้ส่งสัญญาณ ซึ่งตนขอชี้แจงว่า แนวความคิดในการให้อสมท.เข้ามาบริหารไอทีวีนั้นไม่ใช่ความคิดของตน แต่เป็นแนวคิดของนายจุลยุทธ ที่ตนไม่ได้เกี่ยวข้อง
ส่วนนายปราโมช รัฐวินิจ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ให้สัมภาษณ์เพียงสั้น ๆ ว่า ตนถูกขอร้องจากครม.ไม่ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ ดังนั้นจึงไม่ขอพูดอะไร โดยจะให้ความชัดเจนได้ในวันพรุ่งนี้(7 มี.ค.)
ด้าน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้แถลงขออภัยพนักงานไอทีวีที่ไม่สามารถให้ไอทีวีออกอากาศต่อเนื่องได้ เนื่องจากจะมีผลกระทบในด้านข้อกฎหมาย รัฐบาลจำเป็นต้องยืนอยู่บนความถูกต้อง และยืนยันว่ามติ ครม.ครั้งนี้ได้ยึดตามแนวทางของกฎหมายเป็นหลัก
ขณะที่ คุณพรทิพย์ จาละ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี วันนี้ (6 มี.ค.) ว่า ขณะนี้ยังตอบไม่ได้ว่าจะใช้เวลาในการพิจารณาข้อกฎหมายเกี่ยวกับสถานีโทรทัศน์ไอทีวี นานเท่าใด เพราะยังไม่ทราบว่าสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) จะตั้งคำถามอย่างไร คงต้องให้ สปน. ถามมาก่อน กรณีนี้ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ไม่ได้ฝากอะไรเป็นพิเศษ เพียงแต่บอกให้ทำเร็วหน่อยเท่านั้น
ดิฉันจะพยายามให้คำตอบเท่าที่จะทำได้ เพราะเข้าใจว่าเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าล่าช้าจะมีปัญหา หากถามมาภายในวันนี้ (6 มี.ค.) ก็จะเร่งให้เสร็จภายใน วันที่ 7 หรือ 8 มีนาคม เพราะต้องให้เวลาเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบด้วย คุณพรทิพย์ กล่าว และว่าปกติคณะกรรมการกฤษฎีกา จะประชุมเพียง 2 ครั้ง คือ ครั้งแรก จะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาพิจารณาด้วย ถ้าได้ข้อยุติ การประชุมครั้งต่อไปก็จะตรวจดูบันทึกการประชุมเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า เมื่อคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็นแล้ว จะสามารถเปิดสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ได้เลยใช่หรือไม่ คุณพรทิพย์ กล่าวว่า คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาเพียงข้อกฎหมาย คณะรัฐมนตรีจะเป็นผู้ตัดสินใจ
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 6 มีนาคม 2550 15:19 น.
หลังเที่ยงคืนนี้ ไอทีวี จอดับชั่วคราว รัฐบาลส่งให้กฤษฎีกาตีความข้อกฎหมายให้ชัดเจนก่อน ขณะเดียวกันเลิกอุ้มพนักงานปล่อยเป็นเรื่องของบริษัทกับพนักงาน หากไม่เป็นธรรม กระทรวงแรงงานจะเข้าไปดูแล พร้อมทั้งยกเลิกเช่าตึกชินวัตร 3 ด้วย
วันนี้ (6 มี.ค.) คุณหญิงทิพาวดี เฆมสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีว่า ในการพิจารณาของครม.ตนและนายจุลยุทธ หิรัณยะวสิต ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้นำเสนอผลการดำเนินในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาต่อครม.โดยมี 4 ประเด็นที่ต้องพิจารณาคือ1.เรื่องโครงสร้างที่มีข้อจำกัดที่มีข้อจำกัดในข้อกฎหมาย 2.เรื่องสัญญาที่มีสัญญาร่วมการงานฯ ที่จะต้องแจ้งยกเลิกสัญญา ซึ่งมีมูลค่าที่ทางบริษัทไอทีวีติดค้างอยู่จะต้องชำระกับให้ สปน.ประมาณกว่าหนึ่งแสนล้านบาท นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดที่ได้ตรวจสอบก็พบว่า ทรัพย์สินอุปกรณ์ต่างๆ ที่ในสัญญาเขียนไว้วา จะต้องตกเป็นของ สปน. เมื่อได้ตรวจสอบในเบื้องต้นพบว่า มีมูลค่าไม่ตรงกัน เพราะมูลค่าที่ทาง สปน.มีอยู่ ยังมีการค้างอยู่อีกประมาณ 557.2 ล้านบาท ดังนั้นในแง่รายละเอียดของอุปกรณ์ที่ต้องตกเป็นของสปน.ก็ยังเป็นประเด็นที่ยังเป็นประเด็นทางกฎหมายที่ไม่ตรงกันอยู่
นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดที่ไอทีวีทำสัญญาไว้กับบริษัทย่อยๆ ซึ่งในสัญญาที่ต้องดูแลถ้าจะมีการรับมอบกันมีสัญญามากถึง 446 สัญญา ส่วนบุคลากรของไอทีวีนั้นจากที่ได้ดูข้อกฎหมายถือว่าเป็นความรับผิดชอบของไอทีวี จากการประสานงานกับนายอภัย จันทนจุลกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ก็ได้ตรวจสอบข้อกฎหมายแล้ว เห็นว่ามีกฎหมาย 2 ฉบับ ที่จะดูแลพนักงานไอทีวี หลังจากที่หยุดกิจการ คือกฎหมายเกี่ยวกับแรงงาน และกฎหมายประกันสังคม คาดว่าไอทีวีคงจะดำเนินกับพนักงานให้เป็นไปตามข้อกฎหมายทุกประการ ซึ่งตนคิดว่าไม่มีปัญหาอะไรกับพนักงานของไอวีที เพราะจะได้รับค่าชดเชยและการดูแลให้เป็นไปตามเงื่อนไขของกฎหมายแรงงานทุกประการ ถ้าหากสามารถดำเนินการได้ก็จะมีการว่าจ้างบุคลากรของไอทีวีก็จะดำเนินการว่าจ้างต่อไป แต่ตอนนี้ต้องตัดตอนออกจากไอทีวีเสียก่อน โดยเงื่อนไขในการว่าจ้างจะต้องอยู่ภายใต้การกำกับของกรมประชาสัมพันธ์
เมื่อถามต่อว่าภายหลังที่คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความออกมาว่าสามารถดำเนินการต่อได้ พนักงานไอทีวีสามารถกลับมาทำงานใช่หรือไม่ คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า ในการบริหารวิทยุโทรทัศน์มีสิ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญคือคลื่น อุปกรณ์ และบุคลากร ดังนั้นเมื่อรัฐบาลจำเป็นต้องแก้ปัญหาโดยการมอบให้กรมประชาสัมพันธ์เป็นผู้บริหาร ทางกรมประชาสัมพันธ์ก็จำเป็นต้องมีบุคลากร แต่ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ ดังนั้นแนวทางที่คณะทำงานจะดำเนินการต่อคือต้องพิจารณารายละเอียดของบุคลากร โดยหลักการคาดว่าจะมีการพิจารณาว่าจ้างพนักงานไอทีวีเก่าเข้ามาช่วยรับผิดชอบ เพราะถือเป็นเรื่องง่าย เนื่องจากพนักงานไอทีวีเป็นคนที่มีประสบการณ์อยู่แล้ว จึงสามารถเข้ามารับช่วง แต่ทุกอย่างทำในนามกรมประชาสัมพันธ์ แต่ไม่อยู่ในลักษณะข้าราชการ คาดว่าจะเป็นลูกจ้างตามสัญญาจ้าง ทั้งนี้มีความเป็นไปได้ว่าจะเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นที่มีความสามารถนอกเหนือจากพนักงานไอทีวีเดิมเข้าไปสมัครได้ด้วย
วันนี้สิ่งที่ครม.ได้พิจารณาและอภิปรายกันอย่างรอบคอบแล้วเห็นว่าในเรื่องของรูปสัญญาและการปกป้องคุ้มครองพิทักษ์สิทธิอันเป็นประโยชน์ของทางราชการ ก็จำเป็นจะต้องดำเนินการทุกอย่างให้เป็นไปตามขั้นตอนทุกประการ โดยทางสำนักงานอัยการสูงสุด จะเป็นผู้ดำเนินการในส่วนนี้ ซึ่งจะมีรายละเอียดในการรักษารูปคดีเอาไว้ เพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์ทางราชการไว้ ดังนั้นถ้ามีการยกเลิกสัญญาก็จะต้องเข้าไปดำเนินการทางกฎหมาย ส่วนอุปกรณ์ต่าง ๆ นั้น จำเป็นต้องเข้าไปตรวจสอบรายละเอียดที่มีเงื่อนเวลา และมีวิธีการทางกฎหมายที่จำเป็นต้องรักษาไว้ไม่ให้เสียรูปคดีคุณหญิงทิพาวดี กล่าว
คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า ทั้งนี้มีการพิจารณาในประเด็นที่ว่าเมื่อคลื่นได้กลับมาภายใต้ความรับผิดชอบของ สปน.จะมอบหมายให้กรมประชาสัมพันธ์เข้าไปเป็นผู้บริหารคลื่นนี้ อย่างไรก็ตามเพื่อให้เกิดความรอบคอบในเชิงอำนาจหน้าที่ของ สปน.เพื่อไม่ให้มีประเด็นที่ผิดกฎหมายมาตรา 80 ตามพ.ร.บ.ประกอบกิจการคลื่นความถี่วิทยุและโทรทัศน์ ก็จะต้องส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาวินิจฉัยตีความให้ถูกต้อง โดยคุณพรทิพย์ จาละ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาได้แจ้งว่าจะเร่งให้มีการประชุมเพื่อวินิจฉัยเรื่องนี้ให้เร็วที่สุด
คาดว่าวันศุกร์นี้จะได้รับคำตอบ ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 7 มี.ค.จนถึงความชัดเจนในแง่ของกฎหมายที่จะให้กรมประชาสัมพันธ์เข้ามาบริหารคลื่นนี้แทน สปน.ก็คงจะมีการเว้นช่วง ดังนั้นจึงขอแจ้งต่อพนักงานไอทีวีและประชาชนทุกคนว่าในการดำเนินการต่างๆ ได้ยึดถือขั้นตอนของกฎหมายอย่างเคร่งครัด และได้คำนึงถึงความรู้สึกของประชาชน รวมทั้งได้พิจารณาถึงโอกาสและทางเลือกที่ประชาชนจะได้สาระข้อมูลทางทีวี คิดว่าความไม่สะดวกคงมีระยะเวลาไม่นาน คุณหญิงทิพาวดีกล่าว
คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า นอกจากนี้ครม.ยังมีมติว่าในช่วงเวลาที่จะต้องทำคู่ขนานกันไปได้ขอให้คณะกรรมการกำกับกิจการสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟที่ตนเป็นประธานไปพิจารณาแนวทางและอนาคตของคลื่นว่าจะบริหารต่อไปอย่างไร ดังนั้นภารกิจที่มอบหมายกำหนดเวลาให้ดำเนินการไม่เกิน 1 เดือน และต้องนำมารายงานให้ครม.ทราบอีกครั้ง
ผู้สื่อข่าวถามว่าตกลงมติครม.เป็นอย่างไร คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า ครม.มีมติให้ทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย โดยให้สำนักงานอัยการสูงสุด หลังจากที่ สปน.แจ้งยกเลิกสัญญาก็จะต้องดำเนินการตามกฎหมายทุกประการ
มันต้องปิดเป็นการชั่วคราว ต้องรอจนกว่าจะมีความชัดเจนในข้อกฎหมายที่คณะกรรมการกฤษฎีกา จะเป็นผู้ตอบคาดว่าวันศุกร์ที่ 9 มี.ค.นี้จะได้รับคำตอบที่ชัดเจนคุณหญิงทิพาวดี กล่าว
เมื่อถามว่าก่อนหน้านี้เคยชี้แจงว่าจะมีการระงับการออกอากาศของไอทีวีเป็นเวลา 1 เดือน ยังยืนยันตามเดิมหรือไม่ คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า ก่อนหน้านี้เคยประเมินเอาไว้ว่าคาดว่าอาจจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือนจริง แต่ตอนนี้เรามีทางออกแล้วงว่าถ้ามอบหมายให้กรมประชาสัมพันธ์ดำเนินการได้ ดังนั้นช่วงที่จะมีการตรวจอุปกรณ์ก็สามารถเดินคู่ขนานไปได้ เมื่อถามย้ำว่านับจากวันที่ 7 มี.ค.เป็นต้นไป จะมีการออกอากาศหรือไม่ คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า ไม่มี เพราะเมื่อมีการยกเลิกสัญญาแล้วคงไม่สามารถออกอากาศได้จนกว่าจะได้รับคำตอบจากกฤษฎีกา นอกจากนี้ยังมีประเด็นที่ติดขัดอีกคือ ขณะนี้สถานีโทรทัศน์ไอทีวีเช่าตึกชินวัตร 3 ดังนั้นเมื่อมีการยกเลิกสัญญาก็ต้องยกเลิกสัญญาการเช่าตึกด้วย ซึ่งอุปกรณ์ต่างๆ ก็จะถูกถ่ายโอนออกจากสำนักงานมาไว้ที่กรมประชาสัมพันธ์หรือสถานที่ที่ สปน.กำหนด ซึ่งจะมีช่วงเวลาที่ขลุกขลักประมาณ 3-4 วัน โดยตั้งแต่วันที่ 7 มี.ค.นี้จะมีการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ เพราะถือว่าเมื่อบอกเลิกสัญญาทุกอย่างต้องสิ้นสุดลง และกลับคืนมาเป็นสปน.
เมื่อถามว่ากระบวนการต่อจากนี่กรมประชาสัมพันธ์สามารถว่าจ้าง บมจ.อสมท.มาทำรายการได้หรือไม่ คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า เมื่อได้รับคำตอบจากกฤษฎีกาแล้ว หากตอบว่าสปน.ในฐานะที่เป็นผู้รับผิดชอบคลื่นสามารถมอบให้กรมประชาสัมพันธ์ที่อยู่ในสังกัดสปน.และได้รับการยกเว้นให้เป็นบริหารสถานีวิทยุและโทรทัศน์ได้สามารถดำเนินการต่อไปได้ ก็จะออกอากาศได้ โดยทางกรมประชาสัมพันธ์จะต้องตั้งบริษัทลูกขึ้นมาเพื่อรับสมัครพนักงานเข้าทำงาน ซึ่งตรงนี้จะเปิดโอกาสให้บุคคลที่มีความสามารถจากภายนอกเข้ามาสมัครได้ด้วย
ส่วนเหตุผลที่ไม่ให้ อสมท.เข้ามาบริหารไอทีวี ทั้งที่เคยมีแนวคิดก่อนก่อนหน้านี้นั้น ต้องขอชี้แจงว่าตอนนี้เราเปลี่ยนแล้ว เพราะในเชิงเทคนิคกรมประชาสัมพันธ์สามารถเข้าไปรับช่วงได้ ซึ่งได้รับการยืนยันจากนายปราโมช รัฐวินิจ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์แล้ว แต่เพื่อให้เกิดความรอบคอบและเป็นไปตามพ.ร.บ.ประกอบคลื่นความถี่วิทยุและโทรทัศน์ในช่วงที่ยังไม่มี กสช.มีประเด็นว่าถ้า สปน.ยกเลิกคลื่นความถี่นี้แล้ว คลื่นจะกลับมาเป็นของ สปน.แต่สปน.ไม่มีใบอนุญาตในการประกอบกิจการจึงไม่สามารถบริหารสถานีได้ แต่ผู้ที่สามารถบริหารได้คือกรมประชาสัมพันธ์และ อสมท. แต่ขณะนี้มีความชัดเจนแล้วว่าจะให้กรมประชาสัมพันธ์เป็นผู้ดำเนินการเท่านั้นคุณหญิงทิพาวดี กล่าว
เมื่อถามว่ามติครม.เป็นไปตามข้อกฎหมายหรือแรงกดดันทางการเมือง คุณหญิงทิพาวดี กล่าวยืนยันว่า ทั้งหมดเป็นไปตามข้อกฎหมายและคณะกรรมการฯที่พิจารณาเรื่องนี้ก็มีตัวแทนจากคณะกรรมการกฤษฎีด้วย โดยผู้แทนจากกฤษฎีกาก็ไม่สามารถตอบประเด็นทางข้อกฎหมายแทนองค์คณะได้ อย่างไรก็ตามสำหรับโครงสร้างนั้นเราจะมีทางออกให้ โดยอยู่ภายใต้การดูแลของคณะกรรมการชุดที่ตนเป็นประธาน
เมื่อถามว่ากระบวนการต่อจากนี้จะให้เอกชนเข้ามาดำเนินกิจการได้เลยหรือไม่ คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า ในช่วงระยะเวลาต่อจากนี้ ตนได้รับมอบหมายให้ทำงานคู่ขนานกันไป โดยในช่วง 1 เดือนจากนี้จะพิจารณาในภาพใหญ่ถึงอนาคตของคลื่นนี้ ดังนั้นภายใน 1 เดือนจะมีคำตอบและแนวทางในระยะยาวต่อไป
เมื่อถามว่ายืนยันได้หรือไม่ว่ากระบวรการเปิดประมูลจะมีความโปร่งใส โดยไม่มีการล็อกสเปกให้เอกชนรายใดรายหนึ่ง คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า ยังไม่มีการตัดสินใจให้เปิดประมูล เพราะในแง่ของกฎหมายยังทำไม่ได้ ต้องขอย้ำว่าในขณะนี้ตามเงื่อนไขของพ.ร.บ.ประกอบกิจการวิทยุฯมาตรา 80 กำหนดไว้ว่าผู้ครอบครองคลื่นไม่สามารถไปจัดสรรต่อ หรือโอนให้ใครได้ ดังนั้นการประมูลจึงขัดข้องด้วยข้อกฎหมาย ดังนั้นเวลา 1 เดือน ที่ครม.มอบหมายให้ตนไปดำเนินการจะต้องมองภาพใหญ่ ซึ่งอาจจะนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทำไมตอนแรกรู้ว่า อสมท.ไม่สามารถทำได้ แต่ยังเลือก อสมท.มาบริหาร รัฐบาลหลงทางไหม คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า ไม่ได้หลงทาง แต่เป็นทางเลือกในการพิจารณาดำเนินการซึ่งเรามีหลายทางเลือก การมอง อสมท.ก็เป็นทางเลือกหนึ่ง แต่เมื่อพิจารณาอีกครั้งว่าให้ทางกรมประชาสัมพันธ์ดำเนินการน่าจะเหมาะสมกว่าในตอนนี้ แต่ทั้งหมดนี้เป็นการชั่วคราวเท่านั้น เมื่อถามว่า เป็นปัญหาทางข้อกฎหมายหรือปัญหาการเมือง คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า เหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นบริษัทไอทีวีไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของสัญญาร่วมการงาน ดังนั้นรัฐบาลจำเป็นต้องรับภาระนี้ทั้งที่ปัญหานี้เป็นปัญหาที่เอกชนสร้างขึ้นมา แนวทางแก้ไขที่รัฐบาลพยายามทำมาตลอดคือทำด้วยความระมัดระวัง เพราะสัญญามีมูลค่าถึงแสนกว่าล้านบาท และมีรายละเอียดขึ้นตอนเยอะมาก ฉะนั้นต้องทำด้วยความรอบครอบเพื่อประโยชน์ของรัฐ และในฐานะเจ้าหนี้เรามีข้อมูลที่จะต้องรักษารูปคดีไว้ด้วยขณะหนึ่ง จะต้องตัดตอนทุกอย่าง ตรงนี้เป็นคำแนะนำของอัยการ เนื่องจากจะต้องมีการฟ้องร้องกันอีกยาว และจะโยงไปอีก ซึ่งไม่อยากพูด ขอพูดแค่นี้
เมื่อถามว่าผู้ผลิตรายการของไอทีวีที่ได้รับผลกระทบด้วยรัฐบาลจะทำอย่างไร คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า วันนี้คณะทำงานต้องทำงานกันทั้งคืน เพื่อหารือในรายละเอียดกัน เมื่อถามว่ารัฐบาลจะส่งฟ้องต่อเมื่อไหร่ คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า หลังจากแจ้งยกเลิกสัญญา ซึ่งจะต้องดำเนินการตามขั้นตอน เมื่อถามว่า แสดงว่าจะไม่มีการจ้าง อสมท.เข้าไปดำเนินการแล้ว คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า ไม่มี และบอร์ด อสมท.ไม่จำเป็นต้องประชุมกันเรื่องนี้แล้ว เมื่อถามว่ารัฐบาลได้มีการประเมินถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นหรือไม่ คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า เรียนตรงๆว่ารัฐบาลพยามเต็มที่แล้ว โดยพิจารณาขั้นตอนกฎหมายและความรู้สึกของประชาชนรวมถึงโอกาสที่ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสาร ยืนยันเราจำเป็นต้องดำเนินการอย่างนี้
เมื่อถามว่า ทำไมรัฐบาลถึงไม่แม่นในข้อกฎหมายต้องส่งอัยการตีความทุกเรื่อง คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า เราต้องการความรอบครอบไม่ได้โยนกฤษฎีกา และการที่เราต้องให้กรมประชาสัมพันธ์ดำเนินการ เพราะหากไม่ทำเช่นนี้ก็จะมีปัญหาข้อกฎหมายมาตรา 80 พ.ร.บ.คลื่นความถี่ ซึ่งในระหว่างยังไม่มี กสช.และ กทช.ห้ามมีการจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่หรือโอนไปให้คนอื่น สปน.ต้องบริหารคลื่นเอง แต่ สปน.ไม่มีสถานภาพในการบริหาร ฉะนั้นต้องให้กรมประชาสัมพันธ์ ที่สังกัด สปน.
เมื่อถามถึงกรณีที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล ระบุในรายการยามเฝ้าแผ่นดินว่า คุณหญิงเกี่ยวพันกับเงิน 40 ล้านดอลล่าร์ คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า ไม่มี ยังไม่รู้เลยว่าที่นายสนธิ พูดหมายถึงอะไร แต่โดยส่วนตัวเข้าใจว่าน่าจะหมายถึงโครงการเวิร์ลแบงค์ ที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)รายงานว่าโครงการดังกล่าวใช้จ่ายไม่คุ้มค่า อย่างไรก็ตามการพูดดังกล่าวไม่น่าจะเกี่ยวกับการตัดสินใจกรณีไอทีวีของตนเอง
เมื่อถามว่า หากกฤษฎีกาวินิจฉัยว่าทางกรมประชาสัมพันธ์สามารถดำเนินการได้รูปแบบผังรายการจะเป็นอย่างไร คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่น่ามีปัญหาขัดข้อง กรมประชาสัมพันธ์มีความพร้อมที่จะเดินหน้าออกอากาศ ซึ่งอาจจะนำเทปหรือรายการต่างๆมาออกอากาศได้ อย่างไรก็ตามการขอความชัดเจนกฤษฎีกาครั้งนี้เราไม่ได้ล๊อคเวลากฤษฎีกา แต่ทางเลขากฤษฎีกาบอกว่าการพิจารณาเร็วที่สุดน่าจะได้คำตอบวันศุกร์นี้
นายกฯได้ขอให้ยึดกฎหมายในการพิจารณาเป็นหลัก ซึ่งท่านเองก็เป็นห่วง เพราะเคยไปรับปากกับพนักงานไอทีวีไว้และใจจริงก็อยากดำเนินการให้เป็นไปตามที่รับปาก แต่เมื่อพบปัญหาติดขัดท่านก็พร้อมที่จะขอโทษพนักงาน คุณหญิงทิพาวดี กล่าวและว่าเรื่องนี้ไม่ได้มีคำตอบมาก่อน แต่เมื่อนายคัมภีร์ แก้วเจริญ กรรมการชุดของตนเอง ได้ไปตรวจเช็คทรัพย์สิน อุปกรณ์ต่างๆ แจ้งว่าในแง่ของรูปคดีจำเป็นอย่างยิ่งต้องยกเลิกสัญญาการเช่าตึกชินวัตรและขนย้ายอุปกรณ์ออกทันที
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่มีคำตอบชัดเจน ปรากฏว่าพนักงานไอทีวีถึงกับน้ำตาไหลพราก กอดคอกันร้องไห้ด้วยความเสียใจ ขณะเดียวกันเพื่อนๆผู้สื่อข่าวจากสำนักอื่นก็รู้สึกเห็นใจถึงขนาดร้องไห้ตามไปด้วย โดยส่วนใหญ่ได้ให้กำลังใจและขอให้พนักงานไอทีวียืดหยัดสู้ต่อไป
ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า ระหว่างการแถลงข่าวของคุณหญิงทิพาวดี ผู้สื่อข่าวของไอทีวีพยายามตะโกนคำถามเพื่อขอความชัดเจนให้รัฐบาลรับรองอนาคตในหน้าที่การงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรัฐบาลก็ได้รับปากไว้จะดูแล นอกจากนี้พนักงานไอทีวียังตั้งคำถามถึงความรับผิดชอบของรัฐบาลเกี่ยวกับผู้ร่วมผลิตรายการประมาณ 130 ราย ซึ่งคุณหญิงทิพาวดี ยืนกรานรัฐบาลยึดหลักถูกต้องของกฎหมายทุกอย่าง และโปร่งใสมาโดยตลอด
ต่อมาคุณหญิงทิพาวดี ให้สัมภาษณ์อีกครั้งว่า เมื่อคณะกรรมการกฤษฎีกาส่งผลการตีความมาให้รัฐบาลแล้วก็จะสามารถออกอากาศได้เลย แต่จะให้กรมประชาสัมพันธ์เป็นผู้ส่งสัญญาณ ซึ่งตนขอชี้แจงว่า แนวความคิดในการให้อสมท.เข้ามาบริหารไอทีวีนั้นไม่ใช่ความคิดของตน แต่เป็นแนวคิดของนายจุลยุทธ ที่ตนไม่ได้เกี่ยวข้อง
ส่วนนายปราโมช รัฐวินิจ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ให้สัมภาษณ์เพียงสั้น ๆ ว่า ตนถูกขอร้องจากครม.ไม่ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ ดังนั้นจึงไม่ขอพูดอะไร โดยจะให้ความชัดเจนได้ในวันพรุ่งนี้(7 มี.ค.)
ด้าน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้แถลงขออภัยพนักงานไอทีวีที่ไม่สามารถให้ไอทีวีออกอากาศต่อเนื่องได้ เนื่องจากจะมีผลกระทบในด้านข้อกฎหมาย รัฐบาลจำเป็นต้องยืนอยู่บนความถูกต้อง และยืนยันว่ามติ ครม.ครั้งนี้ได้ยึดตามแนวทางของกฎหมายเป็นหลัก
ขณะที่ คุณพรทิพย์ จาละ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี วันนี้ (6 มี.ค.) ว่า ขณะนี้ยังตอบไม่ได้ว่าจะใช้เวลาในการพิจารณาข้อกฎหมายเกี่ยวกับสถานีโทรทัศน์ไอทีวี นานเท่าใด เพราะยังไม่ทราบว่าสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) จะตั้งคำถามอย่างไร คงต้องให้ สปน. ถามมาก่อน กรณีนี้ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ไม่ได้ฝากอะไรเป็นพิเศษ เพียงแต่บอกให้ทำเร็วหน่อยเท่านั้น
ดิฉันจะพยายามให้คำตอบเท่าที่จะทำได้ เพราะเข้าใจว่าเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าล่าช้าจะมีปัญหา หากถามมาภายในวันนี้ (6 มี.ค.) ก็จะเร่งให้เสร็จภายใน วันที่ 7 หรือ 8 มีนาคม เพราะต้องให้เวลาเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบด้วย คุณพรทิพย์ กล่าว และว่าปกติคณะกรรมการกฤษฎีกา จะประชุมเพียง 2 ครั้ง คือ ครั้งแรก จะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาพิจารณาด้วย ถ้าได้ข้อยุติ การประชุมครั้งต่อไปก็จะตรวจดูบันทึกการประชุมเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า เมื่อคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็นแล้ว จะสามารถเปิดสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ได้เลยใช่หรือไม่ คุณพรทิพย์ กล่าวว่า คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาเพียงข้อกฎหมาย คณะรัฐมนตรีจะเป็นผู้ตัดสินใจ
โพสต์ต่อๆ เอาผลประกอบการณ์ไปดูกันด้วยครับ ประเด็นนึงที่ควรดูก็คือท่อนที่ว่า ค่าปรับในกรณีที่บริษัทดำเนินการเรื่องผังรายการไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญาเข้าร่วมงานฯ จำนวน 97,760 ล้านบาท
ที่ ITV-CP 010/2550
26 กุมภาพันธ์ 2550
เรื่อง ขอนำส่งงบการเงินประจำปี 2549
เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. งบการเงินและงบการเงินรวมประจำปี 2549
2. คำอธิบายการวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน
บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) (บริษัทฯ) ขอนำส่งงบการเงินและงบการเงินรวม
และรายงานผู้สอบบัญชีประจำปี 2549 พร้อมกันนี้ บริษัทฯ ขอชี้แจงสาเหตุของการเปลี่ยนแปลง
ผลการดำเนินงานประจำปี 2549 โดยบริษัทฯ มีผลประกอบการขาดทุนสุทธิ 1,783 ล้านบาท
ลดลงจากปีที่แล้วที่มีกำไรสุทธิ 679 ล้านบาท เนื่องจากสาเหตุ ดังนี้
1. บริษัทฯ มีรายได้รวมในปี 2549 จำนวน 2,159 ล้านบาท ลดลง 185 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 7.9 จาก ปี 2548 เนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรงในอุตสาหกรรมโทรทัศน์
รวมทั้งปัจจัยทางการเมืองที่ยังไม่มีความชัดเจน และภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว
2. ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารรวมทั้งภาระดอกเบี้ยจ่ายจำนวน 1,435 ล้านบาท
ใกล้เคียงกับปีก่อนที่มีจำนวน 1,434 ล้านบาท
3. ค่าสัมปทาน จำนวน 2,506 ล้านบาท เพิ่มขึ้นอย่างมากจากปีก่อนที่มีจำนวน 230
ล้านบาท เนื่องจากบริษัทฯ ได้บันทึกค่าสัมปทานส่วนต่าง ตั้งแต่ ปี 2547 ถึงปี 2549
และค่าดอกเบี้ยของค่าสัมปทานส่วนต่าง ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ทั้งนี้ เพื่อให้
เป็นไปตามผลของคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดที่ตัดสิน เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม
2549 ที่พิพากษายืนตามคำตัดสินของศาลปกครองชั้นต้นที่เพิกถอนคำชี้ขาดของ
คณะอนุญาโตตุลาการ ลงวันที่ 30 มกราคม 2547 ทั้งฉบับ ซึ่งมีผลทำให้บริษัทฯ
ต้องกลับไปผูกพันตามเงื่อนไขของสัญญาเข้าร่วมงานฯต่อไป
อนึ่ง เนื่องจากผลของความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการหาแหล่งเงินทุนของบริษัทฯ ในการ
ชำระค่าสัมปทานส่วนต่างจำนวน 2,210 ล้านบาท และค่าดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี
ของค่าสัมปทานส่วนต่าง รวมทั้งค่าปรับในกรณีที่บริษัทดำเนินการเรื่องผังรายการไม่เป็นไปตาม
เงื่อนไขของสัญญาเข้าร่วมงานฯ จำนวน 97,760 ล้านบาท (รายละเอียดแสดงในรายงาน
ของผู้สอบบัญชีในงบการเงินประจำปี 2549) ซึ่งบริษัทไม่เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องของ
สำนักงานปลัดฯ และได้ยื่นข้อพิพาทเกี่ยวกับดอกเบี้ยและค่าปรับจากการปรับผังรายการเข้าสู่
กระบวนอนุญาโตตุลาการเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2550 โดยผลของข้อพิพาทในเรื่องนี้
ยังไม่เป็นที่สิ้นสุด ซึ่งผลของ ความไม่แน่นอนของแหล่งเงินทุนและผลของข้อพิพาทดังกล่าว
มีสาระสำคัญอย่างมากต่อการดำเนินงาน และฐานะการเงินของบริษัท ดังนั้น บริษัท
ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส เอบีเอเอส จำกัด ซึ่งเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ จึง
ไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินของบริษัทฯ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2549
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
ขอแสดงความนับถือ
(นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล)
กรรมการ
บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน)
ที่ ITV-CP 010/2550
26 กุมภาพันธ์ 2550
เรื่อง ขอนำส่งงบการเงินประจำปี 2549
เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. งบการเงินและงบการเงินรวมประจำปี 2549
2. คำอธิบายการวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน
บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) (บริษัทฯ) ขอนำส่งงบการเงินและงบการเงินรวม
และรายงานผู้สอบบัญชีประจำปี 2549 พร้อมกันนี้ บริษัทฯ ขอชี้แจงสาเหตุของการเปลี่ยนแปลง
ผลการดำเนินงานประจำปี 2549 โดยบริษัทฯ มีผลประกอบการขาดทุนสุทธิ 1,783 ล้านบาท
ลดลงจากปีที่แล้วที่มีกำไรสุทธิ 679 ล้านบาท เนื่องจากสาเหตุ ดังนี้
1. บริษัทฯ มีรายได้รวมในปี 2549 จำนวน 2,159 ล้านบาท ลดลง 185 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 7.9 จาก ปี 2548 เนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรงในอุตสาหกรรมโทรทัศน์
รวมทั้งปัจจัยทางการเมืองที่ยังไม่มีความชัดเจน และภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว
2. ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารรวมทั้งภาระดอกเบี้ยจ่ายจำนวน 1,435 ล้านบาท
ใกล้เคียงกับปีก่อนที่มีจำนวน 1,434 ล้านบาท
3. ค่าสัมปทาน จำนวน 2,506 ล้านบาท เพิ่มขึ้นอย่างมากจากปีก่อนที่มีจำนวน 230
ล้านบาท เนื่องจากบริษัทฯ ได้บันทึกค่าสัมปทานส่วนต่าง ตั้งแต่ ปี 2547 ถึงปี 2549
และค่าดอกเบี้ยของค่าสัมปทานส่วนต่าง ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ทั้งนี้ เพื่อให้
เป็นไปตามผลของคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดที่ตัดสิน เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม
2549 ที่พิพากษายืนตามคำตัดสินของศาลปกครองชั้นต้นที่เพิกถอนคำชี้ขาดของ
คณะอนุญาโตตุลาการ ลงวันที่ 30 มกราคม 2547 ทั้งฉบับ ซึ่งมีผลทำให้บริษัทฯ
ต้องกลับไปผูกพันตามเงื่อนไขของสัญญาเข้าร่วมงานฯต่อไป
อนึ่ง เนื่องจากผลของความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการหาแหล่งเงินทุนของบริษัทฯ ในการ
ชำระค่าสัมปทานส่วนต่างจำนวน 2,210 ล้านบาท และค่าดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี
ของค่าสัมปทานส่วนต่าง รวมทั้งค่าปรับในกรณีที่บริษัทดำเนินการเรื่องผังรายการไม่เป็นไปตาม
เงื่อนไขของสัญญาเข้าร่วมงานฯ จำนวน 97,760 ล้านบาท (รายละเอียดแสดงในรายงาน
ของผู้สอบบัญชีในงบการเงินประจำปี 2549) ซึ่งบริษัทไม่เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องของ
สำนักงานปลัดฯ และได้ยื่นข้อพิพาทเกี่ยวกับดอกเบี้ยและค่าปรับจากการปรับผังรายการเข้าสู่
กระบวนอนุญาโตตุลาการเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2550 โดยผลของข้อพิพาทในเรื่องนี้
ยังไม่เป็นที่สิ้นสุด ซึ่งผลของ ความไม่แน่นอนของแหล่งเงินทุนและผลของข้อพิพาทดังกล่าว
มีสาระสำคัญอย่างมากต่อการดำเนินงาน และฐานะการเงินของบริษัท ดังนั้น บริษัท
ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส เอบีเอเอส จำกัด ซึ่งเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ จึง
ไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินของบริษัทฯ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2549
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
ขอแสดงความนับถือ
(นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล)
กรรมการ
บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน)
น่าจะเป็นตัวแปรที่สำคัญ ที่ทำให้ ITV ออกอากาศต่อไปได้ โดยไร้ข้อครหาจากฝ่ายตรงข้ามครับ ขอฟันธงว่า "ได้ออกอากาศ"
ศาลปกครองนัดฟังคำสั่ง - ไต่สวนฉุกเฉิน ไอทีวี พรุ่งนี้
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 6 มีนาคม 2550 19:41 น.
ศาลปกครองนัดพนักงานไอทีวีผู้ร้อง รับฟังคำสั่งไต่สวนฉุกเฉิน กรณีเพิกถอนคำสั่งมติคณะรัฐมนตรี ขอคุ้มครองชั่วคราว การดำเนินการระงับการออกอากาศ คลื่นความถี่โทรทัศน์ พรุ่งนี้ 09.30 น.
วันนี้ (6 มี.ค.) พนักงานไอทีวี ยื่นคำร้องต่อศาลปกครอง เพื่อให้เพิกถอนมติคณะรัฐมนตรี เรื่องการดำเนินการระงับการออกอากาศ คลื่นความถี่โทรทัศน์ และขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ให้สถานีโทรทัศน์ไอทีวีออกอากาศได้ตามปกติไปก่อน จนกว่าจะได้ข้อสรุปทางกฎหมายที่ชัดเจน เพื่อปกป้องผลประโยชน์และทรัพยากรของประเทศชาติ และขอให้ศาลปกครองกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวให้
ทั้งนี้ ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า การจะมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว โดยการไต่สวนฉุกเฉินตามคำขอของผู้ร้อง ศาลจำต้องพิจารณาข้อกฎหมาย และข้อเท็จจริงที่ชัดเจนจากคู่กรณีทุกฝ่าย ก่อนจะมีคำสั่งใดๆ อีกทั้งการไต่สวนในเรื่องนี้จะต้องทำต่อหน้าผู้ฟ้องคดี และผู้ถูกฟ้องคดี เพื่อรับข้อมูลทั้ง 2 ฝ่าย ศาลจึงไต่สวนฉุกเฉินไม่ทัน ขอให้ผู้ฟ้องคดีมารับทราบคำสั่งศาล วันพรุ่งนี้ (7 มี.ค.) เวลา 09.30 น
โดยก่อนหน้านี้ คุณหญิง ทิพาวดี เฆมสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ว่า ในการพิจารณาของ ครม.ตนและนายจุลยุทธ หิรัณยะวสิต ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้นำเสนอผลการดำเนินในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาต่อ ครม.โดยมี 4 ประเด็นที่ต้องพิจารณา คือ 1.เรื่องโครงสร้างที่มีข้อจำกัดที่มีข้อจำกัดในข้อกฎหมาย 2.เรื่องสัญญาที่มีสัญญาร่วมการงาน ที่จะต้องแจ้งยกเลิกสัญญา ซึ่งมีมูลค่าที่ทางบริษัท ไอทีวี ติดค้างอยู่จะต้องชำระกับให้ สปน.ประมาณกว่าหนึ่งแสนล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีรายละเอียดที่ได้ตรวจสอบ ก็พบว่า ทรัพย์สินอุปกรณ์ต่างๆ ที่ในสัญญาเขียนไว้วา จะต้องตกเป็นของ สปน. เมื่อได้ตรวจสอบในเบื้องต้น พบว่า มีมูลค่าไม่ตรงกัน เพราะมูลค่าที่ทาง สปน.มีอยู่ ยังมีการค้างอยู่อีกประมาณ 557.2 ล้านบาท ดังนั้น ในแง่รายละเอียดของอุปกรณ์ที่ต้องตกเป็นของสปน.ก็ยังเป็นประเด็นที่ยังเป็นประเด็นทางกฎหมายที่ไม่ตรงกันอยู่
นอกจากนี้ ยังมีรายละเอียดที่ไอทีวีทำสัญญาไว้กับบริษัทย่อยๆ ซึ่งในสัญญาที่ต้องดูแลถ้าจะมีการรับมอบกันมีสัญญามากถึง 446 สัญญา ส่วนบุคลากรของไอทีวีนั้นจากที่ได้ดูข้อกฎหมายถือว่าเป็นความรับผิดชอบของไอทีวี จากการประสานงานกับ นายอภัย จันทนจุลกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ก็ได้ตรวจสอบข้อกฎหมายแล้ว เห็นว่า มีกฎหมาย 2 ฉบับ ที่จะดูแลพนักงานไอทีวี หลังจากที่หยุดกิจการ คือ กฎหมายเกี่ยวกับแรงงาน และกฎหมายประกันสังคม คาดว่า ไอทีวีคงจะดำเนินกับพนักงานให้เป็นไปตามข้อกฎหมายทุกประการ ซึ่งตนคิดว่าไม่มีปัญหาอะไรกับพนักงานของไอทีวี เพราะจะได้รับค่าชดเชยและการดูแลให้เป็นไปตามเงื่อนไขของกฎหมายแรงงานทุกประการ
ศาลปกครองนัดฟังคำสั่ง - ไต่สวนฉุกเฉิน ไอทีวี พรุ่งนี้
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 6 มีนาคม 2550 19:41 น.
ศาลปกครองนัดพนักงานไอทีวีผู้ร้อง รับฟังคำสั่งไต่สวนฉุกเฉิน กรณีเพิกถอนคำสั่งมติคณะรัฐมนตรี ขอคุ้มครองชั่วคราว การดำเนินการระงับการออกอากาศ คลื่นความถี่โทรทัศน์ พรุ่งนี้ 09.30 น.
วันนี้ (6 มี.ค.) พนักงานไอทีวี ยื่นคำร้องต่อศาลปกครอง เพื่อให้เพิกถอนมติคณะรัฐมนตรี เรื่องการดำเนินการระงับการออกอากาศ คลื่นความถี่โทรทัศน์ และขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ให้สถานีโทรทัศน์ไอทีวีออกอากาศได้ตามปกติไปก่อน จนกว่าจะได้ข้อสรุปทางกฎหมายที่ชัดเจน เพื่อปกป้องผลประโยชน์และทรัพยากรของประเทศชาติ และขอให้ศาลปกครองกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวให้
ทั้งนี้ ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า การจะมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว โดยการไต่สวนฉุกเฉินตามคำขอของผู้ร้อง ศาลจำต้องพิจารณาข้อกฎหมาย และข้อเท็จจริงที่ชัดเจนจากคู่กรณีทุกฝ่าย ก่อนจะมีคำสั่งใดๆ อีกทั้งการไต่สวนในเรื่องนี้จะต้องทำต่อหน้าผู้ฟ้องคดี และผู้ถูกฟ้องคดี เพื่อรับข้อมูลทั้ง 2 ฝ่าย ศาลจึงไต่สวนฉุกเฉินไม่ทัน ขอให้ผู้ฟ้องคดีมารับทราบคำสั่งศาล วันพรุ่งนี้ (7 มี.ค.) เวลา 09.30 น
โดยก่อนหน้านี้ คุณหญิง ทิพาวดี เฆมสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ว่า ในการพิจารณาของ ครม.ตนและนายจุลยุทธ หิรัณยะวสิต ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้นำเสนอผลการดำเนินในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาต่อ ครม.โดยมี 4 ประเด็นที่ต้องพิจารณา คือ 1.เรื่องโครงสร้างที่มีข้อจำกัดที่มีข้อจำกัดในข้อกฎหมาย 2.เรื่องสัญญาที่มีสัญญาร่วมการงาน ที่จะต้องแจ้งยกเลิกสัญญา ซึ่งมีมูลค่าที่ทางบริษัท ไอทีวี ติดค้างอยู่จะต้องชำระกับให้ สปน.ประมาณกว่าหนึ่งแสนล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีรายละเอียดที่ได้ตรวจสอบ ก็พบว่า ทรัพย์สินอุปกรณ์ต่างๆ ที่ในสัญญาเขียนไว้วา จะต้องตกเป็นของ สปน. เมื่อได้ตรวจสอบในเบื้องต้น พบว่า มีมูลค่าไม่ตรงกัน เพราะมูลค่าที่ทาง สปน.มีอยู่ ยังมีการค้างอยู่อีกประมาณ 557.2 ล้านบาท ดังนั้น ในแง่รายละเอียดของอุปกรณ์ที่ต้องตกเป็นของสปน.ก็ยังเป็นประเด็นที่ยังเป็นประเด็นทางกฎหมายที่ไม่ตรงกันอยู่
นอกจากนี้ ยังมีรายละเอียดที่ไอทีวีทำสัญญาไว้กับบริษัทย่อยๆ ซึ่งในสัญญาที่ต้องดูแลถ้าจะมีการรับมอบกันมีสัญญามากถึง 446 สัญญา ส่วนบุคลากรของไอทีวีนั้นจากที่ได้ดูข้อกฎหมายถือว่าเป็นความรับผิดชอบของไอทีวี จากการประสานงานกับ นายอภัย จันทนจุลกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ก็ได้ตรวจสอบข้อกฎหมายแล้ว เห็นว่า มีกฎหมาย 2 ฉบับ ที่จะดูแลพนักงานไอทีวี หลังจากที่หยุดกิจการ คือ กฎหมายเกี่ยวกับแรงงาน และกฎหมายประกันสังคม คาดว่า ไอทีวีคงจะดำเนินกับพนักงานให้เป็นไปตามข้อกฎหมายทุกประการ ซึ่งตนคิดว่าไม่มีปัญหาอะไรกับพนักงานของไอทีวี เพราะจะได้รับค่าชดเชยและการดูแลให้เป็นไปตามเงื่อนไขของกฎหมายแรงงานทุกประการ
เห็นด้วยครับ ว่าต้องเอา "ประโยชน์" เป็นที่ตั้ง การรื้อถอนสถานีไม่มีใครได้อะไรเลยครับ ผมไม่คิดว่ารัฐจะสั่งรื้อถอนโดยทันทีซึ่งถือว่าสิ้นคิดเป็นอย่างมาก
เนื่องจากมีคำครหาจากฝ่ายตรงข้ามว่ารัฐเข้าไป "อุ้ม" ผมเชื่อว่าคณะรัฐมนตรีจึงโยนให้ศาลปกครองตัดสิน ซึ่งน่าจะออกมาว่าให้ดำเนินการได้ ถือเป็นที่สิ้นสุด ไร้ข้อครหาครับ
เนื่องจากมีคำครหาจากฝ่ายตรงข้ามว่ารัฐเข้าไป "อุ้ม" ผมเชื่อว่าคณะรัฐมนตรีจึงโยนให้ศาลปกครองตัดสิน ซึ่งน่าจะออกมาว่าให้ดำเนินการได้ ถือเป็นที่สิ้นสุด ไร้ข้อครหาครับ